สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดกิจกรรมอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน( Fix it Center) เทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้บริการตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก่อนการเดินทางฟรี จำนวน 101 ศูนย์บริการทั่วประเทศ โดยมีพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวานอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน ณ บริเวณสนามหญ้า หน้าอาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางจราจรอันนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตตามนโยบายรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ระดมนักเรียนนักศึกษาอาชีวะจิตอาสา และครูอาจารย์ สาขาวิชาช่างยนต์ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากสถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ จัดศูนย์อาชีวะอาสา ร่วมด้วย ช่วยประชาชน Fix it Center ครอบคลุม 77 จังหวัด จำนวน 101 ศูนย์บริการ ตามเส้นทางถนนสายหลักและสายรองทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 – 2 มกราคม 2567 ระหว่างเวลา 06.00 – 18.00 น. โดยจุดสังเกต คือ เต็นท์สีม่วง ซึ่งจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะก่อนถึงศูนย์บริการ ซึ่งภายในศูนย์จะให้บริการตรวจเช็คสภาพความพร้อมของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ฟรีก่อนเดินทาง ประมาณ 20 รายการ ได้แก่ ตรวจระบบเบรก สภาพยาง อุปกรณ์ปัดน้ำฝน ระดับน้ำมันเครื่องและความสกปรกของน้ำมันเครื่อง ท่อยาง หม้อน้ำและรอยรั่ว การทำงานของไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่าง ๆ รวมทั้งบริการเครื่องดื่ม ผ้าเย็น ที่นั่งพักผ่อน และแนะนำข้อมูลเส้นทางแก่ประชาชนผู้เดินทาง เพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนแก่ประชาชนที่เดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2567 โดยได้รับการสนับสนุนน้ำมันเครื่อง วัสดุอุปกรณ์ การจัดฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา จากภาคีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ,บริษัท ซูซูกิ โมโตเซลส์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด และบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปอีกว่า กิจกรรมในครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาเรื่องยานพาหนะในการเดินทาง โดยสามารถค้นหาข้อมูลและจุดบริการจากแอปพลิเคชันอาชีวะอาสา และที่พิเศษไปกว่านั้น สอศ.ยังได้จัดให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมกับบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบางศูนย์บริการกว่า 50 ศูนย์ในทั้งหมด 101ศูนย์บริการ โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร.02-281-5555 กด 0 การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ถือได้ว่าสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนชาวไทยในโอกาสเทศกาลปีใหม่นี้เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง รวมทั้งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับภาครัฐและภาคเอกชน สร้างให้เด็กนักเรียนอาชีวศึกษามีจิตอาสา บริการสังคม ทำงานเป็นทีม และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พร้อมกับได้ฝึกงานจากประสบการณ์จริง เช็คจุดบริการออนไลน์ได้ที่ http://vecrsa.vec.go.th/
ข่าวภารกิจผู้บริหารระดับสูง
ข่าวภารกิจผู้บริหารระดับสูง
ปิดงานสวยสมบูรณ์แบบ EDU SOFT POWER FESTIVAL 2024 และการแถลงผลงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รอบ 3 เดือน เสมา 1 ขอบคุณทุกพลังสร้างสรรค์ที่เนรมิตงานยักษ์ขึ้นอย่างเรียบง่าย ประหยัด แต่ปังสุดมหัศจรรย์ แย้มปีหน้ามาร่วมกันจัดอีก ต่อยอดให้เป็นงานประจำปีกระทรวงศึกษาธิการ 27 ธันวาคม 2566/ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมงาน EDU SOFT POWER FESTIVAL 2024 และการแถลงผลงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รอบ 3 เดือน พร้อมเป็นประธานมอบรางวัลและปิดงาน ท่ามกลางความสุขของชาวกระทรวงศึกษาธิการ และประชาชนที่มาร่วมเที่ยวชมงาน ณ เวทีการแสดงริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า พิธีปิดในวันนี้เป็นความตั้งใจที่จะมาขอบคุณทุกท่าน ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ได้ร่วมกันดำเนินการจัดงานด้วยดีทั้ง 3 วันที่ผ่านมา พวกเราได้แสดงออกถึงความร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรี คือ “เรียบง่าย ประหยัด” ทำเองทุกอย่างโดยอาศัยพลังความรู้ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของทุกสังกัดที่ร่วมงานกันอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย แต่ก็สามารถต่อกันติดทุกจุด ทำให้งานเกิดความราบรื่น และเป็นที่กล่าวถึงของผู้ที่ได้มาร่วมงาน รวมถึงนักท่องเที่ยวว่า กระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดงานที่ยิ่งใหญ่ได้มากขนาดนี้ ทำให้ผลงานของกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทางโลกออนไลน์ มีการจัดกิจกรรม การกดไลก์ กดแชร์ กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อจากนี้ไปเราก็คงต้องต่อยอดสิ่งที่ทำไปทั้งหมดนี้ ด้วยความรัก ความสามัคคี และความสุขภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ในการจัดงานครั้งนี้นอกจากจะเรียบง่ายประหยัดแล้ว สิ่งที่ได้เห็นชัดเจนคือการที่นักเรียน นักศึกษา และพวกเราได้ใช้การ Active Learning ได้มาลองปฏิบัติ ลงมือทำจริง ช่วยให้เห็นว่า มีข้อติดขัดอะไรบ้าง พิจารณาจุดแข็งของเรา รวมถึงจุดไหนที่ยังไม่สมบูรณ์ ก็จะได้ปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งปีหน้าเราก็คงจะได้กลับมาพบเจอกัน และจัดงานอย่างวันนี้ขึ้นอีกครั้ง เพื่อทำให้ผลงานชัดเจนขึ้น สร้างให้เป็นงานประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ โดยหลังจากนี้อาจจะมีคำชื่นชมหรือคำแนะนำ ก็ขอให้พวกเราทุกคนช่วยกันรับฟัง รับทราบ แล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบรางวัล ทั้งสิ้น 10 รางวัล ดังนี้ รางวัล RRR AWARD 2023 จากผลการแข่งขัน RRR AWARD 2023 (3 รางวัล) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ณ วิทยาลัยเทคนิคระยอง ได้แก่ วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ธุรกิจปูดำขยำเงิน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด ธุรกิจเครื่องสำอางธรรมชาติ และวิทยาลัยการอาชีพเบตง ธุรกิจน้ำพริกส้มแขกปลานิลหนังกรอบ รางวัลยอดวิวช่องทางสื่อโซเชียลภายในงาน EDU SOFT POWER FESTIVAL 2024 ที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด (3 รางวัล) ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด รายการ supannika cosmetics, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา รายการอาหารชาววังครัวเสาวภา และวิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน รายการธุรกิจถั่วเคลือบกรุบกรอบ รางวัลร้านค้าที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด (4 รางวัล) ได้แก่ รางวัลร้านอาหารที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด : วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ร้านลำขนาดเด้ รางวัลร้านเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด : วิทยาลัยเทคนิคระยอง ร้านกาแฟใบชะมวง รางวัลร้านแฟชั่นที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด : วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ร้านปกาสตราว ผ้าไหมเมืองสุรินทร์ รางวัลร้านขายของตามเทศกาลที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบมากที่สุด : สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้สกลนคร ผ้าย้อมคราม หัตถกรรมภูมิปัญญาสู่สายตาโลก
‘เสมา 1’ ห่วงความปลอดภัยครู นักเรียน ในสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เร่งเขตพื้นที่ฯ สำรวจโดยด่วน หากพบสถานศึกษาประสบภัย พร้อมประสานเข้าช่วยเหลือดูแลทันที 26 ธันวาคม 2566 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีข้อห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เกิดอุทกภัยฉับพลัน น้ำท่วมบ้านเรือนเสียหายเป็นอย่างมาก พร้อมส่งกำลังใจไปยังสถานศึกษา นักเรียน ครู ในจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ที่ได้รับรายงานว่าประสบความเดือดร้อนมากที่สุด รมว.ศธ. กล่าวว่า ฝากผู้เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่การศึกษา ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด สำรวจความเสียหาย ความเสี่ยง ดูแนวโน้มสถานการณ์อุทกภัย เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาในพื้นที่ตามแผนเผชิญเหตุที่เตรียมไว้ โดยมุ่งไปที่การช่วยเหลือสถานศึกษา ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อแก้ไขและช่วยเหลือได้ตรงและทันสถานการณ์แก้ไขสถานการณ์ให้ทันท่วงที หากโรงเรียนใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ตลอดเวลา หรือหากเกินกำลังพื้นที่ให้ประสานไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และหากต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนสูงสุดให้ประสานมายังส่วนกลาง ยินดีที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุด สำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น จะดำเนินการมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนเรื่องการปิดสถานศึกษาในพื้นที่ประสบภัยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในเร็ววัน ให้จัดเตรียมที่พักพิงในกรณีจำเป็นเร่งด่วน พร้อมรับสถานการณ์ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และอีกทางหนึ่งสามารถรายงานเหตุและแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่ “ศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ” (MOE Safety Center) 4 ช่องทาง ดังนี้ แอปพลิเคชัน MOE Safety Center, เว็บไซต์ http://www.MOESafetyCenter.com, LINE @MOESafetyCenter และ Call Center 0-2126-6565 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลและเร่งประสานงานช่วยเหลือตลอดเวลา ทั้งนี้ ศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. รายงานเบื้องต้นว่ามีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนราธิวาส พบว่า มีสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจำนวน 182 โรงเรียน ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส (สพป.นราธิวาส) เขต 1 มีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ 74 โรงเรียน สพป.นราธิวาส เขต 2 มีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ 45 โรงเรียน สพป.นราธิวาส เขต 3 มีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ 48 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส (สพม.นราธิวาส ) มีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ 15 โรงเรียน
เสมา 2 เปิดการประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 2
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 The 2ndThailand-Japan Educational Leaders Symposium: Science Education for Sustainability (TJ-ELS 2023) ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผ่านระบบออนไลน์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ The 2nd Thailand-Japan Educational Leaders Symposium: Science Education for Sustainability (TJ-ELS 2023) ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผ่านระบบออนไลน์โดยถ่ายทอดออกอากาศจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย กล่าวเปิดงานโดย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการการบรรยายพิเศษหัวข้อ ” What and How Would STEM Education Support Sustainable Development? ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย ยืนยง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหัวข้อ “SDGs going to next stage” โดย Mr. OMURA Hiroshi, Project Professor, Global Engagement Center, Toyohashi University of Technology ประเทศญี่ปุ่น การนำเสนอผลผลงานวิชาการของครูและผู้บริหารไทยและญี่ปุ่นรวมจำนวน 32 คน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์และ ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย กว่า 500 คน การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสำหรับผู้นำทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เข้าร่วมจากประเทศไทยและญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ โดยการนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentations) และรูปแบบปากเปล่า (Oral Presentations) ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจัดการประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
20 ธันวาคม 2566 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการ กอศ. นายวรัท พฤกษาทวีกุล รักษาราชการแทนรองปลัด ศธ. ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการฯ ข้าราชการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ รมช.ศธ.เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา และมีมติที่สำคัญ ดังนี้ เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครูฯ ของรัฐบาล ที่ประชุมเห็นชอบ การขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวทางของรัฐบาลตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวการจัดการหนี้ทั้งในและนอกระบบ โดยครอบคลุมการแก้หนี้ครัวเรือนกว่า 16 ล้านล้านบาท แบ่งลูกหนี้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19, กลุ่มที่ 2 ผู้ที่มีรายได้ประจำแต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระคืน, กลุ่มที่ 3 ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้ชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง และกลุ่มที่ 4 ผู้ที่มีภาระหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นเวลานาน (NPL) โดยในกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ และทหาร จะได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ โครงการสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อแก้ไขหนี้บุคลากรภาครัฐ เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้รายย่อย จากธนาคารออมสินไปรวมหนี้เป็นหนี้สหกรณ์ โดยธนาคารออมสินจะสนับสนุนสภาพคล่องให้แก่สหกรณ์เพื่อเสริมสภาพคล่องและนำไปปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษกับลูกหนี้ ระยะเวลากู้ไม่เกิน 10 ปี ปลอดชำระเงินต้น 2 ปี โครงการสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการและบุคลากรภาครัฐอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ของธนาคารออมสิน โดยสามารถขอสินเชื่อสวัสดิการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อาทิ สินเชื่อเคหะสำหรับซื้อหรือต่อเติมซ่อมแซมที่อยู่อาศัย สินเชื่อสวัสดิการสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือชำระหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น และสินเชื่ออเนกประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน การช่วยเหลือให้มีรายได้คงเหลือเพียงพอดำรงชีพ การผลักดันให้ส่วนราชการ กำหนดหลักเกณฑ์การตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ของข้าราชการในสังกัด โดยต้องมีเงินเดือนคงเหลือในบัญชีอย่างน้อยร้อยละ 30 เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด เห็นชอบให้มีการ MOU ของ ศธ. กับหน่วยงานและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมเห็นชอบ การเตรียมจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา กับหน่วยงานและสถาบันการเงินจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 6 มกราคม 2566 ณ หอประชุมคุรุสภา โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับประโยชน์จากหน่วยงาน และสถาบันการเงินในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การชะลอการฟ้องบังคับคดี การปรับโครงสร้างหนี้ การให้คำปรึกษาและความรู้ด้านการเงินการออม แต่ MOU ฉบับดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ลงนาม และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคม 2567 จึงเห็นควรให้เตรียมร่าง MOU ฉบับใหม่ ทั้งนี้เนื้อหาอาจมีปรับเปลี่ยนในบางส่วนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อนำเรียน รมว.ศธ. ทราบและลงนามต่อไป รับทราบการแต่งตั้งบอร์ดแก้หนี้ครูฯ และผลการดำเนินงานแก้หนี้ครูฯ ของ ศธ. ที่ผ่านมา ที่ประชุมรับทราบ การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาโดย รมช.ศธ. เป็นประธานและมี นายวรัท พฤกษาทวีกุล ผตร.ศธ. รักษาราชแทน รองปลัด ศธ. เป็นเลขานุการ ที่ประชุมรับทราบ ผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของ ศธ. ที่ผ่านมาอาทิ – ลดดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์ลงเฉลี่ยร้อยละ 0.3 ครูได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยกว่า 5 แสนราย ภาระหนี้สินลดลงทันทีกว่า 2.3 พันล้านบาท สามารถนำเงินไปใช้ในการชำระหนี้ธนาคารออมสินและสถาบันการเงินอื่น ให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินสำหรับครูได้มากขึ้น – จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูทั้งส่วนกลาง และภูมิภาคทั่วประเทศ 558 สถานี แบ่งเป็นระดับเขตพื้นที่การศึกษา 481 สถานี มีผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธาน ระดับจังหวัด 77 สถานี มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ แก่ครูที่ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือกว่า4 หมื่นราย รวมมูลค่าหนี้กว่า 5.9 หมื่นล้านบาท – ปรับโครงสร้างหนี้ โดยรวมหนี้มาไว้กับสถาบันการเงิน ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อให้ครูมียอดชำระต่อเดือนน้อยลง ปัจจุบันปรับโครงสร้างหนี้แล้วกว่า...
19 ธันวาคม 2566 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2565 – 2566 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 230 ชั้นตรา โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายวรัท พฤกษาทวีกุล รักษาราชการแทนรองปลัด ศธ. ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมบุณยเกศ หอประชุมคุรุสภา รมช.ศธ. กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันนี้ การได้รับพระราชทานฯ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นมงคล เป็นเกียรติแก่ตนเองและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องสรรเสริญ และยืนยันว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่ บุคคลที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่กระทรวงศึกษาธิการมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ปลัด ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ในการนี้ สำนักพระราชวังได้แจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตราไปยังผู้ที่ได้รับพระราชทาน โดยไม่ต้องเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทาน ดังนั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อมอบให้แก่ผู้ได้รับพระราชทานฯ และนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ฯ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติตามขั้นตอนปฏิบัติฯ โดยจำนวนชั้นตราที่เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 230 ชั้นตรา ประกอบด้วย สายที่ 1 ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) จำนวน 192 คน สายที่ 2 ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) จำนวน 32 คน สายที่ 3 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) จำนวน 5 คน สายที่ 4 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) จำนวน 1 คน
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่จังหวัดสระบุรีและนครราชสีมา โดยสุ่มตรวจเยี่ยมแบบไม่แจ้งล่วงหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สระบุรี เขต 1 และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.)สระบุรี พร้อมตรวจเยี่ยมสถานศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านหมาก สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2 และ โรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) นครราชสีมา
รมว.ตรีนุช ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเปิดเรียนวันแรก ที่จังหวัดสมุทร สาครรมว.ตรีนุช ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเปิดเรียนวันแรก ที่จังหวัดสมุทรสาคร
3 รัฐมนตรีศึกษา ร่วมแถลงผลงานการสร้างโอกาสทางการศึกษา “การศึกษาพิเศษไทย หัวใจนำทาง”