จาก“กระทรวงธรรมการ”เมื่อวันที่ 1 เมษายน สมัยรัตนโกสินทร์ศก 111 ปีมะโรง ตรงกับพุทธศักราช 2435 สู่การเปลี่ยนผ่านวัน ผ่านยุค ผ่านสมัย และผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ จนในปีพุทธศักราช 2484 เกิดเป็น“กระทรวงศึกษาธิการ”อันเป็นสถานที่และเป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายวางแผนบริหารจัดการด้านการศึกษา ส่งเสริม และเป็นส่วนสำคัญช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ “หนึ่งร้อยสามสิบสามปี”แห่งการก่อร่างสร้างการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ทำหน้าที่เป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ หล่อหลอมคนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรม ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งสู่ยุคใหม่ จาก“ห้องเรียนกระดานดำ”สู่“ห้องเรียนดิจิทัล”จาก“หนังสือเรียน”สู่“แพลตฟอร์มออนไลน์”เส้นทางของการศึกษายังคงดำเนินต่อไป ด้วยเป้าหมายเดียวคือการ “สร้างคน สร้างชาติ สร้างอนาคตที่“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” “หนึ่งร้อย” ปี หรือหนึ่งศตวรรษแห่งการวางรากฐาน ความสำเร็จสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ คือการสร้างรากฐานระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง ตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ที่ทำให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน จนถึงการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของโลก ระบบการศึกษาของไทยเติบโตควบคู่ไปกับสังคม ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต นับเกินกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของไทย ตั้งแต่การวางโครงสร้างระบบการเรียนการสอน จัดตั้งโรงเรียนทั่วประเทศ ไปจนถึงการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยได้รับโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ไม่ว่าระบบการศึกษาไทยจะก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงกี่ช่วงระยะเวลา แต่เป้าหมายยังคงเดิม คือการพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญของชาติอย่าง“มั่นคง” “สามสิบ” ปีแห่งการเปลี่ยนผ่าน ย้อนกลับไปในปีพุทธศักราช 2538กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้ประชาชนไทย มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพัฒนาประเทศชาติ ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุขและลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย เป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เป็นผู้มีความสามารถในการคิดเป็นผู้ใฝ่รู้และสามารถแสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความสามารถในทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละและอดทน ร่วมมือกับผู้อื่นได้ รักสิ่งแวดล้อม มีความเป็นประชาธิปไตย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยอยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย และความเหมาะสมของการศึกษาแต่ละระดับ จวบจนกาลเวลาพาเดินทางมาถึงปัจจุบันในปีพุทธศักราช 2568สามสิบปีที่ผ่านมาโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การศึกษาไทยสามารถสร้างคนไทยให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก นำไปสู่ความ“มั่งคั่ง”ของประเทศ นับเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้เป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาไทยและยังมีการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ส่งต่ออนาคตของการศึกษาไทย จากรุ่น … สู่รุ่น “สาม” เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” 132 ปีที่ผ่านมา สู่133 ปีที่กำลังจะก้าวไป กระทรวงศึกษาธิการภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูนชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อ“สาม”เป้าหมายสำคัญนั่นคือ การสร้างผู้เรียนให้มีความ“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”ฉลาดรู้คือการรู้ในสิ่งที่ควรรู้อย่างยั่งยืนและรอบด้านฉลาดคิดคือการคิดอย่างมีวิจารณาญาณและสร้างสรรค์ฉลาดทำคือการลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม เป้าหมายทั้งสามนี้ เปรียบเสมือนเสาหลักในการสร้างคนไทยที่มีคุณภาพ พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไปในอีกเกินกว่า 133 ปีข้างหน้า รวมทั้งนำแนวคิดการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดำเนินงาน ร่วมกับพัฒนาการศึกษาไทยให้ทันต่อยุคสมัย และตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในอนาคต เพื่อให้การศึกษาของประเทศไทยมีคุณภาพที่“ยั่งยืน” ประกอบกับนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”นับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อผู้เรียนมีความสุข มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้น และเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามเป้าหมายใน“การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต”เราจึงต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างการศึกษาที่เท่าเทียมพร้อมที่จะพัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย สร้างความเสมอภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมายาวนานถึง 133 ปี และยังคงต้องก้าวต่อไปในยุค “พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ” รมว.ศธ. และ “สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล” รมช.ศธ. พร้อมเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการศึกษาไทย สร้างคนไทยให้ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ พร้อมความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน พร้อมเดินหน้าพัฒนาการศึกษา ร่วมกัน“ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ”เพื่อสร้างคุณภาพ สร้างอนาคต สร้างสิ่งที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัย สามารถนำพาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและแข่งขันได้ในเวทีโลก อานนท์ วิชานนท์ / สกู๊ป ณัฐพล สุกไทย / กราฟิก
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
30 มีนาคม 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ทำให้อาคาร สตง. ถล่ม โดยมีนักศึกษาฝึกงานจากวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด 2 ราย คือ นายศักดิ์ชัย สุมาลี และนายวรวุฒิ ตรีวุฒิ นักศึกษา ระดับชั้น ปวช.2/4 แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สูญหายภายในอาคารพร้อมทีมช่างไฟฟ้าอีก 4 คน ยังมีความหวังในการช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุ เนื่องจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยตรวจพบสัญญาณชีพจรจากบริเวณที่คาดว่าผู้สูญหายติดอยู่ นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า ทีมกู้ภัยยังคงเร่งค้นหาผู้ประสบเหตุอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องทำงานอย่างระมัดระวังเนื่องจากโครงสร้างอาคารยังเสี่ยงต่อการถล่มซ้ำ นักศึกษาทั้งสองกำลังฝึกงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด สมใจ เจ้บุ๋ม การไฟฟ้า มีกำหนดฝึกงาน 1 ภาคเรียน (มีนาคม-กันยายน 2568) โดยดำเนินการตามขั้นตอนครบถ้วน ทั้งใบคำร้อง หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง และหนังสือตอบรับจากสถานประกอบการ โดยนักศึกษาได้ติดต่อฝึกงานผ่านญาติที่ทำงานในสถานประกอบการดังกล่าว ในการนี้วิทยาลัยได้ทำประกันอุบัติเหตุหมู่ให้กับนักศึกษาทุกคน ครอบคลุมการเสียชีวิตทุกกรณี วงเงิน 100,000 บาท โดย สอศ. พร้อมให้การสนับสนุนทุกด้านเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด ศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา / ข้อมูล ธรรมนารี ชดช้อย / กราฟิก
29 มีนาคม 2568 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ., นายณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์ รองเลขาธิการ กอศ., นายเกิดศักดิ์ ยะโสธร รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง, นายขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์ ผอ.รร.สตรีวิทยา และเจ้าหน้าที่ ร่วมลงพื้นที่ พร้อมนำวิศวกรโยธา เข้าไปตรวจสอบอาคารต่าง ๆ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา รมว.ศธ. กล่าวว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วประเทศเมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรี “นางสาวแพทองธาร ชินวัตร” ห่วงความปลอดภัยของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะผู้เรียนของเรา จึงได้กำชับมายังกระทรวงศึกษาธิการดูแลในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดและองค์กรในกำกับ โดยมุ่งหวังที่จะให้น้องนักเรียนและบุคลากรดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงเรียนและหน่วยงานได้อย่างปลอดภัย โดยครู นักเรียน และบุคลากรสามารถสังเกตเองได้ หากมีจุดสงสัยไม่แน่ใจชัดเจน สามารถส่งข้อมูลมาสอบถามได้ที่สภาวิศวกร หากพบว่ามีจุดเสียหายรุนแรงโครงสร้างอาคารปูนร้าวจนเห็นเหล็ก เราจะประสานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองและสภาวิศวกรเข้ามาดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกอย่างเป็นระบบในการควบคุม พร้อมติดตามอย่างต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาธิการได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบจัดทำแบบฟอร์มออนไลน์เพื่อเร่งสำรวจข้อมูลว่ามีสถานศึกษา หน่วยงานในสังกัดและองค์กรในกำกับทั่วประเทศได้รับความเสียหายจากผลกระทบแผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยให้สำรวจความเสียหายของอาคารเรียน ให้เสร็จสิ้นภายในวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2568 โดยจะนำข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณาความปลอดภัย แบ่งระดับออกเป็น 3 สี ได้แก่ สีเขียว = ปลอดภัย สีเหลือง = เสียหายเล็กน้อย และสีแดง = อันตราย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดทำการ หากปลอดภัยก็สามารถเปิดทำการได้ปกติ แต่หากมีแนวโน้มได้รับความเสียหายระดับสีแดงจะยังไม่เปิดให้เข้าพื้นที่และให้ต้นสังกัดให้ความช่วยเหลือทันที จากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายภายในโรงเรียนสตรีวิทยา กับผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ร่วมกับกรมโยธาธิการและผู้แทนสภาวิศวกร พบว่าไม่เกิดความเสียหาย เพราะมีโครงสร้างแข็งแรงมาก ระบบไฟและระบบน้ำใช้งานได้ปกติ และสำหรับวันนี้และวันพรุ่งนี้ที่จะมีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 เมื่อดูจากสภาวะการณ์แล้ว ยังเป็นที่น่ากังวลใจ จึงได้เลื่อนการสอบไปทั้งหมด ขอขอบคุณไปยังผู้อำนวยการสถานศึกษา รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการเป็นอย่างดี หลังจากตรวจสอบว่าอาคารมีความปลอดภัยทั้งหมดแล้วต้นสังกัดจะประกาศวันสอบอีกครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ในส่วนของอาคารบริเวณภายในกระทรวงศึกษาธิการ ทีมวิศวกรอาสาได้ลงพื้นที่สำรวจแล้วไม่พบความเสียหายของโครงสร้าง พร้อมยืนยันว่าบุคลากรสามารถมาปฏิบัติงานได้ปกติไม่เกิดอันตรายอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากหน่วยงานหรือสถานศึกษาใดไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคารสามารถแจ้งไปได้ที่ศูนย์รับเรื่องราวของกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยแจ้งดำเนินการตรวจสอบอาคารเบื้องต้นทั้งโรงเรียนและสถานที่ราชการต่าง ๆ จะมีวิศวกรอาสาเข้ามาดูแลและอำนวยความสะดวก สุดท้ายนี้ ฝากความห่วงใยไปยังผู้ปกครองขอให้สบายใจในเรื่องการดูแลผู้เรียนของเรา หากสถานที่ไม่ปลอดภัยเราจะไม่ให้เข้ามาในโรงเรียนเด็ดขาด หากตรวจสอบว่าปลอดภัยแล้วผู้อำนวยการสถานศึกษาจะแจ้งไปว่าให้มาเข้าปฏิบัติกิจกรรมตามปกติ ในส่วนของสถานที่ทำงานแต่ละหน่วยงานก็เช่นเดียวกัน หากไม่ปลอดภัยก็จะไม่ให้เข้ามาปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง ให้เฉพาะผู้ที่มีภารกิจสำคัญและเร่งด่วนเท่านั้นที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ได้ ดาวน์โหลดไฟล์ แบบสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างหลังเกิดแผ่นดินไหว สำหรับส่วนราชการและสถานศึกษา ตามแบบฟอร์มกรมโยธาธิการและผังเมือง https://drive.google.com/drive/folders/1dNgpIA_aMug5IioxNcrmuK_rJlpeYkcU?usp=sharing พบพร ผดุงพล / ข่าว ธรรมนารี ชดช้อย / กราฟิก เจษฎา วณิชชากร / วิดีโอ ณรชัย ฉิมพาลี / ภาพ
จังหวัดบุรีรัมย์ – 29 มีนาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2568 ครั้งที่ 9 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ “เรียนดี มีความสุข” ผ่านระบบออนไลน์ จัดโดยเครือข่ายคุรุทายาทนักพัฒนาการศึกษา ชมรมคุรุทายาทแห่งประเทศไทยระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2568 โดยมีสมาชิกครูโครงการคุรุทายาททั่วประเทศ รวมถึงผู้อำนวยการสำนักใน สพฐ. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนทั่วประเทศ กว่า 300 คน เข้าร่วม ณ โรงแรมสกายวิวรีสอร์ทบุรีรัมย์ รมว.ศธ.กล่าวว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามโครงการคุรุทายาทมีเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นบุคลากรที่มีความรู้ประสบการณ์สูง มีเจตคติที่ดีในการประกอบวิชาชีพครู เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ดังนั้นการที่กระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษายุคให้โดยการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ในการบริหาร ปรับสถานศึกษา ให้เป็นองค์กรแห่งความสุข ปรับการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่ห้องเรียน ยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนการศึกษา ทั้งนี้เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม การศึกษาไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ รูปแบบการศึกษาที่อาจไม่ทันกับความต้องการของสังคม และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคใหม่ ซึ่งหากไม่มีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจทำให้การศึกษาของไทยไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรโดยเฉพาะผู้นำองค์กรได้เรียนรู้ เข้าใจและปรับตัวทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตที่กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาไทยจำเป็นต้องมีการทบทวนทิศทางการพัฒนาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงทั้งการพัฒนาคุณภาพของระบบการศึกษา พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในยุคใหม่ การใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษาต่าง ๆ จึงเชื่อมั่นว่าผู้ที่เคยเรียนในโครงการคุรุทายาท จะมีส่วนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของไทยให้ตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต ปัจจุบันคุรุทายาทเติบโตเป็นผู้นำทางการศึกษา ทีม ศธ. ของเราต้องร่วมกันจุดประกายร่วมแรงร่วมใจ เปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ก้าวไกลไปสู่มาตรฐานสากล “ทำดี ทำได้ ทำทันที” “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” เป็นผู้นำในการ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แก่ เรียนรู้สิ่งที่จำเป็น และเปิดใจรับสิ่งใหม่ เตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว และแนวทางปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการเรียนรู้ เช่น ใช้เทคโนโลยี AI อย่างชาญฉลาด คิดอย่างมีเหตุผล คิดวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ส่งเสริมความรักและความสามัคคี ลงมือทำ ร่วมมือกัน สร้างความเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้นำในการคิดวิเคราะห์และนำไปสู่การพัฒนางานให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถเรียนรู้จากตัวอย่างจังหวัดบุรีรัมย์ ที่พัฒนาจังหวัดจากเมืองรองหรือเมืองผ่านจนก้าวมาเป็นจังหวัดชั้นนำด้านการกีฬาและด้านอื่น ๆภายใต้แนวทาง “แปลก อลังการ มาตรฐานสากล” โดยมีนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นผู้นำในการพัฒนาจังหวัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง การจัดประชุมเครือข่ายคุรุทายาทในครั้งนี้ มีผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการคุรุทายาท บรรยายพิเศษเกี่ยวกับการบริหารงานเพื่อพัฒนาการศึกษาในมิติต่างๆ ได้แก่ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.วีระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ผศ.ดร.พลรพี ทุมมาพันธ์ รองเลขาธิการคุรุสภา และตัวแทนเครือข่ายคุรุทายาท ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้แล้วตัวแทนคุรุทายาทนำโดย นางกัญจนา สัตตรัตนำพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 และนายณัฐนนท์ วิทยาประโคน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 นำคณะผู้บริหารและเครือข่ายคุรุทายาท ไปจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ที่โรงเรียนบ้านโคกวัด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ กฤติยา โพธิ์เสนา / ข่าว ประชาสัมพันธ์ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 / ภาพ
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สป.ศธ. ระดมสรรพกำลังเพื่อสนับสนุนการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ จัดเต็นท์ให้บริการสำหรับผู้ที่ยังเข้าคอนโดมิเนียม หอพัก หรือที่พักไม่ได้ เพื่อให้มีที่พักชั่วคราว จำนวน 75 หลัง โดยประสานงานจุดให้บริการกับกรุงเทพมหานคร 2. เปิด ศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจกรรมเยาวชน (ศลยก.) 2 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจกรรมเยาวชน “กฐิน กุยยกานนท์” 34/4 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ / มีอาคารเชลเตอร์ที่พัก จำนวน 8 หลังและตึกพัก / รองรับที่พัก 100 คน ผู้ประสานงาน : สมศักดิ์ 0891839189 อภิวัฒน์ 0934459351 https://maps.app.goo.gl/LG5K2YqD9wcJ9FFR9?g_st=com.google.maps.preview.copy ศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจกรรมเยาวชน “ผิน แจ่มวิชาสอน” ซอยเพชรเกษม 102 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร / รับรองที่พัก 50 คน ผู้ประสานงาน : สุรัตน์ 089-526-5986 ต้อม 0808075906 https://maps.app.goo.gl/8vUgnMAVZBR3a31g9?g_st=al 3. เปิดค่ายลูกเสือกรุงเทพ (พิศลยบุตร) สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม. มีอาคารเชลเตอร์ที่พัก จำนวน 10 หลัง อาคารเต็นท์ถาวร จำนวน 15 หลัง / รับรองที่พัก 100 คน ผู้ประสานงาน : นางสาวปราณวีร์ ธีรภาพธรรมกุล หัวหน้าค่ายลูกเสือพิศลยบุตร 06-5324-4141 https://maps.app.goo.gl/pgrPntkSsgtV8WBA9?g_st=ic เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวให้แก่ผู้ที่เข้าคอนโดมิเนียม หอพัก หรือที่พัก ไม่ได้ ทั้งนี้ ได้ประสานกับกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้บริการประชาชน ลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ “ทำดี ทำได้ ทำทำทันที”
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี (27 มีนาคม 2568) เห็นชอบแผนส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแผนดำเนินงานจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานซึ่งประกอบด้วยนโยบาย “3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม” 3 เร่ง เร่ง ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก ชุมชน และสังคม ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตทุกด้านของเด็กปฐมวัย เร่ง จัดสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้ารวมถึงทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการเติบโตอย่างอยู่ดีมีสุขของเด็กปฐมวัย เร่ง เสริมศักยภาพอปท. ชุมชน และกลไกระดับพื้นที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น รพ.อำเภอ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3 ลด ลด การใช้สื่อหน้าจอในเด็กปฐมวัยอย่างจริงจังและงดใช้ในเด็กก่อนวัย 2 ขวบ โดยห้ามให้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือสื่อหน้าจอแก่เด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยเด็ดขาด และเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เล่นได้อย่างมีเงื่อนไข ลด ความเครียด คืนความสุขแก่เด็กปฐมวัยโดยการไม่เร่งการเรียนเขียนอ่านหรือยัดเยียดความรู้ให้เด็กปฐมวัย แต่เน้นการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ลด การใช้ความรุนแรงกับเด็กปฐมวัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยให้ยกเลิกการลงโทษด้วยวิธีการที่รุนแรงและการใช้คำพูดในเชิงลบ 3 เพิ่ม เพิ่ม กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ผ่านการเล่นที่หลากหลายเช่น ดนตรี กีฬา การออกกำลังกาย เพิ่ม การเล่าหรืออ่านนิทานกับเด็กสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา ทักษะสมอง จินตนาการ และเพิ่มความสุขอย่างสม่ำเสมอ เพิ่ม ความรัก ความใส่ใจ และเวลาคุณภาพของครอบครัวโดยการส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ มีความรู้และทักษะที่จะ “เล่นเป็นกอดเป็น คุยเป็น ฟังเป็น เล่าเป็น” ทั้งนี้ การเห็นชอบนโยบาย“3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม”เนื่องจากที่ผ่านมาสภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องหยุดทำการ และเด็กจำเป็นต้องอาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง แต่ผู้ปกครองไม่มีความพร้อมและไม่สามารถดูแลบุตรหลานได้ตลอด 24 ชม. ประกอบกับพบว่าระยะเวลาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเด็กสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้เด็กปฐมวัยอยู่ในสภาวะวิกฤตจากการใช้สื่อหน้าจอที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สภาวะวิกฤตจากความเหลื่อมล้ำในไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่า ไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยสูงขึ้น โดยการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กอายุ 3-5 ปี ในปี 2562-2564 ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสภาวะวิกฤตทางสังคม ครอบครัว จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในไทย เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2566 พบว่า ร้อยละ 17 ของหญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี มีการสมรสก่อนอายุ 18 ปี ร้อยละ 25 ของเด็กอายุไม่เกิน 17 ปี ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ เนื่องจากพ่อแม่มักย้ายถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพ ร้อยละ 71 ของเด็ก 0-17 ปี อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา และยาย เป็นต้น ดังนั้น จากสภาวะวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเด็กปฐมวัย เช่น พัฒนาการของเด็กปฐมวัยหยุดชะงัก เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอยอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้งระบบอย่างจริงจังต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมพัฒนาการที่ดีรอบด้าน เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต. รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนางสาวปรัชญวรรณ วนานันท์ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารจัดการศึกษา (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านระบบบริหารจัดการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ บัลลังก์ โรหิตเสถียร / สรุป
26 มีนาคม 2568 – นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความพอใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อสถิติการผลิตหนังสือเรียน องค์การค้าของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ชี้ให้เห็นว่าประหยัดงบประมาณสูงสุดในรอบ 10 ปี เป็นจำนวนเงินกว่า 200 ล้านบาท โฆษก ศธ. กล่าวว่าจากสถิติการผลิตหนังสือแบบเรียน องค์การค้าของ สกสค. โดยกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี 2559 – 2568 พบว่าในปีงบประมาณ 2568 นี้ มีค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างตามสัญญาอยู่ที่ 852,172,100 บาท ซึ่งต่ำกว่าวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 207,827,900 บาท หรือคิดเป็น 19.61 % นับเป็นสถิติที่ชี้ให้เห็นถึงความประหยัดสูงสุดในรอบ 10 ปี ได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับสถิติในปีก่อน ๆ ซึ่งเป็นที่พึงพอใจสำหรับ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการผลิตหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าฯ ที่ผ่านมา มีทั้งจัดพิมพ์เอง จ้างพิมพ์บางส่วนที่เกินกำลังการผลิต ใช้วิธีคัดเลือก และ E-bidding ซึ่งในปีนี้ได้ตั้งวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1,060,000,000 บาท และตั้งราคากลางโดยคณะกรรมการฯ อยู่ที่ 1,016,914,750 บาท แต่กลับจัดจ้างได้ในราคาที่ต่ำและได้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียน มุ่งเน้นไปที่ความคุ้มค่าแต่ยังเต็มไปด้วยคุณภาพ แม้ที่ผ่านมาแม้อาจมีดราม่าจนเป็นกระแสในบางเรื่อง แต่ศาลปกครองกลางก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าการดำเนินการขององค์การค้าถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 เป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามแผนระยะเวลาที่กำหนดไว้ ขอบคุณองค์การค้าของ สกสค. ที่มีความตั้งใจผลิตหนังสือแบบเรียนให้มีคุณภาพ เกิดการแข่งขันโดยสมบูรณ์ ในราคาที่เป็นธรรม สำหรับในปีหน้าอาจคาดการณ์ไว้ไม่ได้ว่าจะประหยัดงบประมาณได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากต้นทุนการผลิตเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังคงยึดแนวทาง“ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด”ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ที่เน้นย้ำให้ดำเนินการทุกขั้นตอนให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่การศึกษาของชาติ “ขอให้เชื่อมั่นว่าหนังสือแบบเรียนทุกเล่มที่อยู่ในมือผู้เรียน มีคุณภาพคุ้มค่ากับงบประมาณทุกบาททุกสตางค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้กับนักเรียนไทยให้มีอัตรารู้หนังสืออย่างเท่าเทียม และขณะนี้ได้เริ่มทยอยส่งไปยังร้านตัวแทนจำหน่าย โรงเรียน และสถานศึกษาแล้ว สามารถจำหน่ายได้ทันก่อนเปิดเทอมแน่นอน” โฆษก ศธ.กล่าว พบพร ผดุงพล / ข่าว ธรรมนารี ชดช้อย / กราฟิก
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 9/2568 ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2568 ต้องดีกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนว่าเม็ดเงินที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรไปนั้น สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพพอใจผลการสำรวจการรู้หนังสือของคนไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพิ่มขึ้นจาก 94% เป็น 98%พร้อมกำชับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา เตรียมจัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กไทย “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” สพฐ. Summer Camp 2025 โดยมีกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวัน ชี้การประเมินคุณภาพทางการศึกษาเป็นดัง “กระจกเงา” ที่สะท้อนภาพรวมของระบบการศึกษาไทย สัปปายะสภาสถาน – 25 มีนาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 9/2568 พร้อมด้วยนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ., นายวิศรุต ปู่เพ็ง ที่ปรึกษา รมช.ศธ., นายพิษณุ พลธี เลขานุการ รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับเข้าร่วม ณ ห้องประชุม N 405 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา และประชุมผ่านระบบ e-Meeting รมว.ศธ.กล่าวว่า การพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการชี้แจงผลการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสื่อสารเชิงรุก เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางการศึกษา พร้อมใช้เวทีการอภิปรายทั่วไปในครั้งนี้เป็นช่องทางในการนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและทุกภาคส่วนในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2568 รมว.ศธ.กล่าวว่า การดำเนินงานติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของ ศธ. ขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่การเบิกจ่ายยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งได้เร่งรัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าอัตราการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ในขณะนี้เบิกจ่ายอยู่ที่ 50.98 ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่ 53% หนึ่งในสาเหตุหลักคือการที่งบลงทุนอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ ส่งผลให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผนที่วางไว้ การเบิกจ่ายฯ จะต้องมีประสิทธิภาพและดีกว่าปีที่ผ่านมา (ศธ. มีการเบิกจ่ายเป็นอันดับ 1 จาก 24 หน่วยงาน คิดเป็น 100.09% ด้านข้อมูลสถานะรายจ่ายเงินลงทุน 2567 และเงินจัดสรรเหลือจ่าย ณ วันที่ 13 ก.ย. 2567 มีจำนวนรายการที่ลงนามในสัญญาแล้ว 98.90% และเบิกจ่ายแล้ว 55.82%) เพื่อให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนว่าเม็ดเงินที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรไปนั้นสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสำรวจการรู้หนังสือของคนไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รมว.ศธ.กล่าวว่า ในปีนี้มีผลการรู้หนังสือ 98% เพิ่มขึ้นจากเดิม 94% ศธ. เตรียมการสำรวจการรู้หนังสือของคนไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย สกศ. และ สกร. ร่วมดำเนินการสำรวจประชากรอายุ 7 ปีขึ้นไป ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับการศึกษา ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรู้หนังสือของคนไทย และนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการจัดอันดับด้านการศึกษาในระดับนานาชาติหรือ IMD ผลการสำรวจจะสามารถรายงานได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในการพัฒนาการศึกษาต่อไป โดยการสำรวจในปัจจุบันครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ และสามารถสำรวจได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำรวจได้ถึง 224,462 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 105.33 สำหรับการจัดอันดับด้านการศึกษาจากเว็บไซต์ World Population Review ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและประเด็นอื่น ๆ ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ที่ อันดับ 107 จาก 203 ประเทศ ต่ำกว่าประเทศลาว ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกข้อเท็จจริงก็คือ ผลการจัดอันดับจากเว็บไซต์นี้อาจไม่สะท้อนคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่มีการระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับอย่างชัดเจนและอาศัยข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นมากกว่าข้อมูลเชิงสถิติ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการศึกษาของไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน หากพิจารณาจากอัตราการรู้หนังสือของประชากร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาของไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการพัฒนาฐานข้อมูลทางการศึกษาให้ครบถ้วนและทันสมัย เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันสามารถนำไปใช้ในการจัดอันดับระดับนานาชาติได้อย่างแม่นยำขึ้น และสะท้อนคุณภาพการศึกษาไทยได้อย่างแท้จริง กำชับระเบียบ ศธ. จากเหตุการณ์อุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษา รมว.ศธ.กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนอนุบาลบ่อพลอยราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดตราด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา และประกาศบังคับใช้ทั้งสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแล หรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย ขอให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะการพิจารณาคัดเลือกเส้นทางการเดินทาง การควบคุมยานพาหนะให้เป็นไปตามลำดับหมายเลขตามเส้นทางที่กำหนด และการใช้ความเร็วของยานพาหนะ...
21มีนาคม2568 –นายสิริพงศ์อังคสกุลเกียรติโฆษกกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยกรณีที่มีข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)เป็นประเด็นในกระแสที่สังคมจับตามองเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดเตรียมเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสสั่งสอบข้อเท็จจริงภายใน15วัน โฆษกศธ.กล่าวว่าจากกรณีที่มีข่าวตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับการจัดการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งพล.ต.อ.เพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามระเบียบของทุกหน่วยงานในสังกัดและองค์กรในกำกับพร้อมเน้นย้ำว่าทุกขั้นตอนต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ไร้ซึ่งการทุจริตทุกกรณีไม่ให้เป็นที่คลางแคลงใจต่อสาธารณชน ประเด็นในกระแสล่าสุดคือเรื่องการจัดการคัดเลือกตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)กำหนดซึ่งอิงหนังสือสำนักงานก.ค.ศ.ที่ศธ0206.6/ว8ลงวันที่26เมษายน2562ที่ยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบันหากดูจากอัตราว่างตำแหน่งดังกล่าวพบว่ามีอยู่33อัตราซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณพ.ศ. 2567 (1ตุลาคม2567) สอศ.ได้มองว่าหากต้องรอหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาใหม่จะไม่สามารถดำเนินการคัดเลือกได้ในเร็ววันซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการจึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้อำนวยการสถานศึกษาเฉพาะตำแหน่งว่างจากการเกษียณอายุราชการโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเดิมที่ยังมีผลบังคับใช้เพื่อให้ได้ผู้ปฏิบัติหน้าที่บริหารสถานศึกษาได้ทันการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา2568นี้ ขอเรียนว่าที่ผ่านมาสอศ.ได้ให้ข่าวถึงประเด็นดังกล่าวมาเป็นระยะซึ่งได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ.กำหนดทุกประการโดยยึดหลักความโปร่งใสเป็นธรรมเสมอภาคและคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดที่สำคัญการจัดสอบในครั้งนี้ดำเนินการโดยศูนย์สอบธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นองค์กรภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกทั้งศูนย์สอบธรรมศาสตร์ยังได้ออกมาให้ข่าวยืนยันว่าผลคะแนนไม่มีความผิดปกติผู้สอบสามารถติดต่อขอดูคะแนนด้วยตนเองได้เพราะฉะนั้นทุกกระบวนการขอให้มั่นใจได้ว่ามีการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน ขณะนี้พล.ต.อ.เพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นว่าองค์กรที่กำกับดูแลต้องโปร่งใสจึงมีข้อสั่งการให้ดำเนินการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีผลภายใน15วันเพื่อไม่ให้เป็นข้อครหาของสังคมและต้องเปิดเผยข้อมูลให้กระจ่างเรียกความเชื่อมั่นในการดำเนินงานทุกขั้นตอน พบพรผดุงพล/ข่าว,กราฟิก
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ อนุม้ติร่างกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงเครื่องแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและกิจการลูกเสือในปัจจุบัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้งานที่มีการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง โดยแบ่งประเภทเครื่องแบบลูกเสือเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องแบบปกติ เครื่องแบบปฏิบัติการ และเครื่องแบบลำลองพร้อมกำหนดนิยามของเครื่องแบบซึ่งเดิมไม่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงรวมทั้งกำหนดส่วนประกอบหลักของเครื่องแบบลูกเสือแต่ละประเภท นอกจากนี้ อนุมัติแผนการอุดหนุนทางการเงิน ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโครงการพระราชดำริฯปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2572 จำนวน 20 โรงเรียน กรอบวงเงินทั้งสิ้น 133.87 ล้านบาท อนุม้ติร่างกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ พ.ศ. …. สาระสำคัญของเรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ พ.ศ. …. เป็นการปรับปรุงเครื่องแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและกิจการลูกเสือในปัจจุบัน รวมถึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้งานที่มีการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งโดยกำหนดประเภทเครื่องแบบลูกเสือให้เหมาะสมกับรูปแบบกิจกรรมลูกเสือและการใช้งานของผู้เรียน โดยแบ่งประเภทเครื่องแบบลูกเสือออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องแบบปกติ เครื่องแบบปฏิบัติการ และเครื่องแบบลำลอง(จัดกลุ่มประเภทเครื่องแบบใหม่และเพิ่มประเภทเครื่องแบบลูกเสือ แบบปฏิบัติการเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเข้าร่วมพิธีการ* หรือเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ เช่น แต่งกายเครื่องแบบปฏิบัติการแทนเครื่องแบบปกติ สำหรับการฝึกอบรมหรืออยู่ค่ายพักแรมของกิจกรรมค่ายลูกเสือหรือชุมนุมลูกเสือเพื่อความทะมัดทะแมงและคล่องตัว) กำหนดนิยามของเครื่องแบบซึ่งเดิมไม่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงเช่น เครื่องแบบปกติ เครื่องแบบปฏิบัติการ เครื่องแบบลำลอง และกำหนดส่วนประกอบหลักของเครื่องแบบลูกเสือแต่ละประเภทเช่น หมวก เสื้อ กางเกง ผ้าผูกคอ (ส่วนรายละเอียดและลักษณะของเครื่องแบบ รวมทั้งลักษณะของเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบให้นำไปกำหนดไว้ในระเบียบที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด) นอกจากนี้กำหนดให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีหน้าที่จัดทำเครื่องแบบ เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบ และการแต่งกายตามร่างกฎกระทรวงนี้ขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง (เหมือนกฎกระทรวงเดิม) ทั้งนี้ ในระหว่างที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ยังมิได้ประกาศกำหนดรายละเอียดและลักษณะของเครื่องแบบ และลักษณะของเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบนั้นให้เครื่องแบบและเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2510) และที่แก้ไขเพิ่มเติมออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507ใช้บังคับต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2571เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานการออกระเบียบสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเพื่อกำหนดรายละเอียดและลักษณะของเครื่องแบบลูกเสือ รวมทั้งเพื่อให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง และร้านค้า มีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเครื่องแบบลูกเสือตามระเบียบดังกล่าว อนุมัติแผนการอุดหนุนทางการเงิน ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโครงการพระราชดำริฯ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนการอุดหนุนทางการเงินและให้ความช่วยเหลือด้านอื่น (แผนการอุดหนุนทางการเงินฯ) ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโครงการพระราชดำริฯ)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2572 จำนวน 20 โรงเรียน กรอบวงเงินทั้งสิ้น 133.87 ล้านบาทโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 จำนวน 58.42 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2570 จำนวน 24.60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2571 จำนวน 35.63 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2572 จำนวน 15.22 ล้านบาท ทั้งนี้จะช่วยให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในโครงการตามพระราชดำริฯ สามารถใช้ประโยชน์จากอาคารเรียน อาคารประกอบ ครุภัณฑ์ สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้อย่างมีคุณภาพ. บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน
จังหวัดภูเก็ต – 15 มีนาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา“เรียนดี มีความสุข”และมอบนโนบายทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด พร้อมด้วยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายธนู ขวัญเดช นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด ศธ. ผู้ตรวจราชการ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด รองศึกษาธิการภาค/จังหวัดตลอดจนผู้อำนวยการสำนักในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมกว่า 200 คน โดยมีนายสมาวิษฎ์ สุวรรณไพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน รมว.ศธ.กล่าวว่า การที่เรามาร่วมกันทำงานในวันนี้ เป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะได้มาร่วมกิจกรรมสัมมนาและสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีความสุข เมื่อมาถึงสถานที่ใดก็ควรเรียนรู้และเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นั้น เพื่อให้การทำกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุข ผู้บริหาร สป. ที่มาร่วมงานในวันนี้ เป็นบุคลากรที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็น“โซ่ข้อกลาง”ที่จะเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ทางการศึกษาในพื้นที่เข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหน่วยงานการศึกษาหลายแห่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้การมีโซ่ข้อกลางเป็นสิ่งสำคัญในการยึดเหนี่ยวและเชื่อมโยงการทำงานให้เป็นหนึ่งเดียว การดำเนินงานจะมี 2 มิติ มิติที่เป็นทางการ มิติทางการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาจังหวัด (กศจ.) และมิติแบบไม่เป็นทางการ ที่เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างเป็นกันเอง โดยซึ่งการทำงานร่วมกันแบบไม่เป็นทางการนั้นก็มีความสำคัญ เพราะมันสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว ซึ่งการทำงานที่ดีต้องอาศัยการสื่อสารที่ต่อเนื่องและการสร้างกระบวนการในการพบปะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสานงานที่มีประสิทธิภาพ นโยบายและแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” รมว.ศธ.กล่าวว่า นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” ก็คือการทำอย่างไรให้ทุกคนมีความสุข เป็นแนวทางที่มุ่งสร้างความสุขให้แก่ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ตามนโยบายการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง “การทำให้นักเรียนเรียนดีและมีความสุขนั้น ไม่ใช่แค่การให้ความรู้เท่านั้น แต่ต้องทำให้นักเรียนมีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด และฉลาดทำ” ฉลาดรู้ คือการรู้สิ่งที่ควรรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อให้ฉลาดคิด การคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และนำไปพัฒนาความฉลาดทำ คือการลงมือทำในสิ่งที่ดีและถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่แท้จริงการคิดอย่างมีเหตุผลและลงมือทำทันทีในสิ่งที่ถูกต้อง จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจสำคัญก็คือการได้มาร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในทุกด้าน ขอให้ศึกษาธิการจังหวัดและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาตนเอง เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนา “คุณธรรม” ภายในตัวบุคคล ต้องเริ่มต้นจากการ “ทำ” ด้วยตัวเอง และร่วมมือกัน “ทำ” ในสิ่งที่ถูกต้อง รวมถึงการคิดวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ร่วมมือกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในองค์กรหรือในชีวิตประจำวัน การทำงานร่วมกันต้องมีความร่วมมือและความสุจริตในการดำเนินงานเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยต้องยึดหลักความโปร่งใส และมีการตรวจสอบจากหลายฝ่ายเพื่อลดปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกฝ่ายในการร่วมมือกันอย่างจริงจัง ด้วยความสุจริตและเป็นเกราะป้องกันตนเอง พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเริ่มจากตัวเราเองต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรพึงได้ การทำงานอย่างโปร่งใสและมีการตรวจสอบที่ดีจะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับสังคม และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและถูกต้อง สิ่งที่เราได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายส่งผลดีต่อการสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงานให้ประชาชนไทย เป็นอันดับ 2 ขอบทุกกระทรวง ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานที่ทุ่มเทและร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นมิติสำคัญในการประเมินผลการทำงานและยังเป็นภาพสะท้อนของความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ของทุกฝ่าย แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เราต้องไม่หยุดพัฒนา แต่ต้องร่วมมือกันเร่งพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไป การขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า นโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกครูอยู่เวร พร้อมจ้างนักการภารโรงทั่วประเทศ เพื่อให้ครูและบุคลากรมีเวลาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียน โดยการจัดทำหลักสูตรที่สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีความสุข รวมถึงการดูแลสุขอนามัยของนักเรียนภายใต้โครงการ “สุขาดี มีความสุข” และการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Dropout) ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย การจัดตั้งโรงเรียนคุณภาพในทุกอำเภอ อย่างน้อย 1 โรงเรียน และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะดิจิทัล และการเรียนภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของนักเรียนในระดับสากล การใช้ “ระบบย้ายจับคู่ครูคืนถิ่น” (TMS) ที่ช่วยให้ครูสามารถย้ายไปสอนในพื้นที่บ้านเกิดได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล Silver Award ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับประเทศ นอกจากนี้ผลการทดสอบทางการศึกษา การสอบ PISA และ O-NET ที่สะท้อนถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย โดยผลการทดสอบ O-NET ในปีนี้ได้คะแนนที่ดีขึ้นในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชื่อว่าในอนาคตคุณภาพการศึกษาจะพัฒนาได้ดีขึ้น และสำหรับบางเรื่องที่ยังไม่ดี เราจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยใช้ผลการสอบ O-NET เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในระดับบุคคลและในระดับสถานศึกษา ขอให้ศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัดและทุกภาคส่วนร่วมกันช่วยคิดและช่วยกันดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ในการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับภาค แผนการพัฒนาศึกษาจังหวัด ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดย ศธจ. ทำหน้าที่บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ต้องทำงานเชิงรุก เป็นดั่ง “ปลัดน้อยในพื้นที่” ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาในพื้นที่ การสร้างเครือข่ายทางการศึกษาคือส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาของจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การพัฒนาทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษา พวกเราต้อง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” โดยในส่วนของจังหวัดนั้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัด รวมถึงการสนับสนุนกลไกของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัด (กศจ.) ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดนั้น ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่ต้องอาศัยกลไกของ กศจ....
14 มีนาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการแข่งขันเลขคณิตในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ คณะผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวชิรรัศมิทีปังกร โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ รมว.ศธ. กล่าวว่าในนามของกระทรวงศึกษาธิการ สำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานถ้วยรางวัลการแข่งขันเลขคณิตในชีวิตประจำวัน (The 2nd Arithmetic Competition 2025) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 ในยุคที่ความรู้อยู่รอบตัว ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา“Anytime Anywhere”ความสามารถในการคิดคำนวณตัวเลขเป็นทำให้สามารถเข้าถึงสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ได้หลากหลาย เป็นการเพิ่มโอกาสและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แนวคิด มุมมองการใช้ชีวิต และเพิ่มโอกาสเข้าถึงการสร้างอาชีพ เพื่อความมั่นคงของชีวิต ขอชื่นชมคณะกรรมการดำเนินงานที่ได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เทคนิคการสอนคิดเลขเฉพาะ ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนคณิตศาสตร์ของคนบกพร่องทางการได้ยิน และขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนที่มีความตั้งใจขยันฝึกซ้อมจนได้เป็นตัวแทนของโรงเรียน ไม่ว่าผลการแข่งขันจะเป็นเช่นไร ขอให้ทุกคนมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญของประเทศชาติ สำหรับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ เพื่อสร้างเจตคติในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ในการคิดคำนวณและทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับนักเรียนที่มีความสามารถในการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับหน่วยงานอื่น ทั้งนี้ มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน จาก 21 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นทีมละ 3 คน รวมเป็น 73 ทีม และมีนักเรียนไม่ครบชั้นอีกจำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 231 คน พร้อมด้วยครูผู้ควบคุม ทีมละ 1 คน รวม 73 คน แบ่งการแข่งขันออกเป็นระดับชั้น ดังนี้ ระดับประถมศึกษาต้น จำนวน 16 ทีม ระดับประถมศึกษาปลายจำนวน 20 ทีม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 19 ทีม ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 18 ทีม พบพร ผดุงพล / ข่าว อินทิรา บัวลอย / ภาพ
พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2568 เรื่อง มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้ามีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีเห็นขอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการป้องกันการเข้าถึงและใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาทุกระดับ ด้วยปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 รวมทั้งบุคคลที่มีไว้ในครอบครองหรือรับไว้ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันการเข้าถึงและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาและสถานที่ทำงานในพื้นที่บริเวณส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้ สร้างความตระหนักรู้เท่าทันพิษภัยและโทษของบุหรี่ไฟฟ้าทั้งต่อสุขภาพร่างกายและโทษทางอาญาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารทุกระดับ และเจ้าหน้าที่ อาทิ สอดแทรกเนื้อหาหรือหลักสูตรการเรียนการสอน กิจกรรม สื่อประซาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้รับผิดชอบสถานศึกษาหรือสถานที่ทำงาน จัดให้มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้โดยชัดเจนว่าเป็นเขตปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นสอดส่อง ดูแลหรือป้องกันมิให้นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าทั้งการสูบ จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือสนับสนุนอย่างหนึ่งอย่างใด หากมีกรณีตรวจพบ หรือมีการร้องเรียนกล่าวหา หรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ใดเช้าไปเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามอำนาจหน้าที่ทันที กระทรวงศึกษาธิการขอกำชับให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ณัฐพล สุกไทย / กราฟิก
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 8/2568 ย้ำแนวทางการทำงานของชาว ศธ. เป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างเครือข่ายสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่ เตรียมนำ AI มาช่วยขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พร้อมนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ O-NET มาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อการพัฒนาในทุกมิติขอบคุณ ครม. อนุมัติงบประมาณช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนที่ประสบภัยพิบัติจากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดยะลา สงขลา และนราธิวาส ปลื้มระบบการย้ายข้าราชการครู TRS ก่อเกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา เผย ศธ. สามารถนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับได้ครบ 100% ถึง 51 จังหวัด และจะเร่งดำเนินการให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อไป 12 มีนาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 8/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ., นายพิษณุ พลธี เลขานุการ รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และนายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า การทำงานร่วมกันของ ศธ. ขอให้มี“การทำงานเป็นหนึ่งเดียวMOE One Team”เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ ต้องมีการประสานงานที่เข้มแข็ง สร้างเครือข่ายการทำงานและสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็ว กระชับ ฉับไวมากยิ่งขึ้น สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า เมื่ออบรมพัฒนาบุคลากรแล้วก็ขอให้มีการขับเคลื่อนในระดับเขตพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาการศึกษามีผลต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม มีการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของ สพฐ. สช. และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ พบว่าในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนกว่า 325,726 คน และมีผู้ที่อบรมเสร็จสิ้นจำนวน 186,117 คน มีมากกว่า 200 เขตพื้นที่ที่สามารถดำเนินการอบรมได้ครบ 100% และมีการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ อาทิ สพป.พังงา ที่ได้จัดสอบ Pre PISA และนำผลไปวิเคราะห์ทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สพป.ตาก เขต 1 ก็ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการฝึกสร้างข้อสอบแนว PISA การวิเคราะห์คำตอบ และการจัดทำคลังข้อสอบด้วย AI ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีแผนการใช้ AI ยกระดับ PISA โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ร่วมประชุมหารือเพื่อทำบันทึกความเข้าใจกับ SCB10X เกี่ยวกับแนวทางในการยกระดับ PISA 2025 ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ข้อมูลการสอบ PISA จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น PISA-Like และ PISA STYLE เพื่อนำมาใช้ในการฝึกพัฒนา AI ให้สามารถเข้าใจข้อสอบได้ดีขึ้น การบูรณาการร่วมกันระหว่าง สพฐ. สสวท. และ สทศ. จะเป็นการดำเนินงานในระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในขณะเดียวกันแผนระยะยาวจะมุ่งเน้นการจัดทำ MOU เพื่อเสริมสร้างและยกระดับคุณภาพผู้เรียนทั่วประเทศ โดยการใช้ AI และข้อมูลจากการสอบ PISA เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนทั้งประเทศ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2567 รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอให้นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ O-NET มาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อการพัฒนาในทุกมิติ โดยต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนและแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างกัน ต้องทำอย่างไรให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบมากยิ่งขึ้นและทำให้กลายเป็นค่านิยมในสังคมการศึกษา ขอฝาก สมศ. ในการวิเคราะห์คุณภาพโรงเรียนและแข่งขันกับตัวเอง นอกจากนี้ยังขอให้โรงเรียนที่มีผลการเรียนดีในระดับประเทศเป็นต้นแบบในการพัฒนา เพื่อขยายผลการสอบ O-NET ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ประกาศผลสอบ O-NET ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 และจะประกาศผลสอบของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในวันที่ 12 มีนาคม 2568 สำหรับปีการศึกษา 2567 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่ข้อสอบและเฉลยคำตอบ O-NET ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6...