6 มีนาคม 2567/พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวในที่ประชุมว่า การทำงานทุกด้านขอให้เห็นเป็นมิติภาพรวม ว่าแต่ละหน่วยงานทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น หน่วยงานในพื้นที่รายงานมาที่เขต เขตรายงานมาที่องค์กรหลัก เป็นต้น พร้อมทั้งให้มีการแถลงความก้าวหน้าเป็นระยะ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบความคืบหน้าภารกิจของกระทรวงอยู่ตลอด ส่วนเรื่องใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในการประชุมครั้งนี้ คือการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจไทยต้องเป็นหนึ่ง”ของรัฐบาล โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพ และโอกาสทางการศึกษาที่จะต้องได้รับการพัฒนา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การพัฒนา Content การทำ Play-base learning พร้อมทั้งผลักดันเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศได้ ซึ่งในส่วนของการทำงานด้านการศึกษาของ “IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจไทยต้องเป็นหนึ่ง” ก็จะให้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเพิ่มไปได้เลย เพื่อลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทั้งนี้ขอฝากผู้บริหารทุกท่านว่า“เมื่อคิดเรื่องอะไรแล้วต้องรีบทำ ทำให้เป็นเรื่องหลัก ทำให้เห็นผลชัดเจน รวดเร็ว ถูกต้อง และสุจริต” โดยที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าภารกิจต่าง ๆ ดังนี้ 1. คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ ศธ. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารับรองร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยการรับรองจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 มีนาคม 2567 และกำหนดวัน เวลา ลงนามบันทึกข้อตกลงต่อไป ขณะที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) มีหนังสือแจ้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้จำแนกหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในหนี้วิกฤต (แดง) หนี้ใกล้วิกฤต (เหลือง) และหนี้ปกติ (เขียว) เป็นรายจังหวัดและสรุปข้อมูลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานในสังกัด มายัง สป.ศธ. ภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นรายจังหวัดเพื่อขอข้อมูลสถิติหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในหนี้วิกฤต (แดง) เพื่อสรุปผลในภาพรวมและนำไปวิเคราะห์นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อไป 2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษา “เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา” (Anywhere Anytime แพลตฟอร์ม และพัฒนาระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต เรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลContent สู่ Platformในระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2567) จะดำเนินการด้านระบบบริหารจัดการผู้ใช้งาน ระบบสนับสนุนผู้เรียน ระบบสนับสนุนครูผู้สอน ระบบบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ และระบบบริหารจัดการเนื้อหาองค์ความรู้แห่งชาติ เรื่องการพัฒนาระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตมีการวางแผนโครงการและกิจกรรมในปีงบประมาณ 2567 ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรและพัฒนาครูแนะแนวแกนนำและการ Coaching (ครู ศน. และนักจิตวิทยา), การประกวดคลิบวีดีโอ Tik Tok ด้านสุขภาพจิต ด้านการทำความดี และด้าน Coaching อาชีพ, บอร์ดเกมอาชีพ, การจัดค่ายแนะแนวสุขภาพจิตและทักษะชีวิต, การพัฒนาแพลตฟอร์ม Coaching, การวัดแววความถนัดพหุปัญญาของนักเรียน การจัดมหกรรมแนะแนวการเรียนและอาชีพ, ค่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ใฝ่เรียนดี มีความสุข และการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรม พสน.ศธ. เรื่องการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพของกระทรวงศึกษาธิการผ่านการสื่อสารสุขภาพจิตโรงเรียนเชิงบวก “HELLO GOOD DAY” รูปแบบการนำเสนอเป็นรูปภาพและข้อความให้กำลังใจเชิงบวก ในช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์กลุ่ม LINE ผู้บริหาร,ครูแนะแนว, Fackbook Fanpage ศธ.360 องศา, Fackbook Fanpage แนะแนว สพฐ. โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ สร้างความตระหนักและการรับรู้ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพจิตครู นักเรียนและคนรอบข้างร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เกิดมุมมอง แนวคิดในการประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพจิตในสถานศึกษา ส่วนผู้ที่ได้รับ HELLO GOOD DAY ก็รู้สึกดีและได้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตด้วย 3. คณะอนุกรรมการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) และส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานภายใต้ชื่อ การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน Education for All ขณะนี้กำลังจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงหลักสูตรแต่ละระดับตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ในส่วนของอาชีวศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการทวิศึกษาแนวใหม่ มีนักเรียนจำนวน 4,560 คน เข้าร่วมโครงการฯ และโครงการส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนปี 2567 โดยได้ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ไปยัง สพม.กทม.เขต 1 เขต 2 โรงเรียนสังกัด สพฐ.ในเขตพื้นที่ กทม.และหน่วยงานต่าง ๆ ใน...
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
6 มีนาคม 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ เตรียมความพร้อมการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารมว.ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการประชุมซักซ้อมการดำเนินการให้สามารถปรับเงินเดือนตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งรายละเอียดแต่ละหน่วยงานต้องมีข้อสรุปเรื่องของบุคลากรและจำนวนงบประมาณ เพื่อประสานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และแจ้งสำนักงานงบประมาณในการขับเคลื่อนการปรับเงินเดือนขึ้น ทั้งผู้บรรจุใหม่ที่จะได้รับในอัตรา 16,500 บาท ในปี 2567 และได้รับไม่น้อยกว่า 18,000 บาท ในปี 2568 ในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ พร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยเน้นย้ำการดำเนินการให้ทันภายใน 1 พฤษภาคม 2567 ตามกรอบเวลาที่กำหนด ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาย้อนหลัง ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISAการติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA มีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งในยุคนี้จะเน้นการทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ไม่ทำงานเชิงรับแบบเดิม ดูภาพรวมในมิติการทำงาน การวางโครงสร้าง การใช้งบประมาณในการดำเนินการ และฝากแนวทางให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้เห็นชัดถึงความเปลี่ยนแปลงของลำดับในอนาคต จัดทำแผนให้เป็นมิติในการพัฒนาการสอบ PISA ในประเทศ ให้เด็กไทยมีความสามารถทางวิชาการ มีทักษะและสมรรถนะเทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งจะมีการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ในวันที่ 13 มีนาคม 25567 ขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา” (Anywhere Anytime)สพฐ.ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “กล่องความรู้สู่ความสุข A-LEVEL” เสริมเทคนิคพิชิตข้อยากกับติวเตอร์ระดับประเทศ สร้างโอกาสการเรียนรู้ที่หลากหลาย เสริมความมั่นใจในการเลือกเป้าหมายอนาคตของนักเรียน ให้พร้อมสำหรับการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ หรือ A-LEVEL (Applied Knowledge Level) ระหวางวันที่ 11 – 14 มีนาคม 2567 ผ่าน OBEC Channel ทุกช่องทาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดงาน 132 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการวันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี และตรงกับวันข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะกำชับการดำเนินการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ปัจจุบัน ในพิธีมอบรางวัลเข็ม “เสมาคุณูปการ” และพิธีมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” รวมถึงเรื่องของจิตอาสาบริจาคโลหิต ซึ่งในปีนี้ไม่ได้จัดแค่ส่วนกลาง แต่ทุกหน่วยงานในสังกัดจะร่วมกันขับเคลื่อนทั่วประเทศ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา รมว.ศธ.กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคล 72 พรรษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบศธ.จะดำเนินการจัดทำ 72 โครงการ 72 พรรษา ซึ่งปีนี้จะต้องเป็นปีที่ยิ่งใหญ่ โดยจะกำชับเรื่องการปรับภูมิทัศน์สถานที่รอบบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงาน สถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งติดธงสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์ เน้นความสะอาดเรียบร้อยในการดำเนินการ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี การขับเคลื่อน IGNITE THAILAND ขับเคลื่อนไทยสู่ความเป็นศูนย์กลางรมว.ศธ.กล่าวว่า IGNITE THAILAND เป็นวิสัยทัศน์ที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมดำเนินการในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “MOE IGNITE THAILAND” จุดพลังการศึกษาไทย ร่วมใจขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ คนไทยต้องเป็นหนึ่ง “เรียนดี มีความสุข” เตรียมดำเนินการใน 8 ด้าน คือ 1.ความเท่าเทียมกัน 2.สร้างโอกาสทางการศึกษา 3.วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง 4.ความปลอดภัย 5.เอกชนมีส่วนร่วม 6.Play-based Learning 7.อ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศ 8.การประกอบอาชีพ ซึ่งจะเน้นตามนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อนในมิติของความเท่าเทียมด้านการศึกษา โดยมีภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนการศึกษา รวมถึงร่วมกันผลักดันเรื่อง SOFT POWER ซึ่งหลังจากหารือและตกผลึกแล้ว จะมีการดำเนินการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนในการทำงานร่วมกันให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนาอาชีพ การเตรียมความพร้อมในการรับสมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม.4ขณะนี้ทุกโรงเรียนมีปฏิทินที่ สพฐ. แจ้งไปล่วงหน้าแล้ว และได้รับรายงานรายงานว่าทุกโรงเรียนเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญได้กำชับและเน้นย้ำเรื่องมาตรการ “ไม่รับฝากเด็ก” หรือรับแป๊ะเจี๊ยะใต้โต๊ะ ซึ่งได้ประชุมทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมแจ้งแนวทางนโยบายให้รับทราบร่วมกัน และขณะนี้พบว่าโรงเรียนในสังกัดให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี การดำเนินการกรณี สพป.ขอนแก่น เขต 2 ทุจริตสอบครูผู้ช่วยขณะนี้ สพฐ.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการทางวินัยอย่างเต็มที่ ส่วนทาง ก.ค.ศ. ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาแล้ว มีมติให้ออกตั้งแต่วันที่พักการปฎิบัติหน้าที่ทันที และส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินคดีทางอาญาตามอำนาจหน้าที่แล้วเช่นกัน...
29 กุมภาพันธ์ 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยว่า วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาฯ จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 ประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 132 รูป พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงศึกษาธิการ ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ พิธีมอบรางวัลเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2567 จำนวน 132 ราย และพิธีมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” และประกาศเกียรติบัตรให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2566 ณ หอประชุมคุรุสภา นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบ การจัดทำหนังสือที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี ในแก่นเรื่อง (Theme) “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งจะเผยแพร่ในวันที่ 1 เมษายน 2567 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทความพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา เช่น “โรงเรียนกับโรงสอน” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ “Future Literacy เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและยั่งยืนสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล” โดย ศ.จินตวีร์ คล้ายสังข์ “คุณภาพการจัดการศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสุขของผู้เรียน” โดย รศ.อรพรรณ บุตรกตัญญู ผลการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” จากทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และการเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2567 โดยหนังสือที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี จะจัดทำในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เพื่อให้ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจสามารถอ่านหนังสือระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี ได้ทุกที่ทุกเวลา เจษฎา วณิชชากร / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
2 มีนาคม 2567 / สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ครบรอบ 79 ปี โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี มี ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้การต้อนรับ มีผู้ร่วมงาน จำนวน 450 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ได้รับรางวัล แขกผู้มีเกียรติและบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา ในช่วงเช้า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธานพิธีบวงสรวงองค์พระพฤหัสบดี พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ฯพณฯ ทวี บุณยเกตุ ผู้ก่อตั้งคุรุสภา และพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้น รมว.ศธ. มอบรางวัลผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จำนวน 23 คน และรางวัลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานครบ 25 ปี จำนวน 2 คน เพื่อเป็นการยกย่องแก่ผู้สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน รวมทั้งเป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบกล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ดำเนินการตามบทบาทขององค์กร ตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 และ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ถือเป็นการดำเนินการตามภารกิจที่สำคัญต่อวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งเป็นมาตรฐานนำไปสู่การรับรองปริญญา และประกาศนียบัตรทางการศึกษา การดำเนินการออกและต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการกำกับดูแล การประพฤติและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณของวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพและการยกย่องวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ “การดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ในสถานการณ์ปัจจุบันของโลก และสอดคล้องกับนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้ความรู้ความสามารถดำเนินงานด้วยความมุ่งมั่น ยึดถือประโยชน์สมาชิกคุรุสภาที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาอยู่ทั่วประเทศเป็นที่ตั้ง โดยขอให้ยึดหลักการทำงานภายใต้แนวคิด “ทำดี ทำได้ ทำทันที” และ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ และการกำกับ ดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นำไปสู่การสร้างความศรัทธาให้บังเกิดแก่องค์กรวิชาชีพครูต่อไป”รมว.ศธ. กล่าว เลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นการสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภา ให้เป็นสภาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการด้านการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน ในการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทุกท่าน อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป ข้อมูลและภาพ : ประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
แผนการพัฒนาลูกเสือไทย (พ.ศ. ๒๕๖๗–๒๕๗๐) ตามมติคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ โดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ด้วย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ให้กับทุกส่วนราชการและทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำไปขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยนโยบายประการหนึ่งที่มุ่งเน้น คือ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข ผ่านการพัฒนางานลูกเสือเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีดำริส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับยุคสมัย ทันการณ์ และนำไปใช้งานได้จริง เพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวชุมชน และสังคม การจัดทำแผนการพัฒนาลูกเสือไทย (พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๗๐) เป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนางานลูกเสือของประเทศ เพื่อเป็นทิศทางของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำแผนไปปฏิบัติได้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วิธีการ ยุทธศาสตร์ ที่กำหนด มีการกำกับ เร่งรัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑. ชื่อ แผนการพัฒนาลูกเสือไทย (พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๗๐) ๒. วิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่อนาคต (Vision for Scout) พัฒนางานลูกเสือของประเทศให้มีความทันสมัย และส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน เป็นพลเมืองดี เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ “เรียนดี มีความสุข” ๓. พันธกิจ(Mission) ๑. น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติในงานลูกเสือให้เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ๒. พัฒนาลูกเสือตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญาจิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ ๔. เป้าหมาย (Goal) ๔.๑ เด็กและเยาวชน มีพื้นฐานที่ดี ๔ ด้าน ๑) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจและศรัทธาใน ครอบครัว ชุมชน ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ ความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทย ๒) มีพื้นฐานชีวิต (อุปนิสัย) ที่ดีและมั่นคง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอุปนิสัยให้เด็กและเยาวชนไทยเป็นคนดี รู้จักแยกแยะสิ่งที่ดี-ชั่ว / ถูก-ผิด ๓) ทำงานเป็นและมีงานทำ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอุปนิสัยรักงาน-ขยันขันแข็ง และพึ่งตนเองได้ให้แก่เด็กและเยาวชน ๔) เป็นพลเมืองดี วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกฝนให้เด็กและเยาวชนไทยมีน้ำใจ รู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ๔.๒ เด็กและเยาวชนสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม ๑) ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ๒) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ๓) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ๔) ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ๕) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ ๕. วิธีการ (Method) “งานลูกเสือเพื่อลูกเสือและสังคม” (Scout for scouts and community)โดยการขับเคลื่อนขบวนการลูกเสือ (scout movement) ให้เกิดพลัง ด้วยวิธีการลูกเสือ (Scout Method) ที่ปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย (เช่น การลูกเสือสำหรับเด็ก (Scouting for Boys) คู่มือลูกเสือสำรอง (Wolf Cub’s Handbook) การท่องเที่ยวไปสู่ความสำเร็จ (Rovering to Success) และ Aids to Scoutmastership) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องต่อขบวนการลูกเสือ รวมทั้งพัฒนาการลูกเสือให้สอดคล้องกับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงของสังคม “ขบวนการลูกเสือ (scout movement)” หรือการลูกเสือหมายถึง การร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างสรรค์ให้เกิดพลังของเด็ก เยาวชน และคนหนุ่มสาว (empowerment) ให้มีอุปนิสัยติดตัว (Character) คือ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีน้ำใจ ด้วยวิธีการลูกเสือ (Scout Method) ซึ่งเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมที่เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจตามช่วงวัย มุ่งพัฒนา ฝึกฝน และบ่มเพาะให้เด็กเยาวชน มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะที่ดี ก่อเกิดเป็นสมรรถนะที่นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและการทำงานได้อย่างบูรณาการกัน โดยเน้นกิจกรรมกลางแจ้งที่สนุกสนาน...
28 กุมภาพันธ์ 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 9/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการโดยคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย ทิศทางพัฒนาการศึกษาของประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างดี โดยขณะนี้ ศธ. ได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนและคู่มือเพื่อนำไปสอนเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในสถานศึกษา ให้ทุกโรงเรียนเปิดรายวิชาเพิ่มเติมพร้อมติดตามประเมินผล และจัดอบรมครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ศธ. ยังดำเนินการจัดทำระบบข้อสอบ PISA ออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.1 – ม.3 ฝึกทดลองทำข้อสอบ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนกว่าจะได้ระบบการสอบที่สมบูรณ์ และเร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อประโยชน์แก่นักเรียนผู้เข้าสอบทุกคน ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการติดตามและสังเกตการณ์จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเพื่อสมรรถนะความฉลาดรู้ตามแนวทางของ PISA โดยใช้ระบบการทดสอบออนไลน์ที่ชื่อ PISA Style Online Testing ซึ่งมีการดำเนินงานใน 3 กลุ่มโรงเรียน คือโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ ฯ ตามแนวทาง PISA สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง กิจกรรมการเรียนรู้กระตุ้นแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักเรียนได้ดี และการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนควรเพิ่มความยืดหยุ่นสูงขึ้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล (PISA) ของ สช. เพื่อจัดทำแผนและแนวทางการยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนฯ จัดทำรายงานแผนและแนวทางขับเคลื่อนการยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนฯ เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ รวมถึงกำกับติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางฯ ที่กำหนด นอกจากนี้ รมว.ศธ. มอบหมายสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติดำเนินการ (สทศ.) รวบรวมข้อสอบ PISA ในปีที่ผ่านมานำมาจัดทำเป็นข้อสอบออนไลน์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ทดลองทำข้อสอบดังกล่าว และสรุปผลการสอบเพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ต่อไป ปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รมว.ศธ. กล่าวว่า ตามที่การประชุมคณะรัฐมนตรีมีวาระที่สำคัญคือ เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายผืนผ้าจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และทรงนำมาออกแบบลายพระราชทานเนื่องในปีมหามงคลนี้ โดยมีลายพระราชทานหลักจำนวน 4 ลาย ได้แก่ ลายวชิรภักดิ์, ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ 2567, ลายหัวใจ และลายดอกรักราษฎร์ภักดี เพื่อนำไปตัดเป็นเสื้อผ้าให้รัฐบาลสวมใส่เพื่อประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้กระทรวงวัฒนธรรม เร่งรัดพิจารณารายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ชุดไทยพระราชนิยม” เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (National Commission for UNESCO) จึงสั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในส่วนของการเตรียมจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมี รมว.ศธ. เป็นประธาน มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติทุกประการ รวมถึงจัดทำหนังสือที่ระลึกและพิธีวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี ด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ที่ประชุมได้รับทราบ แนวทางการดำเนินงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งมีการสอบด้วยระบบการทดสอบดิจิทัล (Digital Testing) รอบที่ 3 – 4 จำนวน ผู้มีสิทธิ์สอบรวมทั้งสิ้น 103,203 คน ซึ่งจะจัดสอบในวันที่ 2 – 3 มีนาคม 2567 โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 62 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานการจัดสอบ ในการนี้ รมว.ศธ. ได้มีข้อสั่งการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการอย่างรอบคอบ...
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย รัฐบาลเชิญชวนศาสนิกชนรวมพลังแห่งศรัทธา ร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ – ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และ ๓ ภูมิภาค 🕤 ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ของทุกวัน 🗓️ ๒๔ กุมภาพันธ์ ถึง ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ 📌 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 🗓️ ๕-๘ มีนาคม ๒๕๖๗ 📌 ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ 🗓️ ๑๐-๑๓ มีนาคม ๒๕๖๗ 📌 ณ วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี 🗓️ ๑๕-๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗ 📌 ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ มาร่วมนำหลักธรรม สร้างสันติธรรม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศตวรรษแห่งธรรม (Dharma Centuries) สร้างความสงบสุขแก่สังคมและประเทศชาติ
22 กุมภาพันธ์ 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 โดยมี นายวรัท พฤกษาทวีกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่รองเลขาธิการลูกเสือแห่งชาติ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ และผ่านระบบออนไลน์ zoom รมว.ศธ.เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบรายงานประจำปีของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้งร่างแผนการพัฒนาลูกเสือไทย (พ.ศ. 2567 – 2570) ทั้งนี้ให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อเสนอที่ประชุมสภาลูกเสือไทยเพื่อพิจารณาต่อไป และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ โดยให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เสนอประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องสำคัญ 7 เรื่อง ดังนี้ 1. การรายงานดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และแผนการจัดหาประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 2. ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยค่าบำรุงลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ พ.ศ. 2566 3. การหารือระหว่างสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และองค์การค้าของ สกสค. 4. รายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 5. รายงานข้อมูลค่ายลูกเสือจังหวัดและค่ายลูกเสือเขตพื้นที่ 6. รายงานข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลตำแหน่งทางการลูกเสือและคุณวุฒิทางการลูกเสือ 7. การรายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำ (ร่าง) นโยบายและข้อเสนอแนะการพัฒนากิจการลูกเสือไทย คณะทำงาน รก.รองปลัด ศธ. / ข่าว ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ. / ภาพ
22 กุมภาพันธ์ 2567 / พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แสดงความเสียใจต่อครอบครัวนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุเตียว ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จากเหตุการณ์คนขับรถกระบะเสียหลักพุ่งเข้าชนศาลาอย่างแรง ขณะกำลังเข้าฐานลูกเสือในกิจกรรมการเดินทางไกล บริเวณศาลาหน้าโรงเรียน เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 จนเป็นเหตุให้นักเรียนเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 13 คน ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 6 คน ขณะนี้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ 2 คน และโรงพยาบาลสะเดา 10 คน สำหรับคุณครูพัชรี อินทะเล ผู้ควบคุมนักเรียนขณะทำกิจกรรม มีอาการบาดเจ็บ ขาหัก ขณะนี้ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จากข้อมูลของศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. รายงานว่า ขณะเกิดเหตุครูและนักเรียนจำนวน 20 คน กำลังทำกิจกรรมรายงานตัวเดินทางไกลของลูกเสือเนตรนารี ประจำปี 2566 ฐานกิจกรรมที่ 2 ภายในศาลาริมถนน ซึ่งก่อนจัดกิจกรรมทางโรงเรียนได้มีการวางแผนล่วงหน้าทุกครั้ง โดยได้สำรวจแต่ละฐานกิจกรรมให้มีความปลอดภัย และตัดจุดสุ่มเสี่ยงออกไป เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้เรียนในทุกขั้นตอน จึงเลือกศาลาที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชน ห่างจากโรงเรียน 500 เมตร ริมถนนเส้นเล็กตามทางในหมู่บ้าน รถสัญจรไม่พลุกพล่านและเป็นเขตควบคุมความเร็ว ซึ่งคำนึงแล้วว่าปลอดภัยจากยานพาหนะอย่างแน่นอน แต่ด้วยเหตุสุดวิสัยที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ต้องขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างมาก ขณะนี้ได้เร่งประสานงานเพื่อดูแลผู้บาดเจ็บและเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียให้เร็วที่สุด ล่าสุดวันนี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. มอบหมายให้ ดร.ชนภรณ์ อือตระกูล ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนางณัฏฐวีภรณ์ ทิพยวาศรี รองศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่เยี่ยมและให้กำลังใจครอบครัวของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 8 ราย โดยขณะนี้มีนักเรียนที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 3 ราย และอาการปลอดภัยแล้ว อยู่ระหว่างประเมินการรักษาเพิ่มเติม จำนวน 5 ราย พร้อมกันนี้ได้มอบกระเช้าเยี่ยม และกล่าวแสดงความห่วงใยกับนักเรียน รวมทั้งครอบครัวของผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้บาดเจ็บที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลสะเดา อาการปลอดภัยเดินทางกลับบ้านแล้ว สำหรับนักเรียนที่เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คือ ด.ญ.อัสนานี หลังปุเต๊ะ และ ด.ช.สุริยะ จันทรา ครอบครัวได้นำร่างไปทำพิธีทางศาสนา ณ ภูมิลำเนาแล้ว พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบกล่าวว่า “ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับอุบัติเหตุครั้งนี้ ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ควบคุมไม่ได้ กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของครูนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในและนอกสถานศึกษามาโดยตลอด และจากนี้จะเน้นย้ำในส่วนของผู้เกี่ยวข้องให้เข้มงวดมากกว่าเดิม วางแผนด้านความปลอดภัยแต่ละกิจกรรมให้รัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียขึ้นอีกในอนาคต” สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้เชิญศึกษาธิการจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมพูดคุยสอบถามถึงสาเหตุดังกล่าว เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือ พร้อมหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ําขึ้นอีก โดยล่าสุดทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกเหล่ากาชาด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ยุติธรรมจังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่เยี่ยมนักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับให้การช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา ได้มอบเงินช่วยเหลือ รายละ 3,000 บาท พร้อมกระเช้า และในส่วนของโรงเรียนบ้านพรุเตียวได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 10,000 บาท และมอบเงินให้กับครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บ คนละ 5,000 บาท และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ช่วยเหลือเบื้องต้น โดยมอบเงินช่วยเหลือแก่นักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บ รายละ 3,000 บาท มอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ปกครองของนักเรียนที่เสียชีวิต รายละ 5,000 บาท นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้ทําประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้กับนักเรียนในสังกัด ซึ่งทางประกันภัยจะดําเนินการจ่ายเงินสําหรับผู้เสียชีวิต รายละ 80,000 บาท ผู้บาดเจ็บอีกรายละ 4,000 บาท ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567
21 กุมภาพันธ์ 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 8/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ., นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ., นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ ความก้าวหน้าเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA 2025 รมว.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ที่เป็นประเด็นสำคัญระดับชาติ ถือเป็นความท้าทายในการปฏิบัติภารกิจของ ศธ. จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานอย่างจริงจัง ในการจัดทำข้อมูลให้มีความถูกต้อง ตรงเป้าหมาย ตรงประเด็น และตรงกัน เพื่อให้การแก้ปัญหาให้ตรงจุด มีความเป็นเอกภาพ สร้างมาตรฐานการศึกษาให้มีความเสมอภาค เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงาน ศธ. จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ซึ่งล่าสุดได้แต่งตั้งนายธงชัย ชิวปรีชา อดีตผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการยกระดับผลการประเมิน PISA 2025เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศ และสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศในทุกภาคส่วนให้ประสานความร่วมมือกัน มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA 2025 บูรณาการการทำงานและมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานแต่งตั้งคณะทำงานภายในเพื่อนำแผนการขับเคลื่อนไปดำเนินงานกับครูและนักเรียนในสังกัดของตนเอง ผลการประเมิน PISA 2022 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศไทยลดลง ทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน จากโรงเรียนทุกสังกัดการศึกษา จำนวน 279 แห่ง ที่ถูกสุ่มเพื่อเป็นตัวแทนนักเรียนไทยอายุ 15 ปี จำนวน 8,495 คน จากประชากรนักเรียนทั้งประเทศ จำนวนประมาณ 600,000 คน ซึ่งผลเฉลี่ยของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกด้าน จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ผลเฉลี่ยการประเมิน PISA ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ให้เทียบเท่าหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD เบื้องต้นได้มีการดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมิน PISA 2022 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน ในประเด็นการยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล การดำเนินการวิจัย PISA ผลการประเมินและการเปรียบเทียบคะแนน PISA และ O-NET จำแนกตามกลุ่มโรงเรียน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีมาตรการเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินงาน “ปัจจัยความสำเร็จของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับต้นน้ำก่อน คือ การพัฒนาครูให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยต้องหันกลับพิจารณาว่าระบบการผลิตและพัฒนาครูมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดเป็นอันดับแรก ต่อมาคือการทบทวนหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของนักเรียน เพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ”รมว.ศธ. กล่าว ศธ. จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนระดับ 3 คือ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ต้องสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายและตัวชี้วัดในเชิงนโยบายให้ได้ตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บทฉบับต่าง ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลไปสู่แผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินการให้ผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนด KPI (Key Performance Indicator : ดัชนีชี้วัดผลความสำเร็จของงาน) เพื่อลดภารกิจที่ต้องดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนา รวมทั้งโครงการที่จะมาสนับสนุนการดำเนินการเพื่อปิดช่องว่างของค่าเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้แผนระดับ 3 ดังกล่าว ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนยกระดับผลการทดสอบ PISA 2025 การดำเนินงานเพื่อพัฒนานักเรียนสู่การเรียนการสอน สำหรับแผนระยะสั้นคือ เร่งพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทั้งในรูปแบบของ Paper-based Testing และ Computer-based Testing ส่วนแผนระยะยาวคือ ต้องพัฒนาความสามารถด้านการอ่านให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ทั้งในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการฝึกฝนสมรรถนะด้านการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ โดยใช้เนื้อหาที่มีความหลากหลายและซับซ้อนตามช่วงวัย และระดับการศึกษาของผู้เรียน ขณะเดียวกันยังมีการขับเคลื่อนด้วยคู่พี่เลี้ยงโรงเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบกับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ช่วยในการพัฒนาเครื่องมือและวิทยากรหลัก เป็นพี่เลี้ยงพัฒนาให้กับเขตพื้นที่ประถมศึกษา และครูแกนนำวิทยาศาสตร์พลังสิบ “การประเมิน PISA เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยยังคงมีเหลื่อมล้ำอยู่ ตนจึงอยากลดหรือขจัดความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยการสร้างมาตรฐานการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกภาคส่วนที่จัดการศึกษา” ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนสิชลประชาสรรค์ นำความรู้วิชาลูกเสือ มาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ และปฐมพยาบาล ในสถานการณ์จริง รมว.ศธ. กล่าวชื่นชม นายพลายเงิน ดีอ่อน อายุ 15 ปี นักเรียนโรงเรียนสิชลประชาสรรค์ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการประชุม ZOOM ในครั้งนี้ ที่ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้รถยนต์เสียหาย โดยได้รีบเข้าไปช่วยเหลือคนขับออกจากรถ และช่วยขนสัมภาระในรถออกมาอย่างปลอดภัย ก่อนที่เพลิงจะลุกไหม้รถเสียหายทั้งคัน “เป็นเรื่องที่น่ายินดีและรู้สึกดีใจที่นักเรียนในสังกัด ศธ....
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2567) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 เพื่อจัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. จำนวน 29,312 โรงเรียน โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 วงเงินรวม 22,102.97 ล้านบาท นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) วงเงินทั้งสิ้น 22,102,973,600 บาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 7,469,328,800 บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน 14,633,644,800 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 – พ.ศ. 2572 ตามนัยมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 สาระสำคัญ ศธ. เห็นถึงความสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 โดยจะมีการปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัยด้วยการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัยและนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ศธ. ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งขยายประสิทธิภาพการทำงานของดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform: NDLP) ระยะที่ 1 จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสื่อสารและการเรียนแบบสองทาง โดยนำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของ ศธ. ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกำกับ ศธ. ให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567สพฐ. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา : พัฒนาระบบนิเวศทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 วงเงินงบประมาณ 482.26 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของ ศธ. โดยสามารถรองรับโรงเรียนคุณภาพ ในสังกัด ศธ. จำนวน 349 โรงเรียน และมีการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การดำเนินการ วงเงิน (ล้านบาท) (1) เช่าใช้ระบบคลาวด์ระดับ ศธ. 36.38 (2) จ้างที่ปรึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน (NDLP) 200.88 (3) จ้างที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน 245.00 รวมทั้งสิ้น 482.26 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568สพฐ.จะจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมสถานศึกษาในสังกัด ศธ. จำนวน 29,312 โรงเรียน โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 วงเงินรวม 22,102.97 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 กิจกรรม สรุปได้ ดังนี้ การส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 งบประมาณ 6,531.08 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เปลี่ยนบทบาทครูเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยการเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระต่อสังคม มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น จัดหาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล การเชื่อมโยงฐานข้อมูลและการบริหารจัดการระบบ การจัดทำนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์ (2) การเช่าใช้ระบบคลาวด์ สำหรับแพลตฟอร์มด้านการศึกษา การจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา งบประมาณ 15,571.90 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และมีโอกาสได้อย่างเท่าเทียมครอบคลุมทั้งในพื้นที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ (1) เช่าอุปกรณ์การเรียนการสอน (Tablet หรือ Notebook หรือ Chromebook) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา จำนวน 607,655 เครื่องรวมเป็นเงิน 15,491.90 ล้านบาท ระยะเวลา 60 เดือน สรุปได้ ดังนี้ เป้าหมาย โรงเรียนคุณภาพจำนวน 932 แห่ง...
รมว.ศธ. “พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามทดสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ราบรื่นศูนย์สอบธรรมศาสตร์จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้มีความต้องการพิเศษ บกพร่องทางร่างกาย-สายตา-การได้ยิน รวมทั้งผู้ตั้งครรภ์ และพระภิกษุสงฆ์ อย่างเพียงพอและเหมาะสม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. 2567: พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา และผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครูรายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกระดาษ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมสนามทดสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู พบว่าการดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่นด้วยดี ไม่พบปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ซึ่งมั่นใจว่าการจัดสอบครั้งนี้ในทุกกระบวนการมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยศูนย์สอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถือเป็นศูนย์สอบที่ใหญ่ที่สุดจากจำนวน 16 ศูนย์สอบทั่วประเทศ มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ จำนวนทั้งสิ้น 8,056 คน และเฉพาะวันนี้มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ จำนวน 3 รอบ ทั้งแบบกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ รวม 3,755 คน ในการจัดทดสอบครั้งที่ 1/2567 คุรุสภาได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เข้ารับการทดสอบฯ ที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม จากการรายงานพบว่าทุกศูนย์สอบทั่วประเทศมีผู้บกพร่องทางร่างกาย 17 คน บกพร่องทางสายตา 25 คน บกพร่องทางการได้ยิน 14 คน ตั้งครรภ์ 60 คน และพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 122 คน รวมจำนวนผู้มีความต้องการพิเศษ ทั้งสิ้น 238 คน ซึ่งทุกศูนย์สอบก็ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าสอบได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบฯ ที่คุรุสภากำหนดเป็นอย่างดี “ขอให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการทดสอบทุกคน ขอให้มีสมาธิ คิดวิเคราะห์ก่อนตอบอย่างรอบคอบ และบริหารเวลาสอบให้ดี ตระหนักไว้เสมอว่า เราต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อแข่งขันกับตัวเอง และขออวยพรให้ทุกคนสอบผ่านได้ตามเกณฑ์และประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้” รมว.ศธ.กล่าว สำหรับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูฯ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 คุรุสภาจัดขึ้นจำนวน 6 รอบ 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 และในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 28,678 คน ใน 16 สนามสอบ แบ่งเป็นผู้เข้ารับการทดสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5,003 คน และเข้ารับการทดสอบด้วยระบบกระดาษ จำนวน 23,675 คน ดังนี้ สนามสอบภาคกลาง 3 แห่ง จำนวน 9,447 คน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 1,032 คน , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) 8,056 คน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 359 คน สนามสอบภาคเหนือ 3 แห่ง จำนวน 4,294 คน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 1,588 คน , มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 1,180 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 1,526 คน สนามสอบภาคตะวันออก 1 แห่ง จำนวน 453 คนณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 453 คน สนามสอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง จำนวน 10,771 คน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น 1,380 คน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 3,805 คน , มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 1,869 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 3,717 คน สนามสอบภาคใต้ 5 แห่ง จำนวน 3,713 คน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ 312 คน , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1,021 คน, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 645 คน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 1,093 คน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 642 คน ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบทั้ง 6 รอบแล้ว...
16 กุมภาพันธ์ 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการ สกศ. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. นายสง่า แต่เชื้อสาย ผู้ช่วยเลขาธิการ กอศ. ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการฯ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ และระบบออนไลน์ Zoom Meeting รมว.ศธ.เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 อนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอนั้น ได้มีการดำเนินงานและจัดประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศ และสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศในทุกภาคส่วนให้ประสานความร่วมมือกัน และได้จัดทำแผนการดำเนินงานระยะเวลา 4 ปี ของคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ โดยมีประเด็นสำคัญคือ การดำเนินการวิจัยของ PISA ร่วมกับ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ The Organization for Economic Cooperation and Development) และการดำเนินงานขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการนำผลการประเมิน PISA 2022 ไปปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สร้างความร่วมมือกับทุกสังกัดที่เข้าร่วมการประเมิน PISA 2025 เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568 สำหรับรายงานการประเมิน PISA 2022ผลการประเมินของประเทศไทย พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยของประเทศทั้งสามด้าน (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน) ลดลง ในภาพรวมของผลการประเมิน PISA 2022 สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาทั่วโลกมีคะแนนเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับ PISA 2018 ซึ่งเป็นผลกระทบจากที่ทุกประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ ในช่วงที่มีวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาสถานศึกษาทั่วประเทศให้มีคุณภาพและครอบคลุมทุกสังกัด ในส่วนของตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันในประเด็นการยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากลนั้น ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมิน ได้มีมติเห็นชอบประเด็นการจัดทำตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามนโยบายสำคัญ โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ PISA คือ การยกระดับผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน ตามมาตรฐานสากล (PISA) ด้วยเช่นเดียวกัน ในการนี้มีหน่วยงานในสังกัดเสนอกลไก แนวทาง แผนการขับเคลื่อนในการยกระดับผลการประเมิน PISA 2025 ดังนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)เสนอกลไกการขับเคลื่อนการยกระดับผลการสอบ PISA 2025 ในฐานะหน่วยงานหลักด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสมรรถนะทางการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลก เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีมาตรการเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินงานต่อไป ขณะที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผล การดำเนินงาน (Performance Based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษา 3 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) ระดับความสำเร็จในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านทักษะ แรงงานในอนาคต 2) ตัวชี้วัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการศึกษา และ 3) ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่มีสมรรถนะจากการประเมินโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ไม่ถึงระดับพื้นฐานของทั้ง 3 วิชาในแต่ละกลุ่มโรงเรียน โดยให้จัดทำแนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัด ในรูปแบบของแผนระดับ 3 เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อให้การดำเนินการเป็นระบบและต่อเนื่อง มีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน รวมทั้งเกิดการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สกศ. จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนระดับ 3 ด้าน การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล โดยมีสาระสำคัญในการดำเนินงาน คือ กำหนดแนวทางในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางการศึกษา โดยใช้ดัชนีชี้วัดในระดับนานาชาติ อาทิ IMD WEF และ PISA เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก จัดทำเป็นแผนระดับ 3 เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการการทำงานอย่างต่อเนื่อง และกำหนดกรอบระยะเวลาของแผน มีกำหนดดำเนินการถึงปี พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำแผนระดับ 3 แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2567 นอกจากนี้ยังสนับสนุนการสร้างเครือข่าย ส่งเสริม ช่วยเหลือ บูรณาการการยกระดับผลการทดสอบ ด้วยการส่งเสริมเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับแนวทางการทดสอบ PISA ให้ครอบคลุมสถานศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย...
14 กุมภาพันธ์ 2567 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 7/2567 โดยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารฝ่ายการเมือง โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก/ในกำกับ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ รมว.ศธ.กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแห่งความรัก แต่สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถือเป็นวันแสดงพลังรักสีม่วง ที่แสดงออกให้เห็นว่าชาวศธ. ได้แสดงสัญลักษณ์แห่งความรักและความจงรักภักดีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพราะสีม่วงเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานในกำกับ จึงพร้อมใจสวมเครื่องแต่งกายสีม่วงโดยพร้อมเพรียงกัน เป็นการแสดงความรักและความจงรักภักดีที่พระองค์ท่านมีพระเมตตาต่อวงการการศึกษา อย่างหาที่สุดมิได้ ศธ.เตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา รมว.ศธ.กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้หน่วยงานราชการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ในปี พ.ศ. 2567 นั้น ศธ.ได้เตรียมจัดงานดังกล่าว โดยได้ประดับธงตราสัญลักษณ์ฯ และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ และแต่ละหน่วยงานได้เตรียมเสนอโครงการและกิจกรรม เพื่อให้คณะกรรมการกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณา และส่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ขอความร่วมมือบุคลากรในสังกัด ศธ.แต่งกายด้วยเสื้อสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์ และในโอกาสที่เหมาะสมโดยพร้อมเพรียงกันตลอดทั้งปี ติดตามการทดสอบ O-NET ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพื่อขับเคลื่อนเรื่องการสอบดังกล่าวให้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแนวทางมาตรฐานการวัดความรู้และทักษะของผู้เรียน ลดภาระในการสอบซ้ำซ้อน ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา” การศึกษาของเด็กแต่ละช่วงชั้นควรสอบวัดประเมินผล เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในการพัฒนาผู้เรียน จะได้ทราบว่าต้องปรับปรุงหลักสูตรการเรียนหรือปรับการสอนหรือไม่ ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อนำเกณฑ์มาประเมินกระบวนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ด้วย อีกทั้งในอนาคต จะมีการนำการสอบเทียบกลับมา เป็นการสอบรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าO-NET+ (โอเน็ตพลัส)อาจปรับแนวข้อสอบให้เน้นทักษะคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพราะการสอบแบบเดิมไม่ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในรูปแบบใหม่หากใครมีคะแนน O-NET 4 วิชาเดิมอยู่แล้ว ก็นำคะแนนมาใช้ในการสอบเทียบเพิ่มได้เลย เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน เหมือนเป็นการสะสมหน่วยกิตไม่ได้เป็นการบังคับ แต่ให้สอบด้วยความสมัครใจไม่เป็นการเสียเวลาและยังนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาได้ด้วย “การส่องกระจกเงาไม่มีใครบังคับให้เราทำ แต่เราทำไปเพื่อดูความเรียบร้อยของตนเอง การสอบก็คือกระบวนการเดียวกันกับการส่องกระจกเงา ที่ทำไปเพื่อดูว่าเราพร้อมหรือยัง หรือมีสิ่งที่ควรแก้ไข ทำอย่างไรเราถึงจะดูดี ทำอย่างไรเราถึงจะเก่ง เราขาดตกบกพร่องตรงไหนที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่อยากให้คิดแค่ว่าการสอบเป็นเรื่องบังคับเพื่อจัดลำดับเข้ามหาวิทยาลัย ควรเปลี่ยนทัศนคติใหม่ให้สอบอย่างมีความสุข เห็นประโยชน์ที่ทำให้รู้ตัวตนเหมือนเราส่องกระจกเงา” รมว.ศธ. กล่าวในประเด็นนี้ การจัดทำ MoU กับหน่วยงานต่างประเทศ ที่ประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับการลงนามความร่วมมือ (MOU) ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด กับหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น หากหน่วยงานหรือสถานศึกษาจะมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) หรือลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศศธ.จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณาก่อนทุกครั้งจึงขอให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว เพื่อให้มีผลผูกพันตามกฎหมายด้วย ความก้าวหน้าการดำเนินการเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA 2025 ของประทศไทย ที่ประชุมได้ติดตามแนวทางดำเนินงานของส่วนราชการเกี่ยวข้อง ในการยกระดับผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA)โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำเสนอความคืบหน้าให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่ง รมว.ศธ. ได้มอบแนวทางการดำเนินงานเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ส่วนด้านส่งเสริมการเรียนรู้ สพฐ.จัดให้มีโครงการ“โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง”สายวิทยาศาสตร์ เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนเครือข่าย เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแล เพื่อยกระดับการศึกษาให้เท่าเทียมกัน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการ PISA เพื่อประเมินภาพรวมทั้งประเทศ ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551 ซึ่ง รมว.ศธ.ได้มีหนังสือกำชับทุกหน่วยงาน ให้ยึดความสมัครใจของผู้เป็นหนี้เป็นหลัก โดยกำหนดหลักเกณฑ์การหักเงินเดือนตามเจตนารมณ์ของผู้เป็นหนี้ เพื่อชำระหนี้เงินกู้และค่าใช้จ่ายอื่นใดของบุคลากรในสังกัดให้มีเงินเดือนคงเหลือสุทธิเพื่อการดำรงชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือนรวมถึงมีการตั้งสถานีแก้หนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ศธ.ได้เชิญ“โค้ชหนุ่ม”ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาให้ความรู้ เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นมิติใหม่ในการเสริมสร้างหลักสูตรในการแก้ไขปัญหาหนี้สินอีกด้วย การติดตามนโยบายความปลอดภัยของสถานศึกษาในส่วนภูมิภาค ปลัด ศธ. ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยของสถานศึกษาในส่วนภูมิภาคโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน บูรณาการทำงานร่วมกันหน่วยงานในพื้นที่ระดับจังหวัดทั่วประเทศ การพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้มีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษา รมว.ศธ.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ศึกษาเรื่องการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะหารือร่วมกับสมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทยด้วยว่าควรมีการรวมหรือแยกหน่วยงานระหว่างสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือไม่เพื่อให้ศึกษานิเทศก์เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาในระดับภูมิภาคให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น พบพร ผดุงพล, บัลลังก์ โรหิตเสถียร สรุป ณัฐพล สุกไทย ถ่ายภาพ ศุภณัฐ วัฒนมงคลลาภ วีดิทัศน์