9 มิถุนายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจในการประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศ “สู่อนาคตที่ยั่งยืน” โดยมี ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน รวมพลังการศึกษาไทยสู่เวทีโลก” ณ โรงแรม ปริ๊นพาเลซ กรุงเทพฯ พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมปาฐกถาพิเศษ “อนาคตการศึกษาไทยในเวทีสากล : ความร่วมมือและโอกาสที่ควรพัฒนา“ โดยมี ผศ.ดร.พลรพี ทุมมาพันธ์ รองเลขาธิการคุรุสภา นางสาวจิตรลดา จันทร์แหยม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรด้านการศึกษา เข้าร่วมในรูปแบบผสมผสานทั้งออนไซต์ และออนไลน์ผ่าน Facebook Live ศธ. 360 องศา และ ETV Channel รองปลัด ศธ.กล่าวว่า“การพัฒนาคุณภาพการศึกษา”เป็นภารกิจสำคัญในการสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยและคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวหน้าในด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขับเคลื่อนนโยบาย“เรียนดี มีความสุข” (Happy Learning)ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปัจจุบัน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาและสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีความสุข เพราะการศึกษาในยุคปัจจุบันไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือหนังสือเรียนเท่านั้น แต่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในหลายมิติ ทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงทักษะทางสังคม เพื่อให้สามารถปรับตัวในยุคปัจจุบันได้ การนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่การนำ AI มาใช้ควรเป็นเพียง “เครื่องมือช่วยงาน”ไม่ใช่ตัวแทนของครูหรือผู้สอนเพราะหัวใจสำคัญของการศึกษาไม่ได้อยู่ที่ข้อมูลหรือระบบเทคโนโลยีเท่านั้น แต่อยู่ที่ “คน” โดยเฉพาะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีบทบาทในการถ่ายทอดคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่ได้ เราควรใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน ช่วยในการจัดการทรัพยากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเร่งรัดการดำเนินภารกิจต่าง ๆ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีควรเดินควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทุกระดับ “การพัฒนาการศึกษาของไทยให้เท่าทันนานาประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของเอเชียและอาเซียน เป็นภารกิจที่ท้าทาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบและยั่งยืน การศึกษาคือรากฐานสำคัญของประเทศ การสร้างระบบการเรียนรู้ที่ดี มีคุณภาพ และสอดรับกับโลกยุคใหม่ จึงเป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกภาคส่วน “รู้เขา รู้เรา ลงมือทำจริง เติบโตไปด้วยกัน” หวังว่าความร่วมมือและแนวคิดที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ทันสมัย เข้มแข็ง และยั่งยืน เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานไทยและประเทศชาติ” นอกจากนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือการศึกษากับต่างประเทศ “สู่อนาคตที่ยั่งยืน” ยังเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการจัดทำ “ร่างแผนพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษากับต่างประเทศ พ.ศ. 2569 – 2573” ของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากปี พ.ศ. 2573 ตรงกับวาระสำคัญระดับโลก คือ “Education 2030” ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการศึกษาที่จัดทำโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals – SDGs) ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และยั่งยืนสำหรับทุกคน และขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศในระยะยาว แผนพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาฉบับนี้ พัฒนาให้มีความสอดคล้องและบูรณาการอย่างเป็นระบบกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทด้านการต่างประเทศ รวมถึงแผนพัฒนาต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การศึกษาไทยสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเชื่อมโยงกับมาตรฐานสากลอย่างแท้จริง ขอให้พวกเราร่วมกันสร้าง “พลังเครือข่าย” ที่จะร่วมกันยกระดับการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรมในระดับนานาชาติ ภายในงานมีการเสวนาความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศ “การสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาในบริบทโลก : บทเรียนจากประสบการณ์และแนวทางในการพัฒนา” โดยมีนางสาวมนต์ทิพย์ สัมพันธวงศ์ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผศ.ดร.วันวิสา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเสวนาดำเนินรายการโดย นางขนิษฐา ห้านิรัติศัย อดีตผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว-กราฟิก สมประสงค์ ชาหารเวียง / FB Live ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
News
News
1พฤษภาคม2568 –พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนการพัฒนาลูกเสือไทยประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2568ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติโดยมีนายสุเทพแก่งสันเทียะปลัด ศธ.นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด ศธ.นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดี สกร. ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง 270 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รมว.ศธ.กล่าวว่าแผนการพัฒนาลูกเสือไทยประจำปี2567 – 2570มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในพื้นที่โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพของกิจกรรมลูกเสือการพัฒนาผู้บังคับบัญชาการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ยุคสมัยและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่าคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดจะขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของกิจการลูกเสือรวมถึงพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือในจังหวัดและฝากปรับกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยมีความน่าสนใจทันสมัยคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่กับปลูกฝังความมีระเบียบวินัยตามคำปฏิญาณ“ลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อทำดีทำได้ทำทันที”มีจิตสาธารณะเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนเพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม นโยบาย“เรียนดีมีความสุข”ของกระทรวงศึกษาธิการต้องการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองโดยการปรับเครื่องแบบลูกเสือให้เหมาะสมกับกิจกรรมและการแต่งกายที่แสดงออกเป็นเชิงสัญลักษณ์ของลูกเสือเช่นสวมหมวกผ้าพันคอเครื่องหมายลูกเสือเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมและลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองสุดท้ายนี้ขอชื่นชมผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนกิจการลูกเสือมาอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดและขอให้เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในวันนี้ได้แนวคิดและกำหนดกลยุทธ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของการพัฒนากิจการลูกเสือไทยต่อไป ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน270คนประกอบด้วย 1)หัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด76คน(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต1ของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร) 2)ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัดจำนวน76คน(ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร) 3)ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา76คนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต1ของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร 4)ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและผู้รับผิดชอบงานลูกเสือในสังกัดสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร3คน 5)ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและกรมส่งเสริมการเรียนรู้แห่งละ2คนรวม8คน
กระทรวงศึกษาธิการ – 29 เมษายน 2568 / นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมติดตามงานด้านกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 12/2568 โดยมี พันตำรวจโท ภิญญู ธรรมนรภัทร คณะทํางานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายขององค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม ณ ห้องจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ รองปลัด ศธ.กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมการในการพัฒนาระบบการดำเนินงาน โดยนำ AI มาพัฒนากระบวนการทำงานด้านกฎหมาย ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการดำเนินงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และยังช่วยลดการใช้จ่ายงบประมาณได้ เป้าหมายคือการขับเคลื่อนงานด้านกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการให้ทันสมัย ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล โดยการมี AI เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวทาง “One Team” ในส่วนของการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ หรือการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่ต้องเสนอความเห็นหรือดำเนินการผ่านกลไกของกระทรวงฯ ขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ควรมีความล่าช้าหรือจำเป็นต้องมีการติดตามทวงถาม เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยกฎหมายในการประกอบการพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว “สิ่งสำคัญคือขอให้มีการกำกับ ดูแล ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานตามข้อสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรายงานผลความคืบหน้าได้อย่างทันท่วงที หากพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาแนวทางการดำเนินงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม” อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จัดงานเสวนาทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษา ก้าวต่อไป พรีโอลิมปิก “Next Step Pre Academic Olympiad” พร้อมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ (MOU) ระหว่างศธ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่วนราชการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัด เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการศึกษา และร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” จังหวัดปัตตานี – 25 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษา ก้าวต่อไป พรีโอลิมปิก “Next Step Pre Academic Olympiad” โดยมีนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ (MOU) ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่วนราชการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล) นายคมกฤช จันทร์ขจรกล่าวว่า หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ“การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ดำเนินโครงการค่าย “พรีโอลิมปิกวิชาการ” อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 7 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่ให้เท่าเทียมกับนักเรียนในภูมิภาค โดยมุ่งเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบแข่งขันและการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้มีนักเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 5,300 คน แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความสนใจของเยาวชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง แนวคิดหลักของโครงการคือ การสร้างและพัฒนานักเรียนให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม และพัฒนาศักยภาพตามความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง ถือเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ตามแนวทางแบบฉบับ “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งการที่นักเรียนมีแนวคิดในการพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และทักษะสำคัญในอนาคต ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่สะท้อนถึงศักยภาพของเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการพร้อมจะสนับสนุนพื้นที่ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ และพัฒนาตนเองสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะยาว ซึ่งในวันนี้มีนักเรียนเข้าร่วมอบรมในค่ายที่ 1 รวมทั้งสิ้น 480 คน โดย 3 มหาวิทยาลัยหลักในพื้นที่ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การจัดงานเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ ก้าวต่อไป พรีโอลิมปิก “Next Step Pre Academic Olympiad” เป็นการบอกเล่าความเป็นมาและความสำคัญของ ค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการฯ ที่มีต่อนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ รวมถึงประสบการณ์และประโยชน์จากการเข้าร่วมค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการฯ ซึ่งในปีที่ผ่านมาผลผลิตจากโครงการนี้มีนักเรียนสามารถสอบเข้าเรียนในหลากหลายคณะ อาทิ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สหเวชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศ โดยได้รับความร่วมมือทางด้านวิชาการ ทุนดำเนินงาน ทุนการศึกษา ทรัพยากรบุคคล จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประชาสัมพันธ์จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัด ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของหน่วยงานในพื้นที่เพื่อการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในการพัฒนาทางวิชาการให้กับเยาวชน ผ่านการดำเนินการจัดค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการฯ ให้กับนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 5 จังหวัด “สิ่งที่คาดหวังคือการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของทุกภาคส่วน ทั้งจากสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมจะพัฒนาภาคใต้และประเทศให้เจริญก้าวหน้า ต้องขอชื่นชมนักเรียนทุกคนที่มีความตั้งใจ พร้อมพัฒนาตนเอง ขอบคุณผู้ปกครอง และทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่ให้การสนับสนุน ถือเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการศึกษา สร้างเยาวชนให้เป็นอนาคตของชาติอย่างต่อเนื่อง” นางพาตีเมาะ สะดียามูกล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามของจังหวัดปัตตานี ขอขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์บรรยากาศแห่งการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและบริบทเฉพาะตัว พร้อมทั้งเผชิญกับความท้าทายที่ต่อเนื่องในหลายด้าน การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เป็นพลังสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ และต่อยอดศักยภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองและของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ และเครือข่ายความร่วมมือ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา สิ่งสำคัญที่สุดคือการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาสามารถตอบโจทย์อนาคตของเยาวชนได้อย่างแท้จริง เราต้อง “ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ” เพื่อให้ “ผลผลิตของวันนี้ กลายเป็นคำตอบของวันข้างหน้า” ขอชื่นชมโครงการที่มีคุณค่าอย่าง “พรีโอลิมปิกวิชาการ”...
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2568 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาในชุมชน โดยมี ศาสตราจารย์ฉี ซินเจี้ยน ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนานาชาติเพื่อการศึกษาในชนบทขององค์การยูเนสโก (UNESCO INRULED) ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนายลู่ เจี๋ย รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเขตซีหู และนายหลัว เจิ้น รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตำบลซวงผู่ ณ เขตซีหู เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน การเดินทางเพื่อลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการศึกษานวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับชุมชนที่ส่งเสริมการพัฒนาชนบทอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบ “การศึกษาเสริมพลัง – วัฒนธรรมสร้างจิตวิญญาณ – การฟื้นฟูชนบท” โดยโรงเรียนชุมชนกับบทบาทใหม่ในการพัฒนาชนบท เขตซีหูได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็นตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์การเรียนรู้ระดับอำเภอ ขณะเดียวกัน หมู่บ้านซั่งซือจูหม่า ยังได้รับการยกย่องจากสถาบันเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UIL) ว่าเป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นด้านการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัย โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบระดับสากลในการขับเคลื่อน “หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้” อย่างยั่งยืน หนึ่งในจุดเด่นสำคัญคือ โรงเรียนชุมชนตำบลซวงผู่ ที่พัฒนารูปแบบการศึกษาที่เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพของชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาชนบทในมิติต่างๆ โดยในปี 2566 โรงเรียนแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องของโครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (CLC) ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์ UNESCO INRULED ทั้งนี้ รมว.ศธ. ได้ให้ความสนใจจุดเด่น 3 ด้าน ดังนี้ นวัตกรรมการศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาชนบท โรงเรียนชุมชนตำบลซวงผู่มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย ทั้งการศึกษาผู้สูงอายุ การฝึกอาชีพสำหรับชาวบ้านกว่า 2,000 คนต่อปี และเวิร์กช็อปด้านมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น รมว.ศธ. แสดงความประทับใจต่อการบูรณาการหลักสูตรที่ตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง และเห็นว่าเป็นแนวทางที่สามารถปรับใช้ในบริบทของไทยได้ โดยเฉพาะในการผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิต หมู่บ้านดิจิทัลกับแนวคิด “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ที่ศาลาวัฒนธรรมหมู่บ้านเซี่ยหยาง คณะศึกษาดูงานได้เห็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข้อมูลชุมชนแบบเรียลไทม์ ผสานกับกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม เช่น การจัดดอกไม้แบบโบราณ รมว.ศธ. ได้กล่าวยกย่องว่า “นี่คือซิมโฟนีที่สมบูรณ์แบบระหว่างความดั้งเดิมกับความทันสมัย” พร้อมชื่นชมว่าประสบการณ์ของซวงผู่พิสูจน์ได้ว่าเทคโนโลยีไม่ทำลายวัฒนธรรม หากแต่ช่วยฟื้นฟูให้ทันยุคสมัย วัฒนธรรมชากับการต่อยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมฐานการผลิตชา “จิ่วฉวี่หงเหมย” ซึ่งมีบทบาทในเส้นทางสายไหมทางทะเล โดยมีการสาธิตการชงชาโดยครูลั่ว หลงเซียว ผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ ได้แสดงความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาไทย-จีน ผ่านโครงการ “หลักสูตรวัฒนธรรมชาและการท่องเที่ยวข้ามประเทศ” ภายใต้โครงการ Belt and Road โดยหวังว่าชาจะกลายเป็นสะพานแห่งมิตรภาพใหม่ของประชาชนทั้งสองประเทศ ในโอกาสนี้ รมว.ศธ. ได้กล่าวชื่นชมว่า “ซีหูโมเดล” รูปธรรมของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เป็นแนวทางตัวอย่างของการใช้ “การศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน” โดยเฉพาะการผสานการฝึกทักษะ สืบสานวัฒนธรรม และบริหารจัดการชุมชนเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน พร้อมระบุว่าเป็นแนวทางที่ควรศึกษาและต่อยอดสู่บริบทของไทย สำหรับผู้เชี่ยวชาญร่วมคณะให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า จุดแข็งของโรงเรียนชุมชนซวงผู่ คือการ “ปลุกพลังภายในของหมู่บ้านผ่านการศึกษา” โดยเฉพาะแนวทางที่ลงสู่พื้นที่จริงและเกิดผลในระยะยาว ซึ่งถือเป็นทิศทางใหม่ในการปรับตัวของชนบทท่ามกลางบริบทโลกาภิวัตน์ และในอนาคตวิทยาลัยชุมชนเขตซีหูมีแผนผลักดันนวัตกรรมด้านการศึกษาสู่เวทีสากล และยินดีแบ่งปันแนวปฏิบัติร่วมกับประเทศที่อยู่ในเส้นทาง Belt and Road เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน พบพร ผดุงพล / เรียบเรียง , กราฟิก สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. / แปลและสรุป แหล่งข่าว : วิทยาลัยชุมชนเขตซีหู
31 มกราคม 2568 – นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) นำทีมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริต ภายใต้แนวคิด “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ไม่ทน ไม่เฉย ต่อการทุจริต (OVEC Together Against Corruption)” ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุม 5 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting / Facebook Live และ Youtube Live เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่าสอศ.ขานรับนโยบาย ต้านทุจริต วางรากฐานภาครัฐที่โปร่งใส ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ “การแก้ไขปัญหาการทุจริต” เป็น “วาระแห่งชาติ” เดินหน้า No Gift Policy ปรับปรุงกฎหมายและระบบการทำงานของภาครัฐ เพื่อขจัดค่านิยมอุปถัมภ์ ลดผลประโยชน์ทับซ้อน และดำเนินคดีทั้งในด้านวินัยและอาญาอย่างจริงจัง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนผ่านระบบการทำงานภาครัฐที่มีคุณธรรมและความโปร่งใส ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล และเป็นไปตามนโยบายของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การบริหารโดยยึดถือนโยบายเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต และการไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านที่ 6 ด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่ากิจกรรมประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริต เป็นการแสดงพลังร่วมของ สอศ. ในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใส ต้านการทุจริตอย่างจริงจัง และมีธรรมาภิบาล โดยยึดหลัก 3 ป ได้แก่ ปลูกฝัง ป้องกัน และปราบปราม ส่งเสริมบุคลากรให้ตระหนักปลุกจิตสำนึกถึงการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ โดย สอศ. ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ “จะยึดมั่นในสถาบันหลักอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะเป็นคนดี มีคุณธรรมประพฤติปฏิบัติตนในสัมมาอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นหลักสำคัญมั่นคง ดำรงตนอยู่ด้วยความมีเกียรติและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิบัติงานราชการอย่างถูกต้อง ชอบธรรม ไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ และไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนและปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถตามค่านิยมในการบริหารงานอันได้แก่ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีความรับผิดชอบ ตรวจสอบได้ โปร่งใส มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน กล้าหาญในสิ่งที่ถูกต้องรวมถึงปฏิบัติตนตามมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าพเจ้าขอถวายสัจวาจาว่า จะประพฤติตนตามรอยพระยุคลบาท สืบสาน พระราชปณิธาน รักษา ต่อยอดศาสตร์ของพระราชาผู้ทรงธรรม ดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์ยืนเคียงข้างสุจริตชน เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ของราชอาณาจักรไทยสืบไป” “คำประกาศนี้ คือความสำคัญของ สอศ. บุคลากรทุกระดับในสังกัดทุกคน ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด ปฏิเสธการรับของขวัญ ของกำนัล หรือผลประโยชน์อื่นใดที่อาจตีมูลค่าเป็นเงินได้ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติหน้าที่ยกเว้นกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง สอศ. โดยกลุ่มงานจริยธรรม ดำเนินการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม และวินัยข้าราชการ ยกระดับธรรมาภิบาล ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ อีกทั้งยังบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใส และเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน”เลขาธิการ กอศ. กล่าว ทั้งนี้ การแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว จัดขึ้นภายในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ครั้งที่ 1 / 2568 โดยมีนายวิทวัส ปัญจมะวัต นายสง่า แต่เชื้อสาย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหาร บุคลากรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หน่วยงานส่วนกลาง สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาค และสถานศึกษาอาชีวศึกษาทุกแห่ง เข้าร่วม ศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา / ภาพ , ข่าว พบพร ผดุงพล / กราฟิก
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 20/2567 โดย นายบัลลังก์ โรหิตเสถียร ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และบุคลากรกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอภาพรวมการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการในรอบสัปดาห์ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
20 กุมภาพันธ์ 2567 / นายบัลลังก์ โรหิตเสถียร ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สป. พร้อมด้วยนายประเสริฐ สุวรรณชัยเลิศ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทัยวิทยาคม และคณะครู ร่วมผลิตถ่ายทำสกู๊ป #ยกเลิกครูอยู่เวร ซึ่ง ศธ. ลงพื้นที่สัมภาษณ์ความคิดเห็น และติดตามแนวทางบริหารจัดการของโรงเรียนในการดูแลสถานศึกษาปลอดภัย โอกาสนี้ ได้ถ่ายทำบรรยากาศการเรียนการสอน ห้องเรียนสะเต็มศึกษา ศูนย์ความปลอดภัย ตู้แดง เพื่อดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเข้มงวด
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำหลักเกณฑ์การประกวดคลิปวิดีโอสื่อสร้างสรรค์ ตามคำปฏิญาณตนยุวกาชาด ภายใต้หัวข้อ “RCY Creator” 30 มกราคม 2567 : สป.ศธ. โดยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำหลักเกณฑ์การประกวดคลิปวิดีโอสื่อสร้างสรรค์ ตามคำปฏิญาณตนยุวกาชาด ระหว่างวันที่ 30-31 มกราคม 2567 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกยุวกาชาดเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณตนของยุวกาชาด การสร้างวินัย แรงจูงใจในการปฏิบัติตนที่ดี และนำผลงานที่ได้รับรางวัลเป็นสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์เรื่องการปฏิบัติตามแนวทางคำปฏิญาณตนของยุวกาชาด การประชุมครั้งนี้ นายบัลลังก์ โรหิตเสถียร ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สป.ศธ. ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าว เข้าร่วมประชุม และให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำหลักเกณฑ์การประกวดคลิปวิดีโอ คำปฏิญาณตนของยุวกาชาด ข้อ 1 ข้าฯ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2 ข้าฯ จะเป็นมิตรกับคนทั่วไป และจะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ข้อ 3 ข้าฯ จะรักษาอนามัยของตนเอง และส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น พีรณัฐ ยุชยะทัต ภาพ/ข่าว