12 มกราคม 2567 – ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า Moonpreneur ได้มีการเผยแพร่ 15 แนวโน้มการศึกษาโลก ที่จะเกิดขึ้นในปี 2024 ประกอบด้วย Gamification การใช้องค์ประกอบของเกมเช่น การตั้งเป้าหมาย การให้รางวัล การแข่งขัน การ Feedback และ การจัดลำดับในการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนุก ท้าทาย และความสนใจมากขึ้น Immersive Reality: AR, VR, และ Mixed Reality เทคโนโลยีสมจริงที่เปลี่ยนแปลงประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมจำลอง ช่วยเพิ่มความเข้าใจ จินตนาการและการมีส่วนร่วมในการเรียน Microlearning การเรียนรู้ระยะเวลาสั้น ๆเน้นเนื้อหากระชับ ตรงประเด็น พัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะเรื่อง AI and Human Synergy การใช้ประโยชน์จาก AI มาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้คะแนน การจัดการเรียนรู้แบบรายบุคคล การสร้างเนื้อหาและแบบฝึกหัด เป็นต้น Leveraging Big Data การใช้ประโยชน์จาก Big Dataสร้างระบบสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อวิเคราะห์เพื่อวางแผน พัฒนาคุณภาพและปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนรายบุคคล Evolving K-12 Digital Education ระบบการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา (K-12)ที่สามารถเรียนทางออนไลน์ผ่านโรงเรียน และโปรแกรมเสมือนจริงช่วยให้ครอบครัวและนักเรียนมีความยืดหยุ่นในการศึกษาได้มากขึ้น Blockchain in Education เทคโนโลยีซึ่งเป็นที่รู้จักเรื่องความปลอดภัยและความโปร่งใสสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลนักเรียนและครู จัดการการเข้าชั้นเรียน หลักสูตร การให้เกรด และงานอื่น ๆ ได้ Personalized Learning การเรียนรู้ส่วนบุคคลปรับแต่งการเรียนรู้ตามจุดแข็ง ความต้องการ ทักษะ และความสนใจของ ผู้เรียนแต่ละคน เพราะเด็กทุกคนมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตน STEAM-based Programs STEAMยังคงได้รับแรงผลักดันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการบูรณาการสาขาเหล่านี้สามารถส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทำงานร่วมกัน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในสถานการณ์จริง Subscription-Based Model for Learning แพลตฟอร์มการศึกษาที่เปิดให้ผู้เรียนสมัครสมาชิกรายเดือนหรือรายปีเปิดโอกาสให้ลองเรียนวิชา หลากหลาย เข้าถึงเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ของหลักสูตรทั้งหมด มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนหลักสูตรหรือข้าม ไปยังบทเรียนอื่นได้ ทำให้ยืดหยุ่นและมีตัวเลือกในการเรียนมากขึ้น Holistic Learning การเรียนรู้แบบองค์รวมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ครบทุกมิติ สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยธรรมชาติ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเชื่อมโยงวิชาให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิต มี 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้ที่จำเป็น (Head) คุณค่าภายใน (Heart) และทักษะที่สำคัญ (Hand) Hybrid Learning การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างเรียนแบบตัวต่อตัวและแบบออนไลน์เป็นระบบการศึกษาที่ ยืดหยุ่นซึ่งรองรับทั้งนักเรียนทางไกลและนักเรียนในพื้นที่ไปพร้อมกัน Education and Entrepreneurship Mindset การบูรณาการความเป็นผู้ประกอบการเข้ากับการศึกษาส่งเสริมทักษะ เช่น การแก้ปัญหา ความคิด สร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ และการสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตลาดงานในอนาคต Mobile Learning การจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การสอนผ่านเทคโนโลยี เครือข่ายแบบไร้สายและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา Social-emotional Learning (SEL) กระบวนการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทำความเข้าใจและจัดการ อารมณ์ของตนเอง ทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น พัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคคล เป็น การวางรากฐานสำหรับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการตัดสินใจอย่างรอบรู้
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ) ณ อาคารรัฐสภา ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติ กระผม พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอชี้แจงประเด็นความห่วงใยและข้อเสนอแนะของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ กระผม ได้ติดตามฟังการอภิปรายของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอด 3 วันที่ผ่านมา มีประเด็นที่ท่านสมาชิกฯ ได้แสดงความคิดเห็น ความห่วงใย และความต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ เร่งดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก การแก้ปัญหาหนี้สินครู การพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การอุดหนุนด้านการศึกษา การสนับสนุนค่าใช้จ่ายอาหารกลางวัน เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามที่อภิปรายและนำเสนอมาแล้ว ทุกท่านคงทราบดีว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหาร แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขอขอบคุณในประเด็นความห่วงใยและข้อแนะนำ กระผมขออนุญาตเรียนว่า งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการจัดสรร 5 ปีย้อนหลัง สามารถจำแนกตามงบรายจ่าย (ดังกราฟ) ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามในปีนี้ทางรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นผู้นำ ได้กรุณาในการปรับเพิ่มงบประมาณขึ้นมาประมาณ 0.31% ซึ่งหากดูโครงสร้างงบประมาณ จะเห็นว่างบประมาณส่วนใหญ่ จะอยู่ที่งบบุคลากร 61.58% งบเงินอุดหนุน 27.59% งบดำเนินงาน 3.08% งบลงทุน 3.83% และงบรายจ่ายอื่น 3.92% อาจจะถือว่าน้อย ซึ่งจากการอภิปรายที่ปรากฎข้อมูลทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ทุกคนอาจจะพูดว่าเป็นปัญหา แต่ผมและทีมงานเชื่อว่า มันเป็นความท้าทายการศึกษาในปัจจุบัน ที่เราจะต้องร่วมกันในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น : การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ผลคะแนน PISA 2022 ในระดับนานาชาติที่ลดลง ทักษะความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ลดลง โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากอัตราประชากรการเกิดน้อยลง ครูไม่ครบชั้น สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ยังมีไม่ค่อยเพียงพอ งบประมาณอาหารกลางวัน และอาหารเสริม (นม) ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ยังมีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจต่างๆ โครงการอาชีวะเรียนฟรี มีอาชีพ ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ที่สำคัญ ซึ่งเป็นความคาดหวังของสังคมต่อการศึกษาไทย เป็นเรื่องประเด็นหลักที่ทางรัฐบาลนำมาเป็นแนวคิดในการกำหนดงบประมาณที่จะดำเนินการแก้ไข จากความความท้าทายต่างๆ ประกอบกับงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามขั้นตอนงบประมาณ เพื่อให้ได้งบประมาณมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามสร้างโอกาส ความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยนำเทคโนโลยี อุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เข้ามาช่วยในการลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทางด้านรายได้ของผู้ปกครอง สภาพพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำแนวคิดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกล และพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่ทรงมีพระราชปณิธานในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น มาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก เป็นต้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนได้ มีความรู้ที่เท่าเทียมกัน ภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) โดยจะจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ มาผสมผสานกับการเรียนการสอนแบบเดิม หรือเรียกว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ Hybrid เพื่อขยายการเรียนรู้ให้คนทุกช่วงวัยทั่วประเทศมีโอกาสทางการศึกษา เข้าถึงเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ตลอดจนพัฒนาการศึกษาผ่านระบบการสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้ (Credit Bank System) กระทรวงศึกษาธิการ ยังมีความตั้งใจที่จะนำระบบสอบเทียบ กลับมาใช้อีกครั้ง(ไฮไลต์สีแดง ตามภาพด้านล่าง)เพราะเราทราบกันดีว่า ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่เกิดขึ้น มาจากการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ดังนั้น ผู้เรียนที่ไม่ต้องการเสียเวลาเรียนในระบบ ต้องสามารถสอบเทียบได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ ผู้เรียนบางส่วนสามารถเทียบคุณวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้ในการศึกษาต่อ โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบการศึกษาปกติ โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีความเป็นเลิศด้านต่างๆ สามารถนำเวลาที่เหลือไปเลือกเรียนตามความสนใจ หรือความถนัดของตนเอง กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น (Up-Skill, Re-Skill, New-Skill) เพื่อสร้างทักษะอาชีพและทักษะชีวิต สามารถขอรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ได้ในระหว่างที่กำลังศึกษา เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างการเรียน ควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน กระผมจึงมีความเชื่อมั่นว่า นโยบายด้านการศึกษาที่รัฐบาล คณะรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และกระทรวงศึกษาธิการได้รับแนวทางมากำหนดนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” จะช่วยสร้างโอกาส ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกช่วงวัย กระทรวงศึกษาธิการมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะทำให้นโยบายดังกล่าว ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงใคร่ขอกราบเรียนท่านประธานสภาฯ ไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่าน ได้โปรดให้การสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ขอบคุณครับ คลิปคำชี้แจงของ รมว.ศธ. https://www.facebook.com/MOE360degree/videos/233353203140293
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๔ ราย ดังนี้ ๑. นายอรรถพล สังขวาสีพ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๒. นายสุเทพ แก่งสันเทียะพ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง ๓. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดาพ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงดำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๔. นายยศพล เวณุโกเศศพ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มาhttps://ratchakitcha.soc.go.th/documents/11756.pdf