13 มีนาคม 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 11/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า การสอบ PISA ในปี 2025 คาดว่านักเรียนไทยจะมีผลการจัดอันดับที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน อาจต้องมีการทบทวนเรื่องการประเมินผลของโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเห็นได้ว่าการเข้าทดสอบ PISA พบว่าปัจจัยส่วนหนึ่งคือเด็กขาดทักษะในการทำข้อสอบ และบางโรงเรียนยังมีข้อจำกัดเรื่องระบบ จึงทำการสำรวจความพร้อมของระบบว่าควรปรับขยายหรือย้ายฐานเก็บข้อมูลข้อสอบหรือไม่ เพื่อให้สามารถรองรับนักเรียนที่จะเข้ามาทำแบบทดสอบในระบบได้ทั่วประเทศ และจะลงพื้นที่ดูปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียนที่มีผลสอบสูง นำวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการมาแบ่งปันวิธีคิด Reskill เป็นต้นแบบให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกันเป็นมาตรฐานการศึกษาไทย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) ที่มอบหมายให้ สพฐ.ดำเนินการสืบค้นข้อมูลถึงผลสอบ O-net ในใบระเบียนที่หายไป เนื่องจากผลคะแนนสอบดังกล่าวเป็นการสอบตามความสมัครใจ ไม่ได้บังคับให้ผู้เรียนไปสอบ ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าจะระบุไว้ในใบระเบียนการศึกษาหรือไม่ โดยในเชิงลึกโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด สพฐ.จะมีมาตรฐานในการศึกษาที่ดี เป็นการสร้างความเสมอภาคให้เท่าเทียมกันมากที่สุด ศธ.เตรียมเสนอยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘พิธีไหว้ครู’ เป็นมรดกโลก รมว.ศธ.กล่าวว่า พิธีไหว้ครูที่จะมีการเตรียมเสนอ UNESCO เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จะวางแผนขับเคลื่อนใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อตอบกระแสสังคมให้ทั่วโลกยอมรับ การสักการะตอบแทนคุณครูเพื่อให้รู้สึกถึงพระคุณและความตั้งใจในการเรียน “การเป็นครู นักเรียน เป็นกันแล้วต้องเป็นชั่วชีวิตไม่มีวันเลิก” ศธ.ของบกลางจ้างนักการภารโรง งบประมาณปี 2567 รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอของบประมาณปี 2567 สำหรับการจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด เป็นเงินกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 มีมติไม่อนุมัติงบประมาณในการจ้างดังกล่าว แต่ก็ได้จัดทำคำของบประมาณปี 2568 ด้วย โดยจะเสนอของบประมาณกลางให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป เมื่อมีงบประมาณในการจ้างบุคลากรมาสนับสนุนครู การสอนก็จะเต็มประสิทธิภาพครูก็จะมีความสุข และพร้อมจะแบ่งปันความสุขให้ผู้เรียน การสั่งซื้อหนังสือเรียนประจำปี 2567 รมว.ศธ.กล่าวว่า สพฐ.ได้มอบหมายผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียน ดูภาพรวมในเรื่องการจัดระบบการสั่งซื้อหนังสือเรียน ซึ่งมีกระบวนการเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว โดยแต่ละโรงเรียนจะมีคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่ายประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษา และนักเรียน เพราะฉะนั้นการซื้อหนังสือจากที่ใดที่ต้องผ่านกรรมการชุดนี้ก่อน และ สพฐ.ได้ทำหนังสือเน้นย้ำเรื่องการพิจารณาซื้อหนังสืออิงมาตรการกลาง โดยให้อิสระกับสถานศึกษาในการตัดสินใจ แต่จะต้องเป็นหนังสือที่มีคุณภาพดี ทันสมัย ในราคาที่เหมาะสม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะนโยบายที่เน้นย้ำคือ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” และทุกส่วนต้องนำไปถือปฏิบัติโดยทั่วกัน เรื่องความรุนแรงในสถานศึกษากรณีทำโทษนักเรียน เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า รมว.ศธ.มอบนโยบายในเรื่อง “เรียนดี มีความสุข” จึงต้องป้องกันความรุนแรงให้นักเรียนได้รับความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยได้มีมาตรการเน้นย้ำกับโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันมาโดยตลอด ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่เหมาะสมต้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือและสืบข้อเท็จจริง พร้อมหาวิธีป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มการใช้ความรุนแรงกับผู้เรียนลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเน้นย้ำทุกหน่วยงานให้ขับเคลื่อนการทำงานที่ดีมีคุณภาพมากขึ้น ชื่นชมนักเรียนช่วยเหลือรถเกิดอุบัติเหตุ และช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจมน้ำ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมนักเรียนหัวใจจิตอาสา ที่นำทักษะและประสบการณ์จากวิชาลูกเสือ ช่วยเหลือผู้อื่นในเหตุฉุกเฉิน มีภาวะผู้นำในการตัดสินใจทำ CPR ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต และแจ้งหน่วยกู้ชีพได้ทันท่วงที อยากฝากคุณครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการต่อยอดในเรื่องดังกล่าวให้ขยายวงกว้างต่อไป ทั้งนี้ รมว.ศธ. ได้ชื่นชม กรณี นายณัฐพงษ์ สำราญใจ จากโรงเรียนขัวเรียงศึกษา และ นายกฤษฎี ขันทีท้าว จากโรงเรียนชุมแพศึกษา จ.ขอนแก่น ได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถเสียหลักตกหลุมขนาดใหญ่ พร้อมแจ้งกู้ภัยในพื้นที่ได้ทันท่วงที รวมถึงกรณี นายพลายเงิน ดีอ่อน นายรชตะ สุขแจ่ม นางสาวกัลย์สุดา สามสุวรรณ และคุณครูฐิติมา วารี ครูกลุ่มสาระการงานอาชีพฯ (ครูอนามัย)จากโรงเรียนสิชลประชาสรรค์ จ.นครศรีธรรมราช ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจมน้ำที่เกาะกระดาน จ.ตรัง ในการนี้ นายพลายเงิน ดีอ่อน เป็นนักเรีนนฮีโร่ในเหตุการณ์ช่วยคนให้รอดจากเหตุไฟไหม้รถยนต์เสียหายทั้งคัน พื้นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา พบพร ผดุงพล / ข่าว สมประสงค์ ชาหารเวียง / วิดีโอ นัทสร ทองกำเหนิด /...
ภารกิจผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ
ภารกิจผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและประชาชน เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เนื่องในวาระอันเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่งนี้ รัฐบาลจึงได้จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการส่งเสริมบุคลากรของรัฐ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน และประชาชน ได้มีโอกาสร่วมแสดงความจงรักภักดีและถวายพระราชกุศล และได้เรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาและสามารถนำมาปรับใช้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อันจะนำไปสู่การอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างสันติสุข ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ ความเข้าใจในการศึกษาธรรมวินัย เรียนรู้หลักธรรมและปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา สามารถนำมาปรับใช้และปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ สังคม และประเทศชาติสืบไป กำหนดระยะเวลาดำเนินการบรรพชาอุปสมบท ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2567 (รวมจำนวน 21 วัน) ผู้สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค – ส่วนกลาง ณ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี – ส่วนภูมิภาค ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และจะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 สอบถามเพิ่มเติม สำนักอำนวยการ สป.ศธ. 0 2281 1753 อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ปารัชญ์ ไชยเวช / กราฟิก
จังหวัดศรีสะเกษ – 8 มีนาคม 2567 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพแรงงานนอกระบบเพื่อลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน พร้อมมอบนโยบายและสอบถามปัญหาที่เกิดจากการพลัดถิ่นและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของนักเรียน ผู้ปกครอง พร้อมด้วยนายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง เข้าร่วมฯ โดยมีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในการพบปะครูและนักเรียน ณ โรงเรียนบ้านตูม นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมอาชีพแรงงานนอกระบบ เพื่อลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ในวันนี้ศธ. โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.ได้มอบนโยบายการศึกษา ที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาสความเท่าเทียม ความเสมอภาค คุณภาพและสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นตามบริบทของประเทศและสังคมโลก โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน ภายใต้แนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ.นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ 1. พัฒนาวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง โอน ย้ายของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในภูมิลำเนา ที่ตรงกับความประสงค์ของตนเอง เน้นพิจารณาด้วยความโปร่งใสและไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน3.แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและ4.จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม “ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ได้แก่ 1. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 2. จัดให้มีโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ 3. พัฒนาระบบการแนะแนวการศึกษา (Coaching) และเป้าหมายชีวิตให้เป็นรูปธรรม 4. จัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ 5. จัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย 6. ผู้เรียน เรียนรู้และมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) ในส่วนของรัฐบาล ได้มีนโยบายด้านการศึกษาที่จะปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนตามความถนัด ให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ความสำคัญต่อความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศรวมถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน ขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน ผู้บริหาร คณะครู เจ้าหน้าที่และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มาร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานฯ ในวันนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับท่านผู้บริหาร คณะครูตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกคนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผมยินดีที่จะสนับสนุนการทำงานของท่านในทุกโอกาส จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” รมช.สุรศักดิ์กล่าว
จังหวัดศรีสะเกษ – 8 มีนาคม 2567 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมรับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จากคณะครู และให้คำแนะนำนักเรียนในการเตรียมตัวเข้าตลาดแรงงาน พร้อมด้วยนายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยมีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในการพบปะครูและนักเรียน ณ วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ นายสุรศักดิ์กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงาน “ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูงตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ” ในวันนี้ การศึกษาด้านอาชีวศึกษา มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เพราะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลและสร้างคนคุณภาพ อันนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ รัฐบาลได้มีนโยบายในการสนับสนุนสถาบันอาชีวศึกษา ในการผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการด้านแรงงานของประเทศ ผ่านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์ของการเรียนในสถานที่จริง เพื่อยกระดับความสามารถของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษา ให้มีความรู้ ทักษะความสามารถ นำไปใช้ในการทำงานได้ทันที “ศธ.โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. ได้มอบนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ภายใต้แนวคิดการศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต เรียนจบมาแล้วมีงานทำ ทั้งนี้นโยบายที่มุ่งเน้นในการทำงาน คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งจะขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยแนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” สอศ. ได้วางกรอบและนโยบาย คือ ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน ตามแนวทางการพัฒนาเพิ่มความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูง สร้างความเข้มแข็งด้านภาคีเครือข่ายความร่วมมือคุณภาพสูง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศระดมทรัพยากร และยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษา สร้าง Soft Power ของอาชีวศึกษา” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว นายสุรศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสในการเข้าถึงอาชีวศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการสนับสนุนให้วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์เปิดศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นแรงงานที่มีทักษะ มีฝีมือ และมีมาตรฐาน โดยวิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ ได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 3 สาขา ได้แก่ 1.สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ 1 2. สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 และ 3.สาขาอาชีพพนักงาน แผนกบริการอาหาร และเครื่องดื่ม ในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ 1 ขอขอบคุณท่านพิพัฒน์ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน สอศ.วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ และผู้มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการผลักดันนโยบายการศึกษาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และขออวยพรให้การขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของศธ.และของรัฐบาลประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
7 มีนาคม 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีข้อห่วงใยถึงนักเรียนทุกคนในช่วงก่อนปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2566 โดยกล่าวว่าสัปดาห์นี้เป็นการสอบปลายภาคของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมใหญ่ ที่นักเรียนจะได้พักผ่อนและทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนสนใจนอกโรงเรียน แต่ก็ยังมีกลุ่มนักเรียนที่ต้องเตรียมตัวสอบ A-Level เพื่อเตรียมพร้อมยื่นเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งการสอบ A-Level มีความสำคัญมาก เพราะสอบ 1 ครั้งสามารถใช้คะแนนยื่นเข้ามหาลัยได้ 3 รอบ ได้แก่ รอบโควตา รอบ Admission และรอบรับตรงเก็บตกรอบสุดท้าย ที่สำคัญยังเป็นคะแนนสำหรับยื่นเข้าเรียนในสายแพทย์ด้วย กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดกิจกรรมเสริมความรู้นักเรียนระดับชั้น ม.6 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ (Applied Knowledge Level: A – LEVEL) มอบเป็นของขวัญความรู้ เทคนิคพิชิตข้อยากให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยติวเตอร์ระดับประเทศ ในวันที่ 11 – 14 มีนาคม 2567 ผ่าน OBEC Channel ทุกช่องทาง “กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในของขวัญที่ ศธ.มอบให้เยาวชนไทย น้อง ๆ ทุกคนสามารถเข้าเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้น้อง ๆ คลายความกังวลก่อนสอบ ลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง และเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) รวมทั้งให้มีความมั่นใจในการทำข้อสอบมากขึ้น และขอให้ความมุ่งมั่นตั้งใจของน้อง ๆ นำพาให้ก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จ สามารถเข้าเรียนต่อในเส้นทางที่ใฝ่ฝันได้ทุกคน” รมว.ศธ.กล่าว ในส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จะมีการสอบปลายภาคและปิดเทอมช่วงปลายเดือนมีนาคม ก็อยากฝากครูผู้สอนช่วยกันดูแลเด็ก ๆ ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีการศึกษานี้ ทั้งเรื่องของการเก็บคะแนน การเตรียมตัวสอบ รวมถึงเรื่องสุขอนามัยในโรงเรียน สุขภาพความแข็งแรงของนักเรียน โดยไม่อยากให้เด็ก ๆ ไม่สบายหรือเจ็บป่วยในช่วงสอบ เพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสได้ สำหรับช่วงปิดภาคเรียนใหญ่ที่จะถึงนี้ เด็ก ๆ จะได้ใช้เวลาอยู่ที่บ้าน หรืออยู่นอกโรงเรียนมากขึ้น ก็ขอฝากพ่อแม่ผู้ปกครองหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ช่วงปิดเทอมให้ลูกทำ เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่อยากเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมในช่วงปิดเทอมก็จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะทางร่างกายและความคิด แต่ก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของเด็กด้วย เช่น อุบัติเหตุจากการตกน้ำ หรือจมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กไทย ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าคลาดสายตา อย่าให้เด็กเล่นใกล้แหล่งน้ำ รวมถึงอุบัติเหตุจากยานพาหนะ สิ่งของล้มทับ สัตว์มีพิษกัดต่อย ไฟดูด ไฟช๊อต เป็นต้น ปารัชญ์ ไชยเวช / สรุป
6 มีนาคม 2567/พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวในที่ประชุมว่า การทำงานทุกด้านขอให้เห็นเป็นมิติภาพรวม ว่าแต่ละหน่วยงานทำอะไรไปแล้วบ้าง เช่น หน่วยงานในพื้นที่รายงานมาที่เขต เขตรายงานมาที่องค์กรหลัก เป็นต้น พร้อมทั้งให้มีการแถลงความก้าวหน้าเป็นระยะ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบความคืบหน้าภารกิจของกระทรวงอยู่ตลอด ส่วนเรื่องใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในการประชุมครั้งนี้ คือการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจไทยต้องเป็นหนึ่ง”ของรัฐบาล โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพ และโอกาสทางการศึกษาที่จะต้องได้รับการพัฒนา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การพัฒนา Content การทำ Play-base learning พร้อมทั้งผลักดันเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศได้ ซึ่งในส่วนของการทำงานด้านการศึกษาของ “IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจไทยต้องเป็นหนึ่ง” ก็จะให้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเพิ่มไปได้เลย เพื่อลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทั้งนี้ขอฝากผู้บริหารทุกท่านว่า“เมื่อคิดเรื่องอะไรแล้วต้องรีบทำ ทำให้เป็นเรื่องหลัก ทำให้เห็นผลชัดเจน รวดเร็ว ถูกต้อง และสุจริต” โดยที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าภารกิจต่าง ๆ ดังนี้ 1. คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ ศธ. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารับรองร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยการรับรองจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 มีนาคม 2567 และกำหนดวัน เวลา ลงนามบันทึกข้อตกลงต่อไป ขณะที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) มีหนังสือแจ้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้จำแนกหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในหนี้วิกฤต (แดง) หนี้ใกล้วิกฤต (เหลือง) และหนี้ปกติ (เขียว) เป็นรายจังหวัดและสรุปข้อมูลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานในสังกัด มายัง สป.ศธ. ภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นรายจังหวัดเพื่อขอข้อมูลสถิติหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในหนี้วิกฤต (แดง) เพื่อสรุปผลในภาพรวมและนำไปวิเคราะห์นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อไป 2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษา “เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา” (Anywhere Anytime แพลตฟอร์ม และพัฒนาระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต เรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลContent สู่ Platformในระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2567) จะดำเนินการด้านระบบบริหารจัดการผู้ใช้งาน ระบบสนับสนุนผู้เรียน ระบบสนับสนุนครูผู้สอน ระบบบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ และระบบบริหารจัดการเนื้อหาองค์ความรู้แห่งชาติ เรื่องการพัฒนาระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตมีการวางแผนโครงการและกิจกรรมในปีงบประมาณ 2567 ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรและพัฒนาครูแนะแนวแกนนำและการ Coaching (ครู ศน. และนักจิตวิทยา), การประกวดคลิบวีดีโอ Tik Tok ด้านสุขภาพจิต ด้านการทำความดี และด้าน Coaching อาชีพ, บอร์ดเกมอาชีพ, การจัดค่ายแนะแนวสุขภาพจิตและทักษะชีวิต, การพัฒนาแพลตฟอร์ม Coaching, การวัดแววความถนัดพหุปัญญาของนักเรียน การจัดมหกรรมแนะแนวการเรียนและอาชีพ, ค่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ใฝ่เรียนดี มีความสุข และการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรม พสน.ศธ. เรื่องการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพของกระทรวงศึกษาธิการผ่านการสื่อสารสุขภาพจิตโรงเรียนเชิงบวก “HELLO GOOD DAY” รูปแบบการนำเสนอเป็นรูปภาพและข้อความให้กำลังใจเชิงบวก ในช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์กลุ่ม LINE ผู้บริหาร,ครูแนะแนว, Fackbook Fanpage ศธ.360 องศา, Fackbook Fanpage แนะแนว สพฐ. โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ สร้างความตระหนักและการรับรู้ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพจิตครู นักเรียนและคนรอบข้างร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เกิดมุมมอง แนวคิดในการประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพจิตในสถานศึกษา ส่วนผู้ที่ได้รับ HELLO GOOD DAY ก็รู้สึกดีและได้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตด้วย 3. คณะอนุกรรมการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) และส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานภายใต้ชื่อ การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน Education for All ขณะนี้กำลังจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงหลักสูตรแต่ละระดับตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ในส่วนของอาชีวศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการทวิศึกษาแนวใหม่ มีนักเรียนจำนวน 4,560 คน เข้าร่วมโครงการฯ และโครงการส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนปี 2567 โดยได้ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ไปยัง สพม.กทม.เขต 1 เขต 2 โรงเรียนสังกัด สพฐ.ในเขตพื้นที่ กทม.และหน่วยงานต่าง ๆ ใน...
6 มีนาคม 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ เตรียมความพร้อมการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารมว.ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการประชุมซักซ้อมการดำเนินการให้สามารถปรับเงินเดือนตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งรายละเอียดแต่ละหน่วยงานต้องมีข้อสรุปเรื่องของบุคลากรและจำนวนงบประมาณ เพื่อประสานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และแจ้งสำนักงานงบประมาณในการขับเคลื่อนการปรับเงินเดือนขึ้น ทั้งผู้บรรจุใหม่ที่จะได้รับในอัตรา 16,500 บาท ในปี 2567 และได้รับไม่น้อยกว่า 18,000 บาท ในปี 2568 ในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ พร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยเน้นย้ำการดำเนินการให้ทันภายใน 1 พฤษภาคม 2567 ตามกรอบเวลาที่กำหนด ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาย้อนหลัง ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISAการติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA มีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งในยุคนี้จะเน้นการทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ไม่ทำงานเชิงรับแบบเดิม ดูภาพรวมในมิติการทำงาน การวางโครงสร้าง การใช้งบประมาณในการดำเนินการ และฝากแนวทางให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้เห็นชัดถึงความเปลี่ยนแปลงของลำดับในอนาคต จัดทำแผนให้เป็นมิติในการพัฒนาการสอบ PISA ในประเทศ ให้เด็กไทยมีความสามารถทางวิชาการ มีทักษะและสมรรถนะเทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งจะมีการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ในวันที่ 13 มีนาคม 25567 ขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา” (Anywhere Anytime)สพฐ.ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “กล่องความรู้สู่ความสุข A-LEVEL” เสริมเทคนิคพิชิตข้อยากกับติวเตอร์ระดับประเทศ สร้างโอกาสการเรียนรู้ที่หลากหลาย เสริมความมั่นใจในการเลือกเป้าหมายอนาคตของนักเรียน ให้พร้อมสำหรับการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ หรือ A-LEVEL (Applied Knowledge Level) ระหวางวันที่ 11 – 14 มีนาคม 2567 ผ่าน OBEC Channel ทุกช่องทาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดงาน 132 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการวันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี และตรงกับวันข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะกำชับการดำเนินการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ปัจจุบัน ในพิธีมอบรางวัลเข็ม “เสมาคุณูปการ” และพิธีมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” รวมถึงเรื่องของจิตอาสาบริจาคโลหิต ซึ่งในปีนี้ไม่ได้จัดแค่ส่วนกลาง แต่ทุกหน่วยงานในสังกัดจะร่วมกันขับเคลื่อนทั่วประเทศ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา รมว.ศธ.กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคล 72 พรรษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบศธ.จะดำเนินการจัดทำ 72 โครงการ 72 พรรษา ซึ่งปีนี้จะต้องเป็นปีที่ยิ่งใหญ่ โดยจะกำชับเรื่องการปรับภูมิทัศน์สถานที่รอบบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงาน สถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งติดธงสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์ เน้นความสะอาดเรียบร้อยในการดำเนินการ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี การขับเคลื่อน IGNITE THAILAND ขับเคลื่อนไทยสู่ความเป็นศูนย์กลางรมว.ศธ.กล่าวว่า IGNITE THAILAND เป็นวิสัยทัศน์ที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมดำเนินการในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “MOE IGNITE THAILAND” จุดพลังการศึกษาไทย ร่วมใจขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ คนไทยต้องเป็นหนึ่ง “เรียนดี มีความสุข” เตรียมดำเนินการใน 8 ด้าน คือ 1.ความเท่าเทียมกัน 2.สร้างโอกาสทางการศึกษา 3.วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง 4.ความปลอดภัย 5.เอกชนมีส่วนร่วม 6.Play-based Learning 7.อ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศ 8.การประกอบอาชีพ ซึ่งจะเน้นตามนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อนในมิติของความเท่าเทียมด้านการศึกษา โดยมีภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนการศึกษา รวมถึงร่วมกันผลักดันเรื่อง SOFT POWER ซึ่งหลังจากหารือและตกผลึกแล้ว จะมีการดำเนินการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนในการทำงานร่วมกันให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนาอาชีพ การเตรียมความพร้อมในการรับสมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม.4ขณะนี้ทุกโรงเรียนมีปฏิทินที่ สพฐ. แจ้งไปล่วงหน้าแล้ว และได้รับรายงานรายงานว่าทุกโรงเรียนเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญได้กำชับและเน้นย้ำเรื่องมาตรการ “ไม่รับฝากเด็ก” หรือรับแป๊ะเจี๊ยะใต้โต๊ะ ซึ่งได้ประชุมทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมแจ้งแนวทางนโยบายให้รับทราบร่วมกัน และขณะนี้พบว่าโรงเรียนในสังกัดให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี การดำเนินการกรณี สพป.ขอนแก่น เขต 2 ทุจริตสอบครูผู้ช่วยขณะนี้ สพฐ.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการทางวินัยอย่างเต็มที่ ส่วนทาง ก.ค.ศ. ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาแล้ว มีมติให้ออกตั้งแต่วันที่พักการปฎิบัติหน้าที่ทันที และส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินคดีทางอาญาตามอำนาจหน้าที่แล้วเช่นกัน...
5 มีนาคม 2567 / นางเกศทิพย์ ศุภวานิช โฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โฆษก สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ กรณีครูผู้สอนรายหนึ่งออกมาสะท้อนความรู้สึกส่วนตัวในมุมของครูผู้สอน ว่ามีเด็กนักเรียนที่ไม่ไฝ่รู้ ไฝ่เรียน ไม่รับผิดชอบ ไม่ตั้งใจทำงานส่งครู โดยอ้างว่าอย่างไรก็ผ่านอยู่แล้ว ซึ่งครูรายนี้ได้ออกมาสนับสนุนให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้น นั้น นางเกศทิพย์กล่าวว่า ในประเด็นดังกล่าว ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ได้รับทราบและมอบหมายให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พบว่า ครูรายดังกล่าวได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวจริง ซึ่งทาง สพฐ. มองว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวที่สามารถกระทำได้ แต่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ถูกต้อง ซึ่งจากกรณีตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น พฤติกรรมการตอบใบงานของเด็ก อาจวิเคราะห์ได้หลายมุมมอง เช่น ความรับผิดชอบของนักเรียน หรือไม่ชอบวิชานี้ วิชาอื่นเป็นมั้ย หรือขาดวินัย หรือนักเรียนกำลังมีปัญหา ทั้งปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัวที่ต้องโฟกัสเรื่องอื่น แต่อยากส่งงานให้เสร็จแบบรีบร้อน หรือติดเกม หรือปัญหาที่โรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อผู้เรียนโดยตรง ทำให้ขาดแรงจูงใจ/ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้คำแนะนำกับครูผู้สอน ทำ PLC ร่วมหาทางแก้พฤติกรรมดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย หรือคุยกับครูท่านอื่นว่ามีปัญหาเดียวกันหรือไม่ ไม่ควรปล่อยให้ครูแก้พฤติกรรมนักเรียนเพียงคนเดียว และควรวางแผนออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการตัดสินผลการเรียนตามบริบทแต่ละพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเพียงอย่างเดียวอาจใช้การสอบปากเปล่า ผ่านโปรแกรมซูม ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือช่องทางอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งมีหลากหลายวิธี ส่วนข้อที่ว่านักเรียนไม่รับผิดชอบงาน ไม่ต้องตั้งใจทำงานส่งครู อย่างไรก็ผ่านอยู่แล้วนั้น ข้อเท็จจริงคือ การที่นักเรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียน ต้องมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ 1) เวลาเรียน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน เป็นการมุ่งหวังให้ผู้สอนมีเวลาในการพัฒนานักเรียน และเติมเต็มศักยภาพของนักเรียน และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 2) คะแนนการประเมินระหว่างเรียนและคะแนนปลายปี/ปลายภาค ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น เป็นการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ทักษะการคิด ที่กำหนดอยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดต่อไป ซึ่งการกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาคให้ความสำคัญของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายปี/ปลายภาคเช่น 60 : 40, 70 : 30, 80 : 20 เป็นต้น ในส่วนของการให้การบ้านนั้น ควรยึดหลักการลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้ โดยลดปริมาณการบ้านที่ต้องทำนอกเวลาเรียนหรือที่บ้าน ให้เน้นการมอบหมายการบ้านเฉพาะรายวิชาที่จำเป็น หรือทักษะสำคัญ เช่น การอ่านออก เขียนได้ คิดวิเคราะห์ได้ นำเรื่องราวต่างๆที่เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งคิดเลขเป็น หรือ PLC บูรณาการการบ้าน ซึ่งการบ้านชิ้นงานเดียวอาจตอบโจทย์การเรียนรู้ข้ามรายวิชา และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเองมากขึ้น ขณะที่การเก็บคะแนนระหว่างเรียน ครูผู้สอนสามารถนำคะแนนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนแบบ Onsite หรือผสมผสานกับการเรียนทางไกลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตอบคำถาม การพูดคุย การนำเสนองานด้วยวิธีการสื่อสารหลากหลาย ผ่านโปรแกรมซูม ไลน์ เฟชบุ๊ก หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ เพื่อให้นักเรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด ส่วนกรณีที่นักเรียนมีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ต้องมีการจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนอย่างทันท่วงที “ทั้งนี้ สำหรับประเด็นที่ครูต้องการให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้นนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นอำนาจของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาอาจพิจารณาให้นักเรียนซ้ำชั้นได้ หากพบปัญหาที่เกิดกับนักเรียนในกรณีไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือไม่บรรลุผลการเรียนรู้ใด ๆ และครู รวมทั้งผู้บริหารร่วมกันหาแนวทางที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะงานที่ให้เด็กทำอาจไม่ตอบโจทย์ความถนัดของเด็ก แต่วิธีอื่น อาจได้เด็กที่มีคุณภาพที่ตัวตน ซึ่งต่างวิธีกัน แต่คุณภาพติดที่ตัวเด็กเหมือนกันถือเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นผู้นำทางวิชาการ ที่ควรร่วมสร้างเด็กคุณภาพด้วยวิธีการที่หลากหลายร่วมกับคณะครู ส่วนการซ้ำชั้น สามารถดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ และให้สถานศึกษาแจ้งผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบเหตุผลของการเรียนซ้ำชั้น โดยให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของนักเรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งพูดคุยกับผู้ปกครองในการหาทางออกร่วมกัน ที่สำคัญคือ ต้องให้รู้จริงๆ ว่าเด็กไม่สามารถข้ามชั้นได้จริง และครูได้เปลี่ยนวิธีการประเมินผลอย่างหลากหลายแล้วจริง โดยมีทีม PLC แล้ว ทั้งนี้ สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสถานศึกษาทุกแห่ง เร่งทำความเข้าใจ ให้ได้รับรู้รับทราบข้อเท็จจริง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของการวัดและประเมินผลการศึกษา และดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งผู้เรียนและผู้สอน เป็นไปตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”โฆษก สพฐ. กล่าว
4 มีนาคม 2567 / ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่รองเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) โดยมีนางสาววันเพ็ญ บุรีสูงเนินศึกษาธิการภาค 8 รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายทวีศักดิ์ เที่ยงธรรม ที่ปรึกษาสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าค่ายและหัวหน้างานสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และผ่านระบบออนไลน์ zoom วาระการประชุมที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. แสดงความยินดีกับ นางสาววันเพ็ญ บุรีสูงเนิน เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 2. มอบแนวทางการขับเคลื่อนงานตามแผนพัฒนาลูกเสือไทย พ.ศ. 2567- 2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 3. การเตรียมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยเตรียมจัดโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชเนกขัมมะศีลจาริณี ลูกเสือ เนตรนารี และกิจกรรมลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ทำดี ทำได้ ทำทันที 4. การเตรียมการจัดโครงการงานชุมนุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ครั้งที่ 6 (b th INDABA, THAILAND 2024) 5. การเตรียมการจัดโครงการงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 22 6. การเตรียมการจัดโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 7. รายงานผลการดำเนินงานของคณะทำงาน 3 คณะ ได้แก่ คณะพัฒนาเครื่องแบบลูกเสือ คณะพัฒนาหลักสูตรลูกเสือ/คณะทำงานโปรแกรมการฝึกอบรมลูกเสือ และคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ ให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน 8. การดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกเสือไทย และจัดตั้งสถาบันวิชาการลูกเสือ (สถาบันวชิราวุธ) 9. การจัดทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในค่ายลูกเสือ 4 ค่าย ในสังกัดสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 10. การดำเนินการพัฒนาค่ายลูกเสือวชิราวุธให้เป็น “Scout City : เมืองแห่งลูกเสือ” และปรับปรุงมาตรฐานค่ายลูกเสือ 11. การจัดทำแผนการพัฒนาที่ดินและทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 12. การเตรียมการประชุมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาลูกเสือไทย 13. การดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ 14. การแก้ไขระเบียบคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ 15. แนวทางการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ การแต่งตั้งตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือประจำภาค 16. การดำเนินการจัดหาระบบวิทยุสื่อสาร เพื่อใช้สื่อสารในการปฏิบัติงาน 17. การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารจัดการได้แก่ ระบบการขอคุณวุฒิทางการลูกเสือ ระบบการขอเรียนการยกย่องเชิดชูเกียรติ แบบฟอร์ม สล. และ สลช. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการจองค่ายลูกเสือ ระบบการจองห้องประชุม ระบบปักหมุดค่ายลูกเสือ และระบบบุคลากรลูกเสือ เป็นต้น 18. การมอบหมายปฏิบัติงานของบุคลากร แบบเมทริกซ์ (Matrix)
29 กุมภาพันธ์ 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยว่า วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาฯ จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 ประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 132 รูป พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงศึกษาธิการ ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ พิธีมอบรางวัลเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2567 จำนวน 132 ราย และพิธีมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” และประกาศเกียรติบัตรให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2566 ณ หอประชุมคุรุสภา นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบ การจัดทำหนังสือที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี ในแก่นเรื่อง (Theme) “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งจะเผยแพร่ในวันที่ 1 เมษายน 2567 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทความพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา เช่น “โรงเรียนกับโรงสอน” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ “Future Literacy เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและยั่งยืนสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล” โดย ศ.จินตวีร์ คล้ายสังข์ “คุณภาพการจัดการศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสุขของผู้เรียน” โดย รศ.อรพรรณ บุตรกตัญญู ผลการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” จากทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และการเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2567 โดยหนังสือที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี จะจัดทำในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เพื่อให้ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจสามารถอ่านหนังสือระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี ได้ทุกที่ทุกเวลา เจษฎา วณิชชากร / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
2 มีนาคม 2567 / สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ครบรอบ 79 ปี โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี มี ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้การต้อนรับ มีผู้ร่วมงาน จำนวน 450 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ได้รับรางวัล แขกผู้มีเกียรติและบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา ในช่วงเช้า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธานพิธีบวงสรวงองค์พระพฤหัสบดี พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ฯพณฯ ทวี บุณยเกตุ ผู้ก่อตั้งคุรุสภา และพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้น รมว.ศธ. มอบรางวัลผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จำนวน 23 คน และรางวัลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานครบ 25 ปี จำนวน 2 คน เพื่อเป็นการยกย่องแก่ผู้สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน รวมทั้งเป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบกล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ดำเนินการตามบทบาทขององค์กร ตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 และ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ถือเป็นการดำเนินการตามภารกิจที่สำคัญต่อวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งเป็นมาตรฐานนำไปสู่การรับรองปริญญา และประกาศนียบัตรทางการศึกษา การดำเนินการออกและต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการกำกับดูแล การประพฤติและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณของวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพและการยกย่องวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ “การดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ในสถานการณ์ปัจจุบันของโลก และสอดคล้องกับนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้ความรู้ความสามารถดำเนินงานด้วยความมุ่งมั่น ยึดถือประโยชน์สมาชิกคุรุสภาที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาอยู่ทั่วประเทศเป็นที่ตั้ง โดยขอให้ยึดหลักการทำงานภายใต้แนวคิด “ทำดี ทำได้ ทำทันที” และ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ และการกำกับ ดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นำไปสู่การสร้างความศรัทธาให้บังเกิดแก่องค์กรวิชาชีพครูต่อไป”รมว.ศธ. กล่าว เลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นการสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภา ให้เป็นสภาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการด้านการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน ในการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทุกท่าน อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป ข้อมูลและภาพ : ประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
จังหวัดบุรีรัมย์ 1 มีนาคม 2567 : นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือ เพื่อเตรียมการจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องสุพรรณิการ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้แทนส่วนราชการในพื้นที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความเป็นมาการจัดประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเชียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2567 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือกับผู้แทนส่วนราชการส่วนกลางและพื้นที่ในด้านต่าง ๆ คือ ด้านสารัตถะ ด้านการเดินทางและยานพาหนะ ด้านความปลอดภัยและปฐมพยาบาล ด้านการต้อนรับ พิธีการและงานเลี้ยงรับรอง ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านศึกษาดูงานและกิจกรรมพิเศษ ด้านที่พักและสถานที่จัดการประชุม รวมทั้งการเตรียมการในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การต้อนรับ ความปลอดภัย การศึกษาดูงานและกิจกรรมพิเศษ เน้นไปที่จุดเด่นของสถานศึกษาในพื้นที่ สนามกีฬา สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม ฯลฯ โดยจะนำข้อมูลและความคิดเห็นจากการประชุมหารือในครั้งนี้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดการประชุมฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาดำเนินการเตรียมการจัดประชุมในภาพรวมต่อไป บัลลังก์ โรหิตเสถียร / ข่าว สมประสงค์ ชาหารเวียง / ภาพ
29 กุมภาพันธ์ 2567 – นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่มีอายุก่อนถึงเกณฑ์การรับโทษทางอาญา โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กด้านกระบวนการยุติธรรมและการบำบัดฟื้นฟูเยียวยา ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมว.พม.กล่าวว่า ไม่มีเด็กคนไหนที่เกิดมาแล้วอยากเป็นคนไม่ดี ทุกคนอยากเป็นคนดีของสังคมทั้งนั้น แต่การที่ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมความเสี่ยงสูง เด็กและเยาวชนไทยอาจเป็นผู้กระทำความผิดหรือได้รับผลกระทบ กลไกการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติจึงต้องดูแลเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน ให้เกิดความปลอดภัยและมาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะเด็กคือผ้าขาว เมื่อใดที่เกิดการกระทำผิดพลาดต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครอง และแยกเด็กเหล่านั้นออกมาจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับสู่วงจรการกระทำความผิดใหม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันในวันนี้ จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการป้องกันไม่ให้เด็กกลับไปอยู่ในวังวนเดิม ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้แต่หัวใจสำคัญคือเราจะแก้ไขและดูแลลูกหลานของเราอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์เด็กเกิดใหม่ที่น้อยลงทุกวัน ยิ่งต้องดูแลให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคมไทย และหวังว่าจะมีการต่อยอดโดยเร็วให้ประชาชนได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กได้เห็นว่าวันนี้ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะปกป้องเด็กจากสังคมที่เป็นภัยเสมอ สร้างความมั่นใจว่าเด็กเหล่านั้นจะไม่เสียโอกาส จนไม่เห็นเด็กคนใดตกหล่นและขาดการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในการกำหนดวิธีการปฏิบัติต่อเด็กที่มีอายุก่อนถึงเกณฑ์การรับโทษทางอาญา (อายุต่ำกว่า 12 ปี) ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับอายุขั้นต่ำสำหรับความรับผิดทางอาญา และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ จะร่วมมือด้านการประสานให้ความช่วยเหลือในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กรายบุคคลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พบพร ผดุงพล / ข่าว พัรณัฐ ยุชยะทัต/ภาพ
(28 กุมภาพันธ์ 2567) จากกรณีเพจชื่อดังในโลกออนไลน์แชร์ประเด็น “บรรดาคุณครูฝากตั้งคำถามมาครับหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติยกเว้นให้ครูไม่ต้องอยู่เวรยามในโรงเรียนแล้วแต่ผู้บริหารสถานศึกษากลับมีคำสั่งให้ ตรวจตรา แทนกัน แบบนี้ได้หรือครับ ศธ.360 องศา มีคำชี้แจงให้คุณครูไหมครับ” นั้น นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่าพล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ห่วงใยความปลอดภัยของครู และให้ความสำคัญกับการลดภาระครู การคืนความสุขให้ครูมาตลอด โดยเน้นย้ำกับผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องยกเว้นให้ครูไม่ต้องอยู่เวร แต่ยังมีผู้อำนวยการโรงเรียนบางแห่งอาจมีความกังวลเมื่อไม่มีครูเวร ทั้งที่มีข้อสั่งการชัดเจนจาก สพฐ. มีหนังสือแจ้งไปยังพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศให้เข้าใจและถือปฏิบัติร่วมกัน ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ยังมีความกังวลอยู่ สามารถนำมาตรการของโรงเรียนขนาดใกล้เคียงกัน ที่ดำเนินการยกเลิกเวรครู แล้วใช้แนวทางอื่นมาช่วยในการรักษาความปลอดภัย เช่น การใช้พนักงานรักษาความปลอดภัย การติดตั้งกล้องวงจรปิด การประสานกับฝ่ายปกครองในพื้นที่หรือประสานตำรวจมาติดตั้งตู้แดงช่วยตรวจตรา การใช้ระบบแจ้งเตือนผู้บุกรุก เป็นต้น มาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องเพื่อนครู ตลอดจนลดภารกิจที่ไม่จำเป็นตามนโยบายลดภาระครู ให้ครูทั้งประเทศได้มีเวลาในการจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นไปตามมติ ครม. และประกาศของ ศธ. ด้วย “ตอนนี้ต้องขอบคุณโรงเรียนส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตาม ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยคืนความสุขให้กับครู คืนเวลาสอนในชั้นเรียน ครูก็จะลดภาระลงได้ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” โดยได้มีการสอบถามความเห็นครูหลังจากประกาศยกเลิกไม่ต้องมาอยู่เวร พบว่าครูทุกท่านต่างเห็นด้วยและมีความสุขกับนโยบายนี้ รมว.ศธ.จึงฝากกำชับว่าทุกโรงเรียนต้องดำเนินการและปฏิบัติตาม มติ ครม. และประกาศของ ศธ. อย่างเคร่งครัด หากพบข้อมูลว่าสถานศึกษาใดยังไม่ปฏิบัติตามสามารถแจ้งข้อมูล หรือร้องเรียนการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ที่ศูนย์บริการประชาชน สายด่วน 1579 ตลอด 24 ชั่วโมง ขอให้เชื่อมั่นว่ากระทรวงศึกษาธิการพร้อมและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการทุกแนวทางเพื่อลดภาระครู คืนครูให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัย” โฆษก ศธ. กล่าว ทั้งนี้ ศธ.ได้ตั้งเรื่องเสนอของบประมาณปี 2567 เพื่อจ้างนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ยังขาดอยู่ โดยสามารถเริ่มจ้างได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ในงบประมาณปี 2568 ยังจะมีการดำเนินการจ้างเพิ่มอีก รวมเป็นเงินกว่า 2 พันล้านบาท และจะดำเนินการของบประมาณในปีต่อ ๆ ไปด้วย