รมว.ศธ. เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 19/2568 เผย สถานการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชาที่เกิดขึ้นอยู่ในสถานการณ์ปกติ เชื่อมั่นในการทำงานของฝ่ายรักษาความมั่นคง และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และได้กำชับให้พื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ตั้งเป้าหมายขยายผลกิจกรรมโรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา ให้ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งหมด 246 (245+กทม.) ภายในเดือนมิถุนายน พร้อมสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการกับ OECD-OEC จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพระบบการศึกษาไทยให้สามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล พร้อมจัดทำแผนและปฏิทินการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่ ครม. มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568 11 มิถุนายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 19/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นางสาวพิมพ์พร ชีวนานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. และนายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าว ในมิติของการ“ดำเนินงาน แก้ไข ติดตาม ขยายผล”ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมองภาพรวมของการบริหารจัดการอย่างรอบด้านว่าได้ผลเพียงใด โดยให้ความสำคัญกับการประเมินผลอย่างเป็นระบบ หากการดำเนินงานใดที่ดีก็ให้ขยายผล ขณะเดียวกันหากพบว่ายังมีข้อบกพร่องในกระบวนการก็ต้องเร่งปรับปรุงอย่างตรงจุด เพื่อให้การพัฒนาเกิดความต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชาที่เกิดขึ้นนั้น กระทรวงศึกษาธิการมีความห่วงใยนักเรียนและบุคลากรทุกท่าน ซึ่งภาพรวมในขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ปกติ เชื่อมั่นในการทำงานของฝ่ายรักษาความมั่นคง และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และได้กำชับให้พื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การจัดสถานที่หลบภัย ตลอดจนการฝึกซ้อมตามแผนอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที รวมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว เหตุการณ์ไม่สงบ หรือการก่อเหตุร้ายโดยบุคคลภายนอก พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่อย่างใกล้ชิด “ฝากเรื่องการส่งเสริมสุขภาพร่างกายของนักเรียน ด้วยการนำ “มวยไทย” มาบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน ซึ่งถือเป็นทั้งการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และเป็นการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยไปควบคู่กัน” สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับการนำชุดพัฒนาความฉลาดรู้ ควรเสริมทักษะ 3+1 ภาษา ไทย จีน อังกฤษ และดิจิทัล (AI) รวมถึงการขยายผลการดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา ตั้งเป้าหมายขยายผลกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งหมด 246 (245+กทม.) ภายในเดือนมิถุนายนนี้ การนำชุดพัฒนาความฉลาดรู้ ในการเสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การอ่านจับใจความ และการเชื่อมโยง โดยเฉพาะชั้น ม.3 และ ม.4 ได้รับการฝึกฝนผ่านระบบ Computer-Based Test พัฒนาความคล่องในการใช้คีย์บอร์ด ฝึกให้รู้จักอ่านโจทย์ วิเคราะห์เนื้อหา และตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างมีระบบ สำหรับการสร้างคลังข้อสอบตามแนว PISA เขตพื้นที่การศึกษาได้ร่วมมือกันรวบรวมข้อสอบ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน และนำไปใช้จริงในห้องเรียน ทั้งในการสอบกลางภาค ปลายภาค หรือกิจกรรมการเรียนรู้ การอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาในรูปแบบ “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) ผ่านระบบ On-Demand โดยมีการอบรมแบ่งออกเป็นหลายรุ่น ตั้งแต่ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูแกนนำ ไปจนถึงครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระ และมีระบบการติดตามและนิเทศอย่างต่อเนื่องทุกสองสัปดาห์ และมุ่งขยายผลสู่การคัดเลือกโรงเรียนและนักเรียนต้นแบบ เพื่อพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน โรงเรียนพี่เลี้ยง โรงเรียนวิทยาศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ความก้าวหน้าในการเข้าร่วมโครงการกับ OECD รมว.ศธ.กล่าวว่า จากรายงานประจำปีขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD : Organisation for Economic Co-operation and Development)ที่รวบรวมข้อมูลและสถิติด้านการศึกษาจากหลายประเทศ เพื่อใช้เปรียบเทียบและวิเคราะห์ระบบการศึกษาในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการลงทุนด้านการศึกษา อัตราการเข้าเรียนและจบการศึกษา รายได้และสถานภาพของครู และความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับตลาดแรงงาน ซึ่งการเข้าร่วมโครงการกับ OECD จะเป็นประโยชน์ที่เกี่ยวกับการศึกษาในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพระบบการศึกษาไทยให้สามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล การมีส่วนร่วมในโครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างประเทศ นำไปสู่การกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี รมว.ศธ.กล่าวว่า ตามที่มติ ครม. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568 (ภายหลังการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 18/2568) เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ภายใต้การเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนทั้งสิ้น 15 คณะ ตามที่ ศธ. เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติเป็นต้นไป สำหรับคณะกรรมการโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน” ได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการฯ ที่ได้รับการขยายระยะเวลาดำเนินการแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี...
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
11 มิถุนายน 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แถลงข่าวกิจกรรมค่ายเยาวชนอาเขียน ประจำปี 2568 (ASEAN Youth Camp 2025) โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. ผู้บริหาร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ. กล่าวว่าในฐานะที่ดำรงตำแหน่งประธานด้านการศึกษาของอาเซียน ตั้งแต่ปี 2567 จนถึงปัจจุบัน ได้เล็งเห็นถึงบทบาทสำคัญของเยาวชนในฐานะพลังขับเคลื่อนที่สามารถส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านการศึกษา วัฒนธรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์มาโดยตลอด กิจกรรมค่ายเยาวชนอาเซียน ประจำปี 2568 หรือ AYC2025 ภายใต้หัวข้อ“AI แฮกกาธอนเพื่อความยั่งยืนสีเขียว”ในครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลาย ภายในงานมีกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ทั้งการบรรยายให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมแฮกกาธอน การแข่งขันการพัฒนา AI และหุ่นยนต์ ด้วยเครื่องมือซีราคอร์ (CiRA Core) การศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสุดท้าย จะมีการจัดการแข่งขันนำเสนอผลงาน AI เพื่อความยั่งยืนสีเขียว ซึ่งจะมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่าน Facebook Fanpage ศธ.360 องศา เพื่อให้สถานศึกษาและผู้ที่สนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับชมและร่วมเป็นกำลังใจให้กับตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ เชื่อมั่นว่าค่ายเยาวชนอาเซียน ประจำปี 2568 จะเป็นเวทีสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ในหมู่เยาวชน ถึงอัตลักษณ์ของอาเซียน ความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในภูมิภาค ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอย่างยั่งยืนในระยะยาว สำหรับกิจกรรม “ค่ายเยาวชนอาเซียน ประจำปี 2568” หรือ AYC2025 ภายใต้หัวข้อ “AI แฮกกาธอนเพื่อความยั่งยืนสีเขียว” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 มิถุนายน 2568 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 86 คน เป็นเยาวชนจำนวน 4 คน และครู 1 คน จากประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ (ยกเว้นเมียนมา ได้แจ้งสละสิทธิ์)สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ รวมถึงประเทศคู่เจรจา ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น รวม 13 ประเทศ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนประจำปี 2568 ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานและภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (MWIT) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบพร ผดุงพล / ข่าว อินทิรา บัวลอย / ภาพ
9 มิถุนายน 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การยกระดับคุณภาพผู้บริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและวิชาชีพ” ประจำปี 2568 โดยมี ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประเทศไทย) ร่วมให้การต้อนรับ ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี รมช.ศธ. กล่าวว่าขอชื่นชมทุกท่าน ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ รับโล่เกียรติยศ ของผู้บริหารการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ อุทิศตน เสียสละ ทุ่มเทพลังกาย-ใจประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับการศึกษาไทย และเป็นผู้มีผลงานดีเด่น ในการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้บริหารการศึกษา จนได้รับโล่เกียรติยศในครั้งนี้ นับได้ว่าการประชุมสัมมนานี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญ ในการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและวิชาชีพ รวมถึงการบริหารงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสมาคมรองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประเทศไทย) เป็นองค์กรวิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา ที่ทำหน้าที่ในการประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน การยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่มีความมุ่งมั่นและผลักดัน การสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค คุณภาพและสมรรถนะที่สำคัญจำเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียน“เรียนดี มีความสุข”ภายใต้หลักการ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” “บุคลากรที่มีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพนั้นคือ รองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่รวมพลังการขับเคลื่อน ทั้งระดับผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ หวังว่าความรู้ ประสบการณ์ จากการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ จะเพิ่มพูนองค์ความรู้ ในการบริหารการศึกษา และส่งเสริมสมรรถนะ ในการบริหารจัดการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน ได้นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านวิชาชีพ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถนำไปพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ตามตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารการศึกษาต่อไป ทั้งนี้ขอฝากรองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประเทศไทย) และผู้บริหารระดับสูงทุกท่าน ช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้บุคลากรทางการศึกษาหรือลูกๆนักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ไฟฟ้าเด็ดขาด ร่วมกันทำให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดยาเสพติดและบุหรี่ไฟฟ้า ” รมช.ศธ.กล่าว รมช.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่าขอขอบคุณ สมาคมรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประเทศไทย) ผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ๆ ท่าน ที่ได้เสียสละ และทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยเรา ทั้งยังขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน ครู และลูก ๆ นักเรียน ที่มาร่วมจัดนิทรรศการ นำเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้
วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2568 เวลา 11.00 น. / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) รุ่นที่ 995 โดยมี ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าวปิดและแสดงความยินดี ในโอกาสนี้ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้ารับวุฒิบัตรในฐานะผู้ผ่านการฝึกอบรมครั้งนี้ด้วยและมีผู้บริหารทางการศึกษาเข้าร่วมเป็นเกียรติ อาทิ ดร.สุภชัย จันปุ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่รองเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ดร.วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ นางกัลยา มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวความตอนหนึ่งว่า “…นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกท่านที่มีโอกาสได้เข้ารับการฝึกอบรม ได้เรียนรู้ได้พัฒนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านกิจการลูกเสือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของการจัดการลูกเสือ ในระดับต่าง ๆ การฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือในครั้งนี้ ทำให้เราเข้ามาเพิ่มพูนทักษะ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมลูกเสือให้มีความเจริญรุ่งเรือง และยกระดับคุณภาพการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณ คณะผู้บริหารสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ คณะวิทยากรผู้คุณวุฒิทุกท่าน ที่ได้มาร่วมกันถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์อันมีคุณค่าเกี่ยวกับลูกเสือ และขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือฯ ในครั้งนี้ …” สำหรับการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ (A.L.T.C.) รุ่นที่ 995 ครั้งนี้ มีนายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือไทย ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมมาตั้งแต่วันที่ 1-7 มิถุนายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บัลลังก์ โรหิตเสถียร ข่าว / กราฟิก
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 18/2568 เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ผ่านการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน PISA และ O-NET พร้อมเน้นย้ำการใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมมือกันเป็น “ทีมสนับสนุน” เพื่อให้นักเรียนไทยเติบโตเป็นผู้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” อย่างรอบด้าน พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ณ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ในการเตรียมข้อมูล ข้อเสนอ และผลการดำเนินงานที่สำคัญในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 4 มิถุนายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 18/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. และนายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า การสื่อสารนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”ขอให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป เพื่อให้ผู้เรียน“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด หมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ“ดั่งมีดที่คม ต้องมีการหมั่นลับคมอยู่เสมอ”ความรู้ก็เช่นเดียวกัน เพื่อเป้าหมายของพวกเราคือความเจริญก้าวหน้าของ“ประเทศชาติ”เป็นสำคัญ ภาพรวมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 (วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ) เมื่อวันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการอภิปรายและพิจารณาในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะในด้านความเหลื่อมล้ำและคุณภาพการศึกษา หลักสูตรการศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษา อาชีวศึกษา การทุจริตคอร์รัปชัน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และประเด็นอื่น ๆ ซึ่งผลการลงมติที่ประชุมมีมติรับร่างหลักการตามพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2569 โดยกระทรวงศึกษาธิการจะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการตามนโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ในขั้นตอนถัดไป ศธ. จะต้องดำเนินการวางแผนงานและเตรียมความพร้อมสำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ในวาระที่ 2 จะเป็นการพิจารณารายละเอียดของงบประมาณในระดับรายจ่ายแผนงาน/โครงการ ฝากไปยังหน่วยงานในสังกัดทุกแห่งให้เร่งดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ถูกต้อง และพร้อมสำหรับการนำเสนอ รวมถึงเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุด “อีกประการหนึ่งที่สำคัญ ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน รวมถึงยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในสถานศึกษา จึงขอให้ทุกคน หมั่นดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน” สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า มิติของการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ขอให้“สร้างเครือข่าย ขยายความร่วมมือ และการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด”ระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของนักเรียนไทยสู่การประเมิน PISA ที่จะมาถึงนี้ ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2568 มุ่งเน้นแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ 3 ด้าน สู่เด็กไทย “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” เสริมทักษะเพื่อการอ่านจับประเด็น ตีความ สะท้อนความคิด สู่การพัฒนากระบวนการคิดผ่านวิทยาศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการคณิตศาสตร์สู่การแก้ปัญหา และสำหรับผลการดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา เป็นการยกระดับควบคู่กัน ผ่านรูปแบบแพลตฟอร์ม การใช้ทรัพยากรในโรงเรียน การนำนักเรียนมาฝึกปฏิบัติ และการประชุมแลกเปลี่ยนทั้ง Onlineและ On site มีเป้าหมายการดำเนินการใน 246 (245+กทม.) เขตพื้นที่การศึกษา 29,082 โรงเรียน ในขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว ใน 87 เขตพื้นที่ 187 โรงเรียน ในระยะต่อไปจะมีการให้โรงเรียนพี่เลี้ยง คือ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง โรงเรียนประจำจังหวัดที่มีศักยภาพสูง เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสฯ โรงเรียนมัธยมขนาดเล็กและขนาดกลาง และโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ที่ยังขาดทักษะรายวิชาเอก ให้มีการพัฒนาควบคู่กันเพื่อประสิทธิภาพทางการศึกษาของนักเรียนทุกแห่ง ซึ่งสิ่งที่ได้จากการจัดกิจกรรมจะมีการบริหารจัดการหลักสูตรและโครงสร้าง ครูมีเทคนิคการสอนและการเติมเต็มสมรรถนะความฉลาดรู้ของนักเรียน มีรูปแบบการเป็นโค้ดในการฝึกระบบคอมพิวเตอร์ มีแหล่งทรัพยากรและบุคลากรที่สามารถใช้ร่วมกันและประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ วิธีการบริหารจัดการคุณภาพห้องเรียนและการจัดการการเรียนรู้สื่อสาร 2 ทาง สำหรับแผนการดำเนินงานยกระดับของนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายและนักเรียนทุกคนในปีการศึกษา 2568 มีกิจกรรมที่สำคัญคือการสอบ PRE PISA ม.2 ซึ่งจะเป็นการสอบประเภทการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การสอบ O-NET ม.3 ในวิชาภาษาไทยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กิจกรรมปิดเทอมใหญ่ซึ่งจะมีแผนการดำเนินงานในการให้นักเรียนมีการค้นคืนสาระ หรือการที่นักเรียนได้นำประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนมาทบทวน...
3 มิถุนายน 2568 นับเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงพสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 47 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระวิริยอุตสาหะและพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการส่งเสริมการศึกษา ทรงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเยาวชนและการส่งเสริมทักษะอาชีพ ตลอดระยะเวลาที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระราชหฤทัยในการสนับสนุนกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะชีวิต และการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนไทย ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ พระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ สะท้อนถึงพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยเมตตา ความห่วงใย และความใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทรงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้วยพระราชปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเห็นประชาชนไทยมีความรู้ คู่คุณธรรม และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี เปี่ยมด้วยคุณภาพ และความดีงามอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาการได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มต้นเวลา 06.09 น. พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีทำบุญตักบาตรเพื่อถวายพระราชกุศล เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และแสดงพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคีของชาวกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา โดยในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ รมว.ศธ. เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ถวายสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ถวายผ้าไตร และจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จำนวน 10 รูปจากนั้น รมว.ศธ. นำผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคลความว่า “ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มาร่วมชุมนุม พร้อมเพรียงกัน ณ ที่นี้ ล้วนมีความปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมกันแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ปฏิบัติงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชวิริยอุตสาหะและความจงรักภักดี เป็นที่ประจักษ์แก่ผองพสกนิกร ในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคล ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล ปกอภิบาลประทานพรให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เจริญด้วยจตุรพิธพรพิพัฒน์ สวัสดิมงคล พระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญสถิตเป็นมิ่งขวัญ แห่งปวงประชาสถาพรตราบกาลนาน“ ภายหลังจากกล่าวบังคมทูลถวายพระพรเสร็จสิ้น รมว.ศธ. นำผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” และเพลง “สดุดีจอมราชา” จากนั้นร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร 48 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ เป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมฯ ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามหมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พุทธศักราช 2568 และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ตามที่รัฐบาลกำหนด ในวันที่ 3 มิถุนายน 2568 โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคลากรในสังกัด ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วม ประกอบด้วย เวลา 07.30 น. พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในส่วนภูมิภาค หน่วยงานราชการในแต่ละจังหวัดได้ร่วมกันจัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร ณ สถานที่ที่เหมาะสม เวลา 08.00 น. พิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง และในส่วนภูมิภาค ณ สถานที่ตามความเหมาะสม ในส่วนภูมิภาค หน่วยงานราชการระดับจังหวัดได้จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ สถานที่ราชการที่เหมาะสม เวลา 17.00 น. ร่วมเข้าเฝ้าฯ ตามหมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2568 โดยในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ไปในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 17.30 น. พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม ณ บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในส่วนภูมิภาค หน่วยงานราชการระดับจังหวัดได้จัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม ณ สถานที่ราชการที่เหมาะสม เวลา 19.19 น. พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในส่วนภูมิภาค หน่วยงานราชการระดับจังหวัดได้จัดพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ สถานที่ราชการที่เหมาะสม ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 ผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการhttps://www.moe.go.th/wellwishes/ อานนท์ วิชานนท์...
1มิถุนายน2568–พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ(A.L.T.C.)รุ่นที่995พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ“นโยบายด้านการพัฒนากิจกรรมลูกเสือเนตรนารี”โดยมีนายสุรศักดิ์พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมฝึกอบรมณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยาหันตราจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รมว.ศธ.กล่าวในตอนหนึ่งว่านโยบายขับเคลื่อนการศึกษา“เรียนดีมีความสุข”ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมลูกเสือจนเป็นที่มาของกิจกรรมลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ“ทำดีทำได้ทำทันที”ภายใต้แนวคิด“เด็กคิดเด็กทำเด็กนำผู้ใหญ่สนับสนุน”โดยการนำขบวนการลูกเสือ(Scout Movement)หรือการลูกเสือซึ่งเป็นการร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างสรรค์ให้เกิด“พลังของเด็กเยาวชนและคนหนุ่มสาว”ให้มีอุปนิสัยติดตัวคือซื่อสัตย์รับผิดชอบมีน้ำใจด้วยวิธีการลูกเสือซึ่งต้องตอบสนองความต้องการและความสนใจตามช่วงวัยมุ่งพัฒนาฝึกฝนและบ่มเพาะให้เด็กเยาวชนมีความรู้ทักษะเจตคติและคุณลักษณะที่ดีซึ่งทุกท่านที่เข้ามาฝึกอบรมครั้งนี้จะเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนากิจการลูกเสือให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและเยาวชนของชาติให้มี“ความซื่อสัตย์รับผิดชอบและมีน้ำใจ”อย่างแท้จริงต่อไป สำหรับการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ(A.L.T.C.)รุ่นที่995จัดขึ้นหว่างวันที่1-7มิถุนายน2568เพื่อให้การดำเนินกิจการลูกเสือเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือรองรับและพัฒนาศักยภาพให้สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนโดยผ่านกระบวนการลูกเสือได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นรวมถึงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เพิ่มพูนความรู้ทักษะในการฝึกอบรมขั้นผู้ช่วยหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือตามแนวทางของสำนักงานลูกเสือโลกพร้อมรองรับการทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น(B.T.C.)หรือเป็นวิทยากรให้การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ ทั้งนี้ดร.วรัทพฤกษาทวีกุลรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติกล่าวรายงานและมีผู้บริหารทางการศึกษาเข้าร่วมเป็นเกียรติอาทิดร.สุภชัยจันปุ่มผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่รองเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติดร.วันเพ็ญบุรีสูงเนินผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาตินางกัลยามาลัยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต1ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการฝึกอบรมครั้งนี้นายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลปกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือไทยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมเข้าร่วม พบพรผดุงพล/ข่าว,กราฟิก
30 พฤษภาคม 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ณ อาคารรัฐสภา ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบกล่าวในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ว่า กระทรวงศึกษาธิการได้นํานโยบายของรัฐบาลภายใต้การนําของนายกรัฐมนตรี “นางสาวแพทองธาร ชินวัตร” ไปดําเนินการขับเคลื่อน โดยประกาศนโยบายการศึกษา“เรียนดี มีความสุข”เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา การลดภาระนักเรียน และผู้ปกครอง มุ่งสู่ความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทํา” ภายใต้แนวทางการทํางาน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 โดยงบประมาณในปี 2567-2569 ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้น แต่โครงสร้างงบประมาณปี 2569 จํานวน 355,108.4475 ล้านบาท (สามแสนห้าหมื่นห้าพันล้านบาทเศษ) ส่วนใหญ่เป็นงบบุคลากร 61.47% ส่วนที่เหลือเป็นงบเงินอุดหนุน 27.27% งบดําเนินงาน 3.87% งบลงทุน 3.83% และงบรายจ่ายอื่น 3.56% หากเจาะลึกลงไป จะเห็นได้ว่า งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จํานวน 4.21% เป็นเงิน 14,333.8758 (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสามสิบสามล้านบาทเศษ) 75 % เป็นงบเกี่ยวกับบุคลากร ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการปรับเงินเดือน 3% จาก 15,000 บาท เป็น 18,000 บาท และการสนับสนุนงบเงินอุดหนุน ได้รับเพิ่มขึ้นจากการปรับงบประมาณเงินอุดหนุนแบบขั้นบันได มีส่วนงบในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรวมกันเพียง 25 % ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 จํานวนประมาณ สี่แสนสี่หมื่นล้านบาท (439,703.1856 ล้านบาท) แต่ได้รับการจัดสรรตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพียงสามแสนห้าหมื่นล้านบาทเศษ (355,108.4775) โดยงบดําเนินงาน ถูกปรับลดลงมากกว่าร้อยละ 52 งบลงทุน ถูกปรับ ลดลงมากกว่าร้อยละ74 และงบรายจ่ายอื่น ถูกปรับลดลงร้อยละ 39 ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้ หากได้รับการจัดสรรเพิ่มเติม จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น Screenshot และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการจัดอันดับตัวชี้วัดงบประมาณรวมด้านการศึกษาต่อจํานวนประชากร ในปี 2023 (IMD 2023) ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 57 ของประเทศที่เข้ารับการจัดลําดับจํานวน 67 ประเทศ และหากเปรียบเทียบกับกลุ่มภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 ของกลุ่มจํานวน 14 ประเทศ ซึ่งถือว่าประเทศไทยยังได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษายังน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้เชื่อมั่นว่า กระทรวงศึกษาธิการ จะมุ่งมั่นตั้งใจแก้ปัญหาความท้าทายใหม่ ๆ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายใต้งบประมาณที่ได้รับอย่างจํากัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะเดินหน้าขับเคลื่อนการเรียนรู้แบบ3 + 1 คือเรียนรู้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และเพิ่มทักษะดิจิทัล หรือ AIส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และอนาคตของลูกหลานพวกเราทุกคน ให้ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทํา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปราย ดังนี้ การพิมพ์หนังสือแบบเรียนขององค์การค้าฯ องค์การค้าของ สกสค. ได้โอนจากคุรุสภามาให้ สกสค.ดูแลตั้งแต่ปี 2558 โดยให้โอนทรัพย์สินดูแลในส่วนที่กำกับ เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์ตำราเรียน สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งตั้งแต่โอนมาไม่เคยได้รับงบประมาณแผ่นดิน เนื่องจากในการของบประมาณทุกครั้งถูกตัดมาโดยตลอด จึงทำให้ปีงบประมาณ 2569 ไม่ได้ของบประมาณในส่วนนี้ องค์การค้าฯ มีภารกิจที่สำคัญในการจัดพิมพ์แบบเรียนตั้งแต่ปี 2546 โดยหลังจากที่องค์การค้าฯ อยู่ภายใต้กำกับของ สกสค.ตาม พ.ร.บ.ครูฯ ได้ใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือแบบเรียนด้วยงบประมาณขององค์การค้าฯ เอง ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลแม้แต่บาทเดียวและหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าฯ เมื่อเทียบกับสำนักพิมพ์เอกชนหน้าเทียบราคาหน้าต่อหน้า ถือว่าราคาถูกที่สุด เพราะฉะนั้นในการจัดซื้อจัดจ้างแม้จะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน แต่ยังต้องอยู่ภายใต้ระเบียบการคลังปี 2560 ซึ่ง รมว.ศธ.ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานเรื่องบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่องค์การค้าฯ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดพิมพ์หนังสือเรียน ให้ดำเนินการให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนทุกครั้ง เพราะฉะนั้นการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใสตามระเบียบ ยุติธรรม รวดเร็ว ตามระเบียบทุกวิธีการให้มีหนังสือเรียนได้ทันเปิดภาคเรียนทุกปี ให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลนี้ให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิดทุกครั้ง การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนปี 2568 ของ สพฐ. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2568 และหลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2568ที่ประกาศใช้ในปีนี้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กพฐ. ที่มี ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิหลายฝ่ายที่ร่วมประเมินผลในการทำหลักสูตรใหม่ เพราะฉะนั้นที่เข้าใจว่าทำแบบลวก ๆ ขอแจ้งว่าเราได้ใช้เวลาถึง 5 เดือนในการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว และขอเน้นย้ำว่าหลักสูตรทำอย่างรอบคอบจากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยเป็นการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะเดิมที่เริ่มทดลองใช้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด 184...
26 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับคณะผู้ช่วยรัฐมนตรี ในโอกาสประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 4/2568 โดยมี พลตำรวจตรี สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นประธานการประชุม ณ ห้องราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กล่าวว่าวันนี้คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีมาประชุมรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการนโยบายตามข้อสั่งการของรัฐบาลในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขับเคลื่อนติดตามข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลการในประเด็นการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) จากผลการสำรวจเด็กอายุ 6 – 15 ปี ที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ มีทั้งเด็กสัญชาติไทย 767,304 คน ค้นพบตัวเด็กแล้ว 741,499 คน คิดเป็น 96% และยังหาตัวไม่พบ 25,000 คน และในส่วนของเด็กต่างชาติ (เด็กหรัส G) ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ดำเนินการ “ติดตาม แก้ไข ส่งต่อ ป้องกัน” ซึ่งได้รับรายงานว่ามีเด็กกลับมาสู่ระบบแล้ว 4 แสนกว่าคน โดยปัจจัยที่เด็กหลุดออกจากระบบมีหลายกรณี อาทิ ศึกษาต่อต่างประเทศ ถูกจับกุมคุมขัง หรืออยู่ในระบบอื่น เช่น บวชเณร แต่เป้าหมายสูงสุดที่ตั้งไว้คือตามเด็กกลับมาเรียนให้ได้มากที่สุด และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนอย่างทั่วถึงตามหลักสิทธิมนุษยชน อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ระดับสากล โดยยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมเด็กเพื่อรองรับการสอบ PISA ที่จะมีการจัดขึ้นในปีนี้ โดยได้มีการปรับรูปแบบการสอนที่ตอนนี้ สำนักงานคณณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการขยายผลการอบรมอบรมผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ ในการสร้างและพัฒนาข้อสอบแนว PISA ในรูปแบบออนไลน์ ปรับรูปแบบการสอนและทำแบบทดสอบเชิงคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อให้นำไปปรับสู่การเรียนการสอนของเด็ก ขณะนี้ได้อบรมคุณครูเสร็จสิ้น 445,624 รายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ รมว.ศธ.ให้ความสำคัญ โดยให้นโยบายว่า AI มีส่วนในการช่วยทั้งครูและผู้เรียน คือช่วยในการทำหลักสูตร จัดเรียบเรียงเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับเด็กตามทักษะความถนัด ช่วยในการวางแผนการสอนและติดตามการเรียน ช่วยในการประเมินผู้เรียน ซึ่ง AI จะช่วยสะท้อนมายังคุณครูได้ ในส่วนของเด็ก AI จะช่วยให้เด็กมีแบบทดสอบที่เป็นไปตามระดับความสามารถในการเรียนรู้มากขึ้น ตอนนี้เด็กกับครูต้องรู้เท่ากัน และเมื่อผู้เรียนและผู้สอนนำมาใช้จะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งตอนนี้ ศธ.ได้ประกาศคู่มือการใช้ AI หรือ AI Guideline ตั้งแต่วันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมา และยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการทำหลักสูตร AI โดยในปีนี้ได้มีการอบรมคุณครูนำร่องที่เรียบร้อยแล้ว คาดการณ์ว่าจะขยายผลได้ในเวลารวดเร็ว และกำลังเตรียมที่จะบรรจุวิชา AI เข้ากับหลักสูตร ม.ต้น และ ม.ปลาย ให้ครูและนักเรียนได้นำไปปรับใช้ไปตามบริบทที่มีความพร้อมก่อน ส่วนประเด็นธนาคารหน่วยกิต หรือ Credit Bankปัจจุบันนี้ได้พัฒนารูปแบบของธนาคารหน่วยกิตให้กว้างขึ้น โดยผู้เรียนสามารถเรียนล่วงหน้าได้ และนำความรู้ที่ได้ใช้เป็นหน่วยกิตในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ลดเวลาเรียนได้ หลายวิชาที่เป็นวิชาใหม่ที่มีการเรียนการสอนและทำเป็นหลักสูตรสามารถเปลี่ยนเป็นหน่วยกิตไปใช้ในระดับอุดมศึกษาได้ ซึ่งในปีนี้ธนาคารหน่วยกิตจะเป็นโครงการนำร่องในปีแรก นอกจากนี้ความคืบหน้าของ สกร.หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ กศน. เดิม ได้นำการสอบเทียบกลับมาใช้ เพราะพฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปจึงพิจารณาเรื่องการสอบเทียบกลับมาใช้ใหม่เพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน ทั้งนี้ รมว.ศธ. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเพิ่มเติมว่า วันนี้ได้มีการพูดคุยกันในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีได้รายงาน การติดตามขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลในที่ประชุม เป็นสิ่งที่ดีจะสร้างเครือข่ายตามแนวทางการทำงาน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”และในส่วนที่ขอความร่วมมือเพิ่มเติมคือการใช้ E-Meeting ในการประชุม โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทำเป็นตัวอย่างไว้ดีมาก ในส่วนของมิติด้านการศึกษาโดยเฉพาะ Zero Dropout ก็ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุขมาเติมเต็มในกระบวนการดูแลเรื่องสุขภาพผู้เรียน และหากเด็กไม่มาเรียนปีนี้ครูก็จะแจ้งไปยังฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่มีอำนาจช่วยตามเด็กกลับเข้ามาเรียนในระบบการศึกษา เพราะปีที่แล้วช่วงปลายปีครูต้องออกไปตามเด็กกลับมาเรียนด้วยตนเอง อาจทำให้ขาดเวลาในการสอนเด็ก คาดว่าในเดือนมิถุนายนปีนี้ยอดของเด็กหลุดระบบน่าจะน้อยลงกว่าปีที่แล้ว
26 พฤษภาคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการแข่งขันออกแบบนวัตกรรม เทคโนโลยี พื้นฐานวิศวกรรม และพลังงานสะอาด Thailand Green Mech Contest 2025 ชิงถ้วยประทานรางวัลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โดยมี ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนร่วมให้การต้อนรับ ณ สนามกีฬาจังหวัดนนทบุรี รมช.ศธ. กล่าวว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด การแข่งขัน ออกแบบนวัตกรรม เทคโนโลยี พื้นฐานวิศวกรรม และพลังงานสะอาด Thailand Green Mech Contest 2025 ชิงถ้วยประทานรางวัล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ในวันนี้จะเห็นได้ว่า เป้าหมายสำคัญของการจัดการแข่งขัน คือ การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน ให้รู้จักการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง เพิ่มความสามารถ ความฉลาดรู้ และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงเป็นการฝึกกระบวนการคิด ในเชิงวิศวกรรมพื้นฐาน เน้นการพัฒนาพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน “ขอชื่นชมในความตั้งใจ ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่ได้ให้ความสำคัญ ต่อสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน ในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้โอกาสในการเรียนรู้ ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีการปรับตัวอย่างสม่ำเสมอให้ทันกับเหตุการณ์ โดยเฉพาะการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โอกาสทางการศึกษาของเยาวชนรุ่นใหม่ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก มีการพัฒนาโปรแกรมเพิ่มทักษะและการเรียนรู้ สำหรับการเรียนการสอน ให้มีความเข้าใจง่ายขึ้น ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบ ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นเชิงนวัตกรรมในอนาคตการแข่งขันในครั้งนี้”รมช.ศธ. กล่าว รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากจะทำให้นักเรียนตื่นตัว ในด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการฝึกให้นักเรียน รู้จักประยุกต์วิทยาศาสตร์ ในการพัฒนาสร้างอุปกรณ์ หรือระบบอัตโนมัติและด้านเทคโนโลยี กิจกรรมการแข่งขันเป็นการทำงานกลุ่ม ทำให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูล การเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน รวมทั้ง ทำให้เกิดจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่สำคัญยิ่ง ของการพัฒนาประเทศ ผมขอสนับสนุนการแข่งขันนี้ด้วยความจริงใจขอขอบคุณ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงานครั้งนี้ ขออวยพรให้การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จ ตามเจตจำนงทุกประการ และขอให้ได้ตัวแทนจากประเทศไทย ไปแข่งขันในเวทีโลก เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเรา
19 พฤษภาคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็น “แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการมีส่วนร่วมของสหกรณ์” ณ ห้องประชุมรัชนีแจ่มจรัส ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยมีนายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายณรงค์พล พัฒนศรี ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา นายธนรัฐ โคจรานนท์ ผอ.กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้าผู้แทนอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ.กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ เป็นความร่วมมือที่สำคัญระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทาง การบริหารจัดการหนี้สินของครูในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมโดยอาศัยสถานีแก้หนี้ครูระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการประสานงาน ให้คำปรึกษา และดำเนินงานร่วมกับสหกรณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิดตามหลักการที่ว่า “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” “การประชุมในครั้งนี้ จะได้แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของ สพฐ. โดยการมีส่วนร่วมของสหกรณ์ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขอชื่นชมและขอขอบคุณสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการจัดประชุมในครั้งนี้ ซึ่งผู้ร่วมประชุมสามารถเข้าประชุมได้หลากหลายช่องทาง ทั้งการเข้าร่วมประชุมในสถานที่แห่งนี้ และประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านทุกฝ่าย สามารถนำแนวทางการแก้ไขหนี้สินครู ไปเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถขยายผลในวงกว้างต่อไป”
18 พฤษภาคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีทำบุญงาน “วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปี 2568” ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์(ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ. กล่าวว่ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในงาน “วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปี 2568” ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญ ในการแสดงพลังของหน่วยงานที่ขับเคลื่อน“การเรียนรู้ตลอดชีวิต”ให้เป็นจริงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การจัดตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่การเพิ่มหน่วยงานในระบบราชการ แต่คือ จุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เพื่อนำการศึกษาก้าวข้ามกรอบห้องเรียนสู่ชีวิตจริง ของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกวิถีชีวิต ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งดิจิทัลชุมชน และการเรียนรู้ ด้วยตนเอง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ย้ำชัดถึงการสร้าง“ทุนมนุษย์”ที่มีความสมดุลระหว่างความรู้ ทักษะแห่งอนาคต และคุณลักษณะของพลเมืองที่ดี ซึ่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว ให้ประชาชนสามารถปรับตัว ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีคุณค่า ทั้งนี้ขอชื่นชมกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ได้จัดงานวันนี้อย่างรอบด้าน ทั้งการยกย่องบุคคลต้นแบบ การเผยแพร่ผลงานระดับจังหวัด และการสร้างความเข้าใจต่อบทบาทของ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เข้าถึงได้จริง เพราะ“การเรียนรู้ตลอดชีวิต คือพลัง ของประเทศ”ยิ่งประชาชนมีโอกาสเรียนรู้มากเท่าไร ประเทศยิ่งมีพลังในการพัฒนา มากขึ้นเท่านั้น “ขอแสดงความยินดี กับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เนื่องในวาระครบรอบ 2 ปีแห่งการก่อตั้ง เป็น 2 ปีแห่งการวางรากฐานที่มั่นคง ในการขับเคลื่อนระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ขออำนวยพรให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เติบโตอย่างมั่นคง ก้าวหน้า และเป็นพลังสำคัญ ในการเสริมสร้างทุนมนุษย์ของประเทศ อย่างยั่งยืนตลอดไป และขอขอบคุณอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คณะผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากร ผู้แทนภาคีเครือข่าย ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน มีกำลังกาย กำลังใจที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพชีวิต เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยต่อไป”รมช.ศธ. กล่าว
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์ ” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 15/2568 เปิดเผยภายหลังประชุมในประเด็นติดตามการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พร้อมจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาแผนการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการจัดพิมพ์และส่งหนังสือเรียนองค์การค้าของ สคสค. ขณะนี้จัดส่งครบทุกโรงเรียนทันก่อนเปิดเทอม ไปจนถึงการดำเนินงานสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานของ สกร. ครั้งที่ 2 และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเตรียมประชุมแก้หนี้ครู 14 พฤษภาคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 15/2568 โดยมี นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และผู้บริหาร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และผ่านระบบ E-meeting โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมช.ศธ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการจัดอบรมสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในระดับเขตพื้นที่ 245 เขตพื้นที่ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 445,624 คน ลงทะเบียนแล้วจำนวน 437,585 คน อบรมเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 342,207 คน โดยได้คัดเลือกทีมกลุ่ม A และ B เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย ผอ.เขต ผอ.รร.และครูแกนนำ ซึ่งกำหนดให้ทั้งสองกลุ่ม นำเสนอผลการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ พร้อม Infographic ทีมละ 5 นาที ในวันที่ 6 มิถุนายน 2568 นี้ เวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอต่อผู้บริหาร สพฐ. และในเวลา 13.30 – 16.00 น. นำเสนอต่อ รมว.ศธ.ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ เพื่อรับข้อเสนอแนะไปพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ สพฐ. ยังส่งเสริมให้ครูนำชุดความรู้สมรรถนะความฉลาดรู้ให้กับ AI เฉลยคำตอบของนักเรียน จากข้อสอบ PISA เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ไปใช้ในการฝึก AI ให้เรียนรู้การเขียนคำตอบตามหลักการที่ถูกต้อง เป็นช่วยในการวิเคราะห์คำตอบของนักเรียน และครูจำเป็นต้องพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง ซึ่งมีการขับเคลื่อนในระดับเขตพื้นที่ เช่น สพท.ชัยนาท สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ สพม.ราชบุรีและในส่วนของกิจกรรมปิดเทอมใหญ่ เด็กไทย “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” ในสัปดาห์ที่ 5 มีผู้ร่วมเล่นเกม จำนวน 3,626 คน โดยนักเรียนที่ตอบถูกทุกข้อจะได้รับสิทธิจับฉลากเพื่อรับรางวัลจาก รมว.ศธ. สัปดาห์ละ 5 รางวัล ถือเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นช่วงปิดเทอมให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาอย่างมีประโยชน์และได้ความรู้ แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญและมีข้อห่วงใยด้านการศึกษาโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. จึงได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ โดยมอบหมายให้ รมช.ศธ. เป็นประธานคณะทำงาน และมอบหมายให้ ปลัด ศธ. เป็นรองประธานคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามบริบทพื้นที่โดยเฉพาะ จัดพิมพ์และส่งหนังสือเรียนแล้ว ครบทุกโรงเรียน ทันก่อนเปิดเทอม องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สคสค.) รายงานการจัดส่งหนังสือแบบเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1/2568 โดยสามารถจัดส่งหนังสือเรียนให้ถึงมือนักเรียนได้ครบถ้วนทุกพื้นที่ก่อนเปิดภาคเรียนแล้ว สอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน สกร. ครั้งที่ 2 กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้การดำเนินการจัดสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ผลการสอบเทียบครั้งที่ 1 มีผู้สมัครสอบ จำนวน 1,997 คน ผ่านทั้ง 8 หมวดวิชา จำนวน 2 คน ถือเป็นหัวกะทิที่อัจฉริยะเข้มข้นของประเทศที่ผ่านครบทุกวิชาในการสอบครั้งแรก ส่วนผู้สอบที่ยังผ่านไม่ครบสามารถสอบเก็บเพิ่มเติมได้ในแต่ละรายวิชาที่ยังไม่ผ่าน สอดคล้องกับนโยบาย credit bank ทั้งนี้ จะและเปิดรับสมัครการสอบเทียบฯ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2568 สามารถสมัครได้ 2 ช่องทางที่ สกร.ประจำอำเภอ และเว็ปไซต์ของ สกร. ซึ่งจะดำเนินการสอบระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2568 และประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2568 อีกทั้ง กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้ก้าวสู่ปีที่...
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล” เปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการรับรู้และกำหนดกรอบทิศทางในการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่ จ.ระยอง ชูการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นรูปแบบหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 12 พฤษภาคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการรับรู้และกำหนดกรอบทิศทางในการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ภายใต้โครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ระยอง ซิตี้ เซ็นเตอร์ จังหวัดระยอง โดยมีนางสาวสลารีวรรณ ทัพทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางวันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 8 ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ. กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างการรับรู้และกำหนดกรอบทิศทาง ในการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ภายใต้โครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันนี้ จากคำกล่าวรายงานของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในการกำหนดนโยบาย และแผนการดำเนินงานของพื้นที่ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสร้างกลไก การจัดการศึกษาร่วมกัน ระหว่างภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้บรรลุเป้าหมาย ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 การจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นรูปแบบหนึ่ง ที่นำมาใช้ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยจัดการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้สถานศึกษานำร่อง ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้ง 1,680 แห่ง มีอิสระในด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการสถานศึกษา มีความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ อันจะนำไปสู่การยกระดับ การจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ สามารถเผชิญกับความท้าทาย กับโลกในยุคปัจจุบันและอนาคตได้ สำหรับ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และจะถึงกำหนดในปี พ.ศ. 2569 เหลือระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ดังนั้น ผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 20 จังหวัด รวมไปถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน ครู สถานศึกษา และชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพิจารณา ต่อ/ขยาย อายุของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดนำร่อง ทั้ง 20 จังหวัด นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ ที่จะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผลการดำเนินงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีตลอดจนปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไข นอกจากนี้ กิจกรรมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ของสถานศึกษานำร่อง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูลในเชิงประจักษ์ จากสถานที่และวิธีการปฏิบัติจริง จะเป็นประโยชน์และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จังหวัดของตนเองต่อไป “ขอขอบคุณ คณะผู้จัดงาน หน่วยงานทางการศึกษา ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกัน วางแผนการบริหารจัดการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ และบริบทของพื้นที่ ภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ขอเป็นกำลังใจในการทำงาน ให้กับทุกท่าน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และขออำนวยพรให้การจัดโครงการฯในครั้งนี้ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ทุกประการ” รมช.สุรศักดิ์ กล่าว.