25 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการศึกษาไทย-จีน ในโอกาสเฉลิมฉลอง ครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและจีน โดยสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม คุณหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คุณณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย – จีน คุณวรรณา ลอลือเลิศ ประธานสมาคมครูจีน (ประเทศไทย) ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนกว่า 2,000 คน เข้าร่วม ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร รมว.ศธ. กล่าวว่าตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนได้พัฒนาอย่างมั่นคงและลึกซึ้งในทุกมิติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ความไว้วางใจ และความร่วมมือระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการกำหนดให้เป็นรายวิชาเพิ่มเติมตามหลักสูตรแกนกลาง มีการเปิดห้องเรียนพิเศษภาษาจีน การพัฒนาครูผู้สอน พัฒนาแบบเรียน ตลอดจนการสร้างสื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทสากล นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการความร่วมมือและกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ โครงการผู้ช่วยสอนภาษาจีน โครงการทวิวุฒิไทย – จีน โครงการประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ค่ายภาษาจีนฤดูร้อน การอบรมเชิงปฏิบัติการ Master Trainer ด้านภาษาจีน ขอกราบขอบพระคุณในพระเดชพระคุณของเจ้าคุณธงชัย พระมหาเถระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิสัยทัศน์ ที่ได้สนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่าสองทศวรรษทั้งในด้านทุนการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร และการสร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยในการเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ ซึ่งนับเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งผู้เรียนและผู้สอนภาษาจีนตลอดมา รวมทั้งขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อคุณหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ที่ได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ด้วยไมตรีจิตและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาไทย–จีน ท้ายที่สุดนี้ ขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณบุคลากรด้านการศึกษาภาษาจีน ทั้งชาวไทยและชาวจีน ที่ได้ทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย และสติปัญญาในการขับเคลื่อนงานด้านภาษาจีนอย่างต่อเนื่อง และขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับบุคลากรดีเด่นด้านการศึกษาภาษาจีน จำนวน 50 คน ที่ได้รับเกียรติบัตรในครั้งนี้ นับเป็นเกียรติและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ที่ทรงคุณค่านี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “มหกรรมการศึกษาไทย–จีน” ครั้งนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการเสริมสร้างมิตรภาพ ความเข้าใจ และความร่วมมือทางการศึกษาที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และการพัฒนาเยาวชนไทยให้ก้าวไกลสู่อนาคต ด้วยศักยภาพและวิสัยทัศน์ระดับโลกต่อไป คุณหาน จื้อเฉียง กล่าวว่าปีนี้เป็นปีครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย เมื่อย้อนกลับไปดูครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านนี้ เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าสถานการณ์โลกจะพลิกผันเปลี่ยนแปลง และทั้งสองประเทศมีขนาดที่ต่างกัน มีระบบสังคมที่ไม่เหมือนกัน แต่ความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและการร่วมมือกันเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างเสมอมา ความสัมพันธ์จีน-ไทยยึดมั่นในหลักการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ให้ความเสมอภาคกัน ให้ความจริงและเชื่อใจกัน ให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน และนี่คือวิถีทางที่นำไปสู่ความสำเร็จในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถือเป็นแบบอย่างอันดีเลิศ ประชาชนชาวจีนและชาวไทยควรยินดีและภาคภูมิใจในการที่จีน-ไทยมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และเราควรต้องเชื่อมั่นและแน่วแน่ที่จะพัฒนาเสริมสร้างความดีนี้ในยุคสมัยใหม่ต่อไป ผลักดันให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันเพื่อความสุขของประชาชนทั้งสองประเทศ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษามีความหมายสำคัญยิ่งในความสัมพันธ์จีน-ไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ แต่ยังช่วยสร้างผู้คนที่จะมาสืบสานมิตรไมตรี และเสริมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทยได้นับอีกไม่ถ้วน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาจีน-ไทยมีผลงานเยอะแยะมากมาย งานมหกรรมในวันนี้จะแสดงผลงานเหล่านี้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน สำหรับในปีนี้ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ดำรงความสัมพันธ์ทางการทูตมาเป็นระยะเวลา 50 ปี ที่มีมิติทางการศึกษา วัฒนธรรม และความร่วมมือด้านวิชาการที่แน่นแฟ้นและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระสำคัญนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับสมาคมครูจีน (ประเทศไทย) สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้าไทย–จีน สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยรังสิต ตลอดจนภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดงาน “มหกรรมการศึกษาไทย–จีน” ขึ้น ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และนิทรรศการบริเวณลาน Eden ชั้น 3 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงเนื้อหาและกิจกรรมทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการกล่าวปาฐกถาพิเศษ การมอบเกียรติบัตรแก่บุคลากรที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย การเสวนาทางวิชาการ 3 ช่วง การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอนภาษาจีน นิทรรศการความร่วมมือด้านการศึกษาไทย–จีนจากหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงการแสดงวัฒนธรรมไทย–จีนโดยนักเรียนและนักศึกษา ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน จากภาคราชการ สถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป และยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับชมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ มหกรรมครั้งนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น หากยังมีเป้าหมายในการเผยแพร่ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไทย–จีนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการเรียนการสอนภาษาจีน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดี ทิศทางการพัฒนาทางภาษาในบริบทโลก และการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่มั่นคงต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมาในปีนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ...
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
23 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ว่า ได้ฝากให้ที่ประชุมร่วมกันพัฒนากิจกรรมและกระบวนการทางการลูกเสือ ไม่ให้เป็นกิจกรรมที่ล้าสมัย แต่ให้เป็นกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เสริมสร้างศักยภาพร่วมกัน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันให้มากขึ้น สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีประเด็นที่สำคัญ เช่น ที่ประชุมได้เห็นชอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอขอพระราชทานฯ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด จำนวน 3 ราย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติจาก 5 ด้าน เป็นจำนวน 8 ด้านประกอบด้วย 1) อนุกรรมการด้านลูกเสือ 2) ด้านบริหารทรัพย์สิน 3) ด้านงานบุคลากร 4) ด้านกฎหมาย 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ 6) ด้านต่างประเทศ 7) ด้านเทคโนโลยี และ 8) ด้านตรวจสอบติดตามและประเมินผล รวมทั้งเห็นชอบการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งประเภทตำแหน่งบริหาร คือ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ประเภทบริหารสูง และผู้อำนวยการส่วน ประเภทบริหารต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ หรือ “วันลูกเสือ”ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2568 ณ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทยให้พัฒนารุ่งเรือง มาจวบจนทุกวันนี้ และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขของคณะลูกเสือไทย รวมทั้งการจัดงานชุมนุมลูกเสือสำรองแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีครบรอบ 67 ปี กิจการลูกเสือสำรองของประเทศไทยโดยกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม 2568 พร้อมกันในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เปิดประชุมนานาชาติ “ICESML 2025” จัดโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชูความสำคัญ “AI” เป็นผู้ช่วยให้เกิดมิติ เรียนดี มีความรู้ เติมสมรรถนะ ดึงศักยภาพผู้เรียน แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษา เพราะ “ครู” ยังเป็นเป้าหมายสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพ และสมรรถนะนักเรียนให้มีความพร้อมในทุกด้าน 23 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ภาวะผู้นำการบริหารระบบการศึกษา ครั้งที่ 4 (The 4thInternational Conference on Educational System Management Leadership (ICESML2025) ภายใต้หัวข้อ “การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ ในการบริหารระบบการศึกษา (Shaping the Future Leadership and AI in Educational System Management)” ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตรคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คณบดี วิทยากร นิสิต นักศึกษา ครูและผู้บริหาร นักวิชาการภายในประเทศ และนานาประเทศ เข้าร่วมการประชุมกว่า 300 คน รมว.ศธ.กล่าวในพิธีเปิดว่า ปัจจุบันการศึกษาของเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ นับเป็นเวทีที่ทรงคุณค่าเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ และนำไปสู่การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตได้ ดังคำกล่าวที่เคยกล่าวไว้ว่า“มีดคมเพราะหมั่นลับ”แม้เป็นเหล็กดีขนาดไหนก็ตาม แต่หากไม่หมั่นลับ ก็ทำให้ไม่คม ครูและบุคลากรทางการศึกษาก็เช่นกัน ผู้บริหารต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม ฝึกฝน ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ เพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะในการทำงาน การประชุมครั้งนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเราได้รับความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในอนาคตที่ดียิ่งขึ้น เป็นแนวทางสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย“เรียนดี มีความสุข”เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นำ AI มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน และนำมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งคือ แนวทางการทำงาน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”สร้างเครือข่ายทางการศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้บริหาร ครู ให้มีองค์ความรู้ทางด้านการบริหารการศึกษา เป็นผู้นำแห่งอนาคต ที่มีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด และฉลาดทำ” ภายหลังเปิดโครงการ รมว.ศธ. ได้เยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวบรวมผลงานชั้นนำที่เป็น Best Practices มาร่วมจัดแสดงในโครงการประชุมครั้งนี้ด้วย ทั้งการนำเสนอผลงานในรูปแบบการบรรยายด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ซึ่งจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแนวทางในการสร้างความฉลาดรู้ด้วย AI ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาสมรรถนะของตนเองได้ หลังจากเยี่ยมชมนิทรรศการ รมว.ศธ. ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ขอขอบคุณคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในการผลิตครูและพัฒนาผู้นำทางการศึกษา ที่ให้เกียรติและมอบโอกาสให้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้วยกัน ต่อไปนี้ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ คิดว่าเราจะได้ประโยชน์ ตอบสนองงานการศึกษาภายใต้แนวคิด ‘เรียนดี มีความสุข’ จากที่เยี่ยมชมผลงาน ยังมีมุมมองและเรื่องอีกหลายเรื่องที่ผมยังไม่รู้ เทียบกับที่การที่ผมลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนต่างๆ จะได้เห็นใน 2 มิติ คือ การเรียนรู้จริง และโปสเตอร์ ซึ่งเรื่องของการศึกษานั้นไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความรับผิดชอบของทุกคน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและครูเป็นเป้าหมายสำคัญ และอีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีนวัตกรรมการสอนข้ามชาติ จะเป็นพื้นฐานให้เด็กไทยเกิดการพัฒนา มีความกล้า กล้าคิด กล้าทำ โดยเฉพาะสื่อที่จะเป็นเครื่องมือเผยแพร่สิ่งที่ดีให้แก่เยาวชน ในบทบาทของสถานศึกษา จะต้องพิจารณาในการใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้เป็นนวัตกรรมในเรื่องของการศึกษา “สำหรับผม มุมมองของการใช้ระบบ AI คือ ผู้ช่วย ในมิติย่อยก็คือกระบวนการ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ คือผู้ช่วยให้เกิดมิติ เรียนดี มีความรู้ เติมสมรรถนะ เพื่อที่จะดึงศักยภาพออกมาเติมสมรรถนะบุคคล แต่ AI ก็ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษา หากว่าที่เราถาม AI แล้วมองอะไรที่ไม่ใช่ เราจะต้องเข้าไปแก้ ณ วันนี้ ผมก็ยังเข้าใจว่า ครูก็ยังเป็นเป้าสำคัญเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ช่วยพัฒนาสมรรถนะให้นักเรียนได้มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน อย่างไรก็ตามหวังว่าเด็กไทยต่อไปจะมีการยกระดับพัฒนาด้าน AI ได้เท่าทันกับสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการทำงาน จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” รมว.ศธ.กล่าว สุกัญญา จันทรสมโภชน์ / สรุป อินทิรา บัวลอย / ภาพ บัลลังก์ / เรียบเรียง การประชุมนานาชาติ The International Conference...
22 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วยนางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการ กช. ผู้ตรวจราชการ ผู้บริหาร ศธ. ตลอดจนคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting รมว.ศธ.เปิดเผยว่า แนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศนั้น ควรพิจารณาในระดับเขตตรวจราชการ โดยแยกเป็นรายจังหวัด เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน และให้นำเสนอข้อมูลต่อผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในทุกมิติ ทั้งในด้านความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข สำหรับจังหวัดที่มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการศึกษา ก็ให้เข้ามาร่วมให้ข้อเสนอหรือคำแนะนำในส่วนของจังหวัดที่ยังมีข้อจำกัดหรือความท้าทาย เพื่อสร้างความร่วมมือและยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ“ทุกจังหวัดมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการศึกษา หากร่วมมือกันอย่างจริงจัง จะสามารถนำพาการศึกษาของประเทศไปสู่เป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างเป็นรูปธรรม” สิ่งสำคัญคือการดำเนินงานด้วยความถูกต้อง เน้นการขับเคลื่อนนโยบายด้วยความจริงจัง ต่อเนื่อง ชัดเจน มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน มีความไว้วางใจต่อบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการสื่อสารนโยบายหรือสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการคาดหวัง เพื่อให้เข้าถึงปลายทางด้วยความกระชับ ชัดเจน โดยผู้บริหารต้องรู้และเข้าใจในงานอย่างถ่องแท้ เพื่อขับเคลื่อนงานบนฐานข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริตของทุกส่วนราชการทุกระดับ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ผตร.ศธ.) ถึงแม้จะตรวจฯ ได้เพียงหน่วยงานองค์กรหลัก แต่ก็ต้องติดตามงานอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง และรายงานผลฯ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้ง 18 เขตตรวจราชการ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ เมื่อผ่านการตรวจราชการจาก ผตร.ศธ. แล้ว ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการยกระดับการศึกษาในทิศทางที่พัฒนาขึ้น เน้นการบูรณาการระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ เพื่อความเป็นเอกภาพในการทำงาน แก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน จนเริ่มเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม เนื่องจากที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบรายงานผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 1 (1 ต.ค.67 – 31 มี.ค.68) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา – นโยบายลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ศธ. พัฒนา ต่อยอด และลดขั้นตอนวิธีการประเมินวิทยฐานะครูฯ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (ระบบ DPA : Digital Performance Appraisal) มีครูฯ ยื่นคำขอสำเร็จผ่านระบบ DPA กว่า 1.1 แสนคน ย้ายครูฯ คืนถิ่น (Teacher Rotation System: TRS) กลับภูมิลำเนาด้วยความโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน ครูฯ ลงทะเบียนกว่า 3.3 หมื่นคน พัฒนาและต่อยอดการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและเห็นผลเป็นรูปธรรม ครูฯ ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สำเร็จ มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอ และเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ เริ่มต้นให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กว่า 6 แสนเครื่อง และให้ครูฯ กว่า 6 หมื่นเครื่อง ยกเลิกครูเวรอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง “ชีวิตและความปลอดภัยของครูสำคัญกว่าทรัพย์สิน” ครูมีเวลาจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ สถานศึกษาที่ได้รับการบริหารจัดการและมีมาตรการรองรับภายหลังการยกเลิกครูเวร กว่า 98% จัดหานักการภารโรงเพื่อช่วยลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และช่วยรักษาความปลอดภัย ดำเนินการจ้างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568 จำนวน 25,370 อัตรา ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็น หรือซ้ำซ้อน นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ อาทิ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน (School Management System) ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office, AMSS++) ใช้แพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ เช่น Google Workspace for Education, Microsoft Teams เพื่อช่วยในการจัดการแผนการสอน การสื่อสาร การส่งงาน และการประเมินผล แก้ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยจัดสรรและบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 38 ค. (2) และจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครูที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และจัดสรรอัตราพนักงานราชการและครูอัตราจ้างเพิ่มเติมกรณีพิเศษ กว่า 1.7 หมื่น อัตรา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 16/2568 เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมงาน “มหกรรมการศึกษาไทย – จีน” ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พร้อมเน้นย้ำบุคลากรบริหารจัดการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ วางแนวทางยกระดับคุณภาพการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล ภายใต้กรอบแนวคิด “Education 2030 สู่ Education 2040” เพื่อเป้าหมายหลักในการเสริมสร้าง “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของครู-ผู้เรียน เผยบทวิเคราะห์คุณภาพการศึกษา นำโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงมาเป็นโรงเรียนคู่พัฒนา (Partnership Schools) ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์การบริหารจัดการ ให้กับโรงเรียนที่ยังต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างครูในบริบทจริง และช่วยสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน 21 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 16/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอเน้นย้ำเรื่องงบประมาณฯ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจเชิงระบบ มีการประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและงบประมาณ เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เปรียบกระบวนการเบิกจ่ายงบลงทุนเสมือน“ทฤษฎีของเคนส์ (Keynesian Theory)”ที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการใช้จ่ายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา หากมีการบริหารจัดการและเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ“ไทม์ไลน์การปฏิบัติการ”สำหรับการชี้แจงรายละเอียดงบประมาณในแต่ละโครงการ เพื่อให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ และเร่งรัดการดำเนินงานได้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด และเตรียมการเพื่อสนับสนุนข้อมูลประกอบการชี้แจงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2569 วาระที่ 1 สภาผู้แทนราษฎร ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2568 สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ มหกรรมการศึกษาไทย – จีน รมว ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย เตรียมการจัด “มหกรรมการศึกษาไทย – จีน” ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธานฯ พร้อมด้วย นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย รวมถึงผู้แทนจากองค์กรชั้นนำทั้งสองประเทศ ร่วมพิธีฯ ภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนของการแสดงนิทรรศการภาษาและวัฒนธรรมไทย-จีน การแสดงจากนักเรียน/นักศึกษา และส่วนของการเสวนาวิชาการแบ่งเป็น 3 ช่วง เกี่ยวกับทิศทางการศึกษาและการเรียนการสอนภาษาจีน รวมถึงการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษาจีน โดยมีเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน อาทิ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ประชาชนผู้สนใจในภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาไทย – จีน โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันวางรากฐานในการพัฒนาเยาวชนไทยให้มีศักยภาพและความพร้อมสู่เวทีโลก กระทรวงศึกษาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันผลักดันการศึกษาให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศต่อไป ทิศทางการจัดการศึกษาไทยในอนาคต รมว.ศธ.กล่าวว่า การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล ภายใต้กรอบแนวคิด “Education 2030 สู่ Education 2040” ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้าง “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของทั้งผู้เรียนและครู โดยแนวทาง Education 2030 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนในทุกมิติ ผ่านสมรรถนะหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม การสร้างคุณค่าใหม่ การจัดการกับความขัดแย้ง และความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำ การสะท้อนคิด และการคาดการณ์อนาคต โดยมีการมีส่วนร่วมจากนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อร่วมกันผลักดันไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สำหรับแนวทางของ Education 2040 ได้ต่อยอดจากเป้าหมายเดิม โดยหันมาให้ความสำคัญกับครูมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนดองค์ประกอบหลัก 3 ด้านของความเป็นครู ได้แก่ ความสามารถของครูในด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และค่านิยม, สุขภาวะของครูในด้านร่างกาย อารมณ์-สังคม และความรู้ทางวิชาชีพ รวมถึงบทบาทของครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก การขับเคลื่อนนโยบาย Education 2030 และ 2040 ถูกดำเนินการผ่าน 4 มิติหลัก ได้แก่ การออกแบบหลักสูตรใหม่ที่มีความยืดหยุ่น ทันสมัย และตอบโจทย์บริบทในท้องถิ่น พร้อมรองรับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)...
18 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน และฟอรั่มกฎหมายเพื่อการบริการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative Legal Forum) โดยมีผู้แทนระดับสูงจากทั้งสองประเทศเข้าร่วมกว่า 150 คน อาทิ นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ดร. อรรชกา สีบุญเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ Mr. Zhang Yang นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย–จีน ณ โรงแรมไฮแอท เพลส เซี่ยงไฮ้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบได้กล่าวแสดงความยินดีต่อความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับจีนตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญของความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การศึกษา และวัฒนธรรมในยุคแห่งการเชื่อมโยงไร้พรมแดน ซึ่งมีส่วนส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินความร่วมมือกับจีนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาทั่วประเทศ เช่น การจัดตั้งห้องเรียนพิเศษภาษาจีน (Chinese Program) การพัฒนาหนังสือเรียน“สัมผัสภาษาจีน”ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ร่วมกับ Higher Education Press และการใช้เทคโนโลยี AI และแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาจีน ทั้งนี้ ยังมีโครงการผู้ช่วยสอนภาษาจีนในโรงเรียนประถม มัธยม และอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมทักษะของผู้เรียนให้พร้อมต่อการทำงานในตลาดโลก ในโอกาสครบรอบ 50 ปี กระทรวงศึกษาธิการยังจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดปี ได้แก่ โครงการบริจาคโลหิต“ไทยจีนเลือดเดียวกัน 50 ปี 5 ล้านซีซี”การอบรม Master Trainer ด้านภาษาจีน การเปิดศูนย์สอบ HSK ค่ายภาษาจีนฤดูร้อน การประกวดสุนทรพจน์“สะพานสู่ภาษาจีน”และมหกรรมการศึกษาไทย–จีน ณ กรุงเทพมหานคร นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและจีนตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีว่า“จีน–ไทย ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”ซึ่งสะท้อนถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน พร้อมย้ำว่าหนึ่งในความสำเร็จสำคัญคือการลงนามในข้อตกลงยกเว้นวีซ่า ซึ่งสะท้อนระดับความไว้วางใจและมิตรภาพระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างแท้จริง โดยแสดงความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือไทย–จีนจะยังคงแน่นแฟ้นต่อเนื่องในอีก 50 ปีข้างหน้า ภายใต้กรอบ“หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนาวิชาการในหัวข้อ“โอกาสใหม่ในความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างไทย–จีน”โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายดึงดูดการลงทุน มาตรการสนับสนุนจาก BOI แนวโน้มอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด เศรษฐกิจดิจิทัล และเซมิคอนดักเตอร์ งานฉลองในครั้งนี้สะท้อนถึงพลังของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย–จีนอย่างรอบด้าน พร้อมวางรากฐานสำหรับความร่วมมือที่มั่นคง โปร่งใส และยั่งยืนในระยะยาว สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. / ข่าว
สาธารณรัฐประชาชนจีน – พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับโลกด้านการศึกษาดิจิทัล ประจำปี 2568(2025 World Digital Education Conference) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงนโยบายในการพัฒนาการศึกษาดิจิทัลในช่วงการประชุมASEAN-China Dialogueโดยกล่าวถึงประเทศไทยมีนโยบายทางการศึกษาเรียนดีมีความสุข โดยมุ่งเน้นการลดภาระครู และบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในเขตเมือง ชนบท และกลุ่มเปราะบาง รวมถึงผู้พิการ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแผนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ พร้อมประเทศไทยพร้อมสนับสนุนข้อเสนอของสาธารณรัฐประชาชนจีนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษาดิจิทัล 2. ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาด้วยเทคโนโลยี 3. ขยายการเข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ของประเทศกำลัง และ 4. วางหลักจริยธรรมและความปลอดภัยของการศึกษาดิจิทัล รมว.ศธ.ยังได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของประเทศในอาเซียนจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาใช้ เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับผู้เรียน ในช่วงก่อนพิธีเปิดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นำคณะผู้บริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสง่า แต่เชื้อสาย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นางยุพิน บัวคอม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และผู้เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยได้เยี่ยมชม โรงเรียนประถมศึกษาเซิ่นหลง (Shenlong Primary School) ซึ่งมีโรงเรียนต้นแบบ 12 แห่ง ในเมืองอู่ฮั่น มาร่วมจัดแสดงนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วย อาทิ โรงเรียน Wuhan Yucai No.2, Wuhan Optics Valley No.15 และ Guocikou Primary School โดยมีการสาธิตการเรียนรู้ที่ผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น การเขียนโปรแกรม (coding), การควบคุมโดรน, การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองบนดาวอังคารด้วย AI และการแสดงศิลปะและดนตรีโดยนักเรียน และได้เยี่ยมชมศูนย์ U Learning เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษากับบริษัทชั้นนำ อาทิ Huawei และ Wenhua Online พร้อมทดลองใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง และระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล จากนั้นช่วงบ่าย รมว.ศธ. และคณะ ได้เดินทางไปยัง วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟอู่ฮั่น (Wuhan Railway Vocational College of Technology) เพื่อศึกษาระบบการเรียนสายอาชีพด้านระบบราง โดยมีโอกาสทดลองขับรถไฟความเร็วสูงจำลอง (High-Speed Rail Simulator) และต่อเนื่องด้วยการเยี่ยมชม วิทยาลัยอาชีวศึกษาด้านซอฟต์แวร์และวิศวกรรมศาสตร์หวู่ฮั่น (Wuhan Vocational College of Software and Engineering) เพื่อดูการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมและการควบคุมระบบอัตโนมัติ (PLC) ที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดงความประทับใจต่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของจีน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในระดับประถมศึกษา อาชีวศึกษา และระดับสูง พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างไทยและจีน เพื่อร่วมกันยกระดับระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสมรรถนะรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตอย่างยั่งยืน ในช่วงพิธีเปิดการประชุมระดับโลกด้านการศึกษาดิจิทัล ประจำปี 2568 ซึ่งมีผู้ร่วมในพิธีเปิดมากกว่า 600 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่รัฐบาลจากทั้งในและต่างประเทศ ผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากหลากหลายประเทศ นายติง เสวี่ยเสียง รองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่การศึกษาในยุคอัจฉริยะโดยเน้นย้ำว่าจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาดิจิทัล โดยกำลังเร่งเดินหน้าเพื่อก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำด้านการศึกษา ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และยกระดับอัจฉริยะในภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และอยู่ระหว่างการจัดสร้างระบบการศึกษาดิจิทัลสมัยใหม่ที่มีความเป็นธรรม มีคุณภาพสูง มีความชาญฉลาด และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีจีนยังได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันใช้โอกาสจากการพัฒนาการศึกษาในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ ขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษาดิจิทัลอย่างแข็งขัน และย้ำบทบาทนำของจีนในการขับเคลื่อนการศึกษาดิจิทัลเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 2030 ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะยังได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าทางการศึกษาดิจิทัล ภายใต้กรอบการประชุมการศึกษาแบบดิจิทัลโลก ปี 2025 โดยมุ่งเน้นแนวคิด“การพัฒนาและการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในยุคอัจฉริยะ”เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของพรมแดนด้านการศึกษาในยุคที่เทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และเน้นย้ำความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 6 โซนหัวข้อ ได้แก่ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดง นวัตกรรมด้านรูปแบบการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรการสอน ทักษะดิจิทัล และการปฏิรูประบบประเมิน 2. การศึกษาอาชีวะเน้นพัฒนาระบบทักษะ แบ่งปันทรัพยากร และสร้างความร่วมมือกับภาคการผลิต 3. อุดมศึกษา มุ่งเน้นการสอนที่เชื่อมโยงการวิจัย และการบูรณาการมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรม 4. การศึกษาตลอดชีวิต เน้นการส่งเสริมการอ่าน การใช้เทคโนโลยีหลากหลาย ใส่ใจสุขภาวะ และลดช่องว่างดิจิทัล...
11 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.29 น. / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีปลูกต้น “พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร” พร้อมด้วยนายปิยะ ปิจนำ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระธรรมวชิรสุตาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ และพระสงฆ์สมณศักดิ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ มลฑลปลูกต้น “พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร” เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อเชิญไปปลูกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 76 จังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม พระศรีมหาโพธิ์ ที่จะทรงปลูกในวันวิสาขบูชา วันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานนามว่า“พระศรีมหาโพธิยาลงกรณ์”มีความหมายว่า พระศรีมหาโพธิ์อันงดงามด้วยพระปัญญาตรัสรู้ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อเชิญไปปลูกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 76 จังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศและพระราชทานนามว่า“พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร”มีความหมายว่า “พระศรีมหาโพธิ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานฤกษ์การปลูก “พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร” ในวันวิสาขบูชาซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.29 น. พร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ณ สถานที่ที่จังหวัดพิจารณาตามความเหมาะสมได้แก่ วัด ศาสนสถาน สวนสาธารณะ และสถานที่อื่น ๆรวมทั้งพระราชทานวีดิทัศน์ “ธรรมะนาวาวัง ธรรมะพระราชทาน เนื่องในวันวิสาขบูชา”เพื่อเผยแพร่ในพิธีดังกล่าวด้วย โดยภายหลังจากเสร็จพิธีปลูก “พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายปิยะ ปิจนำ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระธรรมวชิรสุตาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ และพระสงฆ์สมณศักดิ์ 10 รูป และพระสงฆ์ที่ร่วมพิธี ได้ร่วมกันชมวีดิทัศน์ “ธรรมะนาวาวัง ธรรมะพระราชทาน เนื่องในวันวิสาขบูชา” เพื่อน้อมนำธรรมะ มายึดถือปฏิบัติ และเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตนเองและครอบครัวสืบไป
8 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการขยายผลโครงการ Buriam Reform : Smart Camp Smart Classroom “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” เพื่อพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดกิจกรรม พัฒนาทักษะด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ความรู้ทางการเงิน และความรู้ด้านสุขภาพ โดยเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการจุดประกายความฝันและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมความฉลาดรู้ ฉลาดคิด และฉลาดทำ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 – 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ และศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงครูในโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ และครูในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,000 คน กิจกรรมประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ จำนวน 9 ฐาน ดังนี้ ฐานที่ 1 Cha-Ching ฉลาดรู้ทางการเงิน ณ โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ฐานที่ 2 Spark your English สร้างความภูมิใจ จุดประกายภาษาอังกฤษ ณ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม สพม.บุรีรัมย์ ฐานที่ 3 การเรียนรู้ภาษาจีนมิติใหม่ ด้วย AI อัจฉริยะ ณ โรงเรียนฮั่วเคี้ยว ฐานที่ 4 Play Facto ฉลาดคิด ฉลาดทำ กับสะเต็ม ณ โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ฐานที่ 5 Health Literacy ณ ศูนย์การเรียนรู้ เพ-ลา เพลิน บุรีรัมย์ ฐานที่ 6 การทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR ณ ศูนย์ HCEC โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม ฐานที่ 7 การเรียนภาษาจีนผ่านระบบ E-learning ตามกรอบ HSK 1 – 3 ณ ศูนย์ HCEC ณโรงเรียนนางรองพิทยาคม สพม.บุรีรัมย์ ฐานที่ 8 การเรียนรู้ Digital Competency ในเว็บไซต์ OBEC Learning และการใช้ Google for Education ณ โรงเรียนนางรอง สพม.บุรีรัมย์ ฐานที่ 9 English Summer Camp ณ โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ ในการนี้ ดร.พัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการกล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาชื่นชมและให้กำลังใจคณะครูผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูง ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด การขยายผลโครงการในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีย์ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สมาคมครูภาษาจีนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ศูนย์การเรียนรู้เพ-ลา เพลิน บุรีรัมย์ และมูลนิธิจูเนียอะชีฟเม้นท์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการดำเนินงานตามโครงการฯ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 14/2568 เผย ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไทยอย่างเป็นระบบ เร่งจัดเตรียมข้อมูลและรายงานต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมชูแนวทางการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาข้อสอบและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล สนับสนุนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ทุกระดับ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมรับเปิดเทอม ไปจนถึงการออกแบบอนาคตการศึกษาไทยด้วยวิสัยทัศน์ปี 2040 ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิต พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยี และความเป็นพลเมืองโลก พร้อมย้ำความสำคัญของการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาเกิดขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืน 7 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 14/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ขอให้ทุกคณะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินนโยบายอย่างใกล้ชิด ทุกหน่วยงานควรมีการทบทวนผลการดำเนินงานอย่างรอบด้าน เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัปดาห์ที่จะถึงนี้จะเข้าสู่การเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2568 ขอให้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร สื่อการเรียนรู้ มาตรการด้านความปลอดภัย และการต้อนรับนักเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียนทุกคน สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมว.ศธ.กล่าวว่า การดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยเฉพาะการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาข้อสอบ ผู้ที่มีส่วนร่วมต้องมีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ AI กับกระบวนการสร้างข้อสอบ ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบมีความแม่นยำมากขึ้น แต่ต้องพิจารณาถึงความถูกต้องของข้อมูลเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม การจัดเวทีนำเสนอผลการสร้างและพัฒนาข้อสอบแนว PISA เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยให้เขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลการพัฒนาดี ได้นำเสนอเทคนิคการจัดทำข้อสอบและภาพรวมของกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม A และกลุ่ม B มีการนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนจากเขตพื้นที่การศึกษาแบบอย่าง ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาข้อสอบอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ และการใช้ข้อมูลผลการทดสอบเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อนำแนวทางที่ดีไปปรับใช้และต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของตนเอง มีการนำเสนอต่อ เลขาธิการ กพฐ. และรองเลขาธิการฯ กพฐ. จะทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และมีการจัดลำดับการนำเสนอเพื่อความเป็นระบบ และเพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้แก่เขตพื้นที่การศึกษาอื่นทั่วประเทศ แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ การคิดวิเคราะห์ และทักษะการใช้เทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนในระดับปฐมวัย ประถามศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้มีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดขั้นสูง และคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะกระบวนการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล และนักเรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และเครื่องมือดิจิทัล ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทั้งในด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันได้เห็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากการฝึกอบรมและพัฒนาผู้สอน ซึ่งทำให้การดำเนินการใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผู้ลงทะเบียนอบรมไปแล้วกว่า 437,585 คน และอบรมแล้วเสร็จ 340,583 คน ทิศทางการจัดการศึกษาปี 2040 : เป้าหมายการศึกษาในโลกดิจิทัล รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนระบบการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งหน่วยงานทั้งในบทบาทหลักและหน่วยสนับสนุน โดยมี สกศ. เป็นหน่วยงานหลัก สพฐ. และ สมศ. ร่วมกันทบทวนบทบาทและแนวทางการดำเนินงาน โดยการนำ AI มาปรับใช้พร้อมกับปรับปรุงชุดความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการจัดการศึกษาในปี 2030 ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่ออนาคตนำไปสู่ระบบการศึกษาในปี 2040 ต่อไป โดยการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การศึกษา 2040 จะเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิต ไม่ใช่แค่เพื่อการสอบ พร้อมออกแบบหลักสูตรใหม่ที่ตอบโจทย์อนาคต ปรับระบบการประเมินให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาครูให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนต้องได้รับการเตรียมให้เป็นพลเมืองโลก มีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันเทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI จะถูกใช้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพ แต่ไม่ใช่เป็นแนวทางหลักของการดำเนินงาน รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับความก้าวหน้าเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในงบประมาณปี 2569 ขอให้หน่วยงานในสังกัดเร่งจัดเตรียมข้อมูลและรายงานต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อให้สามารถนำเสนอรายละเอียดงบประมาณเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและความเห็นชอบของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายในช่วงเดือนนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ และให้ทุกหน่วยงานมีการติดตามการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด ทั้งในส่วนของงบดำเนินงาน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าใช้สอย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม วัสดุ ครุภัณฑ์ และโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรณีของงบที่มีการกันไว้เบิกเหลื่อมปีต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้จ่ายงบประมาณและลดปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปีต่อไป การประชาสัมพันธ์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เข้าถึงประชาชน รมว.ศธ.กล่าวว่า แนวทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในสังกัด โดยขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการสื่อสารผลงานและภารกิจของอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบช่องทางที่เป็นทางการ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ อาทิ Facebook TikTok มีการปรับรูปแบบเนื้อหาให้ทันสมัยและน่าสนใจ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการรับข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานและสร้างความเข้าใจในผลการดำเนินงานได้อย่างทั่วถึง...
กระทรวงศึกษาธิการ – 6 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “การป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา” พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด ศธ. ผู้บริหาร ศธ. นำพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) ตลอดจนตัวแทนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่าย ผ่านช่องทางการโฆษณาออนไลน์และกลยุทธ์ที่แฝงมาในรูปแบบที่น่าสนใจ อาทิ ลูกอม ขนมหรือของเล่น ทำให้เกิดความอยากรู้อยากลองในกลุ่มน้อง ๆ เยาวชน ศธ. จึงได้ออกมาตรการและกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยพิจารณาใน 2 มิติสำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยยึดหลักอริยสัจ 4 คือการโดยมุ่งหาสาเหตุของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความง่ายในการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า การขาดความรู้ความเข้าใจ และการขาดการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมตั้งเป้าหมายในการสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และลดจำนวนผู้ใช้ในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้เป็นศูนย์ และกำหนดแนวทางแก้ไขด้วยการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ การออกมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด รวมถึงการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หากตรวจพบว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเพิกเฉยต่อปัญหาให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินงานตามหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ประเทศไทยมี 77 จังหวัด ซึ่งแต่ละพื้นที่มีบริบทเฉพาะตัว การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความเข้าใจในพื้นที่จริง และออกแบบมาตรการที่เหมาะสมกับชุมชนและโรงเรียนในแต่ละท้องถิ่น เวทีเสวนาครั้งนี้ จะเป็นพื้นที่ในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน นำไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนาแนวทางเชิงนโยบายอย่างรอบด้านทุกมิติ ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมและผลิตภัณฑ์ที่แฝงอันตรายอื่น ๆ เช่น ขนมหวาน หรือของเล่นที่ใช้เป็นเครื่องมือชักจูงเด็กเข้าสู่วงจรเสพติด “กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายให้โรงเรียนทั่วประเทศเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” หรือ “พื้นที่สีขาว” ที่ปลอดจากบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และยาเสพติดทุกประเภท โดยอาศัยความร่วมมือจากนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ และภาคประชาสังคม พร้อมขยายการสื่อสารให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในวงกว้าง หวังให้ทุกคนในสังคมร่วมมือกันผลักดันให้เยาวชนไทยเติบโตในพื้นที่ที่ปลอดภัย และมีภูมิคุ้มกันจากภัยสังคมทุกรูปแบบ เพราะทุกคนมีบทบาทในการสร้างอนาคตให้กับเด็กไทย การทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่สีขาว ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของครูหรือผู้บริหาร แต่คือความร่วมมือของทุกคนในสังคม” ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นสิ่งเสพติดยุคใหม่ที่ได้รับความนิยม และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัย กลิ่นหอม และการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงง่าย จึงทำให้เยาวชนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่า เป็นสิ่งที่ปลอดภัย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอัตราการใช้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น เยาวชนสามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ต้องแสดงบัตรประชาชน หรือมีข้อจำกัดเรื่องอายุแต่อย่างใด ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข รวมถึงมีมาตรการที่เข้มข้นในการควบคุมและป้องกัน ประกอบกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการกำชับเร่งด่วนให้ทุกฝ่ายดูแลอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้สถานศึกษา ต้องไม่มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าให้เยาวชน ศธ. จึงได้กำหนดมาตรการที่เข้มงวด เพื่อให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และเพิ่มมาตรการป้องกัน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) ตรวจตราบริเวณรอบสถานศึกษา ประสานกับร้านค้าท้องถิ่นไม่ให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าให้กับนักเรียน ในการนี้ เมื่อเวลา 07.30 น. รมว.ศธ. นำผู้บริหารในสังกัด ร่วมปล่อยแถวขบวนความร่วมมือและปฏิบัติการร่วม นักเรียนปลอดภัยห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด เพื่อออกตรวจตราในสถานศึกษาและบริเวณจุดสำคัญทั่วประเทศ ณ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพ
2 พฤษภาคม 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษ หัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ของกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมวิชาการขับเคลื่อนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง สู่เป้าหมาย “เรียนดี มีความสุข” ปีงบประมาณ 2568 โดยนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกว่า 700 คน ทั่วประเทศ เข้าร่วมณ ห้องประชุมปทุมมาศ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี รมว.ศธ.กล่าวว่าการจะขับเคลื่อนนโยบาย“เรียนดีมีความสุข”ทุกคนในหน่วยงานต้องเข้าใจตรงกันในการดำเนินงานการที่จะมีความสุขได้ต้องลดภาระครูนักเรียนผู้ปกครองซึ่งที่ผ่านมามีความสำเร็จค่อนข้างสูงในการดำเนินการ ถ้าครูมีความสุขในการสอนการทำงานก็จะออกมาดีส่วนเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆต้องช่วยกันสำรวจฝากทุกวิทยาลัยเข้าไปดูและทำให้ถูกต้องความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีต่างๆ มิติการดำเนินงานในปีหน้าที่อยากให้เกิดขึ้นคือการเรียนรู้แบบ3 + 1คือ เรียนรู้ทั้งไทยอังกฤษจีนและเพิ่มในเรื่องดิจิทัลหรือAIในเวลานี้อาจจะยังปรับตัวไม่ทันเพราะเป็นเรื่องใหม่แต่ครูผู้สอนจะเป็นส่วนสำคัญในการนำAIมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเชื่อว่าหลายวิทยาลัยมีความพร้อมและอยากให้แบ่งปันนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐดำเนินการเชื่อมกันด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต ฝากแนวทาง“จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”ให้มีเครือข่ายการทำงานในรูปแบบ“ฉลาดรู้ฉลาดคิดฉลาดทำ”มีทักษะชีวิตในการทำงานให้ความสำคัญกับสมรรถนะที่จำเป็นต้องทบทวนตลอดเวลาขับเคลื่อนเรื่องของทวิภาคีให้เข้มข้นขึ้นมีการปรับพัฒนาให้ครูผู้สอนที่ส่งผลให้เด็กมีสมรรถนะที่ดีต่อสังคมทำงานและขอขอบคุณอาชีวะที่มีส่วนขับเคลื่อนการดำเนินงานเพราะพวกเรามีหัวใจในการทำงานมีความใส่ใจผู้เรียนในการเปิดภาคการศึกษาที่ผ่านมาเหตุทะเลาะวิวาทถือว่าน้อยลงมากกว่าในอดีตถือว่าเรา“เข้าใจเข้าถึงพัฒนา”ต่อยอดการดำเนินงานได้อย่างดีเยี่ยม ผู้ช่วยรมต.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่าทิศทางของนโยบายของกระทรวงศึกษาที่จะใช้ในการขับเคลื่อนสำหรับปีการศึกษานี้มีหลายอย่างที่พยายามขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น ธนาคารหน่วยกิต ที่รัฐมนตรีให้ความสำคัญ วันนี้ได้เห็นถึงความแตกต่างจากในอดีตที่จะมีการขับเคลื่อนอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นหลักการคือผู้เรียนนำทักษะที่มีเก็บเป็นหน่วยกิตเพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ในอนาคตสามารถประหยัดเวลาในการเรียนได้ส่วนหนึ่ง อีกแนวคิดหนึ่งคือเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนต้องตอบโจทย์ลูกค้าคือภาคเอกชนในพื้นที่ด้วยเช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดทำอย่างไรให้สถานศึกษามีความยืดหยุ่นให้ผู้เรียน เรียนจบแล้วสามารถตอบโจทย์กับผู้ประกอบการได้ในทันทีสถานศึกษาต้องรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ประกอบการว่าผู้เรียนของเราที่ส่งไปฝึกงานได้เสียงตอบกลับมาอย่างไรและสิ่งที่อยากเห็นคือผู้เรียนไปฝึกงานแล้วถูกจองตัวทำงานต่อนี่คือความท้าทายของสายอาชีพที่ปีนี้จะมีสิ่งใหม่เพิ่มขึ้นสิ่งสำคัญคือความร่วมมือในการการนำนโยบายขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ขอฝากเรื่องข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้ทำความเข้าใจกับเนื้อข่าวก่อนสิ่งที่ถูกต้องคือว่าเกิดกระแสใดไม่ควรปิดข่าวแต่ควรให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ปัญหานั้นโดยทันทีอย่ากังวลผลกระทบต่อชื่อเสียงสถาบันเพียงอย่างเดียวเพราะผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการเยียวยาอย่างสมควรแก่เหตุ สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ผู้บริหารทุกคนปฏิบัติภารกิจพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าและเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติในปีนี้และปีต่อไป ในการนี้เลขาธิการกอศ.ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย8วาระงานอาชีวศึกษา(8 Agenda)ในแนวคิดOVEC ONE Teamทำดีทำได้ทำทันทีเชื่อมโยงนโยบาย“เรียนดีมีความสุข”โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนดังนี้ การเรียนการสอนเข้มแข็ง ระบบทวิภาคีคุณภาพเข้มข้น ห้องเรียนอาชีพในพื้นที่ต่างๆ ความร่วมมือรัฐเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษา ผลิตและพัฒนากำลังคนมีคุณภาพมีสมรรถนะตรงตามความต้องการในการพัฒนาประเทศ สำหรับปีการศึกษา2568ได้ตั้งเป้ารับผู้เรียนและพร้อมดูแลรอบด้านทั้งความปลอดภัยในสถานศึกษาเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงป้องกันยาเสพติดและบุหรี่ไฟฟ้าส่งเสริมสุขภาวะและอาชีวะจิตอาสา พัฒนาทักษะวิชาการทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตให้ผู้เรียนรวมถึงส่งเสริมผู้เรียนให้มี“สมรรถนะสูง”มีรายได้ระหว่างเรียนจบแล้วมีงานทำ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ไม่ใช่แค่การมอบนโยบายแต่คือการรวมพลังสร้างความเข้าใจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศสู่การศึกษาเพื่อความยั่งยืนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบพรผดุงพล/ข่าว ประชาสัมพันธ์สอศ. /ภาพ
2 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 4/2568 พร้อมด้วยคณะกรรมการคุรุสภา และ ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการประชุม โดยที่ประชุม มีการพิจารณาและมีมติในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ เห็นชอบการแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ เป็นประธานอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ แทน ศาสตราจารย์องอาจ นัยพัฒน์ ประธานอนุกรรมการฯ ที่ลาออกก่อนครบวาระ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้แต่งตั้งรองศาสตราจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ผู้ซึ่งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ เสนอเป็นลำดับที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ แทน ศาสตราจารย์องอาจ นัยพัฒน์ นับตั้งแต่วันที่ประธานกรรมการคุรุสภาลงนาม ตามที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเสนอ การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว ดังนี้ 1. ให้การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จำนวน 13 แห่ง รวมจำนวน 35 หลักสูตร ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 29 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 6) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 7) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ 8) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2.ให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงแผนการรับนักศึกษา จำนวน 3 แห่ง รวมจำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้ ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เห็นชอบการรับรองผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 4/2568 ของผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินฯจำนวน 5,205 คน โดยเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา จำนวน 4,680 คน 2) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 495 คน และ 3) หลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 30 คน และมอบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เห็นชอบเกณฑ์การเทียบเคียงผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ของชุดทดสอบ Edusynch CEFR Level Test โดยมีเกณฑ์ตัดสินผ่านรวมของทั้ง 4 ส่วน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมกันไม่ต่ำกว่า ระดับ B2 (คะแนนเต็ม 6 ระดับ) เห็นชอบ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. …. การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของครูปฐมวัย จะนำไปสู่การผลิตครูปฐมวัยที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะสูง มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและมีคุณลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูปฐมวัย และเพื่อให้สอดคล้องกับ(ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. … ที่ระบุว่า“ทั้งนี้...
2 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี Kickoff : โครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง (OBEC Zero Dropout) ระยะที่ 2 “นำการเรียนไปให้น้อง” และการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน “เรียนดี มีความสุข : กลับมาเรียนอย่างมั่นใจ เริ่มเทอมใหม่อย่างมีความสุข” โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.พีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมด้วยนายไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวมถึงผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทุกสังกัดกว่า 500 คน เข้าร่วม ณ หอประชุมคุรุสภา และร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom ถ่ายทอดสดทาง OBEC Channel ของ สพฐ. รมว.ศธ. กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้เป็นศูนย์ ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ โดยที่ผ่านมา ศธ. ได้เร่งติดตามการดำเนินงานในทุกจังหวัดให้ครบ 100% เพื่อนำผลการติดตามมาวิเคราะห์และช่วยเหลือเด็กได้อย่างเต็มที่ ให้เด็กทุกคนสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ขณะนี้เราสามารถค้นหาติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาครอบคลุม 77 จังหวัด ในทุกเขตพื้นที่ครบ 100% แล้ว และในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 จะดำเนินการระยะที่ 2 คือ นำการเรียนไปให้น้อง โดยมีการนำระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาแบบยืดหยุ่น มีทั้งการเรียนในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพราะเด็กแต่ละคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจะนำการศึกษาไปหาเด็กๆ ตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา “Anywhere Anytime“ กระทรวงศึกษาธิการยังคงดำเนินการให้เด็กยังอยู่ในระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครู และชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาและการสนับสนุนตามความต้องการอย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ส่วนแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน มีการนำนวัตกรรมโรงเรียนมือถือ (Mobile School) ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาโดยเชื่อมโยงการเรียนรู้กับชุมชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเก็บหน่วยกิตได้ ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนและเพื่อให้โอกาสในการกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในทุกเขตพื้นที่ สำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2568 ขอให้สถานศึกษาทุกแห่ง ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ดูแลและดำเนินการเตรียมความพร้อมฯ ในทุกมิติ ทั้งความพร้อมด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านความปลอดภัยของผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา เตรียมแผนเผชิญรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความพร้อมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นสวัสดิการ สวัสดิภาพและปัจจัยพื้นฐานของผู้เรียน เช่น การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายการศึกษา โครงการอาหารกลางวัน/อาหารเสริม (นม) บริการน้ำดื่มสะอาด การดูแลรักษาความปลอดภัยเรื่องจราจร รถรับ-ส่งนักเรียน ความรุนแรงหรือยาเสพติดในสถานศึกษา เพราะเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะชีวิต และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมั่นใจรมว.ศธ.กล่าว ขอบคุณความร่วมมือของทุกฝ่าย รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจขับเคลื่อนนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”และสิ่งสำคัญคือ“ความร่วมมือพัฒนาการศึกษา”ที่พวกเราจะทำให้เกิดขึ้นร่วมกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยการทำงานเป็นทีมและจะประสบผลสำเร็จได้หากพวกเราทุกคน“จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”เพื่อปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ ให้คนไทย“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”และประเทศ“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ต่อไป รมว.ศธ. กล่าว นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.เผยถึงความสำเร็จของนโยบาย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาทั้งการพัฒนาระบบ TRS (Teacher Rotation System) ระบบการโยกย้ายที่มีความเป็นธรรม การช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา Zero dropout ที่สำรวจครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ที่ผ่านมาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผลสอบสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เป็นนโยบายการจัดการศึกษาที่เท่าเทียม พัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียน“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มคุณภาพการศึกษา นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษก ศธ.เน้นย้ำเรื่องการสื่อสารให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของเรื่องนั้น ๆ และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการศึกษา ร่วมกัน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”สร้างทรัพยากรมนุษย์ ที่มีค่าที่สุดของประเทศนี้ไปด้วยกัน ด้านว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่าThailand Zero Dropout เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ โครงการ“พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง”OBEC Zero Dropout จะสามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีความจำเป็นแตกต่างกันได้ โดย“นำการเรียนไปให้น้อง”จะจัดสำหรับนักเรียนที่มีความจำเป็นเฉพาะไม่สามารถกลับเข้ามาเรียนในระบบได้ โรงเรียนก็จะนำการเรียนไปให้นักเรียนได้เรียนที่บ้าน...