จังหวัดเพชรบุรี – 7 กุมภาพันธ์ 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมรีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท โดยมี นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการสำนัก รองผอ.สำนัก และบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ.กล่าวว่า ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพ บุคลากร ของ สพฐ.ในวันนี้ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาความสามารถของผู้บริหารและบุคลากร ใน สพฐ. ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม และมีความโปร่งใส โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสพฐ. ที่ต้องการให้ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับมีทัศนคติที่ดีในการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัว ออกจากผลประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในหลักการ ของความซื่อสัตย์สุจริต การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณธรรม และการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ทั้งนี้การพัฒนาความรู้และทักษะในการวางแผนการปฏิบัติงาน ตามหลัก คุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ และแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการองค์กร ให้มีมาตรฐาน จะช่วยให้เรามีการทำงานเป็นทีม มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ จะส่งผลให้ สพฐ. เป็นองค์กรที่แข็งแกร่ง และได้รับความเชื่อมั่นจากสังคม ผมมั่นใจว่าผู้บริหารและบุคลากรทุกท่าน ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะได้รับความรู้และแนวทางที่สามารถ นําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวม ทั้งสามารถร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความโปร่งใส ที่เป็นหลักในการดำเนินงาน ของ สพฐ.ทั้งยังขอให้ทุกท่านได้ใช้โอกาสนี้ ในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ตลอดจน สร้างเครือข่ายและสนับสนุนการทำงานร่วมกัน พัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด” ทั้งนี้ขอขอบคุณผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) และคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ขอให้ทุกท่านตั้งใจมีพลังเชิงสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมในการประชุม มีความสุขในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และขออวยพรให้การประชุม บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 5/2568 นำทัพผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดสตูล ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA และการสอบ O-NET พร้อมวางแนวทางสร้างความฉลาดรู้ทางดิจิทัล (Digital literacy) ให้เยาวชน กำชับผู้บริหารทางการศึกษาในพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาให้เข้าสู่ระบบครบทุกคนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีสัญชาติไทย จังหวัดสตูล – 5 กุมภาพันธ์ 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 5/2568 ซึ่งถือเป็นการประชุมฯ สัญจรครั้งแรก ณ ห้องประชุมบานบุรี โรงเรียนสตูลวิทยา โดย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมผ่านระบบ e-Meeting จากห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งเป็นการประชุมในลักษณะ on-site ทัังสองแห่ง ภายหลังการประชุม รมช.ศธ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการสอบ O-NET ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 ทั้ง สพฐ. สทศ. สช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีการวางแผนการดำเนินงาน การสร้างการรับรู้ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของพวกเราในการดำเนินการ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ ทั้งนี้ ในโอกาสวาระที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความร่วมมืออันดีทางการทูตครบรอบ 50 ปี ซึ่งในวันที่ 14 ก.พ. นี้ จะมีกิจกรรมบริจาคโลหิต “ไทยจีนเลือดเดียวกัน” ขอให้ทุกหน่วยงานสำรวจความร่วมมือด้านการศึกษากับจีน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่ของการพัฒนาหลักสูตร การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา และโอกาสในการศึกษาต่อ เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อน PISA เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ โดยการสอบ O-NET ที่เพิ่งผ่านไปนั้น ถือเป็นมิติสำคัญในการประเมินความสามารถด้านการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับต่าง ๆ และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ถึงแนวทางการขับเคลื่อนต่อไป สำหรับความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการใช้ชุดพัฒนาความฉลาดรู้ฯ ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตามเป้าหมายในปี 2568 ในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนและอบรมแล้วเสร็จกว่า 1.3 แสนคน ในส่วนของการเตรียมความพร้อมการประเมินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในการนำผลพัฒนามาเติมเต็มนักเรียนในภาคเรียนที่ 1/2568 โดยจะมีการประเมินผ่านระบบ PISA Style Online Testing โดยมีศึกษานิเทศก์เป็นผู้รับผิดชอบ ในการวิเคราะห์บริบทความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายที่มีความพร้อม เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่มีความต้องการ และนำผลสรุปประเมินวิเคราะห์ไปสู่การพัฒนา และมีการเตรียมการในการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเตรียมความพร้อมคอมพิวเตอร์ Summer Camp 2025 โดยมีการอบรมหลักการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน การฝึกปฏิบัติใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ และการฝึกทำข้อสอบในระบบออนไลน์ ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2568 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนเครือข่ายและเพื่อให้นักเรียนมีความคล่องตัวในการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในการจัดทำการสำรวจการอ่านของคนไทย ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ดำเนินการสำรวจการอ่านของคนไทย โดยเน้นทักษะการอ่านซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนให้เห็นคือคุณภาพการศึกษา คุณภาพผู้เรียน และยังเป็นส่วนหนึ่งในการวัดความสามารถทางการแข่งขันทางการศึกษาในระดับนานาชาติ ทั้งการจัดอันดับและการทดสอบ PISA โดย สกศ. ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ศธ. อาทิ สกร. และ สลช. จัดทำโครงการสำรวจการอ่านของคนไทย โดยพัฒนามาจากแบบสำรวจการอ่านของประชากร ซึ่งผลจากการสำรวจการอ่านของคนไทยนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป ความฉลาดรู้ทางดิจิทัลหรือ Digital literacy รมว.ศธ.กล่าวว่า ในมิติของการพัฒนานักเรียน โดยเฉพาะด้านความฉลาดรู้ทางดิจิทัล การใช้ AI ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในปัจจุบัน เด็ก ๆ ทุกคนต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือเป็น โดยต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ส่งเสริมการใช้ทักษะคอมพิวเตอร์ในทุกช่วงวัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมเด็ก ๆ ให้พร้อมสำหรับการประเมิน PISA ในปี 2025 ที่กำลังจะถึงนี้ สำหรับ PISA 2022 ที่ผ่านมากับการพัฒนาคุณภาพผลลัพธ์ด้านความฉลาดรู้ทางดิจิทัลหรือ Digital literacy เป็นความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัล การใช้งานอินเทอร์เน็ตและบริการ ความเข้าใจในการป้องกันภัยคุกคามและการกำหนดความปลอดภัย โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินต่ำกว่าระดับพื้นฐาน เกือบทุกสังกัด ยกเว้นโรงเรียนในกลุ่มที่เน้นวิทย์และโรงเรียนสาธิต ในประเทศที่มีผู้เรียนที่มีผลในระดับสูงจะมีแนวทางการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลที่ดีกว่าประเทศที่มีคะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งประเทศไทยยังมีผู้เรียนที่มีผลการประเมินต่ำกว่าระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ และมีการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลค่อนข้างน้อย จึงควรเน้นความฉลาดรู้ทางดิจิทัลที่ต้องเร่งพัฒนาโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องมีการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อสามารถเสริมหนุนความฉลาดรู้ทางดิจิทัลให้กับผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น อาทิ การส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ การพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างรอบด้าน การพัฒนาในทุกช่วงวัย หรือการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อจะส่งผลไปถึงการประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ด้านดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ PISA 2025 โดย สพฐ. ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะดิจิทัลและการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ โดยมีการอบรมครูและศึกษานิเทศก์ เพื่อให้สามารถใช้ AI ในการออกแบบการเรียนการสอน การใช้ AI วิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน รวมถึงการใช้ AI ในการทำโครงการของนักเรียน เพื่อเพิ่มทักษะและการเรียนรู้ของครูและนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษา...
3 กุมภาพันธ์ 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 พร้อมให้กำลังใจบุคลากรทางการศึกษา ณ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ร่วมลงพื้นที่ด้วย และมี นายสุชาติ บรรจงการ ผอ.โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ รมช.ศธ. กล่าวว่าในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกๆ นักเรียนที่เข้าสอบ และขอเป็นกำลังใจในการทำงานให้กับ สทศ. หน่วยจัดสอบ ศูนย์สอบ สนามสอบทุกแห่ง รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันในการดำเนินการจัดสอบ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำหรับสนามสอบโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เป็นสนามสอบที่จัดการทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) โดยจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า สทศ. ได้ดำเนินการตามพันธกิจองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนและส่งเสริมให้ผู้เรียน“ฉลาดรู้ (รู้ในสิ่งที่ควรรู้) ฉลาดคิด (คิดอย่างมีเหตุผล) ฉลาดทำ (ทำในสิ่งที่มีประโยชน์) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” “ทั้งนี้ สทศ. ได้มีการพัฒนาแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริง นำเทคโนโลยีมาใช้ในภารกิจที่ชัดเจนมาก คือ การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการทดสอบ รวมทั้งได้พัฒนาระบบการอบรมการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ สำหรับการสร้างข้อสอบบนระบบ National Digital Testing Platform 17 รูปแบบ เพื่อให้ครูและผู้รับการอบรมนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลในชั้นเรียน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลการทดสอบ O-NET ไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online และ Onsite เน้นให้ความรู้ พาคิด พาทำ โดยจัดการอบรมให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ” รมช.ศธ. กล่าวต่อว่าจากการได้รับฟังการกล่าวรายงานทำให้ทราบว่า การทดสอบ O-NET ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 มีจำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย วิชาภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ดำเนินการทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) และการทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) สำหรับสนามสอบที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยทั้งประเทศมีจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้ารับการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 708,246 คน สามารถจำแนกเป็นทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ จำนวน 704,648 คน และทดสอบด้วยระบบดิจิทัล จำนวน 3,598 คน
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 4/2568 โดย รมว.ศธ. เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์เน้นย้ำผู้บริหาร ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะมาถึงปลื้ม ครม. อนุมัติงบกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กำชับสถานศึกษาเตรียมแผนรับมือ PM 2.5 พร้อมเร่งติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา วาง Buriram Zero Dropout Model (BZDM) เป็นต้นแบบ ด้วยแนวทาง “ป้องกัน แก้ไข ส่งต่อ ติดตามดูแล” ต่อเนื่อง 29 มกราคม 2568 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 4/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมผ่านระบบ e-Meeting ซึ่งภายหลังการประชุม รมช.ศธ. พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวผ่านระบบออนไลน์ว่า ในการประชุมประสานภารกิจทุกครั้ง สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นคือการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมสมอง และพัฒนาแนวคิดร่วมกันของผู้บริหารจากทุกหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานของ ศธ. ประสบความสำเร็จ สำหรับแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ ขอให้พิจารณาโดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลด้านการศึกษา อาทิ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (ODOS) โครงการ 1 อำเภอ 1 ซัมเมอร์แคมป์ และโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ที่มุ่งยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ให้มีการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังโรงเรียนและกลุ่มเด็กนักเรียนที่ขาดโอกาส โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเปิดโอกาสให้โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ได้เข้ามามีบทบาทในการส่งต่อความรู้และแนวทางการพัฒนาสู่โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปพร้อมกันทั้งระบบ ซึ่งมีผู้ตรวจราชการ ศธภ. และรอง ศธภ. เป็นผู้ขับเคลื่อนในส่วนภูมิภาค เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาของประเทศต่อไป สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดูแลนักเรียน ครู และบุคลากรทุกคน ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัย และสั่งการไปยัง สพฐ. ดำเนินการเร่งแจ้งมาตรการป้องกันไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยให้งดกิจกรรมกลางแจ้งทุกรูปแบบ และหากพื้นที่ใดอยู่ในระดับสีส้มหรือสีแดงที่มีความเสี่ยงสูง ผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถตัดสินใจปิดโรงเรียนได้ทันที พร้อมให้มีการปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในทางเลือกอื่น อาทิ การเรียนออนไลน์ หรือวิธีการที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและครู นอกจากนี้ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรที่มาทำงานยังสำนักงานทุกแห่ง หากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 มีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน อาจมีมาตรการในการ Work from home หรือดำเนินการตามความเหมาะสม รมช.ศธ.กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการด้านการศึกษาที่สำคัญ คือ โครงการส่งเสริมการศึกษาเท่าเทียมด้วยระบบดิจิทัล พัฒนาทักษะและเครดิตพอร์ตโฟลิโอ (The Digital Skill/Credit Portfolio: Empowering Educations) โครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 (เช่า 5 ปี 2569-2573) โดย สพฐ. เป็นหน่วยดำเนินการ งบประมาณ 29,765 ล้านบาท ครอบคลุมนักเรียนระดับระดับ ม.4-ม.6 และครูผู้สอน จำนวน 1,236,985 เครื่อง และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษา ทุกที่ทุกเวลา : จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกสถานที่ (เช่า 4 ปี 2569-2572) โดย สอศ. เป็นหน่วยดำเนินการ งบประมาณ 3,302 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมนักศึกษาในระดับ ปวช.1-ปวช.3 และครูผู้สอน 159,332 เครื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการใช้จ่ายและจัดสรรงบประมาณอย่างรอบคอบ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ทางการศึกษาของประชาชนเป็นสำคัญ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเตรียมข้อมูลและวางแผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด รวมถึงกำหนดแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมช.ศธ.กล่าวว่า ได้รับทราบแนวทางการขับเคลื่อน PISA ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการใช้ชุดพัฒนาความฉลาดรู้ฯ ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งตามเป้าหมายในปี 2568 ที่ให้มีผู้ลงทะเบียน มากกว่า 4 แสนคน ซึ่งในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้วเกือบ 200,000 คน เข้าสู่เป้าหมายครึ่งหนึ่งของที่วางแนวทางไว้และดำเนินการได้ตั้งแต่ในเดือนแรกของปีนี้ และมีผู้อบรมแล้วเสร็จกว่า 134,994 คน และมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบในระดับเขตพื้นที่นั้นมีเขตพื้นที่ที่ลงทะเบียนครบ 100% ถึง 35 เขตพื้นที่ สำหรับปฏิทินการดำเนินงานฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีกำหนดการซ้อมทำข้อสอบสำหรับนักเรียนชั้น ม.2 จำนวนกว่า...
รมช.ศธ. “สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล” เผยมติคณะรัฐมนตรี (28 มกราคม 2568) เห็นชอบงบ ศธ. 4 พันล้าน “เครดิตพอร์ตโฟลิโอ” และจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอน “เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา” เฟส 2 ปี 2569-2574 จำนวน 29,765 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาฯ 3,302 ล้านบาท เรื่อง ขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการส่งเสริมการศึกษาเท่าเทียมด้วยระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะและเครดิตพอร์ตโฟลิโอ (The Digital Skill/Credit Portfolio: Empowering Educations) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้ ศธ. โดยสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดําเนินโครงการส่งเสริมการศึกษาเท่าเทียมด้วยระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะและเครดิตพอร์ตโฟลิโอ (The Digital SklUCredit Portfolio: Empowering Educations) (โครงการระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะ และเครดิตพอร์ตโฟลิโอฯ) งบประมาณจํานวน 4,214.74 ล้านบาท 2. อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อดําเนินโครงการระบบดิจิทัล พัฒนาทักษะและเครดิตพอร์ตโฟลิโอฯ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 – 2573 วงเงินทั้งสิ้น 4,214.74 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 จํานวน 1,906.53 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินโครงการระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะและเครดิตพอร์ตโฟลิโอฯ และส่วนที่เหลือ จํานวน 2,308.21 ล้านบาท ขอผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2570 – 2573 ประโยชน์ที่จะได้รับ (1) ผู้เรียนได้รับการเสริมสร้างให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งฝึกฝนความสามารถที่สามารถนําไปใช้ในการทํางาน และสร้างเสริมทักษะด้านอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการที่สําคัญของประเทศ (2) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยสําหรับการจัดการเรียนรู้ โดยปรับบทบาทสู่การเป็นผู้สนับสนุนที่กระตุ้นความสนใจชี้แนะแนวทาง และส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน (3) สร้างโอกาสให้กับนักเรียนในการเตรียมความพร้อมและทักษะเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (4) ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม (5) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสนใจ เพิ่มพูนทักษะและสามารถเข้าถึงการศึกษาและหลักสูตรตามความถนัดที่มีความสอดคล้องตรงตามความต้องการของตลาด (6) สร้างมาตรฐานและลดภาระของผู้เรียนในการเตรียมตัวและจัดทําพอร์ตโฟลิโอสําหรับใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้น เรื่อง ขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาระยะที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้ ศธ. ดําเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 (โครงการจัดหาอุปกรณ์ฯ ระยะที่ 2) งบประมาณจํานวน 29,765.25 ล้านบาท 2. อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อดําเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์ฯ ระยะที่ 2 เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 – 2573 วงเงินทั้งสิ้น 29,765.25 ล้านบาท โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปี จํานวน 5,953.05 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์ฯ ระยะที่ 2 และส่วนที่เหลือจํานวน 23,812.20 ล้านบาท ขอผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจํา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 – 2573 ต่อไป สาระสำคัญ 1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 482.26 ล้านบาท เพื่อดําเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ทุกที่ทุกเวลา :กิจกรรมพัฒนาระบบนิเวศทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (เป็นรายการปีเดียว ไม่ผูกพันงบประมาณ) โดยมีผลการดําเนินงาน เช่น เช่าใช้ระบบคลาวด์ จ้างที่ปรึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน (NDLP) สําหรับโรงเรียนคุณภาพในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 349 โรงเรียน [ไม่มีการดำเนินการเกี่ยวกับการเช่าใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน (อุปกรณ์)] ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับจัดสรรงบประมาณรวมจํานวน 3,395.47 ล้านบาท เพื่อดําเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 :กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2572 (ผูกพัน 5 ปี) เพื่อดําเนินกิจกรรม ดังนี้ (1) การส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา...
24 มกราคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมอบนโยบายและสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในจังหวัดนราธิวาส ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 พร้อมติดตามโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส โดยมี ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้การต้อนรับณ ลานพิกุล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รมช.ศธ. กล่าวว่า รู้สึกมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานเปิดงานโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาสในวันนี้ จากได้รับฟังคำกล่าวรายงาน ทำให้ทราบว่า จังหวัดนราธิวาส มีประชากรที่หลากหลายทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม ซึ่งนำไปสู่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต การที่ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะต้องได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในครั้งนี้เป็นการอบรมให้ความรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหาร ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนประจำศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในการจัดการศึกษาเอกชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน “ทั้งนี้มีความยินดีและขอชื่นชม ที่ได้เห็นถึงพลังความร่วมมือ ในการให้ความสำคัญกับการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชน ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาในหลายรูปแบบ ตามความต้องการของชุมชน และบริบทในพื้นที่ ทั้งการศึกษาในระบบ และนอกระบบ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามดูแล ให้สถานศึกษาเหล่านี้มีคุณภาพ สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ และขอฝากเรื่องของการพัฒนาทักษะอาชีพ การส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน การช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Drop out) การสอนภาษาไทย การสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา รวมถึงเรื่องของการสร้างสุขภาวะอนามัยที่ดี”รมช.ศธ. กล่าว รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินงานในวันนี้ หวังว่าผู้เข้าอบรมเข้าได้รับการพัฒนาสมรรถนะที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน เป็นคนดี คนเก่ง สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และสามารถนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่และประเทศชาติ ต่อไปในอนาคต ขอบคุณทุกคนที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ ขอให้รักษาคุณงามความดีที่ได้ปฏิบัติ และขอให้การดำเนินงานโครงการ บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ โอกาสนี้ขออวยพรให้คณะผู้บริหาร ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติต่อไป คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ / ข้อมูล ธรรมนารี ชดช้อย / ข่าว – กราฟิก
กระทรวงศึกษาธิการ – 16 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันครู ครั้งที่ 69 ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด “ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา : ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พร้อมกล่าวคำปราศรัย และมอบรางวัลให้แก่ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ พร้อมทั้งมอบเข็มคุรุสภาสดุดี และเกียรติบัตรรางวัลคุรุสภา “ระดับดี” ต่อหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ หอประชุมคุรุสภา ภาพเพิ่มเติม :https://www.facebook.com/share/p/1E5KAvMdve/ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมยินดีต่อผู้ที่ได้รับรางวัลเนื่องในโอกาสงานวันครูฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ผู้ที่ได้รางวัลล้วนเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนรู้และสนับสนุนการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนและการศึกษา ด้วยการอุทิศทั้งกำลังกายและกำลังใจในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศชาติ ผู้ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้จึงถือเป็น “แบบอย่างที่ดี” ซึ่งทั้งผู้เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพ และสังคมสามารถมองเห็นความดีงามจากการกระทำที่เป็นตัวอย่างในความเป็น “ครูดี” ของทุกท่าน รมว.ศธ. มอบสารเนื่องในโอกาสวันครู ประจำปี 2568 ครั้งที่ 69 โดยมีข้อความสำคัญในสารฯ ว่า “วันครู เป็นวันสำคัญเพื่อระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ทำให้นักเรียนและนักศึกษาเติบโตเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ขอขอบคุณครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกท่าน ที่ได้ตั้งใจทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขอให้คุณครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกท่าน ได้ช่วยกันสานต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” โดยใช้แนวทาง “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้างการศึกษาเท่าเทียม ต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว ภายใต้แนวคิด “ปฏิบัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อแข่งขันกับประชาคมโลกได้ต่อไป” รมว.ศธ. กล่าวคำปราศรัยเนื่องในโอกาสวันครูฯ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ การพัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของการศึกษา ตลอดจนคุณภาพของประเทศชาติ หัวใจสำคัญของการศึกษาจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ครูต้องกระตือรือร้น พัฒนาตนเองให้รอบรู้ รู้จริงในเรื่องที่สอน ส่วนผู้เรียนต้องกระตือรือร้นในการเรียนรู้จากครู เมื่อสองอย่างนี้มาเจอกันการพัฒนาอย่างมีคุณภาพจึงจะเกิดขึ้นได้ นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกำลังและความสามารถ รัฐบาลจะส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐาน เมื่อเติบโตก็ได้เรียนหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความสามารถทางกีฬา และพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ศักยภาพของผู้เรียน ลดภาระและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนสองภาษา โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นตัวช่วย เน้นการสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง เพื่อการสร้างรายได้ (Learn to Earn) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการเฟ้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคตและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นสานต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ความพยายามและความตั้งใจของกระทรวงศึกษาธิการจะสำเร็จได้ เพราะได้รับความร่วมมือจากครู ผู้บริหารทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการประสานเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติให้ก้าวหน้า ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เฉกเช่น “ดอกกล้วยไม้” อันเป็นสัญลักษณ์วันครู ต้องใช้เวลาดูแลและเอาใจใส่ แต่เมื่อออกดอกแล้วยังความสวยงามน่าชื่นชมมาสู่ผู้ที่ได้พบเห็น อย่างไรก็ดีผมยังมั่นใจว่าการที่กระทรวงศึกษาธิการจะพัฒนาการศึกษาของประเทศสำเร็จได้ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่างร่วมมือรวมพลังประสานมือกันช่วยเหลือ ทุ่มเท เอาใจใส่อย่างจริงจัง การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ได้รับรางวัลในวันนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่าเรามีครูและผู้บริหารที่ดีมีคุณภาพ เพียบพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ มีจิตวิญญาณความเป็นครู สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ สมดั่งคำขวัญของนางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 “ครูจุดประกายความฝัน ผลักดันให้กล้าคิด สร้างโอกาสในชีวิตให้เด็กไทย”ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของครูในการเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับเยาวชนไทย เป็นผู้ผลักดันให้ศิษย์กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าเดินตามเส้นทางที่เต็มไปด้วยความฝันและความหวัง ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ศิษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และการเตรียมความพร้อมให้ศิษย์ก้าวสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้การมุ่งมั่นในการเสริมสร้างการศึกษาและการเรียนรู้ จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายสำคัญในการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการดูแลนักเรียนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบกรับภาระงานที่เกินความจำเป็น ซึ่งรวมถึงนโยบายการลดหนี้สินครูฯ การลดเอกสารและภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนตรง การจัดการระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับเด็กไทยทุกคน นอกจากนี้ยังได้จัดเตรียมของขวัญที่จะมอบให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องในโอกาสวันครู จากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปิดระบบการย้ายข้าราชการครู (Teacher Rotation System: TRS) ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนในวันนี้เป็นวันแรก ตั้งแต่ 00.01 น. จนถึงขณะนี้มีผู้เข้าระบบแล้วกว่า 5 พันคน ระบบนี้จะเปิดให้ครูที่มีความประสงค์ขอย้ายได้ลงทะเบียนผ่านระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบตำแหน่งที่ว่างและสามารถติดตามคำร้องยื่นขอย้ายได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงาน พร้อมสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ระบบนี้จะเป็นเครื่องมือในการยืนยันความโปร่งใส และจะต่อยอดไปยังการย้ายผู้บริหารในอนาคต นอกจากนี้กระทรวงยังมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีในการลดภาระงานต่าง ๆ มาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลแบบ Single Sign On และขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปยังหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัด...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 2/2568 เผย ศธ. เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA หาแนวทางผลักดันให้มีผู้สมัครใจสอบ O-NET ต่อเนื่อง ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ได้รับรางวัลระดับชาติ-นานาชาติที่เกาหลี พร้อมแสดงความเสียใจต่อครอบครัว ครู ตชด. ที่เสียสละจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่นราธิวาส รวมทั้งยินดีในความสำเร็จสำคัญของ ศธ. ที่สามารถสร้างพื้นที่แห่งความสุขให้กับเยาวชนทั่วประเทศ งานวันเด็กแห่งชาติ 2568 15 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. และนายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.ในมิติของการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ขอให้นำหลักการทรงงานตามแนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”มาเป็นต้นแบบในการดำเนินงานต่าง ๆ ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สิ่งที่ดีก็นำมาถ่ายทอดเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน เสริมจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อน มีการนำข้อสั่งการต่าง ๆ ไปปรับใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติ รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมน้อง ๆ นักเรียน รวมถึงคุณครูและบุคลากรทุกท่าน ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ ด้วยการคว้ารางวัลจากการประกวดและจัดนิทรรศการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ แต่ก็มีความพยายามและความตั้งใจจนได้รับรางวัล ซึ่ง ศธ. จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและส่งเสริมโอกาส เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับรางวัลที่ได้รับจากเวทีการประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 2 ธันวาคม 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี SIIF (ระดับนานาชาติ) “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัล 3 รางวัล ประกอบด้วย 1. WIPO National Award for Creativity จาก Korean Invention Promotion Association (KIPA) รางวัลความเป็นเลิศด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) 2. รางวัล GOLD PRIZE จาก SEOUL INTERNATIONAL INVENTION FAIR รางวัลเหรียญทอง จากการ ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ โซล ประจำปี 2567 และ 3. รางวัล NRCT SPECIAL AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลงานวิจัยที่ใช้สื่อสังคม ออนไลน์สร้างสรรค์สังคมได้อย่างยอดเยี่ยม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันความท้าทายทางเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสากล 2024 และการแข่งขันวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีผู้เข้าแข่งขันและครูผู้ฝึกสอน ดังนี้ นางสาวอแมนด้า วงศ์สรณะ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นางสาวกวิตา สุดแสงจันทร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เด็กหญิงชญานันท์ รัศมีโสภณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กหญิงรมณ จุลพรม นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นายวศิน แสงสิน ครู คศ.1 นางสาวนฤมล สุวามิน ครู คศ.3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า การขับเคลื่อน PISA ถือว่ามีการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี มีการวางยุทธศาสตร์ในระยะยาว ต่อจากนี้ก็ขอให้นำปัจจัยความสำเร็จมาขยายต่อ และปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ มาหาวิธีการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ในส่วนของการสมัครสอบ O-NET...
กระทรวงศึกษาธิการโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดกิจกรรมมหกรรมวิทยาศาสตร์นานาชาติInternational Students Science Fair (ISSF 2025)เทิดพระเกียรติ70พรรษาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีดึงความสำเร็จจากโรงเรียนชั้นนำทั่วโลกตั้งเป้าปั้นหลักสูตรแห่งอนาคตขยายผลต่อโรงเรียนไทย 15มกราคม2568 –พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติครั้งที่20 The 20th International Students Science Fair (ISSF 2025)โดยนายสุรศักดิ์พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสุเทพแก่งสันเทียะปลัดกระทรวงศึกษาธิการว่าที่ร้อยตรีธนุวงษ์จินดาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นนฐานดร.วรวรงค์รักเรืองเดชผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงในสังกัดและในกำกับเข้าร่วมณโถงกลางอาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบกล่าวว่าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานISSFครั้งที่1เมื่อปีพ.ศ. 2548 (ISSF 2005)ครั้งที่7เมื่อปีพ.ศ. 2554 (ISSF 2011)และในครั้งนี้ปีพ.ศ. 2568 (ISSF 2025)เป็นการจัดงานครบรอบ20ปีซึ่งพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานในวันจันทร์ที่27มกราคมพ.ศ. 2568ณหอประชุมมหิดลสิทธาคารมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา)ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมจำนวน227คนจาก18ประเทศมีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งสิ้น43โรงเรียนเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับนานาชาติจะช่วยพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมการศึกษาวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติได้ ดร.วรวรงค์รักเรืองเดชกล่าวว่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนที่เป็นองค์การมหาชนแห่งเดียวของรัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาดังนั้นการทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลกในงานISSFจะทำให้เห็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแห่งอนาคตที่เป็นมาตรฐานนานาชาติและนำกลับมาทดลองใช้กับหลักสูตรของโรงเรียนเพื่อขยายผลต่อยอดให้กับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของไทยทั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยและโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นในประเทศต่อไป สำหรับงานมหกรรมทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติครั้งที่20 The 20th International Students Science Fair (ISSF 2025)กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่26 – 31มกราคมพ.ศ. 2568จัดโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นเจ้าภาพเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในปีมหามงคลแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ70พรรษาด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์นับแต่ก่อตั้งโรงเรียนเมื่อปีพ.ศ.2533และต่อวงการการศึกษาวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ภายในงานISSF 2025มีกิจกรรมสำคัญได้แก่นิทรรศการเทิดพระเกียรติปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ70พรรษาปาฐกถาพิเศษโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลการนำเสนอผลงานวิจัยโครงงานวิทยาศาสตร์ในมิติใหม่ร่วมกับการถ่ายทอดแรงบันดาลใจผ่านการแสดงผลงานศิลปะนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในมิติของผู้อำนวยการครูและบุคลากรทางการศึกษาเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นพลโลกที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสำคัญระดับโลกด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อีกด้วย พบพรผดุงพล/ข่าว พีรณัฐยุชยะทัต/ภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ยิ่งใหญ่ โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา เพิ่มพูนทักษะการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่ ตามคำขวัญ “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” เด็ก ๆ จะได้สนุกสนานไปกับบูทกิจกรรมRally 10 สถานี ทศมราชาเกม ของรางวัล ของขวัญมากมายนับแสนชิ้น ไฮไลท์สำคัญรมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เปิดอาคารราชวัลลภ พาน้อง ๆ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย เรียนรู้ประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ตามรอยเสนาบดีแห่งวังจันทรเกษม พร้อมเปิดห้องทำงานให้เด็ก ๆ นั่งเก้าอี้ทำงานเสมา 1 รับชมภาพเพิ่มเติม :https://www.facebook.com/MOE360degree/posts/pfbid02EzA9KpUmhA3fePUj6DBZ9NXY8pi8hR8c7KNDwTMu8Rw1z4fHApF5EetPdagZDtdyl กระทรวงศึกษาธิการ – 11 มกราคม 2568 / นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” โดยมีพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ตลอดผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการจัดงานฯ ข้าราชการ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาจำนวนมากเข้าร่วม ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook : ศธ.360 องศา นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานว่า วันนี้เป็นปีแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานวันเด็ก ณ กระทรวงศึกษาธิการ รู้สึกขอบคุณและประทับใจกับการร่วมงานวันเด็กที่กระทรวงศึกษาธิการ ขอชื่นชมน้อง ๆ ที่มาร่วมแสดงโชว์บนเวที ทั้งการแสดงเกี่ยวกับอาชีพและเต้นประกอบเพลง ซึ่งทุกคนได้แสดงความตั้งใจ ความชอบ ผ่านการฝึกฝน อาศัยความร่วมมือ มีความสามัคคีเป็นหมู่คณะในการผลิตโชว์จนสามารถผลิตโชว์ที่น่าประทับใจ ในที่แห่งนี้ เด็ก ๆ เยาวชน ผู้ปกครอง และครอบครัวได้มาร่วมงานฯ ซึ่งเราเปิดโอกาสให้เด็กสมัยใหม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีผู้ใหญ่อยู่เคียงข้าง คอยบอกเล่า คอยแนะนำประสบการณ์ สิ่งที่ผู้ใหญ่ได้เจอมาเพื่อให้เด็ก ๆ มีความรู้ ได้ข้อมูลที่มากพอ พร้อมที่จะมีความกล้าตัดสินใจ สิ่งที่ได้กล่าวว่า “ทุกโอกาส คือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ซึ่งไม่เพียงแต่เด็ก ๆ ที่จะได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเรียนรู้จากเด็ก ๆ ได้เช่นกัน เพราะในแต่ละวัยย่อมมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพียงแค่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน พร้อมเรียนรู้ พร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน หมายถึง “โอกาสแห่งการเรียนรู้” ที่ทุกคนสามารถสร้างร่วมกัน ซึ่งเป็นที่มาของคำขวัญวันเด็กของปีนี้ “ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต ทุกคนต้องเตรียมตัวให้พร้อม ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง และรู้จักคุณค่าของตัวเอง เพื่อที่จะก้าวสู่อนาคตที่สดใสและเหมาะสม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในวันเด็กปีนี้ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ และขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการที่สร้างสรรค์สิ่งที่น่าสนใจและน่าประทับใจ เพื่อสร้างความสุขและความสนุกให้กับทุกคน ขอให้ทุกคนเรียนรู้ให้เต็มที่ และขอให้ทุกคนมีอนาคตที่สดใส โดยมีโอกาสเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป” รมว.ศธ.กล่าวว่า การจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568 ในนามคณะทำงานการจัดงานฯ ของเด็ก ๆ และประชาชนทุกคนทั่วประเทศ การจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการมอบความสุขให้กับเด็กและเยาวชนทั้งประเทศ และมอบโอกาสให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับกิจกรรมที่สนุกสนานและมีประโยชน์ พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆ เติบโตได้อย่างมีความสุข ในส่วนกลางมีการจัดงาน ณ กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future” The classroom for future ห้องเรียนแห่งอนาคต โดยมีหน่วยงานส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่ร่วมมือร่วมใจกันสร้างความสุขให้กับเด็ก ๆ โดยเน้นกิจกรรมที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นกิจกรรม Active Learning ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime และส่งเสริมให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์อันดี มุ่งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน...
9 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวการจัดงานวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด “ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา : สร้างเด็ก “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำ ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ตลอดจนผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมงานแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อครูและวิชาชีพครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเยาวชนและอนาคตของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่พระราชบัญญัติครูได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. 2488 เป็น “วันครูแห่งชาติ” เพื่อเป็นการประกอบพิธีรำลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ การแสดงความเคารพและสำนึกในบุญคุณของครู รวมถึงส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูกับประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ โดย คุรุสภา องค์กรหลักและองค์กรในกำกับร่วมกันจัดงานวันครู ครั้งที่ 69 ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2568 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมคุรุสภา รวมทั้งผ่านระบบ Online และในส่วนภูมิภาค โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ เป็นหน่วยจัดงานวันครู ณ สถานที่ที่จังหวัดกำหนดตามความเหมาะสม กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ การจัดงานในครั้งนี้เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของครูไทยในการร่วมใจกันสร้างความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ศิษย์เป็นผู้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” โดยครูที่มีคุณภาพ ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” พร้อมแนวคิด ทำดี ทำได้ ทำทันที เพื่อให้ผู้เรียนในทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งในมิติของโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความปลอดภัย และการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด สำหรับงานวันครูฯ ในส่วนกลาง ปีนี้ได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีโดยภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คุรุสภาจัดให้มีพิธีมอบรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2568 การมอบเข็มคุรุสภาสดุดี และเกียรติบัตรรางวัลคุรุสภา “ระดับดี” ประจำปี 2567 รางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2567 รางวัล“คุรุสดุดี” ประจำปี 2567 รางวัลผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2567 รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา ประจำปี 2567 รางวัลพระพฤหัสบดี ระดับประเทศ ประจำปี 2567 รางวัล “ครูดีในดวงใจ” และรางวัลครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์และเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,217 คน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเตรียมของขวัญที่จะมอบให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด และในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 11 หน่วยงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดบริการระบบย้ายข้าราชการครูออนไลน์ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ลดภาระการจัดทำเอกสารคำร้องขอย้ายเพื่อความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปิดช่องทางการเรียกรับผลประโยชน์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา Spark and Share Idea แจกฟรีรวมไอเดียการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา Upskills ครูมืออาชีพสู่การพัฒนา DOE เด็กไทย และคลังความรู้สำหรับครูยุคดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดอบรมภาษาอังกฤษพร้อมสอบวัดระดับ CEFR ฟรี 10,000 Users สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดกิจกรรม 1 ครู 1 วิชาชีพ ฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น Up skill กว่า 800 หลักสูตร ให้กับครูที่สนใจ คนละ 1 หลักสูตร เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ สำหรับใช้ในการสอน และการสร้างอาชีพเสริม สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เปิดอบรมหลักสูตรวันครู รับเกียรติบัตรและชั่วโมงต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฟรี รับสิทธิ์เข้าใช้งาน Smart Education Hub คณิตศาสตร์สิงคโปร์ ฟรี เรียนภาษาอังกฤษจาก...
8 มกราคม 2568 – นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรแก่เด็กและเยาวชนนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ประจำปี 2568 โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้บริหาร และผู้เข้ารับเกียรติบัติ 838 คน เข้าร่วม ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ รมช.ศธ. กล่าวว่าเด็กและเยาวชน คือทรัพยากรที่มีคุณค่า ที่ผู้ใหญ่จากทุกภาคส่วน จะต้องดูแล ให้โอกาส ให้กำลังใจ และหล่อหลอมให้เจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีสติปัญญาควบคู่กับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และสำนึกในความเป็นไทย และในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ เด็กและเยาวชนที่นั่งอยู่ที่นี่คือผู้ที่มีความตั้งใจและมีความพยายามอย่างจนสามารถบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขอให้ทุกคนพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อย ๆ และขอให้คงความภาคภูมิใจในประสบการณ์ที่ได้รับและมีความสุขกับทุกกิจกรรมที่ทำ สำหรับการมอบเกียรติบัตรในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2568 ในนามกระทรวงศึกษาธิการมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง และขอถือโอกาสนี้แสดงความยินดีและขอชื่นชมเด็กและเยาวชนทุกคนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ประจำปี 2568 ในวันนี้ ขอให้ทุกคนเป็นเด็กดี มีวินัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป ปลัด ศธ.กล่าวว่าในการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และได้นำเด็กและเยาวชนดีเด่น เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่มีผลงานโดดเด่น เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐนตรี และรับโอวาท พร้อมทั้งรับมอบโล่เกียรติคุณ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล รวมถึงมอบเกียรติบัตรให้กับเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทุกภาคส่วนจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติในปีนี้ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ณ กระทรวงศึกษาธิการ และสถานที่ตั้งของส่วนราชการ หน่วยงานในภูมิภาค ทั้ง 76 จังหวัด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจำปี 2568 ได้พิจารณาคัดเลือกจากเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติใน 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 838 คน ได้แก่ ด้านวิชาการเป็นผลงานที่เกิดจากกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถด้านวิชาการ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภาษาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี โครงงานวิชาการ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านศิลปวัฒนธรรมและดนตรีเป็นผลงานที่เกิดจากกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถและทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมและดนตรี ตัวอย่างเช่น จิตรกรรม ทัศนศิลป์ ประติมากรรม หัตถศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม วรรณกรรม สุนทรพจน์ ศิลปะการเต้น นาฏศิลป์ การแสดงดนตรี การขับร้อง ขับร้องประสานเสียง ฯลฯ ด้านทักษะฝีมือวิชาชีพเป็นผลงานที่เกิดจากกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถและทักษะ ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ศิลปหัตถกรรม คหกรรม การประมง หุ่นยนต์ โดรน ปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ ด้านกีฬาและนันทนาการเป็นผลงานที่เกิดจากกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถและทักษะด้านกีฬา และนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสุขภาพ เพื่อการแข่งขัน เพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ทำให้เกิดความสนุกสนานคลายเครียด และส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ตัวอย่างเช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์โลก การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์เอเชีย การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแข่งขันกีฬาระดับอาเซียนสคูลเกมส์ การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ การแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ การแข่งขันกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ การแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ การแข่งขันหรือประกวดกิจกรรมความสามารถเชิงนันทนาการ เช่น การประกวดเชียร์ลีดดิ้ง, E-sport และประเภทกีฬาอื่นๆ เป็นต้น ด้านศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรมเป็นผลงานที่เกิดจากพฤติกรรมและการประกอบกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถการปฏิบัติชอบตามหลักธรรมทางศาสนา หรือการสนับสนุนสร้างสรรค์ผลงานการพัฒนาจิตใจ อนุรักษ์ สืบสานสร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม จริยธรรมและคุณธรรม หิริโอตัปปะ กตัญญูกตเวที ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ รวมภาพถ่าย การมอบเกียรติบัตรแก่เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ประจำปี 2568 จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล” เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 ณ หอประชุมคุรุสภา https://drive.google.com/drive/folders/14osinj5vu3JxDaOYpGjlyUDX4rU26l48?usp=sharing รายชื่อเด็กและเยาวชนน้ำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ประจำปี 2568 ประกาศผลการคัดเลือกเด็กและเยาวชน 2568Download พบพร ผดุงพล / ข่าว สมประสงค์ ชาหารเวียง / Facebook live ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาติ , ณัฐพล...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 1/2568 ชมเชยบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ในปี 2567 ที่ผ่านมา ร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกัน และชื่นชม “น้องรินดา” นักเรียนโรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม ทำ CPR ยื้อชีวิตผู้ป่วยในเหตุฉุกเฉิน พร้อมตั้งเป้าในปี 2568 ครูฯ ลงทะเบียนอบรมเป็นนักสร้างและพัฒนาข้อสอบ PISA มากกว่า 4 แสนคน แย้มเตรียมของขวัญรอเซอร์ไพรส์เยาวชนไทย ในงานวันเด็ก 2568 ที่กระทรวงศึกษาธิการ กว่า 1 แสนชิ้น 8 มกราคม 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และนายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า การดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณบุคลากรทุกคนที่ร่วมมือกับขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คาดหวังว่าพวกเราจะช่วยกันทำงานต่อไป ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อ “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ของชาวกระทรวงศึกษาธิการ ฝากมิติการทำงาน “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” เพื่อให้งานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ เพื่อเป้าหมายในการทำให้เด็กไทย “ฉลาด รู้ฉลาดคิด ฉลาดทำ” สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ชื่นชมนักเรียนโรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม “จุติ-ก้อง อนุสรณ์” จังหวัดภูเก็ต ให้การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอชื่นชมน้องรินดาและเพื่อน ๆ ที่ให้การช่วยเหลือในการทำ CPR ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย ถือเป็นการใช้ทักษะจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา ต่อยอดเป็นความสามารถ จนนำไปสู่การทำความดีในการช่วยเหลือผู้อื่นในครั้งนี้ ฝากให้มีการสื่อสาร การอบรมให้ความรู้ ขยายผลสู่สถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ขอให้ทุกคน “ทำดี ทำได้ ทำทันที” โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2568 ทีมกู้ชีพเทศบาลตำบลเชิงทะเล รับแจ้งเหตุ พบคนเป็นลมชักหมดสติ บริเวณใกล้ศาลเจ้าเชิงทะเล ถ.ศรีสุนทร ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จึงนำรถพยาบาลออกตรวจสอบที่เกิดเหตุพบชายสูงอายุ ขี่รถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงข้างนอนหมดสติอยู่บนรถ มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จึงเข้าให้การช่วยเหลือทำ CPR ติดตั้งเครื่อง AED เปิดทางเดินหายใจ เพื่อช่วยในการให้ออกซิเจน จึงได้มีการร้องขอความช่วยเหลือจากประชาชนที่อยู่บริเวณนั้น และได้รับการตอบรับจาก น.ส.เบญจวรรณ กันภัย หรือ น้องรินดา รีบเข้าไปให้การช่วยเหลือด้วยการปั๊มหัวใจด้วยเครื่อง AED ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุนำส่ง รพ.ถลาง เป็นการเร่งด่วน การยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นมิติที่ดีในการขับเคลื่อนในส่วนภูมิภาค ทุกเขตพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ทุกจังหวัดมีการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในทุกด้าน สำหรับการสอบ O-NET ที่กำลังจะมาถึงนั้น มอบหมาย สพฐ. หาแนวทาง วิธีการสร้างความสนใจและดึงดูดใจให้เด็กสมัครใจเข้าสอบให้ครบทุกคน เพื่อนำผลสอบมาพัฒนาการเรียนการสอน จัดสอนเสริมให้กับเด็กที่ยังอ่อนบางวิชา นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรในแต่ละช่วงชั้นให้ทันสมัย และขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนที่เข้าสอบมากที่สุด ทั้งในเรื่องของวัน เวลา สถานที่สอบ สนามสอบ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำหรับมิติในการประเมินหลังการสอบนั้น ต้องมีการเตรียมแผนรองรับเพื่อจัดหาสถานที่ติวหรือสถานที่เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ให้กับนักเรียนตามความเหมาะสม ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ หลักสูตรการสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในรูปแบบออนไลน์ Classroom มีการจัดอบรมในรูปแบบ On Demand มีวิทยากรแกนนำเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งจะมีการปฏิบัติการจัดทำภาระงาน (ข้อสอบ) ของการอบรม จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเป้าหมายในปี 2568 ต้องมีผู้ลงทะเบียน มากกว่า 4 แสนคน ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 176,465 คน อบรมแล้วเสร็จกว่า 4 หมื่นคน โดยมีการติดตามการใช้ชุดพัฒนาความฉลาดรู้เป็นระยะเพื่อนำผลมาสู่การพัฒนาต่อไป การติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา (Thailand Zero Dropout) รมว.ศธ.กล่าวว่า การค้นหาติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ถือว่ามีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการค้นหากลุ่มเด็กที่ตกหล่นหรือการทำให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยเฉพาะการช่วยให้เด็กสามารถกลับเข้าสู่ระบบฯ ต้องมีการประสานงานร่วมกันอย่างแข็งขัน เพื่อจะได้มีความรวดเร็วและครอบคลุมในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผลการติดตามข้อมูลเด็กวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา (เด็กตกหล่น) เป็นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลกลางของ สป.ศธ. ที่มีข้อมูลอัพเดทแบบ Real Time...
กระทรวงศึกษาธิการ ชวนเด็กและเยาวชนเที่ยวงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “เรียนดี มีความสุข Smart Kids,Happy Future” วันเสาร์ที่ 11 มกราคม ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ กระทรวงศึกษาธิการ พบกับบูทกิจกรรมและการแสดงที่สนุกสนานมากมาย พร้อมแจกของขวัญเด็ก ๆ กว่า 100,000 ชิ้น ฟรีตลอดงาน 7 มกราคม 2568 – กระทรวงศึกษาธิการ จัดแถลงข่าวกิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะผู้บริหารหน่วยงานหลัก คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเด็กและเยาวชนเข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบรมว.ศธ.เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2498 ซึ่งวันเด็กปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญวันเด็กปีนี้ว่า “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ตลอดจนให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ณ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด“เรียนดี มีความสุข Smart Kids, Happy Future”เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและเยาวชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ สร้างความตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบและระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม รวมทั้งยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมบูรณาการเชื่อมโยงกับนโยบายการศึกษา สำหรับหนังสือที่ระลึกวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ใช้ชื่อว่า “สยาม รวมมิตร” ภายใต้กรอบแนวคิด “รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ / ความสุข ความทุกข์ ความหวัง / Soft Power / สิ่งแวดล้อม / ปัญญาประดิษฐ์ (AI) / อื่น ๆ ที่สนใจและสร้างสรรค์” ตามชื่อของหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 โดย เป็นชื่อผลงาน ของนักเรียน เด็กหญิงเอมารินทร์ งามเลิศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหัวนา พร้อมด้วย ผลงานภาพ “การผสมผสานเอกลักษณ์ สไตล์เด็กไทย” โดย เด็กหญิงเติมเต็ม คงจังหวัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 71 (ก่อสร้างคลองด่าน) เพื่อให้เด็ก ๆ มาร่วมค้นพบความมหัศจรรย์ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ที่จะพาน้อง ๆ โบยบินเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ และความรู้แบบไทย ๆ กับ “สยาม รวมมิตร” ไฮไลท์พิเศษภายในเล่ม รวมผลงานสร้างสรรค์จากเด็กและเยาวชนไทย เรื่องราวสนุก ๆ จากนักเขียนรับเชิญ เกม และกิจกรรมชวนคิดมากมาย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.ประธานคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 กล่าวว่า การจัดกิจกรรมวันเด็กโดยกระทรวงศึกษาธิการปีนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. กิจกรรมการนำเด็กและเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศ 1.1. เด็กและเยาวชนดีเด่น เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่มีผลงานที่โดดเด่น เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจากนายกรัฐมนตรี พร้อมรับโล่เกียรติคุณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จำนวน 1,292 คน 1.2. เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เข้ารับเกียรติบัตร จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 838 คน ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนจากทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือก รวมจำนวน 2,130 คน แบ่งเป็น เด็กและเยาวชนดีเด่น จำนวน 686 คน เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่มีผลงานโดดเด่น จำนวน 606 คน เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 838 คน 2. กิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ณ กระทรวงศึกษาธิการและบริเวณโดยรอบ ทั้งบริเวณถนนราชดำเนินนอก ด้านหน้ากระทรวงศึกษาธิการ...