กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 133 ปี วันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” ย้ำเป็นวันที่ทุกคนมีโอกาสร่วมกันระลึกถึงคุณค่าของการศึกษา ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและชาติบ้านเมืองมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการศึกษาร่วมกับ ศธ. เป็นตัวอย่างการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” การจัดงานในปีนี้เริ่มต้นเวลา 07.09 น.โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. ตลอดจนครูอาวุโส ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากร ศธ. ร่วมประกอบพิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งทำพิธีตักบาตรพระสงฆ์และสามเณรจำนวน 134 รูป ณ บริเวณสนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ จากนั้น รมว.ศธ. และคณะ ได้ประกอบพิธีสักการะพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ “พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์” รวมทั้งพระภูมิหรือพ่อปู่ชัยมงคล และพระพุทธรูปประจำสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมสักการะศาลปู่เจียม และประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ในการนี้ รมว.ศธ. ได้มอบเข็มกระทรวงศึกษาธิการ แก่ผู้บริหาร ศธ. ที่ขับเคลื่อนงานตามนโยบายฯ ได้อย่างดีเยี่ยม ณ ห้องดำรงราชานุภาพ อีกด้วย ภาพเพิ่มเติมพิธีเช้า :https://www.facebook.com/share/p/1A5vN4kwjC/ เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมคุรุสภา– รมว.ศธ. เป็นประธานในพิธีมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ ศธ. ประจำปี 2568 จำนวน 120 ราย พร้อมทั้งมอบรางวัลการประกวดบทความ “ความภาคภูมิใจในการเป็นบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้บุคลากรทั่วประเทศมีส่วนร่วมกับการจัดงาน ผ่านระบบ Zoom meeting และ Facebook Live : ศธ.360 องศา พร้อมกันทั่วประเทศ ภาพเพิ่มเติมที่หอประชุมคุรุสภา :https://www.facebook.com/share/p/1Dc2ANXkcC/ รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นมิติใหม่ของชาวกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วประเทศเป็นปีแรก แสดงให้เห็นถึงการเป็น MOE ONE TEAM ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 133 ปี วันที่ 1 เมษายน 2568 นับเป็นวันสำคัญที่ทุกคนได้ร่วมระลึกถึงคุณค่าของการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและประเทศชาติ ให้เกิดการเติบโต เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ด้วยการพัฒนาความรู้และความสามารถของประชาชน เป็นปีที่ 2 ของ รมว.ศธ. ที่ได้ร่วมงานอันทรงเกียรตินี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน พร้อมทั้งมีการส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการพัฒนาความคิดวิเคราะห์และเหตุผล รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมทักษะที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้เด็กไทยสามารถออกแบบอนาคตได้ด้วยตนเองและเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมและประเทศชาติ นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอบคุณทุกคนทั้งจากส่วนราชการ ภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมมือกันร่วมใจในการดำเนินงานภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งในการทำงานนั้น ได้มีการมุ่งเน้นใน 2 มิติ คือ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ” และ “การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” สิ่งต่าง ๆ นอกจากการทำงานแล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการศึกษา และในวันนี้ได้เชิญบุคลากรและผู้ใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษามารับมอบรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ในก้าวต่อไปถือเป็นความท้าทายของทุกคน การศึกษาไม่ใช่เรื่องของศธ. เพียงหน่วยงานเดียว แต่การศึกษาคือเรื่องของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันดำเนินการเป็นพลังขับเคลื่อนและพลังสนับสนุน ในการจับมือกันเดินหน้าไปด้วยกัน ทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พร้อมรวมพลังกันทำให้เยาวชนมีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” รู้ในสิ่งที่ควรรู้ คิดอย่างมีเหตุมีผล และลงมือทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สอดรับกับแนวทางการทำงาน “ทำดี ทำได้ ทำทันที” ซึ่งทุกท่านได้ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ การติดตามเด็กนอกระบบ และนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญ หวังว่าในปีนี้และปีถัดไป ทุกคนจะยังคงร่วมมือกันในการดูแลการศึกษาของเด็กไทยให้มีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” และร่วมมือกัน “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” ลงมือทำอย่างรวดเร็วและเร่งด่วน เพราะการศึกษารอไม่ได้ และการศึกษาในปีหน้าและปีต่อ ๆ ต้องดีขึ้น ในกรณีเหตุการณ์ตึกถล่ม กระทรวงศึกษาธิการขอแสดงความเสียใจและส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้สูญเสีย สำหรับการจัดการเรียนการสอนและการสอบเข้า ชั้น ม.1 และ...
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ครบรอบ 133 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ 1 เมษายน นับเป็นวันสำคัญของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ที่ได้รับผิดชอบภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างคน เพื่อพัฒนาประเทศ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุนมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นจึงเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกำลังและความสามารถ ส่งเสริมการเกิดและเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐาน เติบโตอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมการปลดล็อคศักยภาพทั้งทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน เพื่อตอบโจทย์ศักยภาพของผู้เรียน ลดภาระ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงเพื่อสร้างรายได้ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้อมส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคต รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต “การศึกษา”ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า กระทรวงศึกษาธิการจึงมุ่งมั่นใช้การศึกษาเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดำเนินงาน พร้อมที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สานต่อนโยบายเดิม และเพิ่มการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการเพิ่มเติมนโยบายตามแนวทางของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มีความมุ่งมั่น สานต่อนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้หลักการ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ใช้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้าง “การศึกษาเท่าเทียม” ผ่านเครือข่ายการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน ในทุกช่วงวัย ให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อม สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกํากับ ศธ. นําไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”เพื่อเป้าหมายในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ภายใต้ 2 นโยบายหลัก พร้อมยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษาในทุกมิติ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา นโยบายการลดภาระครูด้วยการปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (DPA) เพื่อลดขั้นตอน ทำให้การประเมินมีความสะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ ปิดช่องทางการทุจริต และลอกเลียนแบบผลงานทางวิชาการ ด้วยโปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์” สำหรับการโยกย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่นนั้น ยึดหลักการสำคัญคือ ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม จึงนำระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (TMS) ระบบย้ายข้าราชการครู (TRS) และระบบบริหารอัตรากำลัง (SCS) เชื่อมโยงกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียน เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังมีความถูกต้อง แม่นยำ เหมาะสมกับภาระงานตามสภาพบริบทของพื้นที่ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินงานโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือ การลดดอกเบี้ยเงินกู้ ยกระดับการหักเงินเดือนและควบคุมยอดหนี้ ลดจำนวนครูกลุ่มเป็นหนี้ระดับวิกฤต จัดสรรวงเงินให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้สิน ให้ความรู้และทักษะการบริหารจัดการด้านการเงิน การออมควบคู่กับการสร้างวินัยในการบริหารจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเดินเครื่องเต็มกำลังแก้ปัญหา เติมความสุข สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับครู และนักเรียน ด้วยการยกเลิก “ครูอยู่เวร” เพื่อความปลอดภัยของครู รวมทั้งจ้างนักการภารโรงในโรงเรียนที่ขาดแคลนเพื่อช่วยลดภาระงานครู ทั้งยังช่วยเกิดการจ้างงานในชุมชน รวมถึงการปรับลดงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ให้ครูได้มีเวลาในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น การเปิดโอกาสให้พนักงานราชการ ลูกจ้าง ครูสอนศาสนาอิสลาม ครูอัตราจ้าง มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นข้าราชการครู เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ความมั่นคงในชีวิต ได้ครูที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการสอน ตรงความต้องการสถานศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ด้วยการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรีมีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ นำสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการศึกษาของชาติโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียนและครูผู้สอนให้ก้าวทันยุคดิจิทัล เกิดการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด พร้อมทั้งสนับสนุนให้มี 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ให้มีความพร้อมเชิงกายภาพ มีโครงสร้างพื้นฐาน ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ สื่อที่พร้อมใช้ เพียงพอ ทันสมัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ผู้บริหาร โรงเรียนคุณภาพ สร้างเครือข่ายการศึกษาในพื้นที่ สนับสนุนค่าพาหนะในการเดินทางไปเรียนรวมให้นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย และมีรถโรงเรียนรับ – ส่ง เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง สำหรับการส่งเสริมระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต มุ่งสร้างความเข้มแข็งของระบบแนะแนวนักเรียน ดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อให้ค้นพบตนเอง เสริมสร้างทักษะชีวิต ป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต พฤติกรรมเสี่ยงสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมีความสุข จัดทำหลักสูตรและพัฒนาครูแนะแนวแกนนำ พร้อมออกมาตรการป้องกันและเสริมสร้างความรอบรู้ อันตรายจากบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติด ด้วยการขับเคลื่อนนโยบาย “3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม” ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสภาวะวิกฤตให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ด้วยการนำหน่วยกิตที่สะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ในระหว่างที่กำลังศึกษา เทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย...
จาก“กระทรวงธรรมการ”เมื่อวันที่ 1 เมษายน สมัยรัตนโกสินทร์ศก 111 ปีมะโรง ตรงกับพุทธศักราช 2435 สู่การเปลี่ยนผ่านวัน ผ่านยุค ผ่านสมัย และผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ จนในปีพุทธศักราช 2484 เกิดเป็น“กระทรวงศึกษาธิการ”อันเป็นสถานที่และเป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายวางแผนบริหารจัดการด้านการศึกษา ส่งเสริม และเป็นส่วนสำคัญช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ “หนึ่งร้อยสามสิบสามปี”แห่งการก่อร่างสร้างการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ทำหน้าที่เป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ หล่อหลอมคนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรม ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งสู่ยุคใหม่ จาก“ห้องเรียนกระดานดำ”สู่“ห้องเรียนดิจิทัล”จาก“หนังสือเรียน”สู่“แพลตฟอร์มออนไลน์”เส้นทางของการศึกษายังคงดำเนินต่อไป ด้วยเป้าหมายเดียวคือการ “สร้างคน สร้างชาติ สร้างอนาคตที่“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” “หนึ่งร้อย” ปี หรือหนึ่งศตวรรษแห่งการวางรากฐาน ความสำเร็จสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ คือการสร้างรากฐานระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง ตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ที่ทำให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน จนถึงการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของโลก ระบบการศึกษาของไทยเติบโตควบคู่ไปกับสังคม ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต นับเกินกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของไทย ตั้งแต่การวางโครงสร้างระบบการเรียนการสอน จัดตั้งโรงเรียนทั่วประเทศ ไปจนถึงการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยได้รับโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ไม่ว่าระบบการศึกษาไทยจะก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงกี่ช่วงระยะเวลา แต่เป้าหมายยังคงเดิม คือการพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญของชาติอย่าง“มั่นคง” “สามสิบ” ปีแห่งการเปลี่ยนผ่าน ย้อนกลับไปในปีพุทธศักราช 2538กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้ประชาชนไทย มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพัฒนาประเทศชาติ ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุขและลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย เป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เป็นผู้มีความสามารถในการคิดเป็นผู้ใฝ่รู้และสามารถแสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความสามารถในทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละและอดทน ร่วมมือกับผู้อื่นได้ รักสิ่งแวดล้อม มีความเป็นประชาธิปไตย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยอยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย และความเหมาะสมของการศึกษาแต่ละระดับ จวบจนกาลเวลาพาเดินทางมาถึงปัจจุบันในปีพุทธศักราช 2568สามสิบปีที่ผ่านมาโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การศึกษาไทยสามารถสร้างคนไทยให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก นำไปสู่ความ“มั่งคั่ง”ของประเทศ นับเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้เป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาไทยและยังมีการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ส่งต่ออนาคตของการศึกษาไทย จากรุ่น … สู่รุ่น “สาม” เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” 132 ปีที่ผ่านมา สู่133 ปีที่กำลังจะก้าวไป กระทรวงศึกษาธิการภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูนชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อ“สาม”เป้าหมายสำคัญนั่นคือ การสร้างผู้เรียนให้มีความ“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”ฉลาดรู้คือการรู้ในสิ่งที่ควรรู้อย่างยั่งยืนและรอบด้านฉลาดคิดคือการคิดอย่างมีวิจารณาญาณและสร้างสรรค์ฉลาดทำคือการลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม เป้าหมายทั้งสามนี้ เปรียบเสมือนเสาหลักในการสร้างคนไทยที่มีคุณภาพ พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไปในอีกเกินกว่า 133 ปีข้างหน้า รวมทั้งนำแนวคิดการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดำเนินงาน ร่วมกับพัฒนาการศึกษาไทยให้ทันต่อยุคสมัย และตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในอนาคต เพื่อให้การศึกษาของประเทศไทยมีคุณภาพที่“ยั่งยืน” ประกอบกับนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”นับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อผู้เรียนมีความสุข มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้น และเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามเป้าหมายใน“การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต”เราจึงต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างการศึกษาที่เท่าเทียมพร้อมที่จะพัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย สร้างความเสมอภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมายาวนานถึง 133 ปี และยังคงต้องก้าวต่อไปในยุค “พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ” รมว.ศธ. และ “สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล” รมช.ศธ. พร้อมเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการศึกษาไทย สร้างคนไทยให้ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ พร้อมความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน พร้อมเดินหน้าพัฒนาการศึกษา ร่วมกัน“ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ”เพื่อสร้างคุณภาพ สร้างอนาคต สร้างสิ่งที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัย สามารถนำพาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและแข่งขันได้ในเวทีโลก อานนท์ วิชานนท์ / สกู๊ป ณัฐพล สุกไทย / กราฟิก
29 มีนาคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของอาคารเรียนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลภายหลังเกิดแผ่นดินไหวว่า ตนขอเป็นกำลังให้กับครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกๆนักเรียน และพ่อแม่ผู้ปกครองทุกครอบครัว เราทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันก้าวข้ามสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์แผ่นดินไหวทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ส่งผลให้โรงเรียนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศได้รับความเสียหายเกิดรอยแตกร้าว ดังนั้นตนจึงได้สั่งการให้โรงเรียนใน สังกัด สพฐ. และโรงเรียนสังกัดอื่นๆ เร่งรัดทำการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นให้รวบรวมข้อมูลความเสียหายทั้งหมด ส่งเข้ามายัง “ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าเพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว สพฐ.” หรือโทร 0 2288 5600 เพื่อให้ความช่วยเหลือโรงเรียนอย่างทันท่วงทีต่อไป “อย่างไรก็ตามการสำรวจรอยแตกร้าวอาคารในโรงเรียนนั้นถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากเพราะความแข็งแรงของอาคารถือเป็นเรื่องสำคัญ และทำให้เกิดความมั่นใจว่าโรงเรียนของเรามีความแข็งแรง มั่นคงปลอดภัย สำหรับ ครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกๆนักเรียน นอกจากนี้หากพบ ครู บุคลากรทางการศึกษา หรือลูกๆนักเรียน ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวก็ให้รีบรายงานเข้ามาทันที เพื่อที่กระทรวงศึกษาธิการจะได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุดต่อไป”รมช.สุรศักดิ์ กล่าว คณะทำงาน รมช.ศธ. / ข่าว โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ / ภาพ
วันที่ 20 มีนาคม 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา สพม.สุรินทร์ ปีการศึกษา 2567 ”สร้างคุณภาพ สร้างโอกาส สร้างคนดี” SC GENZ ณ ห้องประชุม โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายไพศาล วุทฒิลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นางนัยนา ตันเจริญ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา (ผอ.เขตตรวจราชการที่13) นายกิตติภัทท์ ไกรเพชร ศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ ผู้บริหารการศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ. กล่าวว่า ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีเปิดมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา สพม.สุรินทร์ ปีการศึกษา 2567 แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อน และพัฒนางานวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษา ภายในเขตพื้นที่ มีการสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบ On-Site และรูปแบบ Online ถือเป็นการพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความพร้อม และมีความรู้ที่เพียงพอ ต่อการจัดการศึกษา ในโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทุก ๆ อย่างถูกขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม ขอชื่นชมคณะผู้จัดงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคน ซึ่งคน คือกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ดังนั้น หน้าที่สำคัญ ของท่านผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคุณครูทุกคน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา จัดประสบการณ์ กิจกรรมและเสริมทักษะที่ดีให้แก่ผู้เรียน ได้ฝึกปฏิบัติ และแสดงความรู้ความสามารถในทางที่ดี อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในและนอกสถานศึกษา “การจัดงานในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของทุกท่าน ที่ได้สร้าง และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา หรือวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเลิศของสถานศึกษาและครู เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพงานวิชาการ สร้างพลัง ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ของกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ขอขอบคุณคณะผู้จัดงาน เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการมัธยมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ขอเป็นกำลังใจในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”มีศักยภาพและความพร้อม สนับสนุน การพัฒนาประเทศ ให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ขอให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ”รมช.ศธ. กล่าว คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ / ข่าว
10มีนาคม2568 –นายสุรศักดิ์พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโครงการห้องเรียนพสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์“ฟิสิกส์สัประยุทธ์”ประจำปีพ.ศ. 2568โดยมีนายธีระเดชเจียรสุขสกุลผู้อำนวยการสสวท.นางกัญญาพัชญ์กานต์ภูวนันต์ ผอ.โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)คณะกรรมการดำเนินงานทุกฝ่ายครูบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนร่วมให้การต้อนรับณโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี) นายสุรศักดิ์กล่าวว่าขอชื่นชมสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโรงเรียน ศูนย์พสวท.และโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนของนักเรียนโครงการห้องเรียนพสวท. ที่จัดโครงการห้องเรียนพสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์“ฟิสิกส์สัประยุทธ์”ประจำปีพ.ศ. 2568สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) การแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์เป็นกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านฟิสิกส์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมและยังเป็นกิจกรรมที่บูรณาการสมรรถนะที่สำคัญทั้งสมรรถนะการแก้ปัญหาและสมรรถนะการสื่อสารอันจะเป็นประโยชน์ทั้งในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพต่อไป “ขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนทั้ง50คนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ในครั้งนี้ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนศูนย์พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการห้องเรียนพสวท.(สู่ความเป็นเลิศ)ทุกภูมิภาคในประเทศไทยจำนวน10ศูนย์ได้แก่ศูนย์โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)ศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยศูนย์โรงเรียนศรีบุญยานนท์ศูนย์โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยศูนย์โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยศูนย์โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมศูนย์โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยศูนย์โรงเรียนสุรนารีวิทยาลัยศูนย์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและศูนย์โรงเรียนเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราชและขอให้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ให้ได้มากที่สุดเพราะทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตและขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ร่วมจัดกิจกรรมฟิสิกส์สัประยุทธ์ขอให้การจัดงานครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลทุกประการ”รมช.สุรศักดิ์กล่าว พบพร ผดุงพล / กราฟิก
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์” ฝากผู้บริหารทางการศึกษา จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดูแลความปลอดภัยนักเรียน-บุคลากร เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ย้ำคุมเข้มบุหรี่ไฟฟ้า ชี้ผู้บริหารถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษา 8 มีนาคม 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย จุดเน้นและแนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผอ.กลุ่ม และบุคลากรทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษา ณ โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมลงพื้นที่ด้วย และ นายอาทิตย์ ธำรงชัยชนะ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผอ.กลุ่ม และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ. กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย จุดเน้น และแนวทางการปฏิบัติงานของ ศธ.ในวันนี้ ซึ่ง พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ มีความมุ่งมั่นสานต่อนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้หลักการ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ใช้แนวทาง การทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้าง “การศึกษาเท่าเทียม” ผ่านเครือข่ายการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน ในทุกช่วงวัย ให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อม สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกํากับ ศธ. นําไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ เช่น ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง เป็นต้น “ในโอกาสที่ได้มาเยี่ยมให้กำลังใจและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคลากรทางการศึกษาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอฝากผู้บริหารทุกท่านร่วมกันดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนระบบการศึกษาในเรื่องต่างๆ ทั้งการเตรียมความพร้อมในการสอบ PISA ให้มีความเข้มข้น, การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ,การเดินทางเป็นหมู่คณะของนักเรียน (รถรับ-ส่งนักเรียน, รถทัศนศึกษา), การเฝ้าระวังในช่วงปิดภาคเรียนโดยเฉพาะการป้องกันเด็กจมน้ำ การส่งเสริมให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน ที่สำคัญขอย้ำบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากพบบุคลากรทางการศึกษามีบุหรี่ไฟฟ้าจะมีความผิดทางวินัย ขณะนี้ ศธ.กำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โรงเรียนมีอำนาจในการยึดบุหรี่ไฟฟ้าจากนักเรียน” นายสุรศักดิ์กล่าวต่อว่า ขอชื่นชมทุกท่าน ในการดำเนินการระบบ TRS ในภาพรวมของ ศธ. มีความเรียบร้อย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีความสุขสะดวกในการรับรู้ข้อมูลการย้ายการจับคู่แลกเปลี่ยนกัน ได้ย้ายอย่างรวดเร็ว การดำเนินการเรื่องเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีข้อมูลผลการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาได้ครบ 100% (มีจังหวัดที่ครบ 100% ทั้งหมด 27 จังหวัด) ทั้งยังขอขอบคุณและขอชื่นชมทุก ๆ ภาคส่วน ที่ได้ประสานความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของศธ.เป็นอย่างดีและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษา นอกจากนี้ ขอให้สานต่อการดำเนินงานให้เข้มแข็ง และเข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ขอเป็นกําลังใจให้กับท่านผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจน เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ขอให้มีกําลังกาย กําลังใจที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อลูกหลานของเราต่อไป.
6 มีนาคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีนักเรียนถูกรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา ล่วงละเมิดทางเพศ ว่า จากการสั่งการให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว เบื้องต้นได้รับรายงาน ว่ารักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าว มีพฤติกรรมกระทำอนาจารนักเรียนชายจำนวน 13 ราย ทาง สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จึงดำเนินการ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นและรวบรวมพยานหลักฐาน โดยขณะนี้ทาง ครู และผู้ปกครอง ได้นำนักเรียนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรบางซ้าย ซึ่งสถานีตำรวจได้ดำเนินการรับแจ้งความเรียบร้อยแล้วและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ประสานให้ข้อเท็จจริงกับสถานีตำรวจภูธรบางซ้ายแล้ว ทั้งนี้ได้มีหนังสือคำสั่งให้รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าว มาปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้ว “สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นได้กำชับให้ สพฐ. ดำเนินการให้ถึงที่สุด เบื้องต้นได้สั่งการให้ดำเนินการย้ายรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวออกนอกพื้นที่และห้ามเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด และหากผลการสืบสวนข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ว่ารักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวกระทำอนาจารจริง ก็ให้ดำเนินคดีให้หนักที่สุด ทั้งโทษทางวินัยและโทษทางอาญา ที่สำคัญขอให้เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ขอให้ทางโรงเรียนติดตาม ประเมินสภาพจิตใจลูก ๆ นักเรียน ร่วมทั้งหารือแนวทางการดูแลช่วยเหลือเยียวยานักเรียนร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลลูกๆนักเรียนต่อไป”
6มีนาคม2568 –นายสุรศักดิ์พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยนายภูธรจันทะหงษ์ปุณยจรัสธำรงผู้ช่วยเลขาธิการกพฐ.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4ปีการศึกษา2568และให้กำลังใจนักเรียนคุณครูและผู้ปกครองโดยมีนายบุณยพงศ์โพธิวัฒน์ธนัตผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคณะครูและนักเรียนจิตอาสาให้การต้อนรับณอาคารอิมแพคชาเลนเจอร์1และ2อิมแพคเมืองทองธานี รมช.ศธ. กล่าวว่าวันนี้ได้มาให้กำลังใจน้องๆและผู้ปกครองจากการตรวจเยี่ยมสนามสอบพบว่าภาพรวมการจัดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั้งเรื่องสถานที่การจราจรระบบความปลอดภัยโดยจัดทีมแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินรถพยาบาลสำหรับให้ความดูแลช่วยเหลือกรณีมีเหตุเจ็บป่วยกะทันหันรวมถึงความเป็นส่วนตัวของผู้สอบที่ไม่มีการรบกวนสมาธิจากภายนอกและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปกครอง จากยอดการสมัครสอบทั่วประเทศพบว่าปีนี้เป็นปีที่มีผู้สมัครสอบสูงที่สุดถึง13,361คนซึ่งแต่ละปีที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจัดสอบเป็นมาตรฐานที่สูงมาโดยตลอดสะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจของเด็กทั่วประเทศที่ต้องการก้าวมาสู่สถาบันแห่งนี้แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนในประเทศไม่มั่นใจถึงสถาบันอื่นเพียงแต่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจัดสอบก่อนที่อื่นเป็นสนามแรกที่เปิดโอกาสให้เด็กมาทดลององค์ความรู้และมาตรฐานข้อสอบสร้างความมั่นใจให้สนามสอบอื่นอีกมากมาย เชื่อว่าทุกวันนี้คุณภาพการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพล.ต.อ.เพิ่มพูนชิดชอบและสพฐ.ให้ความสำคัญตามนโยบาย“เรียนดีมีความสุข”ทั่วประเทศสามารถจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้และผู้เรียนทุกคนไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีที่เรียนเพราะเรากระจายโอกาสลดความเหลื่อมล้ำมั่นใจว่าเด็กทุกคนมีที่เรียนอย่างแน่นอน ขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนผู้เข้าสอบทุกคนและขอชื่นชมคณะผู้จัดสอบทุกคนที่รับผิดชอบดูแลทุกระบวนการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นโปร่งใสและสุจริตมากที่สุด รวมถึงน้องนักเรียนรุ่นพี่ “เตรียมอุดมจิตอาสา” กว่า 200 คน ที่เคยผ่านสนามสอบมาก่อน ลงทะเบียนอาสาดูแลอำนวยความสะดวกผู้เข้าสอบในปีนี้ด้วย สำหรับในปีนี้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้จัดการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4ประจำปีการศึกษา2568ในวันพฤหัสบดีที่6มีนาคม2568โดยมีผู้สมัครเข้าสอบจำนวน13,361คนจากทุกภูมิภาคของประเทศนับเป็นสถิติจำนวนผู้สมัครสอบเข้าศึกษาต่อที่มากที่สุดในรอบ15ปีที่ผ่านมา(ตั้งแต่ปี2552 – 2567)ซึ่งสามารถรับนักเรียนได้จำนวน1,520คนคิดเป็นอัตราการแข่งขัน1:8:79และจะประกาศผลการสอบภายในวันที่14มีนาคม2568 ทั้งนี้รายละเอียดการสมัครสอบแบ่งออกเป็น8สายแผนการเรียนดังนี้ 1.แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จำนวนที่สมัคร9,644คนรับจำนวน1,000คน 2.แผนการเรียนภาษา-คณิตศาสตร์ผู้สมัคร1,226คนรับ120คน 3.แผนการเรียนภาษา-ฝรั่งเศสผู้สมัคร422คนรับ80คน 4.แผนการเรียนภาษา-เยอรมันผู้สมัคร368คนรับ80คน 5.แผนการเรียนภาษา-ญี่ปุ่นผู้สมัคร527คนรับ80คน 6.แผนการเรียนภาษา-จีนผู้สมัคร728คนรับ80คน 7.แผนการเรียนภาษา-สเปนผู้สมัคร224คนรับ40คน 8.แผนการเรียนภาษา-เกาหลีผู้สมัคร222คนรับ40คน พบพรผดุงพล/ข่าว,กราฟิก อินทิราบัวลอย/ภาพ ขอบคุณภาพภายในสนามสอบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 7/2568กำหนดแผนและมาตรการรับมือป้องกันปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าคาดโทษทางวินัยกับบุคลากรในสังกัดที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนไทยวางแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในเยาวชน ใช้การแนะแนวและจิตวิทยาเด็กมาช่วยเสริม เผยความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบ โดยการใช้องค์ความรู้จาก PISA มีผู้ผ่านอบรมแล้วกว่า 1.5 แสนคน เร่งแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวะสมรรถนะสูงเพื่อรองรับอัตรากำลังที่ขาดแคลน ตามความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนเผยผลสำรวจนิด้าโพล กระทรวงศึกษาธิการ สร้างความพึงพอใจในการดำเนินงานให้ประชาชนไทย เป็นอันดับที่ 2 ของทุกกระทรวง 5 มีนาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 7/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายวิศรุต ปู่เพ็ง ที่ปรึกษา รมช.ศธ., นายพิษณุ พลธี เลขานุการ รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. และนายพัฒนะ พัฒนะทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ., แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและภาพอากาศ ขอให้บุคลากรทุกคนใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและให้ความสำคัญกับมาตรการเชิงป้องกัน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในระยะยาว ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมี“โรงพยาบาลครู”พร้อมให้บริการด้านสุขภาพแก่บุคลากร จึงขอให้ทุกคนตรวจสอบสิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ แผนและมาตรการเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าว่า ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนและการพัฒนาในอนาคตของเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยจะใช้มาตรการทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนและมาตรการเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของกระทรวงศึกษาธิการ และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดำเนินการปรับปรุงแผนฯ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมมอบหมายสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ซึ่งแผนการดำเนินงานจะมี 3 ระยะ คือ แผนการดำเนินงาน“ระยะสั้น”การป้องกันและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน มุ่งเป้าหมายในการป้องกันและลดการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนและนักศึกษา โดยการประชุมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อการวางแผนบริหารจัดการคุณภาพ การกำหนดเขตปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และการบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งการแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน การประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย การพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา และการบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกเพื่อควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์เสพติดอื่น ๆ เพื่อให้สถานศึกษาปลอดบุหรี่ไฟฟ้าและสร้างความตระหนักรู้ในกลุ่มนักเรียน “ระยะกลาง”เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติเพื่อการขยายผล เน้นการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยใช้เทคนิค “เพื่อนเตือนเพื่อน” ผ่านกิจกรรมของสภานักเรียนและการสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อลดการใช้บุหรี่ไฟฟ้า การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมและสัมมนาในชุมชนท้องถิ่น ปรับปรุงหลักสูตรอบรมพนักงานส่งเสริมความประพฤติให้สอดคล้องกับการป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าและการบูรณาการกับกระทรวงการพัฒนาสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว และ“ระยะยาว”มุ่งเน้นการปลูกฝังให้นักเรียนและนักศึกษาตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งด้านกฎหมายและสุขภาพ การเสริมบทบาทของพนักงานส่งเสริมความประพฤติในการเฝ้าระวังและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการต่อต้านยาเสพติดและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและชุมชนในการต่อต้านพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายให้ข้าราชการในสังกัดมีอำนาจในการตรวจค้นและทำลายบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนและนักศึกษา ทั้งนี้ได้มีการคาดโทษทางวินัยกับบุคลากรในสังกัดที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เน้นย้ำให้ทุกคนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน นักศึกษา ได้ภาคภูมิใจ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา มีวาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการใน 2 เรื่องหลักคือ การพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในเยาวชน และการทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน ซึ่งสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในเยาวชน คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาญัตติด่วนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ศธ. ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาผ่านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาแนะแนว ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา การอาชีพ และการพัฒนาสังคม เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในนักเรียน รวมทั้งการฝึกอบรมครูในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อให้ครูมีทักษะด้านจิตวิทยาเด็กและทักษะการวิเคราะห์ที่ช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาเครือข่ายป้องกันปัญหาพฤติกรรมเยาวชน และการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมปัญหาด้วยเทคนิคการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ในส่วนของการทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน โดยอนุมัติให้มีการทบทวนการจัดสรรสิทธิและปรับกลุ่มพื้นที่ในการขนส่งนมโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและลดต้นทุนค่าขนส่ง การเปลี่ยนแปลงการแบ่งกลุ่มพื้นที่จาก 5 เขตเป็น 7 เขต จะช่วยลดระยะทางในการขนส่งนมโรงเรียนจาก 1,191 กิโลเมตร เหลือเพียง 505 กิโลเมตร โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินโครงการนมโรงเรียนมีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งสองเรื่องนี้เป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การดูแลเด็กและเยาวชน รวมถึงการปรับปรุงระบบการขนส่งและการจัดการในโครงการนมโรงเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและความยั่งยืนในระยะยาว การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ. ได้มีการประชุมหารือการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการใช้องค์ความรู้จาก PISA ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการสำคัญในหลายด้าน อาทิ การพัฒนาระบบ Early Warning การพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ การทดสอบมาตรฐานระดับชาติ (National Standard Test) และการจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผนทางการศึกษาผ่านระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลทุกมิติ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา (Natural Education Database) ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และติดตามผลการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีการนำร่องการใช้ AI ในการทำแบบทดสอบและการนำ Generative AI มาสร้าง Application เพื่อวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนก่อนการสอบ PISA ซึ่ง สกศ. จะดำเนินการและนำเสนอในที่ประชุมต่อไป สำหรับความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ พบว่าในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนกว่า 300,000 คน ซึ่งใกล้จะบรรลุเป้าหมาย 445,624...
4 มีนาคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ผู้บริหาร ศธ. เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ รมช.ศธ.เปิดเผยว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบแนวทางการขอความร่วมมือสถาบันการเงินทุกแห่ง ในการแจ้งข้อมูลครูที่อยู่ระหว่างกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีและมีแนวโน้มว่าจะถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย (กลุ่มวิกฤต) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ นำโดยนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นผู้ประสานงานไปยังนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินทุกแห่ง ในการจัดส่งข้อมูลผู้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายอย่างเร่งด่วน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามกระบวนการแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา พร้อมเห็นชอบในการตั้งสหกรณ์กลาง ภูมิภาคละ 1 แห่ง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานและเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการช่วยเหลือครูที่ประสบปัญหาการถูกหักเงินเดือนจนเหลือรายรับสุทธิต่ำกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน ในส่วนกลางตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงศึกษาธิการภาคกลางตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดกาญจนบุรีภาคใต้ตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดสุราษฎร์ธานีภาคเหนือตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดนครสวรรค์ภาคตะวันออกตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดสระแก้ว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการในการยกเลิกคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการชุดเดิม และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ชุดใหม่ เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ สรุปแนวทาง และวางแผนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล ตลอดจนขับเคลื่อนงานให้มีความต่อเนื่องและเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนฯ ของ สป. สพฐ. สอศ. สกร. ก.ค.ศ. สช. โดยมี รมช.ศธ. เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ในส่วนภูมิภาค ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานีแก้หนี้ทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการ และ ผอ.สพป. เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อความคล่องตัวในการขับเคลื่อนฯ ทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาคอย่างเป็นระบบและครอบคลุมตามบริบทเชิงพื้นที่ ตลอดจนรับทราบในการที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการส่งหนังสือขอแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการเสนอให้เพิ่มข้อความ “การหักเงินตามวรรคหนึ่ง หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการดำรงชีวิตของสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหน่วยงานนั้น โดยการหักเงินเพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นที่มีต่อสหกรณ์จะต้องคงเหลือเงินเดือนสุทธิของสมาชิกหลังจากหักเงินดังกล่าวแล้วไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30” เป็นวรรคสี่ของมาตรา 42/1 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 รวมทั้งขอแก้ไข ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2550 โดยขอให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 30 วรรคหนึ่ง “การจ่ายเงิน มิให้ส่วนราชการผู้หักเงินไว้เพื่อการใด ๆ เว้นแต่จะมีหนังสือยินยอมจากข้าราชการ หรือผู้มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระเงินให้แก่สหกรณ์ที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ และค่าสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ หรือชำระตามข้อผูกพันกับทางราชการเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพของข้าราชการ การหักเงินดังกล่าวจะต้องคงเหลือเงินสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 30” การแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิ ลดผลกระทบ และเพื่อประโยชน์ของข้าราชการในการดำรงชีวิตจากภาระหนี้สิน “การแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เป้าหมายสำคัญคือการที่กระทรวงศึกษาธิการสามารถติดตามสถานการณ์ ป้องกันไม่ให้ครูต้องประสบปัญหาทางการเงินที่รุนแรงจนถึงขั้นล้มละลาย ตลอดจนวางแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในระยะยาวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยเน้นการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของครูที่ประสบปัญหาหนี้สินให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพ
ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ – 27 กุมภาพันธ์ 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ผู้บริหาร คณะกรรมการคุรุสภา เข้าร่วม และ ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการประชุม โดยที่ประชุม มีการพิจารณาและมีมติในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ เห็นชอบ ร่าง ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศ ในสาขาต่าง ๆ พ.ศ. …. และมอบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ให้การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จำนวน 4 แห่ง รวมจำนวน 15 หลักสูตร 2.1 ปริญญาตรีทางการศึกษา(หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 3 แห่ง จำนวน 13 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จำนวน 3 หลักสูตร 2) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ขอนแก่น จำนวน 1 หลักสูตร 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 9 หลักสูตร 2.2 ปริญญาโททางการศึกษา(วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 แห่ง จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2.3 ปริญญาเอกทางการศึกษา(วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 แห่ง จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เห็นชอบการรับรองผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 2/2568 ของผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินฯ จำนวน 5,644 คน โดยเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา จำนวน 5,030 คน 2) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 602 คน 3) หลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 12 คน และมอบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ไม่ให้การรับรองปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร ของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง เนื่องจากการยื่นเสนอขอรับการประเมินเพื่อการรับรองปริญญาฯ ไม่เป็นไป ตามประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557 เห็นชอบร่าง แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รับทราบการให้ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษาสำหรับฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรอง ของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 17 แห่ง รวมจำนวน 96 คน ดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 2) มหาวิทยาลัยตาปี 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 4) มหาวิทยาลัยธนบุรี 5) มหาวิทยาลัยนครพนม 6) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 7) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 8 ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี 9) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 10) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 11) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 12) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ 13) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 14) มหาวิทยาลัยทักษิณ 15) มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 16) วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 17) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รับทราบรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1องค์ประกอบ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยองค์ประกอบคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และอำนาจและหน้าที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ส่วนที่ 2ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) การพิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู ้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา...
24 กุมภาพันธ์ 2568 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 133 ปี โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการจากส่วนราชการในสังกัดและในกำกับ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ. กล่าวว่าวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครบรอบ 133 ปี ในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 ซึ่งประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร 134 รูป, พิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง, พิธีเจริญพระพุทธมนต์, พิธีอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ศธ. รวมทั้งพิธีมอบเข็ม“เสมาคุณูปการ”แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ศธ. จำนวน 133 ราย และมอบเข็ม“เชิดชูเกียรติ” ให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 10 ราย ซึ่งในปีนี้ได้ให้ส่วนราชการในสังกัด/ ในกำกับ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 133 ปี ประกอบด้วยกิจกรรม บริจาคโลหิต กิจกรรม Big Cleaning Day และกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ คือ การประกวดบทความเรื่อง“ความภาคภูมิใจในการเป็นบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ”จาก 14 หน่วยงานในสังกัด/ในกำกับ โดยข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา และพนักงานในสังกัด สามารถส่งบทความเข้าร่วมรับรางวัลและยังได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์ไว้ในหนังสือที่ระลึกฯ อีกด้วย สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมฯ ผ่านทาง Facebook Page: ศธ.360 องศา ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำหนังสือที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 133 ปี ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Flip E-Book) โดยมีบทความพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาระดับประเทศ อาทิ ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ, รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์, ศ.จินตวีร์ คล้ายสังข์, รศ.อรพรรณ บุตรกตัญญู ภายใต้หัวข้อ“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” ธรรมนารี ชดช้อย / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
จังหวัดสงขลา,17 กุมภาพันธ์ 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2568 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย(จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เยี่ยมชมโครงการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบเป็นศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้ เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (LEARN TO EARN TO SCHOOL MODEL FOR SUSTAINABILITY) ณ โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา อำเภอเมืองสงขลา รมช.ศธ.กล่าวว่ารัฐบาลมีนโยบายด้านการศึกษา ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ โดยจะส่งเสริม ผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนเสริมสร้างทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง เพื่อสร้างรายได้ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความมุ่งมั่นสานต่อนโยบายการศึกษา“เรียนดี มีความสุข”ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้หลักการ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ใช้แนวทางการทำงาน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”มุ่งสร้าง“การศึกษาเท่าเทียม”ผ่านเครือข่ายการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดการพัฒนา คุณภาพการศึกษาทุกระดับ ให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน ในทุกช่วงวัย ให้“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”มีศักยภาพและความพร้อม สนับสนุนการพัฒนาประเทศ ให้“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ซึ่งในวันนี้ได้มาเยี่ยมโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบ เป็นศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้ เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืนของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์คาร์แคร์ ร้านตัดผมชาย ทำขนม การประกอบอาหาร แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้อำนวยการโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะอาชีพ เพื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษสำหรับเป็นแนวทางสร้างโอกาสทางการศึกษา ทักษะเบื้องต้นในการใช้ชีวิตเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และส่งเสริมการมีงานทำให้กับนักเรียน นอกจากนี้ ได้รับฟังการขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะเรื่อง Zero Dropout ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ขอชื่นชมหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดสงขลาที่ร่วมมือกันทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ค้นหาเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบศึกษาครบถ้วน 100% มีเด็กส่วนหนึ่งสมัครใจจะกลับมาศึกษาต่อ แต่อีกส่วนหนึ่งไม่กลับเข้ามาศึกษาต่อ และมีส่วนที่ย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ ในส่วนของเด็กที่สมัครใจ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ส่วนเด็กที่ไม่ประสงค์กลับมาเรียน ได้ฝากให้ สพฐ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางนำเด็กกลับมาเรียน หรือนำการเรียนไปให้น้อง ต้องสนับสนุนช่วยเหลือเด็ก หาวิธีการที่จะทำให้เด็กกลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษามากที่สุด “ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้บริหาร ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงาน ที่ได้ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างดี ขอให้สานต่อการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง และเข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาต่อไป“ รมช.ศธ. กล่าว อีกเรื่องหนึ่งที่ได้มีการเจรจากันอยู่ในตอนนี้คือ รมว.ศธ. ได้รับการประสานจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการสนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งหลายๆ จังหวัดพัฒนาพื้นที่ของตัวเองเต็มที่แล้ว ต้องการที่จะพัฒนาด้านการศึกษาให้มากขึ้น ที่ผ่านมาได้ดำเนินการมาตลอด เพียงแต่ยังติดที่ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เรื่องเงินอุดหนุนของท้องถิ่นต่างๆ จึงอาจต้องมีการหารือกับกระทรวงมหาดไทยเพิ่มเติมเพื่อขอปลดล็อกข้อกฎหมาย ให้โรงเรียนสามารถรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นได้ โดยเราจะดำเนินการตามแนวทาง“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”ประสานพลังกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับการศึกษาไทยทั้งระบบให้ดีขึ้นในทุกพื้นที่”รมช.ศธ. กล่าว ธรรมนารี ชดช้อย /ข่าว – กราฟิก ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาต /ภาพ