29 เมษายน 2567/ เวลา 18.00 น. พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และถวายเป็นพระกุศล แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2567 โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นำคณะผู้บริหารกระทรวง ข้าราชการ บุคลากรในสังกัด ประชาชน ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบเปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่ง กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เพื่อเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเสมอมา โดยเฉพาะด้านการศึกษาโดยทรงตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพ สนับสนุนด้านการศึกษาให้กับประชาชนได้เรียนรู้สามารถนํามาใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว รวมถึงสามารถนำความรู้มาพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ ทุน ม.ท.ศ.สนับสนุนแก่เยาวชนที่กำลังจะจบการศึกษาชั้นมัธยมต้น ให้มีโอกาสศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายไปจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนคืน รวมถึงความช่วยเหลือส่วนพระองค์ที่พระราชทานให้ชาวกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งครู นักเรียนและผู้ปกครองในยามประสบเหตุเดือดร้อนทุกข์ยากอยู่เสมอ เป็นต้น รวมทั้งถวายเป็นพระกุศลในโอกาสที่วันนี้ 29 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงเจริญพระชันษา 19 ปี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้เยาวชนไทยเสมอมา ทั้งการร่วมกิจกรรมจิตอาสาในโครงการจิตอาสาเราทำความดี ด้วยหัวใจ ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เสด็จฯ ไปประทานสิ่งของแก่ตัวแทนจิตอาสาในพื้นที่ต่าง ๆ ทรงประกอบอาหารประทานให้แก่จิตอาสาฯ ทั้งยังทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนา และด้านกีฬาเป็นอย่างยิ่ง โดยกระทรวงศึกษาธิการจะได้น้อมนำแนวทางการมีหัวใจเป็นจิตอาสาไปปลูกฝังให้เยาวชนทั่วประเทศได้ปฏิบัติตาม เพื่อให้ประเทศไทยเต็มไปด้วยผู้คนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อ สร้างสังคมน่าอยู่ ตามแนวทาง “เรียนดีมีความสุข” ปารัชญ์ ไชยเวช/ข่าว สมประสงค์ ชาหารเวียง, ณัฐพล สุกไทย/ถ่ายภาพ
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
ภารกิจ รมช.ศธ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
จังหวัดขอนแก่น – 29 เมษายน 2567 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาวิชาการ “ ยกระดับคุณภาพผู้บริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและวิชาชีพ” ประจำปี 2567 ณ โรงแรมเจริญธานี โดยมี นายวิศรุต ปู่เพ็ง ที่ปรึกษา รมช.ศธ. ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมคณะมาด้วย และมี นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานเขตตรวจราชการ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) และผอ.สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (ผอ.สพม.) รองผอ.สพป.และรองผอ.สพม. ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมมอบโล่ ให้กับ ผอ.สพป. , ผอ.สพม. ,รองผอ.สพป. และรองผอ.สพม. รมช.ศธ.กล่าวว่า ตนมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานเปิดงาน ประชุมสัมมนาวิชาการ “ยกระดับคุณภาพผู้บริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและวิชาชีพ” ประจำปี 2567 ในวันนี้ การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารการศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน ร่วมทั้งได้สร้างเครือข่ายทางการศึกษาที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ได้รับความรู้ความเข้าใจ เพิ่มพูนประสบการณ์ในการบริหารการศึกษา ส่งผลต่อสมรรถนะในการบริหารจัดการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริหารการศึกษาได้มีโอกาสรับฟัง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ วิชาชีพอย่างกว้างขวาง หลากหลายและทันต่อสถานการณ์ นําองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ทำให้ผู้บริหาร ครู ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำงานอย่างมีความสุข นักเรียน “เรียนดี มีความสุข” และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป “ขอชื่นชมแนวคิดและวิธีการความร่วมมือในการจัดงานของสมาคม รองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งยังขอแสดงความยินดีกับรางวัลที่ทุกท่านได้รับในครั้งนี้ ขอให้ทุกท่านให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาให้มีคุณภาพ ร่วมกันบูรณาการการทำงานเชิงพื้นที่ หาวิธีการที่จะทำให้นักเรียนของเรา เรียนดี มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายของท่าน พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ ขอให้การจัดงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ทั้งยังขอเป็นกําลังใจให้กับทุกท่านในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผมจะเป็นอีกหนึ่งพลังที่เดินไปพร้อม ๆ กับทุกท่าน จับ มือไว้ แล้วไปด้วยกัน” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ขอเน้นย้ำในสิ่งที่เคยฝากไว้แล้วในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2567 ได้แก่ 1. ความปลอดภัยในสถานศึกษา การเตรียมความพร้อมของอาคารสถานที่ สภาพห้องเรียน บริเวณโรงเรียน การปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำโรงเรียน การปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียน 2.การเฝ้าระวังความปลอดภัยในการเดินทางมาเรียนของนักเรียน 3. การสอดส่อง/เฝ้าระวังอันตรายจากบุคคลภายนอก ที่อาจเข้ามาสร้างความไม่ปลอดภัย ให้กับครู และนักเรียนภายในโรงเรียน 4. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครอง หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ตำรวจ สาธารณสุข กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เพื่อช่วยกันสอดส่องทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด 5. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และไซเบอร์อย่างสร้างสรรค์ 6.โครงการอาหารกลางวันของนักเรียนให้ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และ7. การจ้างนักการภารโรง เพื่อดูแลสภาพแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค และทรัพย์สินของทางราชการ รวมถึงดูแลความปลอดภัยของครูและนักเรียน ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 7 เดือนที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา และหวังว่าทุกท่านจะร่วมมือกันทำงานให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการ 24 เมษายน 2567 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดี สกร. และผู้บริหาร/คณะกรรมการ เข้าร่วมประชุมด้วยระบบ e-Meeting (ไม่ใช้กระดาษ) ณ ห้องประชุมราชวัลลภ รมว.ศธ. กล่าวว่าที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป. 112/2567 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย กระทรวงศึกษาธิการ โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธาน ซึ่งมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. เป็นฝ่ายเลขานุการ องค์ประกอบรวมทั้งสิ้น 24 คน นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายละเอียดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย รายละเอียดดังนี้ 1)ส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัย เข้าใจและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีรากฐานจิตสำนึกรักความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และหลักคิดที่ถูกต้องต่อชาติบ้านเมืองและ สถาบันสำคัญของชาติเป็นพลเมืองที่ดี 2)กำหนดคุณลักษณะของผู้สมัครเข้ารับราชการ เพื่อให้ได้ข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน มีจิตสำนึกรักและภูมิใจในความเป็นไทย มีจิตอาสา คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาข้าราชการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม 3)ส่งเสริมให้ข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการ บุคลากร ทุกระดับ ทุกประเภท เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีของแผ่นดิน มีจิตสำนึก จิตอาสา คุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม ประพฤติตนเป็นข้าราชการที่ดีตามรอยพระยุคคลบาท และสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างนโยบาย ทิศทางกรอบแนวทางการขับเคลื่อนตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงร่างแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาที่มีผลต่อหลักคิดที่ถูกต้องต่อชาติ บ้านเมือง และสถาบันหลักของชาติ และ ร่างแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีไหว้ครู และขับเคลื่อนสู่การเป็น Soft Power ของชาติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 โดย รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการพิจารณาทบทวนในส่วนที่รับผิดชอบอย่างละเอียด เพื่อส่งข้อมูลจับต้องได้ที่ชัดเจนให้ฝ่ายเลขานำเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 พบพร ผดุงพล / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
24 เมษายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 15/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบออนไลน์ ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ. นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว สรุปดังนี้ การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รมว.ศธ.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รวม 8 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 โดยมี นายเธียรชัย ณ นคร เป็นประธานกรรมการฯ นางวัฒนาพร ระงับทุกข์, รศ.ปานใจ ธารทัศนวงศ์, รศ.อดิศร เนาวนนท์, รศ.จิรดา วุฑฒยากร, น.ส.พรวิลัย เดชอมรชัย, ร.ต.ท.หญิง สุทธิมา พิพัฒน์พิบูลย์ และนายธนาวัฒน์ สังข์ทอง เป็นคณะกรรมการฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ชื่นชม “ศูนย์อาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน” (Fix it Center) ที่ร่วมส่งความสุข มอบความปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ที่ผ่านมา รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ร่วมมือร่วมใจในการดำเนินกิจกรรม “ศูนย์อาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน” เทศกาลสงกรานต์ 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จัดขึ้น 104 ศูนย์ ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 8.30 น.- 20.30 น. บนถนนสายหลัก และถนนสายรอง ภายใต้โครงการบูรณาการการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ กับการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสายอาชีวศึกษาที่มีจิตอาสา ในแคมเปญ “ส่งความสุข มอบความปลอดภัยในการเดินทาง” ให้กับประชาชน ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษากับสถานการณ์จริง ได้นำความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม รวมถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน ที่มาร่วมสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ “สุขาดี มีความสุข” ห้องน้ำโรงเรียนต้อง “สะอาด สะดวก สบาย สุขลักษณะ สวยงาม” ตามที่ รมว.ศธ. มีนโยบายในการปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนโดย สพฐ. จะจัดสรรงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนกว่า 100 ล้านบาท ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ประมาณ 9,700 แห่ง ที่มีนักเรียน 80 คนลงมา โดยงบที่จัดสรรให้จะให้โรงเรียนทาสีห้องน้ำเปลี่ยนสุขภัณฑ์หรือระบบประปาใหม่ ในด้านการสร้างความเท่าเทียมในการใช้ห้องน้ำ ที่ให้ครูกับนักเรียนเข้าห้องน้ำร่วมกันได้ โดยแบ่งแยกเฉพาะห้องน้ำชาย-หญิงนั้น เป็นข้อแนะนำของ รมว.ศธ. ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของโรงเรียนที่จะดำเนินการ ไม่ได้เป็นการบังคับหรือสั่งการให้ปฏิบัติทุกโรงเรียน เพียงแต่ประสบการณ์ของตนเองที่เคยทำงานมา ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ประชาชน หรือนักเรียน ก็สามารถใช้ห้องน้ำที่สะอาดร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกกัน สิ่งสำคัญได้เน้นย้ำให้ผู้บริหารดำเนินการกำกับ ติดตาม และเร่งรัดให้ทุกโรงเรียนดำเนินการสำรวจข้อมูลสภาพห้องน้ำทุกโรงเรียน และวางแผนดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมห้องน้ำโรงเรียน โดยต้องมีความ “สะอาด สะดวก สบาย สุขลักษณะ สวยงาม” และดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน โดยปรับปรุงทาสี จัดหาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ สวยงาม เหมาะสม พร้อมทั้งบันทึกภาพทั้งก่อนและหลังการดำเนินการแล้วเสร็จ และรายงานผลการดำเนินงานก่อนเปิดภาคเรียน การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษาที่ 1/2567 รมว.ศธ. ได้เน้นย้ำนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”ผู้บริหารส่วนกลาง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2567 ซึ่งมีกำหนดเปิดภาคเรียนในวันที่ 16 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ จึงขอให้สถานศึกษาดำเนินการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ทั้งความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้คำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียน ตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียน จนออกจากโรงเรียนและเดินทางถึงบ้านพักนักเรียน รวมทั้งการเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันแก่นักเรียน อาทิ...
23 เมษายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 ทั้งในด้านความปลอดภัยและการจัดการเรียนการสอน โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. รวมถึงผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขตทั่วประเทศ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม จำนวน 650 คน ณ ห้องประชุมฉัตรแก้ว โรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ควบคู่กับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting กว่า 21,002 คน และรับชมถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง OBEC Channel จำนวน 20,905 คน รวมทั้งสิ้นกว่า 42,557 คน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่ได้สื่อสารนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้แก่ผู้บริหารเขตพื้นที่และสถานศึกษา ซึ่งทุกคนเป็นเป็นโซ่ข้อกลางที่สำคัญในการเชื่อมต่อนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด คือ ตัวผู้เรียน ทำอย่างไรให้ “เรียนดี มีความสุข” ทั้งนี้ ศธ. มีกำหนดเปิดภาคเรียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 จึงขอให้สถานศึกษาดำเนินการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้คำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียน ตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียนจนออกจากโรงเรียน และเดินทางถึงบ้านพักนักเรียน ด้านการเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติม เป็นต้น ด้านเครือข่ายและการสร้างความร่วมมือ สถานศึกษาประสานเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต บูรณาการความร่วมมือการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กนักเรียน เป็นต้น “ก่อนเปิดภาคเรียนปีนี้ก็จะมีความแปลกใหม่เล็กน้อย ซึ่งทุกท่านก็คงทราบอยู่แล้ว เรื่องของการจ้างนักการภารโรง ขณะนี้อยู่ในกระบวนการสรรหาบุคคล ซึ่งตามแผนแล้วจะต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายนนี้ และจะเริ่มจ้างในวันที่ 1 พฤษภาคม วันนี้เราจึงมาประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจกันก่อน และมอบนโยบายการปฏิบัติงานทุกเรื่อง ไม่ว่าจะในมิติของเรื่องสภาพแวดล้อม สถานที่ ด้านวิชาการ การรักษาความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ๆ ผมและ รมช.ศธ.ก็ได้ถือโอกาสมาให้กำลังใจทุกท่าน โดยจากที่ติดตามการทำงานมาตลอดก็เห็นว่า เลขาธิการ กพฐ.และผู้บริหารระดับสูงทุกท่านล้วนมีความพร้อมในการขับเคลื่อน ซึ่งการประชุมวันนี้มีผู้เข้าร่วมรับฟังในแต่ละช่องทางจำนวนมาก เราก็จะให้สแกน QR Code เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้สื่อสารกลับมาว่าการรับรู้การถ่ายทอดวันนี้เป็นอย่างไร มีสิ่งใดที่สงสัย หรือไม่เข้าใจก็สามารถแจ้งเข้ามา เราจะติดตามนำข้อคำถาม คำแนะนำต่าง ๆ มาพัฒนาให้ดีที่สุด” รมว.ศธ. กล่าว รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเรื่องการสร้างความเท่าเทียมในการใช้ห้องน้ำ ที่ให้ครูกับนักเรียนเข้าห้องน้ำร่วมกันได้โดยไม่แบ่งแยกนั้น ก็เป็นข้อแนะนำของรัฐมนตรี ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของโรงเรียนที่จะดำเนินการ ไม่ได้เป็นข้อสั่งการหรือข้อบังคับให้ปฏิบัติทุกโรงเรียน โดยประสบการณ์ของรัฐมนตรีเองที่เคยทำงานมา ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ประชาชน นักเรียน ข้าราชการ พ่อค้าหรือใครก็ตาม สามารถใช้ห้องน้ำร่วมกันได้ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกกัน การที่เน้นย้ำเรื่องของห้องน้ำเพราะว่าห่วงใยเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย สิ่งนี้สำคัญมากกว่าประเด็นที่ครูใช้ห้องน้ำของนักเรียน หรือนักเรียนใช้ห้องน้ำของครูแล้วจะทำให้เกิดความไม่เคารพกัน หากเราสามารถมาใช้ห้องน้ำร่วมกันได้ ก็เป็นมิติหนึ่งที่สามารถทำได้ที่ครูได้เข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งบางทีครูเข้าไปในห้องน้ำนักเรียน อาจจะได้เห็นว่ามีอุปกรณ์ชำรุดก็จะได้เร่งซ่อมแซม หรือแม้แต่หากเกิดมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เช่น การกลั่นแกล้งบูลลี่กัน การแอบสูบบุหรี่หรือสารเสพติด ครูก็จะรับรู้และช่วยแก้ไขได้ ทั้งนี้ก็เป็นดุลพินิจของโรงเรียนว่าจะแยกห้องน้ำหรือไม่แยกก็ได้ แต่กำชับว่าห้องน้ำครูและห้องน้ำนักเรียนต้องมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน “ดังนั้น ในห้วงเวลาก่อนการเปิดภาคเรียนใหม่นี้ จึงขอความร่วมมือจากทุกท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่กำกับดูแลสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนดูแลนักเรียนเป็นจำนวนมาก ได้ร่วมกันในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2567 ทั้งในด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงด้านความปลอดภัย อาคารสถานที่ อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จ นำไปสู่การสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาครอบคลุมทุกด้าน เป็นประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไป”รมว.ศธ. กล่าว นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.ได้กล่าวแสดงความห่วงใยครูและนักเรียน ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน จะเห็นได้ว่าห้วงเวลาที่ผ่านมาการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ สามารถลดภาระครูได้อย่างชัดเจนและสร้างความสุขให้ครูได้ไม่น้อย แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการสร้างความสุขให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเท่านั้น เพราะจากนี้ไปพวกเราจะมาช่วยกันทำให้ความสุขเหล่านั้นมากยิ่งขึ้นในการร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ลดภาระครู ผู้ปกครอง นักเรียน รวมทั้งขอย้ำว่านโยบาย ศธ. จะมีแต่นโยบายที่ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา จะไม่มีนโยบายไหนที่ออกไปแล้วสร้างภาระนอกเหนือจากการสอนให้กับครูและบุคลากรของเรา หรือภาระที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงมีแต่จะต้องโดนลดลงไป การเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2567 นี้จะเป็นปีแรกจริง ๆ ที่จะดำเนินการตามแนวทาง “เรียนดี มีความสุข” ดังนั้นนโยบายที่กำลังออกมาเรื่อย ๆ จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องคุณภาพการศึกษา สภาพแวดล้อม สถานที่การจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนในสังกัด สพฐ. 29,000 กว่าแห่ง อีกเรื่องหนึ่งคือ ห้องสุขา ก็เป็นนโยบายที่ รมว.ศธ.ให้ความสำคัญ ซึ่งมาจากเสียงสะท้อนของเด็กนักเรียน เราก็นำมาขับเคลื่อนแก้ปัญหา เพื่อให้ลูก...
‘เพิ่มพูน’ แถลง ครม.อนุมัติงบกลาง จ้างนักการภารโรงทุกโรงเรียน ชื่นชมนักเรียนกล้าหาญจากสมุทรปราการช่วยคนจมน้ำ แนะเชิญโรงเรียนสังกัดอื่นมาร่วมเตรียมตัวสอบ PISA 2025 พร้อมเตรียมชาวอาชีวะช่วยประชาชนช่วงสงกรานต์ 10 เมษายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 14/2567 ขอบคุณนายกรัฐมนตรี อนุมติงบกลาง จ้างนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน เริ่ม 1 พ.ค. 2567 รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ที่มีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 618,795,000 บาท สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินการจ้างนักการภารโรงครบทุกโรงเรียนได้ทันก่อนเปิดภาคเรียนในเดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 13,751 อัตราระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคม-กันยายน 2567 ในส่วนของปี 2568ครม.ได้อนุมัติงบประมาณปี พ.ศ. 2568 ในลักษณะผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) จำนวน 25,370 อัตรา รวมเป็นเงินกว่า 2,739,960,000 บาท ซึ่ง สพฐ.จะจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป โดยหลังจากนี้ทาง สพฐ. จะได้แจ้งบัญชีจัดสรรนักการภารโรงไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ก่อนจัดสรรต่อไปให้โรงเรียน ซึ่งคาดว่าโรงเรียนจะสามารถสรรหาและทำสัญญาจ้างได้ภายใน 30 เมษายนนี้ ขณะนี้ได้กำชับ สพฐ. วางคุณสมบัติผู้สมัครให้ชัดเจน เช่น ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้น ที่สำคัญคือหากผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากเราต้องเข้มงวดเรื่องการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่จะมาเป็นนักการภารโรง หากผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วหรือผ่านการเป็นนักศึกษาวิชาทหารเป็นกำลังพลสำรองของกองทัพไทยภายใต้การควบคุมของโรงเรียนรักษาดินแดน (รด.) มาแล้วก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก “นอกจากนั้นก็ต้องมีคุณสมบัติในเรื่องของการเป็นช่างซ่อมด้านต่าง ๆ ช่างฝีมือ ขับรถยนต์หรือจักรยานยนต์ได้ โดยจะร่างเป็นเกณฑ์ขึ้นมาให้ชัดเจน ดังนั้นนักการภารโรงของต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมา ซึ่งเหตุผลที่เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะนักการภารโรงสำหรับเราเปรียบเสมือนกับแก้วสารพัดนึกที่จะมาช่วยคุณครูของเราลดภาระงานต่าง ๆ ช่วยดูแลโรงเรียน เป็นผู้ปฏิบัติงานสำคัญ ไม่ใช่เป็นแค่ยามเฝ้าโรงเรียนแต่จะเป็นทุกอย่างที่เข้ามาช่วยเติมเต็มโรงเรียน ให้ครูและนักเรียนของเรา” ชื่นชมนักเรียนฮีโร่จากสมุทรปราการช่วยคนจมน้ำ รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้ยกย่องชื่นชมด.ช.อมรเทพ เมษา นักเรียนชั้น ม.2/6 โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยาสังกัด สพม.สมุทรปราการ ที่ได้กระทำความดีที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจมน้ำ เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา โดย ด.ช.อมรเทพ ได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือ จึงโยนโฟมลงไปให้ผู้ประสบเหตุ แต่ผู้ประสบเหตุไม่ยอมเกาะ จึงตัดสินใจกระโดดลงน้ำเพื่อว่ายเข้าไปช่วยเหลือ จนสามารถนำตัวผู้ประสบเหตุขึ้นจากฝั่งได้อย่างปลอดภัย ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา PISA รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า สสวท. ได้รายงานการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา PISA ซึ่ง สสวท. ได้รายงานหลักสูตรการวัดผลประเมินผลตามแนวทาง PISA เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำแนวทาง PISA มาปรับใช้ในชั้นเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์แบบสะสมชั่วโมงเรียนจนครบ 7 บทเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาลงทะเบียน 6,562 ราย เข้ารับการอบรมแล้ว 1,573 ราย เรียนสำเร็จแล้ว 607 ราย และกำลังเรียน 966 ราย ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้แนะนำให้เชิญสถานศึกษาจากสังกัดอื่นเข้ามาร่วมเรียนด้วย เพื่อให้ผลการสอบ PISA 2025 มีผลคะแนนสูงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่ สพฐ. ได้มีแนวคิดในการจัดระบบพี่เลี้ยง “โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง” โดยพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะความรู้ จัดการเรียนรู้ในห้องเรียน เพิ่มเติมคลังแบบทดสอบตามแนวทางการประเมิน PISA พร้อมพัฒนาแนวทางการวัดผลในรูปแบบ Computer Based ซึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการเตรียมความพร้อมให้ศึกษานิเทศก์ในเรื่อง PISA ขณะเดียวกันมีนักเรียนเป้าหมายที่เข้าระบบ PISA Style Online Testing ทดลองใช้เครื่องมือในการพัฒนา กว่า 56,973 คน โดยในอนาคต สพฐ. ได้วางแผนการฝึกอบรมวิทยากรแกนนำและการเตรียมความพร้อมเป็นพี่เลี้ยงของเขตพื้นที่รูปแบบออนไลน์ รวมถึงเขตพื้นที่มัธยมศึกษาและประถมศึกษาต่อไป สพฐ.รายงานสรุปความคิดเห็นครู-นักเรียนทั่วประเทศ การประชุมครั้งนี้ สพฐ. ได้รายงานผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในโรงเรียน และการดำเนินการพัฒนา ของนักเรียนสังกัด สพฐ. ชั้น ป.4-6 และ ม.1-ม.6 รวม 511,711 คน โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกิจกรรมการพัฒนานักเรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เรียนรู้เรื่องการเงินเห็นด้วย 97.2% ไม่เห็นด้วย 2.8% การเรียนรู้และป้องกันอันตรายจากการใช้สื่อออนไลน์เห็นด้วย 97.2% ไม่เห็นด้วย 2.8% กีฬาE-Sportควรมีการสอนในโรงเรียน ฝึกการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้...
10 เมษายน 2567 / พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานงาน “ประเพณีสงกรานต์ ศึกษาธิการสืบสานวัฒนธรรมไทย” โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อาวุโส สมาชิก ช.อ.ศ., มบอศ. ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมงาน ณ หอประชุมคุรุสภา นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานว่า“ประเพณีสงกรานต์ ศึกษาธิการสืบสานวัฒนธรรมไทย”จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่ชาวกระทรวงศึกษาธิการจะได้มารวมตัวกันรดน้ำขอพรจากผู้บังคับบัญชาและผู้อาวุโส เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามตามเทศกาล และเป็นการส่งเสริมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย แสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพนับถือ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.กล่าวชื่นชมชาวกระทรวงศึกษาธิการ ที่ยังคงรักษาและสืบทอดประเพณีอันดีงามเกี่ยวกับวันสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นไทยมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประกอบไปด้วยวันสงกราน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าเป็นเทศกาลสำคัญต่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่มีมาอย่างยาวนานจึงขอให้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวนี้อยู่กับครอบครัวให้เต็มที่ วางเรื่องการงานเอาไว้ชั่วคราวก่อน เพื่อมอบความสุขให้กับครอบครัวอย่างเต็มที่ ตามนโยบายของเรา นอกจากจะขับเคลื่อนการทำงานเรียนดี มีความสุขแล้ว ชีวิตในด้านอื่น ๆ ก็ต้องมีความสุขด้วยเช่นกันตลอดจนช่วยกันรักษาประเพณีในการเล่นน้ำเทศกาลสงกรานต์อย่างมีวัฒนธรรม ช่วยกันประหยัดและตระหนักในคุณค่าของน้ำ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ไทยเราไว้ รมว.ศธ.ให้เกียรติกล่าวคำอำนวยพรเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 “ประเพณีสงกรานต์ ศึกษาธิการสืบสานวัฒนธรรมไทย” ว่า ขอให้โอกาสเทศกาลสงกรานต์นี้ เป็นห้วงเวลาแห่งการเสริมสร้างความสุข ความรัก ความสามัคคี และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ อีกทั้งพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้ท่านทั้งหลายมีความสุข ความเจริญ ประสบแต่สิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ #กระทรวงศึกษาธิการ #เรียนดีมีความสุข #สงกรานต์2567 #เดินทางปลอดภัย #สงกรานต์67 #สงกรานต์2024 //////////////////////////////////// ปารัชญ์ ไชยเวช/ข่าว สมประสงค์ ชาหารเวียง, ศุภณัฐ วัฒนมงคลลาภ, พีรณัฐ ยุชยะทัต, ณัฐพล สุกไทย/ถ่ายภาพ
ขอเชิญผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับชมศึกษาเรียนรู้ข้อมูลความรู้ จากการสัมมนานักบริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมบอลรูมชั้น 2 สนามช้างอารีนา โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงทุกองค์กรหลัก/ในกำกับ เข้าร่วมการประชุม สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ มีผู้บริหารชั้นนำจากภาคเอกชน มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP), นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, นายอุกฤษณ์ ภาควิวรรธ รองผู้จัดการใหญ่ ด้านวางแผนการค้า และการตลาด บริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด, นายอารักษ์ พรประภา ประธานบริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด, นายเนวิน ชิดชอบ ประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, นางสาวฐิติรัตน์ เจริญยิ่งวัฒนา และนายธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอเชิญผู้บริหาร ข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทุกสังกัด ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ รับชมศึกษาเรียนรู้ข้อมูลความรู้จากการสัมมนาดังกล่าวตามลิงก์ รวมคลิป “หลักสูตรการสัมมนานักบริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ” ณ จังหวัดบุรีรัมย์ ขอเชิญผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับชมศึกษาเรียนรู้ข้อมูลความรู้ จากการสัมมนานักบริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมบอลรูมชั้น 2 สนามช้างอารีนา โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงทุกองค์กรหลักในสังกัด/ในกำกับ เข้าร่วมสัมมนา สรุปภาพรวมการสัมมนา https://youtu.be/BbmqvMN8YMg พิธีเปิดโครงการสัมมนา https://youtu.be/l0wRqJig-30 การขับเคลื่อนนโยบาย ศธ. (พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.) https://youtu.be/ZItq14v7Jco แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.) https://youtu.be/xSd8b17P_RQ มุมมองต่อการศึกษาในมุมมองของภาคเอกชน (นายศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด) https://youtu.be/5Se05fTv9DU การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคเอกชน 3 ผู้บริหารบริษัทเอกชนด้านยานยนต์ (นายอารักษ์ พรประภา จากไทยฮอนด้า, นายอุกฤษณ์ ภาควิวรรธ จากไทยยามาฮ่ามอเตอร์ และนายศุภกร รัตนวราหะ จากโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย) https://youtu.be/X7HQYwwPKs4 Mindset สําหรับนักบริหาร (นายเนวิน ชิดชอบ ประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) https://youtu.be/IyziWsKxWA0 การสังเคราะห์ DNA ของกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวฐิติรัตน์ เจริญยิ่งวัฒนา บริษัท รีเทล แพสชั่น จำกัด) https://youtu.be/1g3GDgCjvBg MoE Digital Transformation (นายธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ บริษัท แอทไวส คอนซัลติ้ง จำกัด) https://youtu.be/2jOYfV7qRao พิธีปิด https://youtu.be/GjE68t0g_N4 •• รับชมต่อเนื่องตาม Playlist การนำเสนอ https://youtube.com/playlist?list=PLCNhsGIYTlkxqnSUCzRGlVz0F4cX_iieD&si=-9cE1oe4zpTHJrXx
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ชี้แจงในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 ณ อาคารรัฐสภา พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการนำไปขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยเรื่องที่ดำเนินการไปแล้วในด้านการลดภาระครู ได้แก่ ปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา นำครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ รวมถึงเรื่องที่เพิ่มเติมจากนโยบายที่ได้แถลงไป คือ การยกเลิกเวรครู ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า“ชีวิตและความปลอดภัยของครูสำคัญกว่าทรัพย์สิน”การจัดหานักการภารโรง และปรับลดงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน ส่วนการลดภาระนักเรียนที่ดำเนินการแล้ว คือ การมีรายได้ระหว่างเรียน จบมามีงานทำ และอาหารกลางวันโรงเรียนขยายโอกาส การลดภาระครู ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. ปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาลดขั้นตอน ปริมาณเอกสาร (paperless) และเปิดช่องทางต่าง ๆ นำระบบประเมินวิทยฐานะผ่านระบบออนไลน์ Digital Performance Appraisal : DPA มาใช้ในกระบวนการประเมินทุกขั้นตอน ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ว่าเรื่องอยู่ในขั้นตอนใด ได้รับการพิจารณาหรือยัง ซึ่งระบบ DPA ใช้เวลาประเมินเร็วสุดหลังจากยื่นผลงาน 17 วัน ค่าเฉลี่ยเวลาการประเมินไม่เกิน 3 เดือน ประหยัดงบประมาณได้มากถึง 10 เท่า และปิดช่องทางการทุจริต การเรียกรับผลประโยชน์จากครู และลดภาระครูในการผลิตเอกสารที่เสียค่าใช้จ่ายมากมายอีกด้วย 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่นได้มอบนโยบายให้สำนักงาน ก.ค.ศ. จัดทำระบบการย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System : ระบบ TMS) เพื่อให้การบริหารจัดการย้ายครูเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยครูที่ต้องการย้ายสับเปลี่ยนสามารถมาลงข้อมูลในระบบ จากนั้นระบบจะจับคู่ให้ตามความต้องการ ซึ่งครูสามารถเข้ามาติดตามดูผลได้ตลอด สำหรับครูที่จับคู่ย้ายได้แล้ว สำนักงาน ก.ค.ศ. จะส่งรายชื่อไปให้ สพท. ปลายทางที่ผู้ขอย้ายประสงค์จะไปดำรงตำแหน่ง เพื่อนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา ส่วนครูที่ยังจับคู่ย้ายไม่ได้ เราก็จะทราบข้อมูลและหาทางช่วยเหลือให้สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้ตามต้องการ 3. แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการโดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. เป็นประธานได้วางมาตรการ 9 อย่าง ได้แก่ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ยกระดับการหักเงินเดือนและควบคุมยอดหนี้ ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู ปรับโครงสร้างหนี้ ใช้ ช.พ.ค.เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ติดอาวุธให้ความรู้และทักษะด้านการเงิน จัดทำ MOU กับหน่วยงานและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยในส่วนกลางและภูมิภาค มีการแบ่งครูออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง ตามสภาพคล่องที่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากแก้ไขปัญหาหนี้สินแล้ว ยังจัดให้ให้ความรู้ด้านการเงิน โดยได้รับความร่วมมือจากโค้ชหนุ่ม นายจักรพงษ์ เมษพันธุ์ The money coach และคณะ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้กับบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ และระยะต่อไปจะมีการนำความรู้ด้านการบริหารเงินและหนี้สินขยายผลไปสู่กลุ่มนักเรียนด้วย 4. จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลด้านระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล จัดหาซอฟท์แวร์สำเร็จรูป การเช่าระบบคลาวด์ระดับ และการเช่าเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนรู้ Tablet, Notebook หรือ Chromebook 5. ยกเลิกครูเวรทราบกันดีอยู่แล้วว่าครูมีภาระงานที่ต้องสอนหนังสือเป็นหลัก แต่ก็ยังมีภาระหน้าที่อื่น ๆ ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ทั้งงานธุรการ ดูแลรักษาความสะอาด โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กมีบุคลากรค่อนข้างน้อย ครูอาจทำหน้าที่หลายด้าน รวมถึงการอยู่เวรนอกเวลาราชการที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา “ผมมีความเชื่อว่า ชีวิตและความปลอดภัยของครู สำคัญกว่าทรัพย์สิน จึงได้ขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่23 มกราคม 2567 ให้ยกเลิกครูอยู่เวร เป็นการพิจารณาเรื่องของการป้องกันรักษาความเสียหายจากเหตุภัยอันตรายในชีวิตและร่างกายครู พร้อมทั้งขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการดูแลความเดือดร้อนของประชาชนภายในประเทศ ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณสถานศึกษา” พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าว 6. จัดหานักการภารโรงศธ.มีนโยบายจัดหาตำแหน่งนักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียน ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้มีมติเห็นชอบหลักการในการจ้างนักการภารโรง ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 25,370 อัตรา เป็นเงิน 2,739,960,000 บาทเพื่อจ้างนักการภารโรงให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนทั่วประเทศ ส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อยู่ระหว่างการขออนุมัติใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน หรือ พ.ศ. 2567 แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นค่าจ้างนักการภารโรงในโรงเรียนที่ขาดแคลน จำนวน 13,751 อัตรา 7. ปรับลดงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน ลดภาระการประเมินของสถานศึกษามีการ ลด/เลิก โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อน การเก็บข้อมูลจาก สพท. สถานศึกษา การรายงานในรูปแบบกระดาษ การเขียนด้วยลายมือ การจัดเตรียมการเพื่อรองรับการติดตามประเมินผล ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บและประเด็นที่ประเมิน และลดความซ้ำซ้อน...
5 เมษายน 2567 / นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี นายกมล รอดคล้าย ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ.ในฐานะรองประธานกรรมการ ฯ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัด สกศ. สอศ. สกร. สช. เข้าร่วมประชุม รมช.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า สาระสำคัญของการประชุมในวันนี้ จะเป็นการรายงานการดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของ สพฐ. ที่ผ่านมาได้แก่ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ,แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการ Kick Off : การขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครพนม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดปัตตานี ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การสร้างความตระหนักความภาคภูมิใจ เสวนาวิชาการ การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์วิถีใหม่ของโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ “ทั้งยังมีการทำบันทึกข้อตกลง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 ที่ ศธ. โดยเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ศธ. กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,หนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เรื่องซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย พร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยของ สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 , สพฐ. ได้ดำเนินการ Kick Off : การขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2566 ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย , สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รายงานเกี่ยวกับ เวทีเสนาวิชาการ “เปิดโฉมหน้าวิชาประวัติศาสตร์ไทย : คน Gen ใหม่ เรียนเรื่องเก่าแบบไหนในยุค AI ครองเมือง” เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2567 ณ TK Park” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ปี 2567 ของ สพฐ. ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาครูต้นแบบเทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ,การจัดมหกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ใน 4 ภูมิภาค ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงคุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในราชวงศ์จักรีที่มีต่อสังคมไทย , การประกวดสื่อวิดีทัศน์ ภาพยนตร์สั้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และ Roadshow รูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 77 จังหวัด ที่สำคัญในปี 2567 จะมีการขยายผลจัดงานมหกรรมประวัติศาสตร์ 4 ภูมิภาคด้วย
5 เมษายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และประชุมที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. ผู้บริหาร ศธ. ตลอดจนคณะกรรมการฯ จากภาครัฐและเอกชนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ และระบบออนไลน์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ รมว.ศธ.กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่กำลังจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคมนี้ เป็นภารกิจที่สำคัญเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาของประเทศสมาชิก เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน และแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาและภารกิจด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงขอให้ทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันในการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จะแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรี และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสหรือระดับปลัดกระทรวงฯ ดังนี้ 1) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 19 (19th ASEAN Senior Officials Meeting on Education: SOM-ED) 2) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Education: APT SOMED) อาเซียน 10 ประเทศ บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น 3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาในกรอบสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 (9th East Asia Summit Senior Officials Meeting on Education: EAS SOMED) อาเซียน 10 ประเทศ บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา 4) การประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 (13th ASEAN Education Ministers Meeting: ASED) 5) การประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 7 (7th ASEAN Plus Three Education Ministers Meeting: APT EMM) 6) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 (7th East Asia Summit Education Ministers Meeting: EAS EMM) นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านต่าง ๆ ในการดำเนินการจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางและรูปแบบในการจัดการประชุมฯ อำนวยการและกำกับดูแลการเตรียมการจัดการประชุมฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานฯ จำนวน 7 คณะ คือ 1) คณะทำงานด้านการต้อนรับ พิธีการและงานเลี้ยงรับรอง โดยมี นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน 2) คณะทำงานด้านสารัตถะ โดยมี นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านความร่วมมือต่างประเทศของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน 3) คณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ โดยมี นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน 4) คณะทำงานด้านการเดินทาง พาหนะและรักษาความปลอดภัย โดยมี นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน 5) คณะทำงานสุขภาพและปฐมพยาบาล โดยมี นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข...
สัปปายะสภาสถาน 3 เมษายน 2567 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 13/2567 พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ., นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการ สกศ., ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ., ผู้บริหารระดับสูงองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับเข้าร่วม ณ ห้องประชุม N 405 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา และประชุมผ่านระบบ e-Meeting มีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ ความก้าวหน้าเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA 2025 รมว.ศธ.กล่าวเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน พิจารณาแนวทางการพัฒนาและดำเนินการสร้างมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยให้มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)ได้มีการประชุมร่วมกับองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย (UNICEF) เรื่อง การใช้ PISA ในทางปฏิบัติ : พลังของข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการศึกษา เป็นการเชื่อมโยงผลจาก PISA กับการปฏิรูประบบการศึกษา เป็นเวทีการประชุมให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงทางการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนในสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาด้วยการใช้ข้อมูล PISA เพื่อการปรับปรุงการศึกษาและการเชื่อมโยงผลจาก PISA กับการปฏิรูประบบการศึกษา ซึ่งสิ่งที่ ศธ. ต้องเร่งดำเนินการ คือการใช้ผลการประเมิน PISA เป็นกลไกในการผลักดันคุณภาพครู ผู้เรียน และการศึกษาในองค์รวม การพัฒนาครู ให้เป็นครูสมรรถนะสูง และการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้เสนอผลการประชุมคณะกรรมการ PISA แห่งชาติที่ผ่านมา โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานภายในหน่วยงานแต่ละสังกัดที่มีนักเรียนเข้าร่วมการสอบ PISA มีการวางแผนระยะยาวในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนตามแนวทางการประเมิน PISA และบริหารจัดการให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ดำเนินการขับเคลื่อน PISA ลงสู่สถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัด โดยให้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (คปภ.)และดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการพัฒนานักเรียนชั้น ม.2 และ ม.3 ในปีการศึกษา 2567 โดยได้ร่วมกับ สพฐ. ในการนำแนวข้อสอบแนว PISA ในฐานข้อมูลมาจัดทำเป็นแบบฝึกความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างฉลาดรู้ ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามแนวของ PISA นอกจากนี้ยังได้ทำการจัดหาและจัดทำแบบฝึกเพิ่มเติมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การฝึกอบรมวิทยากรแกนนำและเตรียมความพร้อมการเป็นพี่เลี้ยงของเขตพื้นที่ และฝึกอบรมวิทยากรประจำสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา เพื่อขยายผลและขับเคลื่อนเอกสารชุดแบบฝึก 183 เขตพื้นที่ รวม 4 ภูมิภาค และจัดประชุมชี้แจงการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการใช้องค์ความรู้ PISA ไปยังทุกโรงเรียนในสังกัดผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ รมว.ศธ. ยังได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับโปรแกรมการสอบ PISA ของผู้บริหารสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ PISA และมอบหมายให้ สพฐ. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการให้มีการเข้าสอบ โดยขยายไปยังผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ทั้ง 62 เขต และผู้บริหารของทุกหน่วยงาน เพื่อให้ผู้บริหารได้รับการประเมินและเป็นข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งผลการประเมินของ PISA ทำให้ทราบว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนในการเตรียมความพร้อมในการสอบมากน้อยเพียงใด โดย สทศ. ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลข้อสอบ PISA มาจัดทำเป็นระบบการทดสอบออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริหารได้ทดลองเข้าสอบ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน)ได้เสนอผลการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนหน่วยงานต้นสังกัด (สพฐ. สช. อปท. กทม. สอศ. สกร. สป.อว. และ สทศ.) ในการปรับวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก ด้านคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้หลักการพิจารณาเชิงระบบเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านคุณภาพของผู้เรียน กับผลการทดสอบระดับชาติ และพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หาปัจจัยเชิงสาเหตุ (ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านทรัพยากรการจัดการศึกษา) ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการยกระดับคุณภาพการศึกษาเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ได้เสนอผลการดำเนินการยกร่างแนวทางยกระดับผลการประเมิน PISA 2025 ของ สอศ. ซึ่งได้กำหนดกิจกรรม ดังนี้ 1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการประเมิน PISA ให้แก่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ในสังกัด สอศ. 2) เตรียมความพร้อมครู โดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะการสอนตามแนวทางการประเมิน PISA 3) ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล และ 4) ให้สถานศึกษาส่งเสริม Self learning...
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 132 ปี วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” กล่าวยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น และบุคลากร ศธ. เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการผลักดันการปฏิรูปการศึกษาร่วมกับ ศธ. พร้อมยกเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการจับมือไว้แล้วไปด้วยกัน สำหรับการจัดงานในปีนี้ เริ่มเวลา 07.09 น.โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,นายสิริพงศ์ อังคสกลุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ.,นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ.,นายวิศรุต ปู่เพ็ง ที่ปรึกษา รมช.ศธ.,นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ.,นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ.รวมทั้งนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ.,นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการ สกศ.ตลอดจนครูอาวุโส ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากร ศธ. ร่วมประกอบพิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ ศธ.ที่ล่วงลับไปแล้ว และตักบาตรพระสงฆ์ สามเณร จำนวน 133 รูป ณ บริเวณสนามหน้า ศธ. จากนั้น รมว.ศธ. และคณะ ได้ประกอบพิธีสักการะพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ “พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์” รวมทั้งพระภูมิหรือพ่อปู่ชัยมงคล และพระพุทธรูปประจำสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตลอดจนประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ตามลำดับเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมคุรุสภา– รมว.ศธ. เป็นประธานในพิธีมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ ศธ. ประจำปี 2567 จำนวน 135 ราย/รูป และมอบเข็ม “กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2567” แก่ครูผู้เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง จำนวน 5 ราย รวมทั้งมอบเข็ม “เชิดชูเกียรติ” และประกาศเกียรติบัตรให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ศธ. ประจำปี 2566 จำนวน 12 ราย รมว.ศธ.กล่าวว่า ในโอกาสวันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 132 ปี นับเป็นวันสำคัญของข้าราชการ และบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ ที่ได้รับผิดชอบภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศ และการที่จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงในทางที่เจริญก้าวหน้า ที่เรียกว่า “การพัฒนา” นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มต้นที่ “การพัฒนาคน” เป็นลำดับแรกก่อน การวางรากฐานด้านการพัฒนาคน เพื่อรองรับความเจริญของประเทศในอนาคต รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เอาไว้หลายประการ ซึ่งได้แก่ การมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ การเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดเพื่อสร้างอนาคตและสร้างรายได้ การกระจายอำนาจการศึกษาให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนรู้ โดยมีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่ จัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน และการสร้างผู้เรียนให้มีความพร้อม ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกสมัยใหม่ กระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ได้ตั้งเอาไว้ ประการสำคัญคือรัฐบาลจะมุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่เป็นรากฐานของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งอาจถือว่าเป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงวางจุดเน้นการทำงานไปที่การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิด “การเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) โดยพยายามเร่งส่งเสริมบทบาทของทุกภาคส่วนให้เข้ามาสนับสนุนและจัดการศึกษา จัดหาสื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทุกท่าน ณ ที่ประชุมแห่งนี้จะสามารถช่วยเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญต่อภารกิจดังกล่าว ดั่งแนวทางการทำงานของ ศธ. “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” ที่จะขาดไปไม่ได้ต้องขอบคุณผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการประจำปี 2567 ครูผู้เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง และข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2566 ซึ่งทุกคนเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งในการผลักดันการปฏิรูปการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการจับมือไว้แล้วไปด้วยกัน อีกทั้งยังเสมือนเป็นตัวแทนของผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษาคนอื่น ๆ ที่มีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศอีกด้วย ปลัด ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อว่า “กระทรวงธรรมการ” มีหน้าที่ในการจัดการพระศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์ นับถึงวันนี้มีอายุครบ 132 ปี สู่การเป็นกระทรวงศึกษาธิการ ในโลก Digital Transformation ซึ่งยังคงทำหน้าที่สำคัญ ในการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ พัฒนาจิตใจและสติปัญญาของผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท เพื่อสร้างบุคลากรของประเทศให้เจริญเติบโต มีความเจริญงอกงามรอบด้าน การจัดงานในวันนี้ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนากระทรวงศึกษาธิการขึ้น และรำลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2567 อีกด้วย ทั้งนี้ ในวันที่ 1 เมษายน 2567 ยังเป็น...
29 มีนาคม 2567/ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการและผู้แทนเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาปรับปรุงการจัดและพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนระบบบุคคลให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและภารกิจที่มีความสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล รวมทั้งบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกและแนวโน้มที่สำคัญในอนาคต พิจารณากำหนดหน้าที่และอำนาจ รวมถึงขอบเขตความรับผิดชอบของส่วนราชการ และองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการภายในสังกัด โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และร่างกฎกระทรวงของหน่วยงานโดยในส่วนของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีการนำข้อเสนอของหน่วยงานกลางไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเสนอสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการต่อไป ปารัชญ์ ไชยเวช/ข่าว นัทสร ทองกำเหนิด/ถ่ายภาพ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ