จังหวัดพัทลุง – 24 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาและติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสนับสนุนการศึกษาภูมิภาคในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา) โดยมี พระศรีธรรมประสาธน์ เจ้าคณะจังหวัดพัทลุง นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ข้าราชการ บุคลากรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ร่วมให้การต้อนรับ ณ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง มอบนโยบายผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษากลุ่มจังหวัดฝั่งอ่าวไทย รมว.ศธ.กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการและมอบนโยบายผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษากลุ่มจังหวัดฝั่งอ่าวไทยในครั้งนี้ ได้เปิดมุมมองในหลายมิติ ของการบริหารจัดการศึกษา โดยมีผู้บริหารระดับจังหวัด ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านการศึกษา ซึ่ง รมว.ศธ. มีความคาดหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความร่วมมือ และการสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยงาน เปรียบดังพี่น้องที่ช่วยเหลือกัน เพื่อให้การจัดการศึกษามีความก้าวหน้าและตอบโจทย์นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและประเทศในทุกมิติ มิติด้านการบริหารจัดการศึกษาขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ขับเคลื่อนนโยบายร่วมกันอย่างมีเอกภาพ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่การบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ เช่น การลดปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา (Zero Dropout) การสอบ PISA และ O-Net การรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคในสถานศึกษา เพื่อสร้างความพร้อมและความมั่นคงให้กับการจัดการศึกษาของประเทศอย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหา Zero Dropout ขอให้ยึดแนวทางหลักคือ “ป้องกัน แก้ไข ส่งต่อ ติดตามดูแล” โดยในมิติของเด็กสัญชาติไทย เราต้องมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เด็กต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของเด็ก รวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้การทำงานต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวปฏิบัติและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ มีศักยภาพและความน่าสนใจควรมีการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียน มีการวิเคราะห์ผลการสอบ O-NET และ PISA เพื่อนำมาเปรียบเทียบและประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้งในโรงเรียนรัฐและเอกชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอน การสอบ O-NET และ PISA เป็นมาตรฐานสำคัญในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อการพัฒนานโยบายการศึกษาของประเทศ หากผลการสอบสูงขึ้น จะช่วยเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกต่อมาตรฐานการศึกษาของไทย มิติด้านความร่วมมือเน้นย้ำการสร้างเครือข่ายการศึกษาภายใต้แนวคิด “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” โดยส่งเสริมการทำงานใน “แนวดิ่ง” ตั้งแต่ระดับอนุบาล มัธยม อาชีวะ จนถึงอุดมศึกษา เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ในทุกระดับให้สอดประสานกัน และใน “แนวราบ” เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ เป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พร้อมยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ โดยเน้นย้ำว่า “ทุกจังหวัดต้องเป็นหนึ่งเดียว” โมเดลการบริหารจัดการคือเราจะไม่ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพียงหน่วยเดียว แต่จะมีการร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างข้อมูลและการทำงานร่วมกัน โดยพิจารณาบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัด และเพื่อให้การดำเนินการเกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องมีการประสานงานและการทำงานร่วมกันในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกมิติ มิติด้านความปลอดภัยเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับใดก็ตาม ซึ่ง รมว.ศธ. มีนโยบายในการยกเลิกครูเวร ดังนั้นจึงต้องประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานปกครองในท้องที่ สำนักงานตำรวจ เพื่อให้ความร่วมมือในการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่ากระทรวงศึกษาธิการพร้อมที่จะดูแลสวัสดิภาพของทุกคน ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดนั้น ได้ดำเนินการโครงการครูแดร์ (D.A.R.E.) ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเกี่ยวกับอันตรายของสุราและยาเสพติด รวมถึงการสร้างทักษะในการลดปัญหาความรุนแรงในชีวิตประจำวัน โดยโครงการดังกล่าวช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการตัดสินใจและดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมมือกันให้สถานศึกษากลายเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ภายหลังจบการประชุมมอบนโบบาย รมว.ศธ. ได้เยี่ยมชมสุดยอดนวัตกรรมของอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ อาทิ หุ่นยนต์ศรีตลุง ABU ชมรมวิชาชีพช่างยนต์ สิ่งประดิษฐ์ตู้ตากอาหารจากพลังงานความร้อน การสกรีนผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวสังข์หยด และผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่าง ๆ ซึ่ง รมว.ศธ. ได้กล่าวชื่นชมน้อง ๆ นักศึกษาและคุณครู ในความตั้งใจและขอให้พัฒนาฝีมือเพื่อเป็นกำลังสำคัญในอนาคตต่อไป การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาของ รมว.ศธ. โรงเรียนพัทลุงคริสเตียน สังกัด สช. ซึ่งใช้กระบวนการมอนเตสซอรี (Montessori Approach) ในการจัดการเรียนการสอน รมว.ศธ.กล่าวว่า แนวคิดการจัดการศึกษาตามหลักมอนเตสซอรี โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติ และส่งเสริมความต้องการเฉพาะบุคคล เป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมความสุขของผู้เรียนบนพื้นฐานของความรักและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงขอให้มีการถ่ายทอดแนวคิดนี้ไปยังศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ โดยจัดให้ครูผู้สอนทำหน้าที่แนะนำและนิเทศการเรียนการสอน เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวในการจัดการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งคงต้องขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการประสานงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล ไปยังศูนย์การเรียนในสังกัด เพื่อขับเคลื่อนและถ่ายทอดแนวคิดตามหลักสูตรมอนเตสซอรี สู่การพัฒนาผู้เรียนในวัยปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ สำหรับส่วนราชการในสังกัด ขอให้มีการบูรณาการด้านการจัดการศึกษาในพื้นที่ โดยสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนหน่วยงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะการส่งครูพี่เลี้ยงไปถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ศูนย์ฝึกและศูนย์เด็กเล็กต่าง ๆ และขอความร่วมมือจากผู้บริหารในพื้นที่ร่วมกันระดมความคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความดีและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในภาพรวมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ท้ายสุดนี้ สพฐ. ต้องเร่งดำเนินการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น อุบัติเหตุภายในห้องน้ำ โดยขอให้ตรวจสอบและปรับปรุงผนังกั้นห้องน้ำให้มีความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเหมาะสมสำหรับนักเรียนเป็นสำคัญ วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง สังกัด สอศ. จัดการเรียนการสอนรูปแบบการฝึกอบรมอาชีพ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นสำหรับประชาชน รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการฝึกอบรมอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกวิชาช่างตัดผมและเสริมสวย หลักสูตรอาหารและโภชนาการ หลักสูตรอาหารและเบเกอรี่ โดยหลักสูตรเน้นการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมทั้งจัดการฝึกอาชีพระยะสั้นให้แก่ประชาชน ถือเป็นการส่งเสริมการ Re-Skill, Up-Skill และ New-Skill สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โรงเรียนอนุบาลป่าบอน สังกัด...
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
จังหวัดพัทลุง 24 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบ “รางวัลครูถิรคุณ” ให้แก่ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ เสียสละ ยึดมั่นอุดมการณ์ในวิชาชีพครู ณ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการขอยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ ที่ปฏิบัติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ มีอุดมการณ์ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ดูแล ช่วยเหลือผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ แม้จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและอันตราย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ในการตรวจปฏิบัติหน้าที่ครูของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ในนามของกระทรวงศึกษาธิการ และประธานกรรมการคุรุสภา ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง และขอให้กำลังใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต ถึงแม้ทั้ง 2 ท่าน จะจากไป แต่คุณงามความดีของครู ตชด. พ่อลูก จะยังคงถูกจดจำอยู่ในใจของผู้ที่อยู่เบื้องหลังและพวกเราชาวกระทรวงศึกษาธิการเสมอ จึงขอมอบ “รางวัลครูถิรคุณ” เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องเชิดชูเกียรติความทุ่มเทของวีรบุรุษผู้เสียสละบนผืนแผ่นดินปลายด้ามขวาน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทและเสียสละจนถึงแก่ชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยครอบครัววีรบุรุษผู้เสียสละที่เป็นตัวแทนรับมอบ “รางวัลครูถิรคุณ” ได้แก่ นางสุปรีดา(นี) ช่วยเทวฤทธิ์ ภรรยา พ.ต.ท. สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ และนางสาวนูรอ มุนิ ภรรยา ด.ต. โดม ช่วยเทวฤทธิ์ “รางวัลครูถิรคุณ”เป็นรางวัลที่มอบเพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องครูผู้มีความเสียสละและอุดมการณ์ในวิชาชีพ ดำเนินงานโดยคุรุสภา จะพิจารณาผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทและเสียสละ มีจิตวิญญาณรักและศรัทธาในวิชาชีพ จนเป็นที่ประจักษ์ มีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา ใจ แก่เพื่อนครูและผู้เรียน และได้รับความเชื่อถือและยกย่องจากผู้เรียน เพื่อนครู และสังคม ผู้ได้รับรางวัลต้องปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความท้าทาย เช่น พื้นที่ที่มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม หรือพื้นที่เสี่ยงภัยหรือทุรกันดาร ด้วยความเสียสละและอุตสาหะ โดยมีผลงานที่เป็นแบบอย่างดีงามอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือถึงแก่ชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจพิเศษที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งไม่เกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของตนเอง พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ อายุ 56 ปี เป็นครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตือง อำเภอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นครูอยู่ในพื้นที่ฯ มากกว่า 20 ปี และเคยได้รับรางวัล “ครูยิ่งคุณ” ประจำปี 2558 จากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ส่วน ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ อายุ 35 ปี เป็นบุตรชายของ พ.ต.ท.สุวิทย์ และเป็นคุรุทายาทครู ตชด.รุ่น 8 ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ ซึ่งทั้งคู่ถือเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนนักเรียนและเป็นที่เคารพนับถือของเด็ก ๆ ที่เรียกพวกเขาว่า “ครู” และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในวิชาชีพจนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการ การสูญเสียทั้งสองท่านในครั้งนี้ถือเป็นความสูญเสียสำหรับวงการการศึกษา ที่ได้สูญเสียบุคลากรที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่อพัฒนาการศึกษาของจังหวัดชายแดนใต้ อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว-กราฟิก ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาติ / ภาพ
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน”เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจครั้งที่3/2568ยืนยันหนักแน่นครูและข้าราชการยุคนี้หากผิดวินัยร้ายแรงคาดโทษจริงจังให้เห็นเป็นตัวอย่างพอใจกระแสลงทะเบียนระบบย้ายครูTRSกว่า15,000รายคาดปลายปีนี้ผลการขับเคลื่อนPISAออกมาดีทุกมิติตามที่ตั้งไว้พร้อมเดินหน้าZero Dropoutต่อเนื่องและให้อำนาจสถานศึกษาพิจารณาปิด–เปิดการเรียนการสอนช่วงฝุ่นPM 2.5 22มกราคม2568 –พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการครั้งที่3/2568ณห้องประชุมราชวัลลภและออนไลน์ผ่านระบบZoom meeting รมว.ศธ.เปิดเผยภายหลังการประชุมดังนี้ บทลงโทษเด็ดขาดครู/ข้าราชการผิดวินัยร้ายแรง จากกระแสข่าวปัจจุบันที่พบว่ามีครูหรือบุคลากรทางการศึกษาบางคนที่กระทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมถึงขั้นผิดวินัยและจริยธรรมร้ายแรงกระทรวงศึกษาธิการจึงดำเนินการด้วยความเร่งด่วนคือให้พักราชการไว้ก่อนและหากตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพครูหรือข้าราชการแล้วพบว่ามีหลักฐานเพียงพอจะดำเนินการทางวินัยและอาญาอย่างจริงจังซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุรุสภาในการพักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูระหว่างการสอบสวนความผิดร้ายแรงขอย้ำชัดเจนว่าในยุคปัจจุบันหากพบว่าครูหรือข้าราชการคนไหนกระทำผิดในหน่วยงานต้นสังที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการให้เห็นว่าบุคคลที่ทำผิดได้รับการลงโทษรวดเร็วและฉับไวอย่างจริงจัง การยกระดับคุณภาพการศึกษาPISA การติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาPISAเป็นไปในทิศทางค่อนข้างดีณวันนี้มีครูเข้าร่วมอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับเขตพื้นที่เรียบร้อยแล้ว78,788คนจากจำนวนครู445,624คนซึ่งได้หารือเรื่องความสำเร็จในด้านนโยบายและแนวทางการติดตามอย่างเป็นระบบการสื่อสารของผู้บริหารเพื่อสร้างความเข้าใจและแกนนำและศึกษานิเทศก์ระดับพื้นที่อีกทั้งยังหารือปัจจัยความเสี่ยงต่างๆเพื่อนำไปถ่ายทอดให้หน่วยงานจัดการศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดสพฐ.หาทางดำเนินงานในการแก้ไขร่วมกัน โดยเมื่อต้นสัปดาห์ได้มีการประชุมPISAซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสังกัดต่างๆเป็นอย่างดีในการดำเนินงานนับเป็นมิติที่มีความสุขที่ในการขับเคลื่อนร่วมกันและในส่วนของสภาการศึกษาได้มีรายงานติดตามเพิ่มเติมเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้(learning outcome)ของผู้เรียนจากผลการทดสอบPISAรวมถึงการพัฒนาผลการจัดอันดับIMDประจำปีพ.ศ. 2568ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดำเนินการร่วมกันอีกทางหนึ่งในเรื่องฐานข้อมูลเชื่อว่าในเรื่องของการยกระดับคุณภาพการศึกษาจะตอบโจทย์การประเมินPISAและช่วงปลายปีผลน่าจะออกมาดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ระบบการย้ายข้าราชการครู(Teacher Rotation System: TRS) สำหรับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการประจำปีพ.ศ. 2568ผ่านระบบTRSครั้งที่1เป็นไปด้วยดีในการดำเนินงานกระแสตอบรับในโลกโซเชียลเป็นที่น่าพอใจมากขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่3/10มีครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการขอย้ายในระบบณวันที่21มกราคม2568จำนวน15,997รายซึ่งผู้ยื่นคำร้องสามารถเปิดดูได้ทุกขั้นตอนการดำเนินงานแบบเรียลไทม์ “ขอเน้นย้ำไปยังครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่าเชื่อหากมีผู้แอบอ้างว่าจะดำเนินการให้โดยมีค่าจ่ายยุคนี้ต้องไม่มีใครเสียเงินในการโยกย้ายทุกอย่างในระบบย้ายครูTRSโปร่งใสตรวจสอบได้และมีเหตุผลชี้แจงได้หมดในทุกขั้นตอนครูจะทราบว่าได้เลยว่าได้ย้ายหรือไม่ได้ย้ายเพราะอะไร“ การติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา(Thailand Zero Dropout) ในด้านการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ(THAILAND Zero Dropout)เป็นเรื่องน่ายินดีในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจากที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้รายงานผลการติดตามข้อมูลเด็กตกหล่นพบว่าขณะนี้สามารถตามเด็กกลับเข้ามาสู่ในระบบได้56,656คนซึ่งในส่วนของสพฐ.ดำเนินการได้44,171คนนอกนั้นเป็นการดำเนินงานของสกร.และศธจ. 12,485คน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างจริงจังในการค้นหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาทั้งครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยกันขับเคลื่อนทุกภาคส่วนในการ“พาน้องกลับมาเรียน”ส่วนเรื่อง“บุรีรัมย์โมเดล”ผลออกมาค่อนข้างดีเช่นกันและที่ดีเยี่ยมอีกแห่งคือจังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถนำเด็กกลับมาได้จำนวนค่อนข้างสูงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานในสังกัดได้นำตามนโยบาย“ทำดีทำได้ทำทันที”ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มาตรการป้องกันปัญหาฝุ่นPM 2.5 ช่วงนี้ทั่วประเทศเกิดปัญหาฝุ่นPM 2.5ศธ.ได้วางมาตรการการจัดการโดยให้สถานศึกษาพิจารณาจัดการเรียนการสอนตามบริบทพื้นที่เพราะปัญหาหาฝุ่นพิษที่พบนั้นมากน้อยไม่เท่ากันและบางโรงเรียนมีเครื่องฟอกอากาศติดตั้งในห้องเรียนเช่นโรงเรียนราชวินิตที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมล่าสุดพบว่าทุกห้องเรียนมีเครื่องฟอกอากาศครบทั้งนี้หากพื้นที่ใดมีค่าฝุ่นระดับวิกฤตสีแดงให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียนใช้ดุลยพินิจ เปิด–ปิดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสมแต่ถ้าโรงเรียนใดมีระบบจัดการป้องกันฝุ่นได้ดีการมาเรียนของเด็กอาจปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน พบพรผดุงพล/ข่าว สมประสงค์ชาหารเวียง/วิดีโอ ณัฐพลสุกไทย/ภาพ
20มกราคม2568 –พล.ต.อ.เพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานการประชุมเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมผ่านสถานศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกองทุนการออมแห่งชาติโดยว่าที่ร.ต.ธนุวงษ์จินดาเลขาธิการกพฐ.,นายยศพลเวณุโกเศศเลขาธิการกอศ.,นายธนากรดอนเหนืออธิบดีสกร.และผู้แทนจากกองทุนการออมแห่งชาติเข้าร่วมณห้องประชุมราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการประชุมในครั้งนี้พล.ต.อ.เพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้เรียนรับทราบถึงสิทธิและโยชน์การเป็นสมาชิกหลักเกณฑ์การสมัคร เงื่อนไขการออมเงินสมทบจากรัฐบาลเพื่อปลูกฝังและส่งเสริมวินัยการออมผ่านสถานศึกษาซึ่งที่ประชุมได้รับทราบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือการส่งเสริมการออมกับกอช.ดังนี้ 1.บันทึกความร่วมมือ(MOU)การส่งเสริมการออมระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)กับกองทุนการออมแห่งชาติเมื่อวันที่28ธันวาคมพ.ศ. 2560 2.บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการออมระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อวันที่21ธันวาคม2563ระยะเวลาความร่วมมือช่วงละ5ปี 3.บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการออมระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติกับสำนักงานการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเมื่อวันที่22กันยายน2564 4.บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการออมโครงการสถานศึกษาส่งเสริมการออมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับกองทุนการออมแห่งชาติเมื่อวันที่10กรกฎาคม2566มีระยะเวลา3ปี ตั้งแต่ดำเนินการร่วมกันมาจนถึงปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกกอช.กลุ่มนักเรียนนักศึกษาอายุ15 – 20ปีตั้งแต่ปี2560 – 2567จำนวนทั้งสิ้น193,385รายคิดเป็นร้อยละ9.7จากจำนวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนระดับอาชีวศึกษาซึ่งในปี2567ได้ขับเคลื่อนโครงการฯร่วมกับนายสมใจวิเศษทักษิณและนายชูสินวรเดชผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการโดยมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการฯจำนวนทั้งสิ้น278แห่ง ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาครูแกนนำ“วิทยากรอาสากอช.เว้าเรื่องออม”จากสถานศึกษาภายใต้เขตตรวจราชการที่10และ11 (สพม.จำนวน7แห่ง)จำนวน21รายและมีสถานศึกษาภายใต้สังกัดสอศ.เข้าร่วมโครงการฯจำนวน112แห่งรวมถึงสถานศึกษานำร่องเข้าร่วมกิจกรรม“อาชีวะสร้างอาชีพกอช.เพิ่มเงินออมบสย.ต่อยอดธุรกิจ”จำนวน15แห่ง(ปี2566 – 2568) นอกจากนี้ที่ประชุมมีประเด็นหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอาทิแนวทางความร่วมมือกับผู้ตรวจราชการ18เขตรวมถึงการพัฒนาครูแกนนำ“วิทยากรอาสากอช.เว้าเรื่องออม”ต่อเนื่องในปี2568จำนวน100คนซึ่งครูแกนนำที่ร่วมโครงการฯจะได้รับค่าวิทยากรชั่วโมงละ600บาท(กิจกรรม1ครั้งไม่เกิน2ชั่วโมง)พร้อมได้รับเกียรติบัตรและผลักดันและส่งเสริมให้มีการนำเนื้อหาเรื่องการวางแผนการเงินและการออมเงินเพื่ออนาคตให้อยู่ในแผนการเรียนการสอนวิชาเรียนกิจกรรมหรือชุมนุมตามความเหมาะสมของสถานศึกษา โดยในปีนี้จะเพิ่มรางวัลสถานศึกษาส่งเสริมการออมกับกอช.ยอดเยี่ยมประจำปี2568 (ระยะเวลา1ม.ค. – 30ก.ย. 68)ซึ่งรางวัลสถานศึกษาสังกัดสพฐ.ที่มียอดสมัครสมาชิกกอช.รายใหม่ประจำปี2568จำนวน300คนขึ้นไปสูงสุด3อันดับแรกจะได้รับเงินรางวัลสถานศึกษาละ20,000บาทและรางวัลสถานศึกษาสังกัดสอศ.ที่มียอดสมัครสมาชิกกอช.รายใหม่ประจำปี2568จำนวน300คนขึ้นไปสูงสุด3อันดับแรกได้รับเงินรางวัลสถานศึกษาละ20,000บาท ในการนี้สถานศึกษาสังกัดสพฐ.และสอศ.ที่มีผลการดำเนินงานส่งเสริมวินัยการออมยอดเยี่ยมมีสมาชิกกอช.รายใหม่3อันดับแรกจะได้รับรางวัลโล่เกียรติคุณในงานวันออมแห่งชาติและมอบเกียรติบัตรสำหรับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผู้อำนวยการสถานศึกษาคุณครูอาจารย์ผู้ประสานงานของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัล พบพรผดุงพล/ข่าว ณัฐพลสุกไทย/ภาพ
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว “การศึกษา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนไทย และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทุกคนต้องได้รับ เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ช่วยสร้างทักษะชีวิต ทักษะในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต การศึกษามีบทบาทสำคัญในการเตรียม “เยาวชน” ให้เติบโตเป็น “คนรุ่นใหม่” ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งไม่ใช่เพียงการเรียนรู้ทฤษฎี แต่ยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น สามารถตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างศักยภาพในอนาคต พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ “ครูอุ้ม”ที่ใครหลาย ๆ คนเรียก ให้ความสำคัญกับคำว่า“ครู”เป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่ครูคือผู้ที่สั่งสอน อบรม ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูกศิษย์ทุกคน ไม่เพียงแค่ถ่ายทอดความรู้ แต่ยังเป็นผู้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีให้กับลูกศิษย์ เพราะครูคือผู้มีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมเด็กไทยให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และการสร้างสรรค์ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เดินหน้าสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนในทุกด้าน เพราะครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ และปลูกฝังทักษะชีวิตที่จำเป็นให้กับนักเรียน มีบทบาทสำคัญในการเป็น“ผู้จุดประกาย”ที่ไม่เพียงแต่ถ่ายทอดความรู้ แต่ยังช่วย“ส่งเสริม”และ“สนับสนุน”ให้เด็กไทยมีความคิดที่ลึกซึ้งและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง ดั่งพระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 ปี 2562 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ความว่า “…ครู คือ ปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ครู คือ มนุษย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่จะพัฒนาคุณลักษณะของตนเองและสร้างค่านิยมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ สามารถมาแทนที่ครูได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครูที่ดีจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้เป็นพลเมืองที่ดีและมีความสามารถ ทั้งในระดับชาติและระดับเป็นพลเมืองของโลกด้วย…” ครู … ผู้จุดประกายความฉลาดรู้เปิดโลกกว้างให้กับลูกศิษย์ ผ่านการเรียนรู้ในหลากหลายด้าน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้ลูกศิษย์มีทักษะการคิด การวิเคราะห์ และการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่ในตำราเรียนเท่านั้น แต่ทำให้เด็กเข้าใจถึงความสำคัญของการมีความรู้และกระตุ้นให้ลูกศิษย์พยายามหาความรู้ในทุกมิติ แต่ครูคือผู้ที่สามารถจุดประกายในการค้นหาความรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ครู … ผู้ส่งเสริมความฉลาดคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ครูไม่เพียงแต่สอนให้ลูกศิษย์เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ แต่ยังช่วยส่งเสริมให้ลูกศิษย์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงวิพากษ์ ให้สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกศิษย์ ครูส่งเสริมให้ได้คิดนอกกรอบ คิดในมุมที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ครู … ผู้สนับสนุนให้เป็นผู้ฉลาดทำความรู้และความคิดที่ดีจะมีประโยชน์เมื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ครูคือผู้ที่สนับสนุนให้ลูกศิษย์ นำความรู้และความคิดมาปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำงานกลุ่ม การทดลอง หรือการร่วมมือกับชุมชน ให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้เด็กไทย “ครูจุดประกายความฝัน ผลักดันให้กล้าคิด สร้างโอกาสในชีวิตให้เด็กไทย”คำขวัญวันครูจากนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของครูในการเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ครูไม่ได้เป็นแค่ผู้สอน แต่ยังเป็นผู้ผลักดันให้เด็กมีความกล้าคิด กล้าตัดสินใจ และกล้าเดินตามฝันของตนเอง และเน้นย้ำถึงการสร้างโอกาสให้เด็กไทย สามารถก้าวข้ามอุปสรรคและพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการรับมือกับความท้าทายในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “ครูอุ้ม” เน้นย้ำถึงความสำคัญของครูโดยการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการเสริมสร้างศักยภาพของครู ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการจัดอบรมและพัฒนาวิชาชีพครู การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการสอนที่มีคุณภาพ ครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างฐานรากที่มั่นคงสำหรับการศึกษาในอนาคต กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของครูอุ้ม มีนโยบายสำคัญในการ “ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา”เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และการดูแลนักเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบกรับภาระงานที่เกินความจำเป็น ซึ่งรวมถึงการลดเอกสารและภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนตรง การจัดการระบบการศึกษาที่เป็นมิตรและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับเด็กไทยทุกคน มีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยในการทำงาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการและลดความยุ่งยากในกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ครูสามารถมีสมาธิในการสอนและพัฒนาเด็ก ๆ ให้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในอนาคต “ครู”ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญ ที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการให้สามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและประชาชน ตามนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน“จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”ที่มุ่งสร้างการศึกษาที่เท่าเทียมและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย และได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด“ปฏิบัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ”ที่มุ่งหวังจะพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีศักยภาพและมีความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ด้วยการเป็นผู้จุดประกาย “ครูไทย” พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ หรือ “ครูอุ้ม” ยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กไทยเติบโตเป็นบุคคลที่ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล การพัฒนาครูทุกคนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ทันสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะครูคือกุญแจสำคัญที่จะเปิดประตูสู่โอกาสและอนาคตที่สดใสของเด็กไทย การพัฒนาครูยังเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งประเทศ ซึ่งจะช่วยในการสร้างสังคมที่ “มั่นคง” สร้างความเจริญรุ่งเรืองที่ “มั่งคั่ง” และพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความ “ยั่งยืน“ สืบไป อานนท์ วิชานนท์ / สกู๊ป-กราฟิก
ศธ. ปลื้ม Mindset สภานักเรียนวันเด็ก เร่งหนุนข้อเสนอพลิกโฉมการศึกษา ตั้งเป้าทำฝันนักเรียนให้เป็นจริง
17 มกราคม 2568 – นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยเสียงสะท้อนผู้เรียนหลังรับข้อเสนอจากคณะสภานักเรียน และโพลวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 ภูมิใจ Mindset พลังบวกของนักเรียนไทย พร้อมยืนยันการดำเนินการตามแนวทางของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชน เร่งพัฒนาปรับเปลี่ยนสู่ความเปลี่ยนแปลงให้ขึ้นจริงในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โฆษก ศธ. กล่าวว่าผ่านพ้นมาเกือบสัปดาห์สำหรับงานวันเด็กแห่งชาติในปีนี้ นอกจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จัดขึ้นเพื่อเด็กและเยาวชนแล้ว สิ่งที่สะท้อนถึงความต้องการของผู้เรียนทั้งประเทศได้อีกส่วนหนึ่งคือข้อเสนอจากคณะสภานักเรียนนั่นเอง รวมถึงผลสำรวจหรือโพลต่าง ๆ ก็บ่งบอกได้ถึงความต้องการของผู้เรียนได้ดีเช่นกัน และในปีนี้ผลได้ออกมาว่าเด็กไทยอยากเห็นโรงเรียนและการเรียนที่สนุกขึ้น รองลงมาคือเทคโนโลยีพัฒนาเจริญก้าวหน้า ส่วนของขวัญที่อยากได้จากรัฐบาลคือทุนการศึกษาหรือเงินช่วยเหลือ รวมถึงแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์สำหรับเรียน นอกจากคุณพ่อคุณแม่แล้วคนที่เด็กไทยชื่นชมและเป็นไอดอลคือ ลิซ่า ลลิษา รองลงมาคือคุณครูที่ติดโผแรงบันดาลใจของเด็กในทุกปี อย่างที่ทราบกันว่าหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของวันเด็กแห่งชาติคือน้องคณะสภานักเรียนผู้เป็นตัวแทนกระบอกเสียงให้เพื่อนนักเรียนทั่วประเทศ เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อยื่นข้อเสนอถึงความต้องการด้านการศึกษา ซึ่งในปีนี้คณะสภานักเรียนได้ยื่นข้อเสนอ 3 เรื่อง ทั้งการส่งเสริมค่านิยมหลัก “รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ในกลุ่มเยาวชนไทย รวมถึงเรื่องความรักโรงเรียน รักเพื่อน และน้อง สร้างโรงเรียนแห่งความสุข ร่วมป้องกันให้ทุกคนห่างไกลจากบุหรี่ไฟฟ้า รู้เท่าทันภัยออนไลน์ และ ZERO DROPOUT ติดตามและค้นหาเด็กที่ตกหล่นให้กลับเข้ามาเรียนในระบบ ซึ่งสภานักเรียนทั่วประเทศจะร่วมขับเคลื่อนตามบริบทและความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน หากย้อนไปในวันเด็กแห่งชาติปีที่แล้วคณะสภานักเรียนก็ได้มีข้อเสนอในประเด็นการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา การรู้จักประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของตนเองอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการรู้จักมารยาทการใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน และการส่งเสริมแนวทางการป้องกันการบูลลี่ในสถานศึกษา ซึ่งสิ่งที่เห็นเด่นชัดถึงความเปลี่ยนแปลงที่ ศธ.นำข้อเสนอมาดำเนินการในระยะ 1 ปี ที่ผ่านมาจนเกิดเป็นกระแสสังคมคือการปรับเครื่องแบบลูกเสือ และสุขาดีมีความสุข ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียนในโรงเรียนให้เหมาะสมในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเร่งรัดการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตและร่างกายของนักเรียนอย่างจริงจังจนเริ่มต้นในหลายโรงเรียนแล้ว เรื่องดูแลสวัสดิการของผู้เรียนก็ได้รับความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน เกิดเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลายและยืดหยุ่นเพื่อให้นักเรียนมีทักษะที่ตอบโจทย์ในอนาคตตรงกับข้อเสนอของสภานักเรียน เสียงเหล่านี้คือเสียงอันทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงทิศทางระบบการศึกษา ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ที่เป็นจุดปรับเปลี่ยนความร่วมมือกับผู้เรียนในการพัฒนาการศึกษาและมุ่งเน้นการสร้างความสุขในการเรียนรู้ ที่ถูกกลั่นกรองถึงความต้องการของนักเรียนอย่างแท้จริงในการสะท้อนมุมมองและข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษา และ ศธ.ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับข้อเสนอและผลสำรวจดังกล่าว ตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียนในยุคดิจิทัลทั้งในเรื่องของการปรับปรุงหลักสูตร การเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และการส่งเสริมทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง เพื่อนำมาสู่การปรับเปลี่ยนสู่การพลิกโฉมการศึกษาไทย เห็นได้ชัดเจนว่าการพัฒนาการศึกษาในยุคของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงจากคณะสภานักเรียน และทุกข้อเสนอที่ได้รับจากเด็ก ๆ เพราะพวกเขาคือผู้ที่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่พวกเขาจะได้รับ การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เราตั้งใจให้เกิดขึ้นจริงในระบบการศึกษาไทย ไม่เพียงแค่มองมิติปัจจุบันแต่ยังมองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีได้ การรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษามีความสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง ไม่เพียงแต่จะรับข้อเสนอเหล่านี้มาพิจารณาแต่ยังมองว่าเป็นโอกาสในการพลิกโฉมการศึกษาไทยให้มีความทันสมัยและเข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “ภูมิใจที่ได้เห็น Mindset นักเรียนไทยในเชิงบวกมากขึ้น ศธ.พร้อมรับฟังทุกเสียงของผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ทุกข้อเสนอที่ได้รับจะเร่งดำเนินการเพื่อปฏิรูปการศึกษา สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมให้เป็นจริงได้ไม่เกินฝัน จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา ขอยืนยันว่าเราจะเดินหน้าพลิกโฉมการศึกษาไทยต่อไปในปีนี้ ให้ทุกเสียงของนักเรียนที่สะท้อนมาได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในทุกมิติ” โฆษก ศธ. กล่าว พบพร ผดุงพล / ข่าว ธรรมนารี ชดช้อย / ภาพ
16 มกราคม 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2567 ในงานวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษามีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 1,065 คน โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ., นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา และผู้บริหาร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา รมว.ศธ. กล่าวว่าการยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีในวันนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่าเรามีครูดีที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และสังคมและพร้อมจะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นกำลังคนคุณภาพของประเทศ สมดังคำขวัญวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ.2568 ของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ว่า“ครูจุดประกายความฝัน ผลักดันให้กล้าคิด สร้างโอกาสในชีวิตให้เด็กไทย” ครูเป็นเหมือนพ่อแม่คนที่สอง คิดว่าครูทุกคนมีหัวใจของความเป็นครูสูงอยู่แล้ว นอกจากสอนให้ความรู้แล้วเรื่องการปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ขอให้ภูมิใจในการเป็นครูและอยากให้เก็บรักษาเกียรติยศในวันนี้ที่ได้รับรางวัลไปเป็นความภูมิใจและพยายามรักษาไว้ เพราะการเป็นครูนั้นเป็นได้ง่าย แต่การเป็นครูที่ดีและยาวนานเป็นได้ยาก การสร้างคนให้มีโอกาสได้รับรางวัลถือเป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่ ต้องแนะนำเพื่อนครูรุ่นใหม่ให้เดินตามแบบอย่างที่ดีต่อ ๆ ไป สิ่งที่อยากเน้นย้ำเพิ่มในปีนี้คือ“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือทำให้นักเรียนรู้ในสิ่งที่ที่ควรรู้ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เติมด้านวิชาการหรือทักษะในการดำเนินชีวิต และตัวครูเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นครูที่ปรับตัวให้ทันโลกอยู่ในกระแสได้ทุกเวลา คิดอย่างมีเหตุมีผลและทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเราหรือสถานศึกษา สอดรับกับสิ่งที่เคยให้แนวปฏิบัติไว้คือ“ทำดี ทำได้ ทำทันที”อยากให้ทำสิ่งดีต่อไป ทำให้เด็กเข้าใจถึงความปรารถนาดีในตัวเรา ทำการศึกษาพัฒนาไปในด้านที่ดี สุดท้ายนี้ ฝากนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”ถึงเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงผู้ที่ได้รับรางวัลหรือเคยรับรางวัลมาแล้วหรือผู้ที่กำลังจะได้รับรางวัลในปีต่อไป เชื่อว่าทุกคนที่มารับรางวัลรู้สึกมีเกียรติและมีความสุขกับในอาชีพ หากเรามีความสุขในการทำงานต่าง ๆ แล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้สอนเด็กได้ดีไปด้วย หวังว่าสิ่งที่ฝากเป็นแนวทางจะได้รับการขับเคลื่อนให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สร้างเพื่อนครูให้รับรางวัลเพิ่มขึ้นทุกปี เกิดพลังสร้างสรรค์ที่จะร่วมกันพัฒนาเด็ก เยาวชน และการศึกษาของชาติตลอดไป เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่าคุรุสภาได้ดำเนินงานประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ครั้งแรกเมื่อปี 2535 และได้ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และเสริมสร้างศรัทธา ความเชื่อถือในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และคนในสังคม ซึ่งในส่วนของการดำเนินงานคัดเลือกผู้สมควรได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คุรุสภากำหนดจนได้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” รวมถึงรางวัล “ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตศิษย์ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา” ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำหรับพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รางวัลคุรุสดุดี ประจำปี 2567 มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 1,065 คนรวมถึงรางวัลพระพฤหัสบดี ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จำนวน 21 คน รางวัลครูดีในดวงใจ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)จำนวน 37 คน และรางวัลครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน พบพร ผดุงพล / ข่าว ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาติ/ ภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ – 16 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันครู ครั้งที่ 69 ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด “ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา : ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พร้อมกล่าวคำปราศรัย และมอบรางวัลให้แก่ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ พร้อมทั้งมอบเข็มคุรุสภาสดุดี และเกียรติบัตรรางวัลคุรุสภา “ระดับดี” ต่อหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ หอประชุมคุรุสภา ภาพเพิ่มเติม :https://www.facebook.com/share/p/1E5KAvMdve/ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมยินดีต่อผู้ที่ได้รับรางวัลเนื่องในโอกาสงานวันครูฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ผู้ที่ได้รางวัลล้วนเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนรู้และสนับสนุนการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนและการศึกษา ด้วยการอุทิศทั้งกำลังกายและกำลังใจในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศชาติ ผู้ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้จึงถือเป็น “แบบอย่างที่ดี” ซึ่งทั้งผู้เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพ และสังคมสามารถมองเห็นความดีงามจากการกระทำที่เป็นตัวอย่างในความเป็น “ครูดี” ของทุกท่าน รมว.ศธ. มอบสารเนื่องในโอกาสวันครู ประจำปี 2568 ครั้งที่ 69 โดยมีข้อความสำคัญในสารฯ ว่า “วันครู เป็นวันสำคัญเพื่อระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ทำให้นักเรียนและนักศึกษาเติบโตเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ขอขอบคุณครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกท่าน ที่ได้ตั้งใจทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขอให้คุณครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกท่าน ได้ช่วยกันสานต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” โดยใช้แนวทาง “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้างการศึกษาเท่าเทียม ต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว ภายใต้แนวคิด “ปฏิบัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อแข่งขันกับประชาคมโลกได้ต่อไป” รมว.ศธ. กล่าวคำปราศรัยเนื่องในโอกาสวันครูฯ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ การพัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของการศึกษา ตลอดจนคุณภาพของประเทศชาติ หัวใจสำคัญของการศึกษาจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ครูต้องกระตือรือร้น พัฒนาตนเองให้รอบรู้ รู้จริงในเรื่องที่สอน ส่วนผู้เรียนต้องกระตือรือร้นในการเรียนรู้จากครู เมื่อสองอย่างนี้มาเจอกันการพัฒนาอย่างมีคุณภาพจึงจะเกิดขึ้นได้ นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกำลังและความสามารถ รัฐบาลจะส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐาน เมื่อเติบโตก็ได้เรียนหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความสามารถทางกีฬา และพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ศักยภาพของผู้เรียน ลดภาระและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนสองภาษา โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นตัวช่วย เน้นการสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง เพื่อการสร้างรายได้ (Learn to Earn) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการเฟ้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคตและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นสานต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ความพยายามและความตั้งใจของกระทรวงศึกษาธิการจะสำเร็จได้ เพราะได้รับความร่วมมือจากครู ผู้บริหารทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการประสานเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติให้ก้าวหน้า ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เฉกเช่น “ดอกกล้วยไม้” อันเป็นสัญลักษณ์วันครู ต้องใช้เวลาดูแลและเอาใจใส่ แต่เมื่อออกดอกแล้วยังความสวยงามน่าชื่นชมมาสู่ผู้ที่ได้พบเห็น อย่างไรก็ดีผมยังมั่นใจว่าการที่กระทรวงศึกษาธิการจะพัฒนาการศึกษาของประเทศสำเร็จได้ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่างร่วมมือรวมพลังประสานมือกันช่วยเหลือ ทุ่มเท เอาใจใส่อย่างจริงจัง การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ได้รับรางวัลในวันนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่าเรามีครูและผู้บริหารที่ดีมีคุณภาพ เพียบพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ มีจิตวิญญาณความเป็นครู สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ สมดั่งคำขวัญของนางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 “ครูจุดประกายความฝัน ผลักดันให้กล้าคิด สร้างโอกาสในชีวิตให้เด็กไทย”ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของครูในการเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับเยาวชนไทย เป็นผู้ผลักดันให้ศิษย์กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าเดินตามเส้นทางที่เต็มไปด้วยความฝันและความหวัง ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ศิษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และการเตรียมความพร้อมให้ศิษย์ก้าวสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้การมุ่งมั่นในการเสริมสร้างการศึกษาและการเรียนรู้ จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายสำคัญในการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการดูแลนักเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบกรับภาระงานที่เกินความจำเป็น ซึ่งรวมถึงนโยบายการลดหนี้สินครูฯ การลดเอกสารและภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนตรง การจัดการระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับเด็กไทยทุกคน นอกจากนี้ยังได้จัดเตรียมของขวัญที่จะมอบให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องในโอกาสวันครู จากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปิดระบบการย้ายข้าราชการครู (Teacher Rotation System: TRS) ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนในวันนี้เป็นวันแรก ตั้งแต่ 00.01 น. จนถึงขณะนี้มีผู้เข้าระบบแล้วกว่า 5 พันคน ระบบนี้จะเปิดให้ครูที่มีความประสงค์ขอย้ายได้ลงทะเบียนผ่านระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบตำแหน่งที่ว่างและสามารถติดตามคำร้องยื่นขอย้ายได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงาน พร้อมสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ระบบนี้จะเป็นเครื่องมือในการยืนยันความโปร่งใส และจะต่อยอดไปยังการย้ายผู้บริหารในอนาคต นอกจากนี้กระทรวงยังมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีในการลดภาระงานต่าง ๆ มาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลแบบ Single Sign On และขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปยังหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัด...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 2/2568 เผย ศธ. เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA หาแนวทางผลักดันให้มีผู้สมัครใจสอบ O-NET ต่อเนื่อง ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ได้รับรางวัลระดับชาติ-นานาชาติที่เกาหลี พร้อมแสดงความเสียใจต่อครอบครัว ครู ตชด. ที่เสียสละจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่นราธิวาส รวมทั้งยินดีในความสำเร็จสำคัญของ ศธ. ที่สามารถสร้างพื้นที่แห่งความสุขให้กับเยาวชนทั่วประเทศ งานวันเด็กแห่งชาติ 2568 15 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. และนายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.ในมิติของการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ขอให้นำหลักการทรงงานตามแนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”มาเป็นต้นแบบในการดำเนินงานต่าง ๆ ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สิ่งที่ดีก็นำมาถ่ายทอดเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน เสริมจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อน มีการนำข้อสั่งการต่าง ๆ ไปปรับใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมน้อง ๆ นักเรียน รวมถึงคุณครูและบุคลากรทุกท่าน ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ ด้วยการคว้ารางวัลจากการประกวดและจัดนิทรรศการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ แต่ก็มีความพยายามและความตั้งใจจนได้รับรางวัล ซึ่ง ศธ. จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและส่งเสริมโอกาส เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับรางวัลที่ได้รับจากเวทีการประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 2 ธันวาคม 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี SIIF (ระดับนานาชาติ) “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัล 3 รางวัล ประกอบด้วย 1. WIPO National Award for Creativity จาก Korean Invention Promotion Association (KIPA) รางวัลความเป็นเลิศด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) 2. รางวัล GOLD PRIZE จาก SEOUL INTERNATIONAL INVENTION FAIR รางวัลเหรียญทอง จากการ ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ โซล ประจำปี 2567 และ 3. รางวัล NRCT SPECIAL AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลงานวิจัยที่ใช้สื่อสังคม ออนไลน์สร้างสรรค์สังคมได้อย่างยอดเยี่ยม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันความท้าทายทางเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสากล 2024 และการแข่งขันวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีผู้เข้าแข่งขันและครูผู้ฝึกสอน ดังนี้ นางสาวอแมนด้า วงศ์สรณะ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นางสาวกวิตา สุดแสงจันทร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เด็กหญิงชญานันท์ รัศมีโสภณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กหญิงรมณ จุลพรม นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นายวศิน แสงสิน ครู คศ.1 นางสาวนฤมล สุวามิน ครู คศ.3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อน PISA ถือว่ามีการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี มีการวางยุทธศาสตร์ในระยะยาว ต่อจากนี้ก็ขอให้นำปัจจัยความสำเร็จมาขยายต่อ และปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ มาหาวิธีการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ในส่วนของการสมัครสอบ O-NET...
กระทรวงศึกษาธิการโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดกิจกรรมมหกรรมวิทยาศาสตร์นานาชาติInternational Students Science Fair (ISSF 2025)เทิดพระเกียรติ70พรรษาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีดึงความสำเร็จจากโรงเรียนชั้นนำทั่วโลกตั้งเป้าปั้นหลักสูตรแห่งอนาคตขยายผลต่อโรงเรียนไทย 15มกราคม2568 –พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติครั้งที่20 The 20th International Students Science Fair (ISSF 2025)โดยนายสุรศักดิ์พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสุเทพแก่งสันเทียะปลัดกระทรวงศึกษาธิการว่าที่ร้อยตรีธนุวงษ์จินดาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นนฐานดร.วรวรงค์รักเรืองเดชผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงในสังกัดและในกำกับเข้าร่วมณโถงกลางอาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบกล่าวว่าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานISSFครั้งที่1เมื่อปีพ.ศ. 2548 (ISSF 2005)ครั้งที่7เมื่อปีพ.ศ. 2554 (ISSF 2011)และในครั้งนี้ปีพ.ศ. 2568 (ISSF 2025)เป็นการจัดงานครบรอบ20ปีซึ่งพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานในวันจันทร์ที่27มกราคมพ.ศ. 2568ณหอประชุมมหิดลสิทธาคารมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา)ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมจำนวน227คนจาก18ประเทศมีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งสิ้น43โรงเรียนเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับนานาชาติจะช่วยพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมการศึกษาวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติได้ ดร.วรวรงค์รักเรืองเดชกล่าวว่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนที่เป็นองค์การมหาชนแห่งเดียวของรัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาดังนั้นการทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลกในงานISSFจะทำให้เห็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแห่งอนาคตที่เป็นมาตรฐานนานาชาติและนำกลับมาทดลองใช้กับหลักสูตรของโรงเรียนเพื่อขยายผลต่อยอดให้กับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของไทยทั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยและโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นในประเทศต่อไป สำหรับงานมหกรรมทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติครั้งที่20 The 20th International Students Science Fair (ISSF 2025)กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่26 – 31มกราคมพ.ศ. 2568จัดโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นเจ้าภาพเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในปีมหามงคลแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ70พรรษาด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์นับแต่ก่อตั้งโรงเรียนเมื่อปีพ.ศ.2533และต่อวงการการศึกษาวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ภายในงานISSF 2025มีกิจกรรมสำคัญได้แก่นิทรรศการเทิดพระเกียรติปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ70พรรษาปาฐกถาพิเศษโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลการนำเสนอผลงานวิจัยโครงงานวิทยาศาสตร์ในมิติใหม่ร่วมกับการถ่ายทอดแรงบันดาลใจผ่านการแสดงผลงานศิลปะนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในมิติของผู้อำนวยการครูและบุคลากรทางการศึกษาเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นพลโลกที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสำคัญระดับโลกด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อีกด้วย พบพรผดุงพล/ข่าว พีรณัฐยุชยะทัต/ภาพ
14 มกราคม 2568 – นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความห่วงใยของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถึงผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ เรื่องการรับมืออากาศหนาวเย็นจัดในประเทศไทยรอบสัปดาห์นี้ พร้อมเน้นย้ำดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่แผ่คลุมหลายพื้นที่ หากโรงเรียนใดเข้าขั้นวิกฤตต้องการปิดการเรียนการสอนเพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ให้พิจารณาจัดสอนรูปแบบ On –site / On–hand / Online ตามความเหมาะสม โฆษก ศธ. กล่าวว่าจากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาที่พบพว่าช่วงสัปดาห์นี้อากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบปีและรอบหลายปีที่ผ่านมา โรงเรียนทุกพื้นที่ทั่วประเทศควรตั้งรับอากาศหนาวเป็นพิเศษโดยเฉพาะโซนพื้นที่สูงที่มีอุณหภูมิหนาวจัดหรือมีลมหนาวกำลังแรง ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง โรงเรียนควรกำชับให้ผู้เรียนสวมเสื้อกันหนาว ถุงมือ ผ้าพันคอ และหมวก เพื่อช่วยให้ร่างกายรักษาความอบอุ่นได้ดีขึ้น ในช่วงหน้าหนาวของทุกปีหลายพื้นที่ในประเทศไทยมักเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 จนถึงขั้นรุนแรง สาเหตุเกิดจาก“การล้อมเกาะของอากาศ”ทำให้ฝุ่นและมลพิษที่สะสมอยู่ในอากาศไม่สามารถกระจายออกไปได้และอยู่ในพื้นที่จุดนั้นเป็นเวลานานปริมาณฝุ่นในอากาศจึงสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่เปราะบางต่อการเจ็บป่วยและโรคทางเดินหายใจ ทำให้เด็กมีอาการแสบแน่นจมูก แสบตา ตาแดง มีไข้ ตัวร้อน หากทิ้งอาการเหล่านี้ไว้นานเด็กจะนอนกรน หลับไม่ลึก สมองขาดออกซิเจนทำให้ง่วง ความจำไม่ดี ส่งผลต่อการเรียน สมาธิสั้น มีพัฒนาการช้าหรือร้ายแรงสุดคือเสียหายถาวร สิ่งสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำคือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่เด็กต้องเผชิญกับฝุ่นและควันพิษโดยตรง เช่น การเข้าแถวหน้าเสาธงตอนเช้า การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง กิจกรรมวิชาลูกเสือ ครูควรให้เด็กอยู่ภายในอาคารให้มากที่สุด หรือหากมีความจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 และหากค่าฝุ่นสูงจนถึงขั้นวิกฤติให้สถานศึกษาพิจารณา เปิด – ปิดการเรียนการสอนตามที่เห็นสมควร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ฝุ่นในพื้นที่เพราะมีความเข้มข้นของปริมาณค่าฝุ่นไม่เท่ากัน หากพื้นที่ใดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายอาจเรียน On –site ปกติที่โรงเรียน นำส่งเอกสารแบบ On–hand ที่บ้านนักเรียน เรียน Online หรือเรียนแบบผสมผสานหลายรูปแบบแล้วแต่การวางมาตรการของสถานศึกษา เพื่อหลีกเลี่ยงการให้เด็กต้องอยู่กลางแจ้งในสภาพอากาศที่มีมลพิษสูง ขณะเดียวกันขอชื่นชมโรงเรียนบางแห่งที่ได้เตรียมมาตรการ“ห้องเรียนปลอดฝุ่น”ซึ่งมีการวางแผนที่ดีด้านระบบกรองอากาศที่ได้มาตรฐาน มีห้องปิดมิดชิด เสริมความปลอดภัยให้ห้องเรียนด้วยการใช้พัดลมดูดอากาศ ฉีดละอองน้ำจับฝุ่น เปิดช่องระบายให้อากาศถ่ายเทเล็ก ๆ เพื่อให้ฝุ่นเข้าได้น้อยที่สุด รวมถึงมีการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้ผู้เรียนตระหนักถึงปัญหาฝุ่นพิษ พร้อมวางแนวทางการป้องกันและติดตามผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตในช่วงวิกฤตและเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ “กระทรวงศึกษาธิการ เข้าใจถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน จึงได้วางมาตรการปกป้องดูแล และมอบอำนาจให้โรงเรียนทั่วประเทศตัดสินใจได้อย่างอิสระในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน การรับมือกับฝุ่น PM 2.5 และอากาศหนาวในปีนี้ ถือเป็นการทดสอบความยืดหยุ่นและการปรับตัวของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการศึกษา ซึ่งเราได้เตรียมมาตรการที่ช่วยให้โรงเรียนสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสถานการณ์ที่ท้าทายเช่นนี้”โฆษก ศธ. กล่าว พบพร ผดุงพล / ข่าว ธรรมนารีชดช้อย / กราฟิก
“ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด แล้วปฏิบัติให้ตรงเวลา ทันเวลา เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทอันทรงคุณค่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ทรงเน้นย้ำถึง“ความเป็นผู้รู้จักเวลา”ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรากฐานสำคัญของการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เด็กไทยทุกคนสามารถดูแลและรับผิดชอบตนเองได้อย่างเหมาะสม พระราชดำรัสในครั้งนี้มีความลึกซึ้งและเปี่ยมด้วยพระเมตตา โดยพระองค์ทรงมุ่งหวังให้เด็กไทยได้เข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเวลา ซึ่งถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับเด็กไทยทุกคนในฐานะรากฐานของอนาคตประเทศชาติ ทรงตระหนักถึงศักยภาพของเด็กไทย และทรงพระราชทานแนวทางในการสร้างเสริมคุณธรรมที่สำคัญ ด้วยพระเมตตาอันเปี่ยมล้น พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะเห็นเด็กไทยทุกคนได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา เข้าใจคุณค่าและการใช้เวลาที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของชีวิต พร้อมทั้งทรงเน้นย้ำว่าการปลูกฝังวินัยในเรื่องเวลาคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเด็กไทยให้เติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติอย่างมั่นคงและยั่งยืน “วันเด็กแห่งชาติ”ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมกันให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเสริมสร้างโอกาสให้กับเด็กไทย ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อเตรียมพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ “โอกาส”คือการเรียนรู้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับ “เด็กไทย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศ เป็นพลังในการสร้างสรรค์และกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง การสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคน ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีสุขภาวะที่ดีทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา เพิ่มพูนทักษะการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่” นี่คือส่วนหนึ่งของสารวันเด็กจากนายกรัฐมนตรี ที่ส่งต่อข้อความแห่งความปรารถนาดีถึงเด็ก ๆ ทุกคน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเติบโตและพัฒนาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีความสามารถในการสร้างคุณค่าและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สนับสนุนการเรียนรู้ ที่มีความสุข และมีสุขภาพที่ดีทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อให้เด็กไทยทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชน ในการเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ“ทุกโอกาส คือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง”คำขวัญวันเด็ก ปี 2568 ของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กไทย มีพลังเพื่อการเติบโตเพื่อเป็นกำลังสำคัญของชาติ “ความสุขของผู้เรียน คือหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา” ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นย้ำอยู่เสมอในการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” มุ่งหวังให้การศึกษาของเด็กไทยไม่เพียงแต่มีคุณภาพในด้านวิชาการ แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เด็กไทยมีความสุขและเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กไทยทุกคนมีความกระตือรือร้นในการศึกษา และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบและมีความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ พร้อมทั้งยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา ธำรงนักศึกษาสถาบันหลักของชาติ การสร้างบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนานและมีความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเมื่อเด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้สามารถแสดงออก และมีความสนุกสนานในทุกการกระทำ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้มีทักษะด้านอารมณ์และการเข้าสังคมที่ดี ที่จะช่วยให้สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อให้การศึกษามีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของครอบครัว ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาที่หลากหลาย มีการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความสามารถ เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กไทยสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และมีความสุขกับการเรียนรู้อย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กไทยอย่างครบวงจร เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทยในทิศทางที่ดีที่สุด และช่วยให้ทุกคนสามารถเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมต่อไป การพัฒนาเด็กไทยให้มีศักยภาพและเติบโตอย่างมีคุณภาพไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัย“เวลา”ในการเรียนรู้“โอกาส”ที่เท่าเทียม และ“ความสุข”ในการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เด็กไทยก้าวไปสู่อนาคตที่สดใส “วันเด็ก” จึงไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองเท่านั้น แต่ยังเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการศึกษาและทักษะชีวิต เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับโลกที่ท้าทาย จึงได้มีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กไทยได้รับความสุข ความรู้และทักษะที่เหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเติบโตและมีความสุข ในที่สุดแล้ว “วันเด็กแห่งชาติ” เป็นอีกหนึ่งโอกาส ที่เราจะร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของอนาคตของชาติ ซึ่งก็คือการพัฒนาเด็กไทยให้เติบโตเป็นคนที่มี “ความรู้จักเวลา” หรือการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กไทยทุกคนสามารถดูแลและรับผิดชอบตนเองได้อย่างมีคุณภาพ และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายในอนาคตอย่างมั่นคง สร้าง “โอกาส” ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด และเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วย “ความสุข” เพราะเราทุกคนเชื่อว่า ความสุขเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ร่วมกันไขกุญแจแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคน “เรียนดี มีความสุข” เติบโตพร้อมสู่อนาคตที่สดใส เพียงแค่พวกเรา “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” อานนท์ วิชานนท์ / สกู๊ป-กราฟิก
กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ยิ่งใหญ่ โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา เพิ่มพูนทักษะการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่ ตามคำขวัญ “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” เด็ก ๆ จะได้สนุกสนานไปกับบูทกิจกรรมRally 10 สถานี ทศมราชาเกม ของรางวัล ของขวัญมากมายนับแสนชิ้น ไฮไลท์สำคัญรมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เปิดอาคารราชวัลลภ พาน้อง ๆ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย เรียนรู้ประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ตามรอยเสนาบดีแห่งวังจันทรเกษม พร้อมเปิดห้องทำงานให้เด็ก ๆ นั่งเก้าอี้ทำงานเสมา 1 รับชมภาพเพิ่มเติม :https://www.facebook.com/MOE360degree/posts/pfbid02EzA9KpUmhA3fePUj6DBZ9NXY8pi8hR8c7KNDwTMu8Rw1z4fHApF5EetPdagZDtdyl กระทรวงศึกษาธิการ – 11 มกราคม 2568 / นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” โดยมีพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ตลอดผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการจัดงานฯ ข้าราชการ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาจำนวนมากเข้าร่วม ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook : ศธ.360 องศา นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานว่า วันนี้เป็นปีแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานวันเด็ก ณ กระทรวงศึกษาธิการ รู้สึกขอบคุณและประทับใจกับการร่วมงานวันเด็กที่กระทรวงศึกษาธิการ ขอชื่นชมน้อง ๆ ที่มาร่วมแสดงโชว์บนเวที ทั้งการแสดงเกี่ยวกับอาชีพและเต้นประกอบเพลง ซึ่งทุกคนได้แสดงความตั้งใจ ความชอบ ผ่านการฝึกฝน อาศัยความร่วมมือ มีความสามัคคีเป็นหมู่คณะในการผลิตโชว์จนสามารถผลิตโชว์ที่น่าประทับใจ ในที่แห่งนี้ เด็ก ๆ เยาวชน ผู้ปกครอง และครอบครัวได้มาร่วมงานฯ ซึ่งเราเปิดโอกาสให้เด็กสมัยใหม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีผู้ใหญ่อยู่เคียงข้าง คอยบอกเล่า คอยแนะนำประสบการณ์ สิ่งที่ผู้ใหญ่ได้เจอมาเพื่อให้เด็ก ๆ มีความรู้ ได้ข้อมูลที่มากพอ พร้อมที่จะมีความกล้าตัดสินใจ สิ่งที่ได้กล่าวว่า “ทุกโอกาส คือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ซึ่งไม่เพียงแต่เด็ก ๆ ที่จะได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเรียนรู้จากเด็ก ๆ ได้เช่นกัน เพราะในแต่ละวัยย่อมมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพียงแค่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน พร้อมเรียนรู้ พร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน หมายถึง “โอกาสแห่งการเรียนรู้” ที่ทุกคนสามารถสร้างร่วมกัน ซึ่งเป็นที่มาของคำขวัญวันเด็กของปีนี้ “ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต ทุกคนต้องเตรียมตัวให้พร้อม ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง และรู้จักคุณค่าของตัวเอง เพื่อที่จะก้าวสู่อนาคตที่สดใสและเหมาะสม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในวันเด็กปีนี้ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ และขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการที่สร้างสรรค์สิ่งที่น่าสนใจและน่าประทับใจ เพื่อสร้างความสุขและความสนุกให้กับทุกคน ขอให้ทุกคนเรียนรู้ให้เต็มที่ และขอให้ทุกคนมีอนาคตที่สดใส โดยมีโอกาสเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป” รมว.ศธ.กล่าวว่า การจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568 ในนามคณะทำงานการจัดงานฯ ของเด็ก ๆ และประชาชนทุกคนทั่วประเทศ การจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการมอบความสุขให้กับเด็กและเยาวชนทั้งประเทศ และมอบโอกาสให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับกิจกรรมที่สนุกสนานและมีประโยชน์ พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆ เติบโตได้อย่างมีความสุข ในส่วนกลางมีการจัดงาน ณ กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” The classroom for future ห้องเรียนแห่งอนาคต โดยมีหน่วยงานส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่ร่วมมือร่วมใจกันสร้างความสุขให้กับเด็ก ๆ โดยเน้นกิจกรรมที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นกิจกรรม Active Learning ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime และส่งเสริมให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์อันดี มุ่งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน...
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศความร่วมมือกับ Google for Education ครั้งใหญ่ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และสอบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับ Google Workspace for Education ในระบบMassive Open Online Courses (MOOC) เป็นประเทศแรกของโลก พร้อมขยายผลการนำ Chromebook ไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสนุกในการเรียนรู้ ลดภาระงานครู รวมทั้งกำหนดแนวทางการใช้ Generative AI สำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นกรอบในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา ชุมชน ครอบคลุมด้านความปลอดภัยของนักเรียน การเคารพสิทธิส่วนบุคคล การป้องกันการทุจริตทางวิชาการ จริยธรรมในการใช้ Generative AI ให้สถานศึกษานำไปใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุดและปลอดภัย กรุงเทพฯ, 9 มกราคม 2568– พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ) เป็นประธานเปิดงานประกาศความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ Google for Education เพื่อร่วมกันพลิกโฉมอนาคตการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล โดยมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วย รมต.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. นายยศพล เวณุโกเศศเลขาธิการ กอศ. ว่าที่ร้อยตรีธนุวงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. คุณสจวร์ต มิลเลอร์, คุณสกอตต์ หว่อง, หัวหน้าฝ่ายด้านการศึกษา Google Asia Pacific และคุณแจ็คกี้ หวาง Country Director Google ประเทศไทย เข้าร่วม ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ กล่าวว่าวันนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและวางแผนการศึกษาของประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ Google for Education ซึ่งเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ ความร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพียงเป็นการต่อยอดความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาการศึกษาไทยให้สอดรับกับยุคสมัย สอดคล้องกับนโยบาย“Anywhere Anytime”ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยี AI มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ศธ.ได้จัดทำแนวทางการใช้ AI ในการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีจริยธรรม ทั้งนี้ ศธ. และ Google for Education ได้ร่วมกันขยายผลความร่วมมือ 2 โครงการ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือ 4 เสาหลัก ระหว่าง Google และรัฐบาลไทย เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ โดยได้เปิดตัวหลักสูตรและประกาศนียบัตรสำหรับนักเรียนครั้งแรกในโลก โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และสอบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับ Google Workspace for Education และ ChromeOS ผ่านระบบ Massive Open Online Courses (MOOC) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลของ Google ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้รับประกาศนียบัตรหลังเรียนจบหลักสูตร อีกโครงการสำคัญที่ร่วมมือกันขยายผลคือ การใช้ Chromebook ในกลุ่มโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มุ่งเน้นการนำ Chromebook ไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความสนุกสนานในการเรียนรู้ และลดภาระงานของครูผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนในกลุ่มดังกล่าวอีก 20 แห่งทั่วประเทศ เป็นการต่อยอดโครงการวิจัยที่ Google for Education ได้ทำร่วมกับ ศธ. ณ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควบคู่กับการใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมความคิดเชิงวิพากษ์การแก้ปัญหา การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน ตลอดจนพัฒนาความรู้ด้านไอซีทีของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ กล่าวเพิ่มเติมว่าได้ขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า Guideline AI ซึ่งเป็นคู่มือที่ใช้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเบื้องต้นได้มีการประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคาดว่าภายในปีการศึกษา 2568 จะประกาศใช้นโยบาย Guideline AI ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะหารือร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการการใช้งานขึ้น รวมถึงการศึกษาตัวอย่างการใช้ Guideline AI ของประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อมาเป็นแนวทางในการปรับบริบทการใช้งานให้เข้ากับแผนการศึกษาของประเทศไทย สุดท้ายนี้ ศธ.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกับในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จและยั่งยืน ช่วยขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปข้างหน้าด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขอขอบคุณ Google for Education ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสอนาคตของเยาวชนและประเทศชาติ เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก้าวสู่โลกอนาคตได้อย่างมั่นใจ แจ็คกี้ หวาง, Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งกับงานในวันนี้ ซึ่งเป็นอีกก้าวสำคัญของความร่วมมือระหว่าง...