รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 14/2568 เผย ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไทยอย่างเป็นระบบ เร่งจัดเตรียมข้อมูลและรายงานต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมชูแนวทางการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาข้อสอบและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล สนับสนุนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ทุกระดับ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมรับเปิดเทอม ไปจนถึงการออกแบบอนาคตการศึกษาไทยด้วยวิสัยทัศน์ปี 2040 ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิต พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยี และความเป็นพลเมืองโลก พร้อมย้ำความสำคัญของการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาเกิดขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืน 7 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 14/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ขอให้ทุกคณะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินนโยบายอย่างใกล้ชิด ทุกหน่วยงานควรมีการทบทวนผลการดำเนินงานอย่างรอบด้าน เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัปดาห์ที่จะถึงนี้จะเข้าสู่การเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2568 ขอให้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร สื่อการเรียนรู้ มาตรการด้านความปลอดภัย และการต้อนรับนักเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียนทุกคน สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมว.ศธ.กล่าวว่า การดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยเฉพาะการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาข้อสอบ ผู้ที่มีส่วนร่วมต้องมีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ AI กับกระบวนการสร้างข้อสอบ ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบมีความแม่นยำมากขึ้น แต่ต้องพิจารณาถึงความถูกต้องของข้อมูลเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม การจัดเวทีนำเสนอผลการสร้างและพัฒนาข้อสอบแนว PISA เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยให้เขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลการพัฒนาดี ได้นำเสนอเทคนิคการจัดทำข้อสอบและภาพรวมของกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม A และกลุ่ม B มีการนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนจากเขตพื้นที่การศึกษาแบบอย่าง ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาข้อสอบอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ และการใช้ข้อมูลผลการทดสอบเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อนำแนวทางที่ดีไปปรับใช้และต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของตนเอง มีการนำเสนอต่อ เลขาธิการ กพฐ. และรองเลขาธิการฯ กพฐ. จะทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และมีการจัดลำดับการนำเสนอเพื่อความเป็นระบบ และเพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้แก่เขตพื้นที่การศึกษาอื่นทั่วประเทศ แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ การคิดวิเคราะห์ และทักษะการใช้เทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนในระดับปฐมวัย ประถามศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้มีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดขั้นสูง และคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะกระบวนการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล และนักเรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และเครื่องมือดิจิทัล ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทั้งในด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันได้เห็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากการฝึกอบรมและพัฒนาผู้สอน ซึ่งทำให้การดำเนินการใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผู้ลงทะเบียนอบรมไปแล้วกว่า 437,585 คน และอบรมแล้วเสร็จ 340,583 คน ทิศทางการจัดการศึกษาปี 2040 : เป้าหมายการศึกษาในโลกดิจิทัล รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อนระบบการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งหน่วยงานทั้งในบทบาทหลักและหน่วยสนับสนุน โดยมี สกศ. เป็นหน่วยงานหลัก สพฐ. และ สมศ. ร่วมกันทบทวนบทบาทและแนวทางการดำเนินงาน โดยการนำ AI มาปรับใช้พร้อมกับปรับปรุงชุดความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการจัดการศึกษาในปี 2030 ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่ออนาคตนำไปสู่ระบบการศึกษาในปี 2040 ต่อไป โดยการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การศึกษา 2040 จะเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิต ไม่ใช่แค่เพื่อการสอบ พร้อมออกแบบหลักสูตรใหม่ที่ตอบโจทย์อนาคต ปรับระบบการประเมินให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาครูให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนต้องได้รับการเตรียมให้เป็นพลเมืองโลก มีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันเทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI จะถูกใช้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพ แต่ไม่ใช่เป็นแนวทางหลักของการดำเนินงาน รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับความก้าวหน้าเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในงบประมาณปี 2569 ขอให้หน่วยงานในสังกัดเร่งจัดเตรียมข้อมูลและรายงานต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อให้สามารถนำเสนอรายละเอียดงบประมาณเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและความเห็นชอบของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายในช่วงเดือนนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ และให้ทุกหน่วยงานมีการติดตามการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด ทั้งในส่วนของงบดำเนินงาน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าใช้สอย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม วัสดุ ครุภัณฑ์ และโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรณีของงบที่มีการกันไว้เบิกเหลื่อมปีต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้จ่ายงบประมาณและลดปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปีต่อไป การประชาสัมพันธ์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เข้าถึงประชาชน รมว.ศธ.กล่าวว่า แนวทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในสังกัด โดยขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการสื่อสารผลงานและภารกิจของอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบช่องทางที่เป็นทางการ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ อาทิ Facebook TikTok มีการปรับรูปแบบเนื้อหาให้ทันสมัยและน่าสนใจ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการรับข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานและสร้างความเข้าใจในผลการดำเนินงานได้อย่างทั่วถึง...
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
กระทรวงศึกษาธิการ – 6 พฤษภาคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “การป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา” พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด ศธ. ผู้บริหาร ศธ. นำพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) ตลอดจนตัวแทนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่าย ผ่านช่องทางการโฆษณาออนไลน์และกลยุทธ์ที่แฝงมาในรูปแบบที่น่าสนใจ อาทิ ลูกอม ขนมหรือของเล่น ทำให้เกิดความอยากรู้อยากลองในกลุ่มน้อง ๆ เยาวชน ศธ. จึงได้ออกมาตรการและกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยพิจารณาใน 2 มิติสำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยยึดหลักอริยสัจ 4 คือการโดยมุ่งหาสาเหตุของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความง่ายในการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า การขาดความรู้ความเข้าใจ และการขาดการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมตั้งเป้าหมายในการสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และลดจำนวนผู้ใช้ในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้เป็นศูนย์ และกำหนดแนวทางแก้ไขด้วยการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ การออกมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด รวมถึงการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หากตรวจพบว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเพิกเฉยต่อปัญหาให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินงานตามหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ประเทศไทยมี 77 จังหวัด ซึ่งแต่ละพื้นที่มีบริบทเฉพาะตัว การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความเข้าใจในพื้นที่จริง และออกแบบมาตรการที่เหมาะสมกับชุมชนและโรงเรียนในแต่ละท้องถิ่น เวทีเสวนาครั้งนี้ จะเป็นพื้นที่ในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน นำไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนาแนวทางเชิงนโยบายอย่างรอบด้านทุกมิติ ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมและผลิตภัณฑ์ที่แฝงอันตรายอื่น ๆ เช่น ขนมหวาน หรือของเล่นที่ใช้เป็นเครื่องมือชักจูงเด็กเข้าสู่วงจรเสพติด “กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายให้โรงเรียนทั่วประเทศเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” หรือ “พื้นที่สีขาว” ที่ปลอดจากบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และยาเสพติดทุกประเภท โดยอาศัยความร่วมมือจากนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ และภาคประชาสังคม พร้อมขยายการสื่อสารให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในวงกว้าง หวังให้ทุกคนในสังคมร่วมมือกันผลักดันให้เยาวชนไทยเติบโตในพื้นที่ที่ปลอดภัย และมีภูมิคุ้มกันจากภัยสังคมทุกรูปแบบ เพราะทุกคนมีบทบาทในการสร้างอนาคตให้กับเด็กไทย การทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่สีขาว ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของครูหรือผู้บริหาร แต่คือความร่วมมือของทุกคนในสังคม” ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นสิ่งเสพติดยุคใหม่ที่ได้รับความนิยม และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัย กลิ่นหอม และการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงง่าย จึงทำให้เยาวชนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่า เป็นสิ่งที่ปลอดภัย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอัตราการใช้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น เยาวชนสามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ต้องแสดงบัตรประชาชน หรือมีข้อจำกัดเรื่องอายุแต่อย่างใด ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข รวมถึงมีมาตรการที่เข้มข้นในการควบคุมและป้องกัน ประกอบกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการกำชับเร่งด่วนให้ทุกฝ่ายดูแลอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้สถานศึกษา ต้องไม่มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าให้เยาวชน ศธ. จึงได้กำหนดมาตรการที่เข้มงวด เพื่อให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และเพิ่มมาตรการป้องกัน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) ตรวจตราบริเวณรอบสถานศึกษา ประสานกับร้านค้าท้องถิ่นไม่ให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าให้กับนักเรียน ในการนี้ เมื่อเวลา 07.30 น. รมว.ศธ. นำผู้บริหารในสังกัด ร่วมปล่อยแถวขบวนความร่วมมือและปฏิบัติการร่วม นักเรียนปลอดภัยห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด เพื่อออกตรวจตราในสถานศึกษาและบริเวณจุดสำคัญทั่วประเทศ ณ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ภาพ
2 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 4/2568 พร้อมด้วยคณะกรรมการคุรุสภา และ ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการประชุม โดยที่ประชุม มีการพิจารณาและมีมติในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ เห็นชอบการแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ เป็นประธานอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ แทน ศาสตราจารย์องอาจ นัยพัฒน์ ประธานอนุกรรมการฯ ที่ลาออกก่อนครบวาระ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้แต่งตั้งรองศาสตราจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ผู้ซึ่งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ เสนอเป็นลำดับที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ แทน ศาสตราจารย์องอาจ นัยพัฒน์ นับตั้งแต่วันที่ประธานกรรมการคุรุสภาลงนาม ตามที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเสนอ การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว ดังนี้ 1. ให้การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จำนวน 13 แห่ง รวมจำนวน 35 หลักสูตร ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 29 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 6) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 7) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ 8) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2.ให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงแผนการรับนักศึกษา จำนวน 3 แห่ง รวมจำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้ ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เห็นชอบการรับรองผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 4/2568 ของผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินฯจำนวน 5,205 คน โดยเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา จำนวน 4,680 คน 2) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 495 คน และ 3) หลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 30 คน และมอบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เห็นชอบเกณฑ์การเทียบเคียงผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ของชุดทดสอบ Edusynch CEFR Level Test โดยมีเกณฑ์ตัดสินผ่านรวมของทั้ง 4 ส่วน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมกันไม่ต่ำกว่า ระดับ B2 (คะแนนเต็ม 6 ระดับ) เห็นชอบ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. …. การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของครูปฐมวัย จะนำไปสู่การผลิตครูปฐมวัยที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะสูง มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและมีคุณลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูปฐมวัย และเพื่อให้สอดคล้องกับ(ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. … ที่ระบุว่า“ทั้งนี้...
2 พฤษภาคม 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี Kickoff : โครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง (OBEC Zero Dropout) ระยะที่ 2 “นำการเรียนไปให้น้อง” และการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน “เรียนดี มีความสุข : กลับมาเรียนอย่างมั่นใจ เริ่มเทอมใหม่อย่างมีความสุข” โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.พีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมด้วยนายไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวมถึงผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทุกสังกัดกว่า 500 คน เข้าร่วม ณ หอประชุมคุรุสภา และร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom ถ่ายทอดสดทาง OBEC Channel ของ สพฐ. รมว.ศธ. กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้เป็นศูนย์ ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ โดยที่ผ่านมา ศธ. ได้เร่งติดตามการดำเนินงานในทุกจังหวัดให้ครบ 100% เพื่อนำผลการติดตามมาวิเคราะห์และช่วยเหลือเด็กได้อย่างเต็มที่ ให้เด็กทุกคนสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ขณะนี้เราสามารถค้นหาติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาครอบคลุม 77 จังหวัด ในทุกเขตพื้นที่ครบ 100% แล้ว และในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 จะดำเนินการระยะที่ 2 คือ นำการเรียนไปให้น้อง โดยมีการนำระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาแบบยืดหยุ่น มีทั้งการเรียนในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพราะเด็กแต่ละคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจะนำการศึกษาไปหาเด็กๆ ตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา “Anywhere Anytime“ กระทรวงศึกษาธิการยังคงดำเนินการให้เด็กยังอยู่ในระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครู และชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาและการสนับสนุนตามความต้องการอย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ส่วนแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน มีการนำนวัตกรรมโรงเรียนมือถือ (Mobile School) ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาโดยเชื่อมโยงการเรียนรู้กับชุมชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเก็บหน่วยกิตได้ ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนและเพื่อให้โอกาสในการกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในทุกเขตพื้นที่ สำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2568 ขอให้สถานศึกษาทุกแห่ง ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ดูแลและดำเนินการเตรียมความพร้อมฯ ในทุกมิติ ทั้งความพร้อมด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านความปลอดภัยของผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา เตรียมแผนเผชิญรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความพร้อมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นสวัสดิการ สวัสดิภาพและปัจจัยพื้นฐานของผู้เรียน เช่น การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายการศึกษา โครงการอาหารกลางวัน/อาหารเสริม (นม) บริการน้ำดื่มสะอาด การดูแลรักษาความปลอดภัยเรื่องจราจร รถรับ-ส่งนักเรียน ความรุนแรงหรือยาเสพติดในสถานศึกษา เพราะเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะชีวิต และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมั่นใจรมว.ศธ.กล่าว ขอบคุณความร่วมมือของทุกฝ่าย รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจขับเคลื่อนนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”และสิ่งสำคัญคือ“ความร่วมมือพัฒนาการศึกษา”ที่พวกเราจะทำให้เกิดขึ้นร่วมกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยการทำงานเป็นทีมและจะประสบผลสำเร็จได้หากพวกเราทุกคน“จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”เพื่อปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ ให้คนไทย“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”และประเทศ“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ต่อไป รมว.ศธ. กล่าว นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.เผยถึงความสำเร็จของนโยบาย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาทั้งการพัฒนาระบบ TRS (Teacher Rotation System) ระบบการโยกย้ายที่มีความเป็นธรรม การช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา Zero dropout ที่สำรวจครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ที่ผ่านมาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผลสอบสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เป็นนโยบายการจัดการศึกษาที่เท่าเทียม พัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียน“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มคุณภาพการศึกษา นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษก ศธ.เน้นย้ำเรื่องการสื่อสารให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของเรื่องนั้น ๆ และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการศึกษา ร่วมกัน“จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”สร้างทรัพยากรมนุษย์ ที่มีค่าที่สุดของประเทศนี้ไปด้วยกัน ด้านว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่าThailand Zero Dropout เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ โครงการ“พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง”OBEC Zero Dropout จะสามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีความจำเป็นแตกต่างกันได้ โดย“นำการเรียนไปให้น้อง”จะจัดสำหรับนักเรียนที่มีความจำเป็นเฉพาะไม่สามารถกลับเข้ามาเรียนในระบบได้ โรงเรียนก็จะนำการเรียนไปให้นักเรียนได้เรียนที่บ้าน...
จังหวัดนครนายก – 1 พฤษภาคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย “สวนกุหลาบสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ครูมืออาชีพ” (Suankularb Education Teacher’s Leader Symposium SKETS 2025) ณ อิงธาร รีสอร์ท โดยมี นายภูมิสิษฐ์ สุคนธวงศ์ ผอ.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นางจรุญ จารุสาร ผอ.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ผอ.โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยฮาร์บิน ผอ.สพม.นครนายก ปราจีนบุรี ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ.กล่าวว่า ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย “สวนกุหลาบสร้างสรรค์ นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ครูมืออาชีพ”ฯ ในวันนี้ จากคำกล่าวรายงาน ของนายชาลี วัฒนเขจร ผอ.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ประธานเครือข่าย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา ในรูปแบบเครือข่ายสถานศึกษา ที่มีความเป็นเอกภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพกุหลาบหลวง และตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา “ทั้งนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีรูปแบบการเรียนการสอน และกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ และแตกต่างจากโรงเรียนอื่น ๆ โดยมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหาร และการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนมีคุณลักษณะ สมกับอัตลักษณ์ อันได้แก่ ความเป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครูกตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง สนองคุณแผ่นดิน ทั้งยังมีความรอบรู้ มีทักษะ มีสติปัญญา มีความสามารถ ร่วมสร้างสรรค์และสั่งสมความดีงาม ให้เป็น “สุภาพบุรุษสวนกุหลาบ” และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป”รมช.ศธ. กล่าว รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า ขอขอบคุณและขอชื่นชมในความตั้งใจของคณะผู้จัดงาน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยทุกท่าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกท่านมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะหลอมรวม สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อพัฒนา ขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพกุหลาบหลวง ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ขออวยพรให้การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ทุกประการ
30 เมษายน 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3/2568 โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.,นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นางดารุณี ดงทอง ศธจ.กทม. ผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับในวันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาคำขอความเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 – 2570 ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ช่วยเลขานุการได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำแผนดังกล่าว ตามแนวทางการจัดทำแผนการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ที่ได้กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่นำร่องในลำดับที่ 10 โดยมีวิสัยทัศน์คือ“กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต”และมีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความเป็นพลเมืองดี เป็นคนเก่ง มีคุณภาพ มีทักษะสู่ความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม สอดคล้องกับพหุปัญญาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำคู่มือการขับเคลื่อนแผนฯ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการขอยกเลิกจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ผลการดำเนินการส่งนักเรียนเข้ารับการศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนข้อเสนอการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้านการศึกษาในภูมิภาค ความก้าวหน้าการจัดกิจกรรม“เรียนดี มีความสุข สู่อนาคตที่สดใส”BKK Excellence Expo กรุงเทพเป็นหนึ่ง“เปิดโลก เปิดเวทีเปิดประสบการณ์ และเปิดเส้นทางอาชีพ”การดำเนินงานอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากรุงเทพมหานคร ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดในเขตกรุงเทพมหานคร การขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ในกรุงเทพมหานคร และผลการดำเนินงานของสำนักงานอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบพร ผดุงพล / ข่าว ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ. / ภาพ
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 13/2568 เผย ศธ. ประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ กับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬา แห่งราชอาณาจักรสเปน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของทั้งสองประเทศ กำชับหน่วยงานเร่งดำเนินการเตรียมการ เตรียมข้อมูล และรายงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ใน พ.ค. นี้ พร้อมส่งเสริมพหุปัญญาและ AI เป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เด็กสามารถอยู่ในระบบการศึกษาได้ยาวนานขึ้น ฝากบุคลากรทุกคนพัฒนาสมรรถนะของตนเองต่อเนื่องผ่านการอบรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะความรู้เป็นสิ่งที่มีวันหมดอายุ เปรียบเสมือน “มีดที่ต้องหมั่นลับให้คมอยู่เสมอ” 30 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 13/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬา แห่งราชอาณาจักรสเปน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมสเปน ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของทั้งสองประเทศ และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการศึกษานานาชาติ รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพและแลกเปลี่ยนทางวิชาการแก่นักเรียน ครู และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาผ่านกิจกรรมร่วมกัน ภาษาสเปนถือเป็นภาษาที่สำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในมิติของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีการจัดทำแผนและวางกรอบในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ เพื่อรวบรวมและนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการต่อยอดการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมสเปนเข้ากับระบบการศึกษาของไทยอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของ ศธ. รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้มีประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ในบริบทสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานด้านภาษา และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการเรียนการสอนภาษาสเปนให้มีคุณภาพ ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตร การอบรมครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีศักยภาพสามารถจัดตั้งห้องเรียนพิเศษหรือโครงการต้นแบบด้านภาษาสเปน เพื่อยกระดับศักยภาพทางภาษาของนักเรียนไทยในระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ และส่งเสริมการพัฒนาทางการศึกษาอย่างยั่งยืนในอนาคตร่วมกัน สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี 2569 รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับความก้าวหน้าเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในงบประมาณปี 2569 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมการ เตรียมข้อมูล และรายงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ในเดือนพฤษภาคมนี้ และใช้ประกอบการวางแผนและจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณถัดไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาและรัฐบาล การลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาลฯ รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ณ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ได้มีการพบปะพูดคุยและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานด้านการศึกษาจากหน่วยงานในพื้นที่ และได้ตรวจเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม ซึ่งปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และอาคารสถานที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงขอให้ สกร. ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และบุคลากรเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีความพร้อมด้านห้องเรียนวิทยาศาสตร์หรือห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ขอให้มีการบูรณาการการใช้งานร่วมกัน โดยให้ทุกหน่วยงานสำรวจทรัพยากรที่มีอยู่ หากยังสามารถใช้งานได้ให้เร่งนำมาใช้ประโยชน์ “เมื่อเรามีสถานที่ที่มีประโยชน์ มีความพร้อม ก็ขอให้นำมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีการบูรณาการการใช้งานร่วมกัน หากมีสิ่งใดไม่พร้อมใช้งานให้ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม ให้สามารถใช้งานได้และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน โดยต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงและเกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง” การเตรียมการเปิดเทอมในภาคเรียนที่ 1/2568 รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ผู้บริหารจากทุกองค์กรหลัก และศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ณ หอประชุมคุรุสภา เพื่อหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาในภาคเรียนใหม่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามความพร้อมของสถานศึกษาในทุกมิติ อาทิ ด้านความปลอดภัย หลักสูตร บุคลากร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศต่อไป การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมว.ศธ.กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานนั้น ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครู เพื่อให้รับรู้ รับทราบ ถึงแนวนโยบาย ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติร่วมกัน ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทั้งในด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันได้เห็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากการฝึกอบรมและพัฒนาผู้สอน ซึ่งทำให้การดำเนินการใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผู้ลงทะเบียนอบรมไปแล้วกว่า 437,567 คน (98.2 %) ใกล้สู่เป้าหมาย 445,624 คน ต้องขอขอบคุณในความร่วมมือในการดำเนินงาน สำหรับการสร้างคลังข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ โดยแต่ละเขตพื้นที่จะส่งข้อสอบที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ PISA Center OBEC เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้ได้อย่างทั่วถึง โดยมีการนำเข้าข้อมูลแล้วบางส่วน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เพื่อได้ใช้ประโยชน์ต่อไป และผลการวิเคราะห์การทดลองสอบ Pre PISA...
28 เมษายน 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจราชการ และติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ นอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม รมช.ศธ. กล่าวว่าวันนี้รู้สึกยินดีและดีใจอย่างยิ่ง ที่ได้มาเยี่ยมชมศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครพนม เพื่อติดตามการดำเนินงาน พร้อมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายทางการศึกษาที่สำคัญ ในการส่งเสริมการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เสริมสร้างทักษะที่เกิดประโยชน์ต่อยอดไปจนถึงการสร้างรายได้ ทั้งนี้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย“เรียนดี มีความสุข” ที่มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้เรียน โดยใช้แนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้างการศึกษาที่เท่าเทียมกัน เพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” สำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมสิทธิและโอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของครูผู้สอน ด้วยการลดภาระที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเด็กที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษทุกด้าน “ขอชื่นชมครูและบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ และขอฝากให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ ให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลและส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพ”รมช.ศธ. กล่าว ทั้งนี้ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การจัดการเรียนการสอนห้องเรียนสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและพิการซ้อน พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์กีฬาแก่ผู้เรียน จากนั้น ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 เช่น ชมรมนักตะกร้อน้อย โครงการสุขาดี มีความสุข การสาธิตการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับนักเรียน ปฐมวัยตามแนวคิดมอนเตสซอรี และ การปั่นจักรยานล้อเดียวของนักเรียนจากโรงเรียนภาคีเครือข่าย บัลลังก์ โรหิตเสถียร / กราฟิก ธรรมนารี ชดช้อย/ ข่าว อินทิรา บัวลอย / ภาพ
จังหวัดนครพนม 28 เมษายน 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหาร ศธ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ณ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมตรวจราชการและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/นโยบายการศึกษา และข้อสั่งการในภาคเช้าณ ห้องประชุมมรุกขนคร โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ว่า ในวันนี้เรื่องสมรรถนะคือเรื่องใหม่ เชื่อว่าทุกคนเป็นคนมีความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องลับให้คม เสริมสมรรถนะการทำงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากรับฟังการรายงานภาพรวมแต่ละหน่วยงานที่ทำเป็นเรื่องอยู่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการดำเนินการทำงานบูรณาการที่เข้มแข็ง ในส่วนของการแก้ปัญหายาเสพติดเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา ซึ่งจากรายงานที่ได้รับทราบพบว่า ยอดตัวเลขค่อนข้างต่ำ และคาดว่าแต่ละพื้นที่ใน 3 จังหวัดนี้ จัดการดูแลได้เป็นอย่างดี สำหรับด้านการส่งเสริมผู้เรียนด้านการศึกษา เพื่อให้เด็กมีความสุขและเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การศึกษาไม่ใช่การเรียนรู้แค่อ่านออกเสียงได้ แต่ต้องสอนให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตผ่านกระบวนการเรียนรู้ ทั้งการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต เด็กที่เป็นเลิศอยู่แล้วต้องส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไป ส่วนเด็กที่ถนัดด้านอาชีพก็ต้องผลักดันให้เก่งควบคู่กัน สุดท้ายนี้ ฝากผู้บริหารทุกหน่วยงานเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือ “การจับมือสร้างเครือข่ายทางการศึกษา แบ่งปันทรัพยากรร่วมกันให้เกิดมิติในการแลกเปลี่ยน” ทำให้การศึกษาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังยืนยันว่านโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการคือ “เรียนดี มีความสุข” ผ่านวิธีการดำเนินการ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”ส่งผลให้การศึกษามีคุณภาพ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น รมช.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” ที่มอบให้หน่วยงานทางการศึกษาปฏิบัติการกันอย่างเข้มแข็งและเต็มที่ ควบคู่กับแนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วด้วยกัน” ทุกภาคส่วนที่ให้การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนการศึกษาของไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่เราจะพัฒนาการศึกษาให้ดีและมีคุณภาพยิ่งขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการศึกษา ในฐานะกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนงาน และขอเน้นย้ำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนของสังคมปัจจุบัน ในภาคบ่ายรมว.ศธ. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เพื่อพบปะนักเรียนและเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานที่โดดเด่นของโรงเรียน เช่น การจัดการเรียนการสอน Coding for Better Life ของนักเรียน รับชมการสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะจากนักเรียนที่ได้รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมมอบเกียรติบัตรให้นักเรียน จากนั้น ได้ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคนิคนครพนมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เช่น โรงฝึกงานแผนกช่างกลโรงงาน การจัดการเรียนการสอนแผนกบัญชี นิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์ STEM ศึกษา (หุ่นยนต์ และโดรน) รวมถึงแนวทางการพัฒนาและผลิตกำลังคนตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ให้ทุกภาคส่วนได้รับการศึกษาและฝึกทักษะวิชาชีพอย่างเท่าเทียม รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก ศธ.360 องศา บัลลังก์ โรหิตเสถียร / กราฟิก พบพร ผดุงพล / ข่าว ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า, อินทิรา บัวลอย / ภาพ
25 เมษายน 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) จะมีการนำการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลับมาให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมสอบอีกครั้ง โดย สกร.จะดำเนินการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน และวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน นี้ ซึ่ง สกร. ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ดำเนินการสอบเทียบฯ ดังนั้นจึงขอเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าสอบทุกท่านประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ และขอให้ผู้เข้าทดสอบเตรียมตัวให้พร้อมกับการสอบในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่สนใจสอบเทียบฯ แต่เตรียมเอกสารหรือสมัครไม่ทันในรอบแรก ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะทาง สกร.จะมีการเปิดให้สอบเทียบอีก โดยมีแผนการรับสมัคร ครั้งที่ 2 ผู้สนใจลงทะเบียนจองสิทธิ สถานศึกษาตรวจสอบเอกสารรับขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนสอบเป็นรายวิชา ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2568 ประกาศและตรวจสอบข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิสอบวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 จัดสอบในวันที่ 31 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2568 ประกาศผลสอบวันที่ 13 มิถุนายน 2568 และ แผนการรับสมัคร ครั้งที่ 3 ผู้สนใจลงทะเบียนจองสิทธิ สถานศึกษาตรวจสอบเอกสารรับขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนสอบเป็นรายวิชา ระหว่างวันที่ 16-23 มิถุนายน 2568 ประกาศและตรวจสอบข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 26 มิถุนายน 2568 จัดสอบในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2568 ประกาศผลสอบวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 “สำหรับการเปิดรับสมัครและรับขึ้นทะเบียนสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 4-10 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้สมัครระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ระดับ ทั้งสิ้น 1,896 คน จำแนกเป็น ระดับประถมศึกษา จำนวน 120 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 560 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,216 คน ยอดสมัครรวมดังกล่าว ถือว่ามากกว่าแผนที่คาดการณ์ไว้ว่าการเปิดสอบเทียบฯ ใน 3 ครั้งแรก จะมีผู้สมัครรวมไม่ต่ำกว่า 3,000 คน”รมช.สุรศักดิ์ กล่าว
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 12/2568 แจ้งข่าวดีก่อนเปิดเทอม 1/2568 ศธ. ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ไม่ต้องซื้อชุดลูกเสือใหม่ โรงเรียนสามารถกำหนดเครื่องแบบตามความเหมาะสม แต่งกายเพียงชุดพละ หรือชุดนักเรียนที่มีอยู่แล้ว และใช้ผ้าผูกคอลูกเสือกำหนดเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมแทนได้ ชื่นชมอาชีวะอาสาช่วยประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง คือการให้ความใส่ใจทั้งในด้านการดูแล “รถ” และ “คน” อย่างครบวงจร พร้อมจัดสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนตามระบบปกติ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ความรู้จากการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมเชิญชวนร่วมงาน “Thai Youth Streets Art” ภายใต้แนวคิด “Dream of Thailand” เปิดพื้นที่ให้เยาวชน นิสิต นักศึกษา สร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนกำแพงในวันที่ 26 – 27 เม.ย. 2568 ณ สยามสแควร์ ซอย 7 23 เมษายน 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 12/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งภายหลังการประชุม รมช.ศธ. พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมช.ศธ.กล่าวว่า การลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย และร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดหนองคาย ในระหว่างวันที่ 28 – 29 เมษายน 2568 ที่จะถึงนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเตรียมความพร้อมทั้งด้านสถานที่ และจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน อาทิ ผลการดำเนินงาน แผนงานโครงการ และประเด็นสำคัญที่จะเสนอ เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 15/2568 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ที่เกี่ยวข้องกับ ศธ. โดย ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง นางสาวพิมพ์พร ชีวานันท์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และให้ความเห็นชอบแต่งตั้ง นายธงชัย ประดับชนานุรัตน์ เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น (อิสลาม) ในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติเป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การแต่งกายชุดลูกเสือ รมช.ศธ.กล่าวว่า เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน ขอให้เร่งประชาสัมพันธ์แนวทางการแต่งกายชุดลูกเสือให้ชัดเจนแก่โรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง สำหรับการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนสามารถเป็นผู้กำหนดเครื่องแบบตามความเหมาะสม เมื่อมีการจัดกิจกรรมเรียนวิชาลูกเสือ ผู้เรียนสามารถแต่งกายเพียงชุดพละ หรือชุดนักเรียนที่มีอยู่แล้ว และใช้ผ้าผูกคอลูกเสือกำหนดเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมแทนได้ ถือเป็นการช่วยลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 ในวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม นี้ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) อยู่ระหว่างการจัดทำประกาศกระทรวงฯ เพื่อผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบลูกเสือในสถานศึกษาสังกัด ศธ. โดยคาดว่าจะประกาศภายในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงเครื่องแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศตามบริบทแต่ละพื้นที่และกิจการลูกเสือในปัจจุบัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้งานที่มีการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง โดยแบ่งประเภทเครื่องแบบลูกเสือเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องแบบปกติ (พิธีการ) เครื่องแบบปฏิบัติการ (ฝึก) และเครื่องแบบลำลอง พร้อมกำหนดนิยามของเครื่องแบบซึ่งเดิมไม่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวง รวมทั้งกำหนดส่วนประกอบหลักของเครื่องแบบลูกเสือแต่ละประเภท ผลการดำเนินงานกิจกรรม “อาชีวะ – ขนส่ง อาสาช่วยประชาชน” เทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 รมช.ศธ.กล่าวว่า การจัดกิจกรรม “อาชีวะ – ขนส่ง อาสาช่วยประชาชน” ภายใต้นโยบายของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางจราจรอันนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตตามนโยบายรัฐบาล ตามแนวคิด “สงกรานต์ปลอดภัย เดินทางไปไหนก็มีความสุข” ต้องขอชื่นชม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับ กรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันนำนักเรียน นักศึกษาอาชีวะจิตอาสา พร้อมด้วยครูและอาจารย์จากสาขาวิชาช่างยนต์และสาขาอื่น ๆ จากสถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ มาให้บริการตรวจเช็กสภาพรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ไฟฟ้าก่อนเดินทาง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย กิจกรรมนี้ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาคการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐในการสร้างความปลอดภัยและความอุ่นใจให้กับประชาชนในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งสิ่งที่ทำให้กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง คือการให้ความใส่ใจทั้งในด้านการดูแล “รถ” และ “คน” อย่างครบวงจร จึงทำให้จุดบริการของเรามีจุดเด่นเหนือกว่าจุดบริการอื่น ๆ และได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ณ จุดให้บริการรวมทั้งสิ้น...
เมื่อวันพุธ ที่ 23 เมษายน 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ในที่ประชุมทางสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) ได้มีการรายงานว่า ขณะนี้ได้มีการเตรียมจัดทำประกาศยกเว้นเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือของสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการภายในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งการดำเนินการเรื่องยกเว้นเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือของสถานศึกษา เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจและสภาพอากาศในบริบทของแต่ละพื้นที่ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้สำหรับชุดลูกเสือตามกฎกระทรวง จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดพิธีการ ชุดฝึก และชุดลำลอง ซึ่งในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน สามารถเป็นผู้กำหนดเครื่องแบบตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ได้เลย เช่น เมื่อมีการจัดกิจกรรมเรียนวิชาลูกเสือ ผู้เรียนสามารถแต่งกายเพียงชุดพละ หรือชุดนักเรียนที่เด็กนักเรียนมีอยู่แล้ว และใช้ผ้าพันคอลูกเสือกำหนดเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมแทนได้ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง จึงขอประชาสัมพันธ์ถึงพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนในระหว่างรอกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ ให้ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อจะได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 11/2568 ชื่นชมทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกและจัดการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ที่ผ่านมา พร้อมนำ AI มาช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียน ครู ผู้บริหารในการวิเคราะห์และยกระดับกระบวนการเรียนรู้ รับทราบผลลัพธ์และความท้าทายของโรงเรียนไทยผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ 2567 พบว่ามีความแตกต่างของคุณภาพระหว่างโรงเรียนแต่ละขนาด พร้อมสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกัน โดยเฉพาะการนำผลสอบ O-NET มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เผยข่าวดี ศธ. ตั้งจุดบริการอาชีวะ-ขนส่ง อาสาช่วยประชาชน เทศกาลสงกรานต์ 150 จุดทั่วประเทศ เดินหน้าแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดและมาตรการเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาสังกัด ศธ. ต่อเนื่อง 9 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 11/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. และนางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า ช่วงขณะนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ทุกคนดูแลรักษาสุขภาพ ขณะเดียวกันก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น อย่างแผ่นดินไหว จนมีบุคลากร สถานศึกษา นักเรียนและนักศึกษา ได้รับผลกระทบ ก็ต้องมีการป้องกัน เฝ้าระวังและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงผลกระทบสำหรับการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีการเลื่อนการสอบเข้าฯ และได้ดำเนินการสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากการลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจผู้สอบและผู้ปฏิบัติงาน ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการสอบและอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. เป็นประธานคณะทำงานเรื่องการบริหารจัดการสอบทุกรูปแบบ เพื่อลดภาระด้านการสอบของนักเรียน เนื่องจากการลงพื้นที่พบว่าเด็กที่มาเข้าสอบในโรงเรียนขนาดใหญ่ บางคนเดินทางไกลมาจากต่างหวัด จึงอาจต้องปรับวิธีการให้มีความเหมาะสม ตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ให้สามารถสอบจากที่ใดก็ได้ เพื่อลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองให้ได้มากที่สุด พร้อมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าปีการศึกษาที่ 1/2568 นักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้กับครูฯ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเรียบร้อย นอกจากนี้แม้ว่าสถานการณ์ในระดับโลก อาทิ การปรับขึ้นภาษีของสหรัฐอเมริกา อาจดูไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษา แต่ก็อยากให้ทุกคนใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้บริบทและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง พร้อมทั้งวางแผนการใช้จ่ายและการดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบ เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ผลลัพธ์และความท้าทายของโรงเรียนไทยผ่านการประเมินคุณภาพ รมว.ศธ.กล่าวว่า มิติของผลการประเมินนั้นมีความสำคัญในการนำผลของการวิเคราะห์มาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงเรียนต่าง ๆ โดยมีปัจจัยหลักคือ ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา และเป็นแนวทางในการเน้นการพัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ 2567 ได้มีการประเมินโรงเรียนทั้งหมด 5,075 แห่ง พบว่ามีความแตกต่างของคุณภาพระหว่างโรงเรียนแต่ละขนาด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนด โดยคะแนนเฉลี่ยใน 3 ด้านหลักคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การบริหารจัดการและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการสอนและหลักสูตร อยู่ที่ 3.76, 3.79 และ 3.70 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับการยืนยันว่ามีคุณภาพตามมาตรฐานของ สมศ. โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนสูงสุดที่ 4.00 ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดที่ 3.82 ซึ่งสะท้อนถึงความไม่เสถียรของคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็กที่อาจเสี่ยงไม่สามารถรักษาคุณภาพตามมาตรฐานได้ ในขณะที่โรงเรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยภายใต้การดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีผลการดำเนินงานดีที่สุด คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ “ดีมาก” (4.00-4.22) ส่วนโรงเรียนในสังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครมีคะแนนต่ำสุด ซึ่งแสดงถึงความจำเป็นในการพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ให้ทันตามมาตรฐาน นอกจากนี้ โรงเรียนที่ได้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินไปปรับใช้มีแนวโน้มได้คะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้นำไปปรับใช้ ทำให้การติดตามผลและการสนับสนุนหลังการประเมินเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน ที่จะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการสอบคัดเลือก ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนในเครือวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และจำเป็นต้องพิจารณาด้วยว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สพฐ. สมศ. และ สทศ. จะสามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างไร โดยเฉพาะการนำผลสอบ O-NET มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านของข้อสอบยังมีประเด็นเรื่องการใช้ข้อสอบพิเศษและข้อสอบทั่วไปในการคัดเลือกเข้าห้องเรียน ซึ่งล้วนมีผลต่อการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาในภาพรวม ทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว AI Mapping for Education Development รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นมิติที่ดีในการนำ AI มาช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียน ครู และผู้บริหารในการวิเคราะห์และยกระดับกระบวนการเรียนรู้ อาทิ การใช้ AI ในการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และการปรับแนวทางการผลิตครูให้สามารถรองรับการใช้ AI ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรายงานการจัดทำแผนการใช้ AI เพื่อการพัฒนาการศึกษาในมิติที่เกี่ยวข้อง โดยการนำ Generative AI และมีการประเมินความพร้อมของระบบการศึกษาใน 4 มิติ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2568 ชื่นชมนักเรียนที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นจนสามารถได้รับรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในเวทีระดับนานาชาติ มั่นใจอาคารเรียนของโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศเตรียมพร้อมสถานที่สำหรับสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ในวันที่ 5 และ 6 เม.ย. 2568 ด้วยความปลอดภัย 100% เร่งขับเคลื่อนขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” เผยผลการอนุมัติคำร้องขอย้ายข้าราชการครูฯ ผ่านระบบ TRS รวมทุกส่วนราชการ 2,912 ราย เน้นย้ำต้องมีกระบวนการวางแผน การจัดการ และมาตรการรักษาความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจน ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราจะสามารถก้าวผ่านไปได้ด้วยดี เพียงขอให้เรา “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” MOE ONE TEAM 2 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และนายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว ก่อนเริ่มการประชุมฯ รมว.ศธ.กล่าวชื่นชมน้อง ๆ นักเรียนที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นทำให้มีผลการเรียนที่ดี จนสามารถได้รับรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเวทีระดับนานาชาติ ถือเป็นการแสดงออกถึงความสามารถ จินตนาการ จนสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่า ในกิจกรรมประกวดวาดภาพระบายสี Toyota รถยนต์ในฝัน Toyota Dream Car Art Content ณ ประเทศญี่ปุ่น มีผลงานของเด็กและเยาวชนจากทุกภูมิภาคทั่วโลก กว่า 90 ประเทศ จำนวน 712,852 ผลงาน ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ ด.ญ.วริศรา สัมฤทธิ์ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลวังสามหมอ สพป.อุดรธานีเขต 2 ได้รับรางวัลชนะเลิศ Grand Price จากผลงาน “Lunch Car for children” รุ่นอายุ 8 – 11 ปี รวมทั้งสมาคมเรียงแก้วและกิจกรรมนันทนาการ ได้นำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติรายการ WSSA 2024 ASEAN Open Sport Stacking Championships ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับรางวัล 2 รางวัลได้แก่ ด.ญ.ฐิตาภัทร์ กิจดี โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ได้รับรางวัล All-Around ชนะเลิศอันดับที่ 1 และ ด.ญ.พิชธิดา สมศรี โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันประเภทคู่ รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี จากนั้นได้เริ่มการประชุม โดย รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอขอบคุณชาวกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ร่วมมือร่วมใจในการจัดงานจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 133 ปี เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ถือเป็นการร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วประเทศเป็นปีแรก และการรับบริจาคโลหิตภายใต้โครงการ “ไทยจีนเลือดเดียวกัน” จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดขึ้นทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีปริมาณเลือดที่รับบริจาค 370,300 ซีซี ซึ่งกิจกรรมจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่เป้าหมาย 5 ล้านซีซี ภายในสิ้นปีนี้ สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การสำรวจความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จนก่อให้เกิดเหตุตึกถล่มในกรุงเทพมหานครฯ กระทรวงศึกษาธิการขอแสดงความเสียใจและส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้สูญเสีย และได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ผ่าน Dashboard ของ ศธ....