1พฤษภาคม2568 –พลตำรวจเอกเพิ่มพูนชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนการพัฒนาลูกเสือไทยประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2568ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติโดยมีนายสุเทพแก่งสันเทียะปลัด ศธ.นายวรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด ศธ.นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดี สกร. ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง 270 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี รมว.ศธ.กล่าวว่าแผนการพัฒนาลูกเสือไทยประจำปี2567 – 2570มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในพื้นที่โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพของกิจกรรมลูกเสือการพัฒนาผู้บังคับบัญชาการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ยุคสมัยและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่าคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดจะขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของกิจการลูกเสือรวมถึงพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือในจังหวัดและฝากปรับกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยมีความน่าสนใจทันสมัยคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่กับปลูกฝังความมีระเบียบวินัยตามคำปฏิญาณ“ลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อทำดีทำได้ทำทันที”มีจิตสาธารณะเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนเพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม นโยบาย“เรียนดีมีความสุข”ของกระทรวงศึกษาธิการต้องการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองโดยการปรับเครื่องแบบลูกเสือให้เหมาะสมกับกิจกรรมและการแต่งกายที่แสดงออกเป็นเชิงสัญลักษณ์ของลูกเสือเช่นสวมหมวกผ้าพันคอเครื่องหมายลูกเสือเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมและลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองสุดท้ายนี้ขอชื่นชมผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนกิจการลูกเสือมาอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดและขอให้เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในวันนี้ได้แนวคิดและกำหนดกลยุทธ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของการพัฒนากิจการลูกเสือไทยต่อไป ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน270คนประกอบด้วย 1)หัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด76คน(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต1ของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร) 2)ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัดจำนวน76คน(ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร) 3)ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา76คนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต1ของทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร 4)ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและผู้รับผิดชอบงานลูกเสือในสังกัดสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานคร3คน 5)ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและกรมส่งเสริมการเรียนรู้แห่งละ2คนรวม8คน
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ภารกิจ รมว.ศธ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
30 เมษายน 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3/2568 โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.,นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นางดารุณี ดงทอง ศธจ.กทม. ผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับในวันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาคำขอความเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 – 2570 ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ช่วยเลขานุการได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำแผนดังกล่าว ตามแนวทางการจัดทำแผนการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ที่ได้กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่นำร่องในลำดับที่ 10 โดยมีวิสัยทัศน์คือ“กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต”และมีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความเป็นพลเมืองดี เป็นคนเก่ง มีคุณภาพ มีทักษะสู่ความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม สอดคล้องกับพหุปัญญาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำคู่มือการขับเคลื่อนแผนฯ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการขอยกเลิกจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ผลการดำเนินการส่งนักเรียนเข้ารับการศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนข้อเสนอการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้านการศึกษาในภูมิภาค ความก้าวหน้าการจัดกิจกรรม“เรียนดี มีความสุข สู่อนาคตที่สดใส”BKK Excellence Expo กรุงเทพเป็นหนึ่ง“เปิดโลก เปิดเวทีเปิดประสบการณ์ และเปิดเส้นทางอาชีพ”การดำเนินงานอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากรุงเทพมหานคร ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดในเขตกรุงเทพมหานคร การขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ในกรุงเทพมหานคร และผลการดำเนินงานของสำนักงานอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบพร ผดุงพล / ข่าว ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ. / ภาพ
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 13/2568 เผย ศธ. ประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ กับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬา แห่งราชอาณาจักรสเปน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของทั้งสองประเทศ กำชับหน่วยงานเร่งดำเนินการเตรียมการ เตรียมข้อมูล และรายงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ใน พ.ค. นี้ พร้อมส่งเสริมพหุปัญญาและ AI เป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เด็กสามารถอยู่ในระบบการศึกษาได้ยาวนานขึ้น ฝากบุคลากรทุกคนพัฒนาสมรรถนะของตนเองต่อเนื่องผ่านการอบรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะความรู้เป็นสิ่งที่มีวันหมดอายุ เปรียบเสมือน “มีดที่ต้องหมั่นลับให้คมอยู่เสมอ” 30 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 13/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วย รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬา แห่งราชอาณาจักรสเปน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมสเปน ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของทั้งสองประเทศ และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการศึกษานานาชาติ รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพและแลกเปลี่ยนทางวิชาการแก่นักเรียน ครู และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาผ่านกิจกรรมร่วมกัน ภาษาสเปนถือเป็นภาษาที่สำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในมิติของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีการจัดทำแผนและวางกรอบในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ เพื่อรวบรวมและนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการต่อยอดการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมสเปนเข้ากับระบบการศึกษาของไทยอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของ ศธ. รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้มีประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ในบริบทสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานด้านภาษา และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการเรียนการสอนภาษาสเปนให้มีคุณภาพ ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตร การอบรมครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีศักยภาพสามารถจัดตั้งห้องเรียนพิเศษหรือโครงการต้นแบบด้านภาษาสเปน เพื่อยกระดับศักยภาพทางภาษาของนักเรียนไทยในระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ และส่งเสริมการพัฒนาทางการศึกษาอย่างยั่งยืนในอนาคตร่วมกัน สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี 2569 รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับความก้าวหน้าเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในงบประมาณปี 2569 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมการ เตรียมข้อมูล และรายงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ในเดือนพฤษภาคมนี้ และใช้ประกอบการวางแผนและจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณถัดไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาและรัฐบาล การลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาลฯ รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ณ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ได้มีการพบปะพูดคุยและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานด้านการศึกษาจากหน่วยงานในพื้นที่ และได้ตรวจเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม ซึ่งปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และอาคารสถานที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงขอให้ สกร. ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และบุคลากรเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีความพร้อมด้านห้องเรียนวิทยาศาสตร์หรือห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ขอให้มีการบูรณาการการใช้งานร่วมกัน โดยให้ทุกหน่วยงานสำรวจทรัพยากรที่มีอยู่ หากยังสามารถใช้งานได้ให้เร่งนำมาใช้ประโยชน์ “เมื่อเรามีสถานที่ที่มีประโยชน์ มีความพร้อม ก็ขอให้นำมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีการบูรณาการการใช้งานร่วมกัน หากมีสิ่งใดไม่พร้อมใช้งานให้ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม ให้สามารถใช้งานได้และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน โดยต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงและเกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง” การเตรียมการเปิดเทอมในภาคเรียนที่ 1/2568 รมว.ศธ.กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ผู้บริหารจากทุกองค์กรหลัก และศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ณ หอประชุมคุรุสภา เพื่อหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาในภาคเรียนใหม่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามความพร้อมของสถานศึกษาในทุกมิติ อาทิ ด้านความปลอดภัย หลักสูตร บุคลากร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศต่อไป การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รมว.ศธ.กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานนั้น ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครู เพื่อให้รับรู้ รับทราบ ถึงแนวนโยบาย ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติร่วมกัน ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทั้งในด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันได้เห็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากการฝึกอบรมและพัฒนาผู้สอน ซึ่งทำให้การดำเนินการใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผู้ลงทะเบียนอบรมไปแล้วกว่า 437,567 คน (98.2 %) ใกล้สู่เป้าหมาย 445,624 คน ต้องขอขอบคุณในความร่วมมือในการดำเนินงาน สำหรับการสร้างคลังข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ โดยแต่ละเขตพื้นที่จะส่งข้อสอบที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ PISA Center OBEC เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้ได้อย่างทั่วถึง โดยมีการนำเข้าข้อมูลแล้วบางส่วน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เพื่อได้ใช้ประโยชน์ต่อไป และผลการวิเคราะห์การทดลองสอบ Pre PISA...
จังหวัดนครพนม 28 เมษายน 2568 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหาร ศธ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ณ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมตรวจราชการและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/นโยบายการศึกษา และข้อสั่งการในภาคเช้าณ ห้องประชุมมรุกขนคร โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ว่า ในวันนี้เรื่องสมรรถนะคือเรื่องใหม่ เชื่อว่าทุกคนเป็นคนมีความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องลับให้คม เสริมสมรรถนะการทำงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากรับฟังการรายงานภาพรวมแต่ละหน่วยงานที่ทำเป็นเรื่องอยู่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการดำเนินการทำงานบูรณาการที่เข้มแข็ง ในส่วนของการแก้ปัญหายาเสพติดเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา ซึ่งจากรายงานที่ได้รับทราบพบว่า ยอดตัวเลขค่อนข้างต่ำ และคาดว่าแต่ละพื้นที่ใน 3 จังหวัดนี้ จัดการดูแลได้เป็นอย่างดี สำหรับด้านการส่งเสริมผู้เรียนด้านการศึกษา เพื่อให้เด็กมีความสุขและเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การศึกษาไม่ใช่การเรียนรู้แค่อ่านออกเสียงได้ แต่ต้องสอนให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตผ่านกระบวนการเรียนรู้ ทั้งการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต เด็กที่เป็นเลิศอยู่แล้วต้องส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไป ส่วนเด็กที่ถนัดด้านอาชีพก็ต้องผลักดันให้เก่งควบคู่กัน สุดท้ายนี้ ฝากผู้บริหารทุกหน่วยงานเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือ “การจับมือสร้างเครือข่ายทางการศึกษา แบ่งปันทรัพยากรร่วมกันให้เกิดมิติในการแลกเปลี่ยน” ทำให้การศึกษาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังยืนยันว่านโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการคือ “เรียนดี มีความสุข” ผ่านวิธีการดำเนินการ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”ส่งผลให้การศึกษามีคุณภาพ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น รมช.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” ที่มอบให้หน่วยงานทางการศึกษาปฏิบัติการกันอย่างเข้มแข็งและเต็มที่ ควบคู่กับแนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วด้วยกัน” ทุกภาคส่วนที่ให้การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนการศึกษาของไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่เราจะพัฒนาการศึกษาให้ดีและมีคุณภาพยิ่งขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการศึกษา ในฐานะกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนงาน และขอเน้นย้ำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนของสังคมปัจจุบัน ในภาคบ่ายรมว.ศธ. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เพื่อพบปะนักเรียนและเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานที่โดดเด่นของโรงเรียน เช่น การจัดการเรียนการสอน Coding for Better Life ของนักเรียน รับชมการสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะจากนักเรียนที่ได้รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมมอบเกียรติบัตรให้นักเรียน จากนั้น ได้ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคนิคนครพนมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เช่น โรงฝึกงานแผนกช่างกลโรงงาน การจัดการเรียนการสอนแผนกบัญชี นิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์ STEM ศึกษา (หุ่นยนต์ และโดรน) รวมถึงแนวทางการพัฒนาและผลิตกำลังคนตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ให้ทุกภาคส่วนได้รับการศึกษาและฝึกทักษะวิชาชีพอย่างเท่าเทียม รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก ศธ.360 องศา บัลลังก์ โรหิตเสถียร / กราฟิก พบพร ผดุงพล / ข่าว ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า, อินทิรา บัวลอย / ภาพ
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 เวลา 11.30 น. พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา Instituto de Educación Secundaria (IES) Avenida de los Toreros โดยมี Mr. César Naranjo Escobar ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนดังกล่าวให้การต้อนรับ และมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พลเอก อภิชาติ อุ่นอ่อน ประธานคณะทำงานฝ่ายอำนวยการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ผู้แทนสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน รมว.ศธ.ได้รับฟังการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยยกตัวอย่างวิธีการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนสอนแบบเดิมที่ใช้เพียงตำราเรียนเป็นหลัก และนักเรียนจะมีความเบื่อหน่าย วิธีการสอนของโรงเรียนจะบูรณาการรูปแบบและสื่อการเรียนที่มีความหลากหลาย รวมถึงกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสนุกและอยากมีส่วนร่วมในการสื่อสารเนื้อหาโดยใช้ภาษาอังกฤษ เช่น การใช้บทความทางการแพทย์ ข่าวหนังสือพิมพ์ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคม เหตุการณ์สมมติ ประเด็นที่นักเรียนสนใจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้น โดยรมว.ศธ.กล่าวขอบคุณผู้บริหารและครูที่ได้นำเสนอข้อมูลด้านการเรียนการสอนสองภาษาที่เข้มแข็ง ซึ่งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษและภาษาต่าง ๆ ต่อความก้าวหน้าในอนาคต อีกทั้งมีความสนใจในเรื่องการนำเทคโนโลยีและ AI มาใช้ในชั้นเรียน ซึ่งโรงเรียนมีการส่งเสริมและนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาทั้งแบบออนไลน์และในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ห้องเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวทางและวิธีการที่เหมือนและแตกต่างจากประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ศึกษาดูงานโรงเรียนดังกล่าว ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ อาชีวศึกษาและการกีฬาแห่งราชอาณาจักรสเปนว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา โดยเล็งเห็นถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างสองประเทศด้านการศึกษาไม่เพียงแต่การเรียนการสอนภาษาสเปนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการศึกษาเพื่อสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับสากล สำหรับ (IES) Avenida de los Toreros เป็นโรงเรียนสังกัดรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การดูแลของชุมชนกรุงมาดริด (Community of Madrid) ดำเนินการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในโปรแกรมการเรียนสองภาษา หรือ Bilingual Program (ภาษาอังกฤษและภาษาสเปน) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง พัฒนาความรู้เชิงวิชาการ และเตรียมนักเรียนและเยาวชนให้มีความพร้อมสำหรับงานในอนาคต ใช้ชุดการเรียนการสอนของชุมชน Content and Languages Integrated Learning Methodology (CLIL) Program เป็นหลักสูตรการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ แบ่งการเรียนการสอนเป็นระดับ ได้แก่ Program 1 สำหรับนักเรียนที่ยังไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ และ Section 2 สำหรับนักเรียนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดีและเรียนภาษาอังกฤษในระดับก้าวหน้า มีการวัดระดับภาษาอังกฤษในระดับสากลเป็นที่ยอมรับ ได้รับความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน โรงเรียนให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะทางภาษาควบคู่ไปกับการตระหนักรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม โดยจัดให้มี Language Assistant Program หรือผู้ช่วยสอนจากประเทศเจ้าของภาษาให้คำแนะนำทั้งด้านภาษาและความรู้เฉพาะทางต่าง ๆ นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว โรงเรียนยังมีการเรียนการสอนภาษาอื่น ๆ เป็นวิชาเสริม เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และจีน เป็นต้น ธรรมนารี ชดช้อย / เรียบเรียง สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.ศธ. / ภาพ, ข่าว
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2568 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาในชุมชน โดยมี ศาสตราจารย์ฉี ซินเจี้ยน ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนานาชาติเพื่อการศึกษาในชนบทขององค์การยูเนสโก (UNESCO INRULED) ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนายลู่ เจี๋ย รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเขตซีหู และนายหลัว เจิ้น รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตำบลซวงผู่ ณ เขตซีหู เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน การเดินทางเพื่อลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการศึกษานวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับชุมชนที่ส่งเสริมการพัฒนาชนบทอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบ “การศึกษาเสริมพลัง – วัฒนธรรมสร้างจิตวิญญาณ – การฟื้นฟูชนบท” โดยโรงเรียนชุมชนกับบทบาทใหม่ในการพัฒนาชนบท เขตซีหูได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็นตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์การเรียนรู้ระดับอำเภอ ขณะเดียวกัน หมู่บ้านซั่งซือจูหม่า ยังได้รับการยกย่องจากสถาบันเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UIL) ว่าเป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นด้านการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัย โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบระดับสากลในการขับเคลื่อน “หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้” อย่างยั่งยืน หนึ่งในจุดเด่นสำคัญคือ โรงเรียนชุมชนตำบลซวงผู่ ที่พัฒนารูปแบบการศึกษาที่เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพของชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาชนบทในมิติต่างๆ โดยในปี 2566 โรงเรียนแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องของโครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (CLC) ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์ UNESCO INRULED ทั้งนี้ รมว.ศธ. ได้ให้ความสนใจจุดเด่น 3 ด้าน ดังนี้ นวัตกรรมการศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาชนบท โรงเรียนชุมชนตำบลซวงผู่มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย ทั้งการศึกษาผู้สูงอายุ การฝึกอาชีพสำหรับชาวบ้านกว่า 2,000 คนต่อปี และเวิร์กช็อปด้านมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น รมว.ศธ. แสดงความประทับใจต่อการบูรณาการหลักสูตรที่ตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง และเห็นว่าเป็นแนวทางที่สามารถปรับใช้ในบริบทของไทยได้ โดยเฉพาะในการผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิต หมู่บ้านดิจิทัลกับแนวคิด “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ที่ศาลาวัฒนธรรมหมู่บ้านเซี่ยหยาง คณะศึกษาดูงานได้เห็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข้อมูลชุมชนแบบเรียลไทม์ ผสานกับกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม เช่น การจัดดอกไม้แบบโบราณ รมว.ศธ. ได้กล่าวยกย่องว่า “นี่คือซิมโฟนีที่สมบูรณ์แบบระหว่างความดั้งเดิมกับความทันสมัย” พร้อมชื่นชมว่าประสบการณ์ของซวงผู่พิสูจน์ได้ว่าเทคโนโลยีไม่ทำลายวัฒนธรรม หากแต่ช่วยฟื้นฟูให้ทันยุคสมัย วัฒนธรรมชากับการต่อยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมฐานการผลิตชา “จิ่วฉวี่หงเหมย” ซึ่งมีบทบาทในเส้นทางสายไหมทางทะเล โดยมีการสาธิตการชงชาโดยครูลั่ว หลงเซียว ผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ ได้แสดงความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาไทย-จีน ผ่านโครงการ “หลักสูตรวัฒนธรรมชาและการท่องเที่ยวข้ามประเทศ” ภายใต้โครงการ Belt and Road โดยหวังว่าชาจะกลายเป็นสะพานแห่งมิตรภาพใหม่ของประชาชนทั้งสองประเทศ ในโอกาสนี้ รมว.ศธ. ได้กล่าวชื่นชมว่า “ซีหูโมเดล” รูปธรรมของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เป็นแนวทางตัวอย่างของการใช้ “การศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน” โดยเฉพาะการผสานการฝึกทักษะ สืบสานวัฒนธรรม และบริหารจัดการชุมชนเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน พร้อมระบุว่าเป็นแนวทางที่ควรศึกษาและต่อยอดสู่บริบทของไทย สำหรับผู้เชี่ยวชาญร่วมคณะให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า จุดแข็งของโรงเรียนชุมชนซวงผู่ คือการ “ปลุกพลังภายในของหมู่บ้านผ่านการศึกษา” โดยเฉพาะแนวทางที่ลงสู่พื้นที่จริงและเกิดผลในระยะยาว ซึ่งถือเป็นทิศทางใหม่ในการปรับตัวของชนบทท่ามกลางบริบทโลกาภิวัตน์ และในอนาคตวิทยาลัยชุมชนเขตซีหูมีแผนผลักดันนวัตกรรมด้านการศึกษาสู่เวทีสากล และยินดีแบ่งปันแนวปฏิบัติร่วมกับประเทศที่อยู่ในเส้นทาง Belt and Road เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน พบพร ผดุงพล / เรียบเรียง , กราฟิก สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. / แปลและสรุป แหล่งข่าว : วิทยาลัยชุมชนเขตซีหู
21 เมษายน 2568 – สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปในการประชุมสามัญ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประจำปี 2567 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายชื่อครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเป็นรางวัลนานาชาติ ที่จัดมอบให้แก่ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษาในประเทศอาเซียน ติมอร์-เลสเต บังกลาเทศ ภูฎาน และมองโกเลีย รวม 14 คน โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศ โดยพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 จะจัดขึ้น ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ซึ่งครูที่ได้รับพระราชทานรางวัล จาก 14 ประเทศ ได้แก่ 1)สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศโมฮัมหมัด ชาฟิอูล อิสลาม โรงเรียนประถมตัวอย่าง ชัคเอนาเย็ต เขตเนากัน ครูดีเด่นแห่งชาติ ในปี 2565 และครูผู้สร้างนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านประถมศึกษา 2)ราชอาชอาณาจักรภูฏานน.ส.ชิมิ เดมา โรงเรียนมัธยมศึกษา เพลจอร์ลิ่ง ทาชิโชลิง เขตซัมเซ ผู้พัฒนานวัตกรรมด้านสื่อการเรียนและวิชาภาษาอังกฤษ 3)เนการาบรูไนดารุสซาลามดายัง ฮาจา ชารีฟะ ฮัจจี โมฮัมหมัด ชาห์ลัน โรงเรียนภูสัต ติงกะทัน เอนัม เซงกุรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและรางวัลครูดีเด่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 4)ราชอาณาจักรกัมพูชานางเมียะ โสมาวะเตย์ โรงเรียนมัธยม พนึงเมียะ จ.ตาแก้ว ครูดีเด่น อันดับ 1 รางวัลสมเด็จเดโซเซน และมีผลงานดีเด่นในการสอนคณิตศาสตร์นักเรียนมัธยม 6 ให้ได้ เกรด A 5)สาธารณรัฐอินโดนีเซียนางอาเด ปูตรี สารเวนดาห์ โรงเรียนการศึกษาพิเศษรัฐบาลบาลิกปาปัน จ.กาลีมันตันตะวันออก ผู้พัฒนานวัตกรรมดีเด่นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 6)สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนางบุนมา โพทิลาด โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์จันสะวัง นครหลวงเวียงจันทน์ ผู้มุ่งมั่นสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนานักเรียนในแต่ละช่วงวัย 7)ประเทศมาเลเซียโมฮัมหมัด โรสนิซัม บิน โมฮัมหมัด ยูซูฟ จากคอเลจ โวเคชันนัล เปอร์ตาเนียน เทลัค อินทัน รัฐเปรัก ครูอาชีวศึกษาผู้สรรค์สร้างนวัตกรรมการศึกษาและการคิดนอกกรอบ 8)ประเทศมองโกเลียนางอุยังกะ อาดิยาสุเรน โรงเรียนการศึกษาวิชาชีพทั่วไป เมืองอูลานบาตาร์ ครูผู้สร้างความเชื่อมั่นให้กับศิษย์ในการดำรงชีวิตด้วยตนเองและความสามารถในการทำงานได้ 9)สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาน.ส.มอว์มอว์ โรงเรียนขั้นพื้นฐาน มิงกาลาดอน เมืองย่างกุ้ง ครูผู้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพัฒนาการรอบด้านของเด็ก 10)สาธารณรัฐฟิลิปปินส์นางเลอา โดมิงโก โรงเรียนประถมศึกษาลูซอง จ.อิโลกอสเหนือ ครูรางวัลความเป็นเลิศด้านภาวะผู้นำและรางวัลครูยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษา 11)สาธารณรัฐสิงคโปร์นางอัง ซิง หยี่ โรงเรียนมัธยมศึกษาคอมพาสเวล ครูรางวัลโรงเรียนผลงานดีเด่นประเภททีม และรางวัลความเป็นเลิศด้านบริการ 12) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต นายฟรานซิสโก เดอ คาร์วัลโญ่ โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.2 บีดาน ครูผู้มุ่งเน้นความสำเร็จของนักเรียน และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 13)สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนางเหงียน ถิ ทู ลาน โรงเรียนอนุบาล วอร์ด 5 โฮจิมินห์ ครูผู้วางรากฐานที่มั่นคงให้กับเด็ก สร้างโรงเรียนอนุบาลที่มีความสุข สำหรับประเทศไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานด้านการศึกษา คณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัด 77 จังหวัด กรุงเทพมหานคร และองค์กรที่มีรางวัลระดับประเทศอีก 7 องค์กร ร่วมเสนอรายชื่อ โดยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย ได้แก่ นายไพรวัลย์ ยาปัญ ครูโรงเรียนบ้านกองม่องทะ (สาขาบ้านไล่โว่) อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ครูผู้เป็นดวงตะวันชายขอบ ผู้ไม่เคยละทิ้งปณิธานการพัฒนาเด็กในพื้นที่ห่างไกล เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ และเดินหน้าพัฒนาโรงเรียนที่ยังขาดแคลนครู ให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงบ่มเพาะเด็กให้เป็นผู้ประกอบการด้วยกิจกรรม “ขายข้ามเขาออนไลน์” เพื่อฝึกทักษะการนำผลผลิตทางการเกษตรของนักเรียนและชุมชนมาสร้างรายได้ รวมถึงจัดการทางการเงินให้นำมาเป็นทุนการศึกษาต่อไปได้ในอนาคต ในการนี้มูลนิธิฯ ยังพิจารณามอบรางวัลคุณากรให้แก่ นายไพลรัตน์ สำลี ครูผู้เป็นนวัตกรอัจฉริยะ ผู้สร้างขุมพลังงานเพื่อโลกปัจจุบันและอนาคต จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และนายทอน บัวเรือง ครูผู้ไม่ยอมจำนนต่อวัยเกษียณ ผู้ส่งเสริมศิษย์ให้ก้าวสู่เส้นทางฝัน จากโรงเรียนบ้านดงน้ำเดื่อ จ.เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีวาระรับทราบกิจการด้านต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ อาทิ การสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือภาคสังคม เพื่อจัดทำทางเชื่อมอาคารศิลปะและปรับปรุงอาคารจัดแสดงผลงาน โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี จ.สระแก้ว โดยการกลุ่มมิตรผล และบริษัท tcp , โครงการ “Byaheng Kaalaman” ความรู้เคลื่อนที่ ของครูซาดัต บี มินันดัง ครูรางวัลจากประเทศฟิลิปปินส์ และการซ่อมแซมโรงเรียนประถมเพียใหม่ สถานที่ปฏิบัติงานของครูกีมเฟือง เฮืองมะนี ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศ สปป.ลาว...
9 เมษายน 2568 – นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แสดงความห่วงใย จากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนพายุฤดูร้อนใน 48 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และลูกเห็บในบางพื้นที่ อาจส่งกระทบต่อสถานศึกษา พื้นที่สาธารณะ และสิ่งปลูกสร้าง เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่ารมว.ศธ. กำชับหน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และความสำคัญกับความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่หรือสิ่งปลูกสร้างไม่แข็งแรง และดูแลสุขภาพในช่วงอากาศแปรปรวนตาม พร้อมสั่งการให้ สอศ. สถานศึกษา ตรวจสอบอาคาร ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างให้มั่นคง เตรียมความพร้อมรับมือพายุ และบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่นในการแจ้งเตือนภัย พร้อมใช้เทคโนโลยีรายงานสถานการณ์แบบเรียลไทม์ มายัง สอศ. โดยเร็วในดำเนินการให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้อง และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด (http://www.tmd.go.th) ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน หากต้องมีการเข้าสถานศึกษาเพื่อรายงานตัวหรือทำการใดๆ ให้สถานศึกษาแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องด้วย เลขาธิการ กอศ. กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา ได้รับรายงานจาก วิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ได้รับความเสียหาย ต้นไม้ล้มทับอาคารเก็บของและหลังคาเสียหาย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยให้สถานศึกษาประเมินความเสียหาย เฝ้าระวัง ซึ่งจากการประเมินแล้ว สอศ. พร้อมสนับสนุนช่วยเหลือต่าง ๆ ให้สถานศึกษามีความพร้อมจัดการเรียนการสอนได้ตามกำหนด กลุ่มประชาสัมพันธ์ สอศ. / ภาพ , ข้อมูล พบพร ผดุงพล / เรียบเรียง ธรรมนารี ชดช้อย / กราฟิก
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 11/2568 ชื่นชมทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกและจัดการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ที่ผ่านมา พร้อมนำ AI มาช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียน ครู ผู้บริหารในการวิเคราะห์และยกระดับกระบวนการเรียนรู้ รับทราบผลลัพธ์และความท้าทายของโรงเรียนไทยผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ 2567 พบว่ามีความแตกต่างของคุณภาพระหว่างโรงเรียนแต่ละขนาด พร้อมสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกัน โดยเฉพาะการนำผลสอบ O-NET มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เผยข่าวดี ศธ. ตั้งจุดบริการอาชีวะ-ขนส่ง อาสาช่วยประชาชน เทศกาลสงกรานต์ 150 จุดทั่วประเทศ เดินหน้าแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดและมาตรการเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาสังกัด ศธ. ต่อเนื่อง 9 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 11/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. และนางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว รมว.ศธ.กล่าวว่า ช่วงขณะนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ทุกคนดูแลรักษาสุขภาพ ขณะเดียวกันก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น อย่างแผ่นดินไหว จนมีบุคลากร สถานศึกษา นักเรียนและนักศึกษา ได้รับผลกระทบ ก็ต้องมีการป้องกัน เฝ้าระวังและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงผลกระทบสำหรับการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีการเลื่อนการสอบเข้าฯ และได้ดำเนินการสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากการลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจผู้สอบและผู้ปฏิบัติงาน ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการสอบและอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. เป็นประธานคณะทำงานเรื่องการบริหารจัดการสอบทุกรูปแบบ เพื่อลดภาระด้านการสอบของนักเรียน เนื่องจากการลงพื้นที่พบว่าเด็กที่มาเข้าสอบในโรงเรียนขนาดใหญ่ บางคนเดินทางไกลมาจากต่างหวัด จึงอาจต้องปรับวิธีการให้มีความเหมาะสม ตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ให้สามารถสอบจากที่ใดก็ได้ เพื่อลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองให้ได้มากที่สุด พร้อมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าปีการศึกษาที่ 1/2568 นักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้กับครูฯ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเรียบร้อย นอกจากนี้แม้ว่าสถานการณ์ในระดับโลก อาทิ การปรับขึ้นภาษีของสหรัฐอเมริกา อาจดูไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษา แต่ก็อยากให้ทุกคนใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้บริบทและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง พร้อมทั้งวางแผนการใช้จ่ายและการดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบ เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ ผลลัพธ์และความท้าทายของโรงเรียนไทยผ่านการประเมินคุณภาพ รมว.ศธ.กล่าวว่า มิติของผลการประเมินนั้นมีความสำคัญในการนำผลของการวิเคราะห์มาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงเรียนต่าง ๆ โดยมีปัจจัยหลักคือ ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา และเป็นแนวทางในการเน้นการพัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ 2567 ได้มีการประเมินโรงเรียนทั้งหมด 5,075 แห่ง พบว่ามีความแตกต่างของคุณภาพระหว่างโรงเรียนแต่ละขนาด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนด โดยคะแนนเฉลี่ยใน 3 ด้านหลักคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การบริหารจัดการและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการสอนและหลักสูตร อยู่ที่ 3.76, 3.79 และ 3.70 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับการยืนยันว่ามีคุณภาพตามมาตรฐานของ สมศ. โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนสูงสุดที่ 4.00 ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดที่ 3.82 ซึ่งสะท้อนถึงความไม่เสถียรของคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็กที่อาจเสี่ยงไม่สามารถรักษาคุณภาพตามมาตรฐานได้ ในขณะที่โรงเรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยภายใต้การดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีผลการดำเนินงานดีที่สุด คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ “ดีมาก” (4.00-4.22) ส่วนโรงเรียนในสังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครมีคะแนนต่ำสุด ซึ่งแสดงถึงความจำเป็นในการพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ให้ทันตามมาตรฐาน นอกจากนี้ โรงเรียนที่ได้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินไปปรับใช้มีแนวโน้มได้คะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้นำไปปรับใช้ ทำให้การติดตามผลและการสนับสนุนหลังการประเมินเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน ที่จะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการสอบคัดเลือก ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนในเครือวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และจำเป็นต้องพิจารณาด้วยว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สพฐ. สมศ. และ สทศ. จะสามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างไร โดยเฉพาะการนำผลสอบ O-NET มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านของข้อสอบยังมีประเด็นเรื่องการใช้ข้อสอบพิเศษและข้อสอบทั่วไปในการคัดเลือกเข้าห้องเรียน ซึ่งล้วนมีผลต่อการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาในภาพรวม ทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว AI Mapping for Education Development รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นมิติที่ดีในการนำ AI มาช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียน ครู และผู้บริหารในการวิเคราะห์และยกระดับกระบวนการเรียนรู้ อาทิ การใช้ AI ในการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และการปรับแนวทางการผลิตครูให้สามารถรองรับการใช้ AI ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรายงานการจัดทำแผนการใช้ AI เพื่อการพัฒนาการศึกษาในมิติที่เกี่ยวข้อง โดยการนำ Generative AI และมีการประเมินความพร้อมของระบบการศึกษาใน 4 มิติ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน...
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี (1 เมษายน 2568) เห็นชอบแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (แผนฯ) ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนำแผนไปใช้ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชน สาระสำคัญของเรื่อง 1. ศธ. ได้ดำเนินการตามแผนฯ ฉบับที่3 (พ.ศ. 2560-2564)(ขยายระยะเวลาถึง พ.ศ. 2565) โดยมีผลการดำเนินการ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษาคนพิการมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่หลากหลายทั้งในระบบ/นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาทางเลือก และหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ด้านคุณภาพการศึกษามีการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น ความถนัดและความหลากหลายของคนพิการ การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียน/นักศึกษาพิการได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และการสนับสนุนความเป็นเลิศด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา และศิลปะ แก่นักเรียน/นักศึกษาพิการอย่างต่อเนื่อง ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษามีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนางานวิจัยทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และนำเสนอผลงานในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการบริหารจัดการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อบริหารจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการให้เป็นระบบ และมีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่น ๆ ทางการศึกษาให้แก่คนพิการทุกคนตามความต้องการของแต่ละบุคคล 2. ภายหลังจากที่แผนฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2565) สิ้นสุดลงศธ. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนฯฉบับที่4 (พ.ศ. 2566-2570)โดยวิเคราะห์และประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และระดมความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรคนพิการ เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกสังกัดและทุกระบบ มุ่งให้คนพิการทุกคนได้รับสิทธิพื้นฐานทางการศึกษาที่มีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลายอย่างทั่วถึงและเสมอภาคภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด สามารถใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่น ๆ ในการสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล โดยมีการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้คนพิการมีความรู้ ทักษะ และมีงานทำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการที่เพิ่มเติมจากแผนฉบับที่3 (พ.ศ. 2560-2565)เช่น การส่งเสริมให้คนพิการสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกของการทำงานและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีประสิทธิภาพ ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศธ. พิจารณาทบทวน(ร่าง) แผนฯ ฉบับที่4 (พ.ศ. 2566-2570)ตามความเห็นของที่ประชุม เช่น การทบทวนการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์และแนวทางให้ครอบคลุมการศึกษาและการเรียนรู้ที่หลากหลายการบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของคนพิการอย่างครบวงจรและเมื่อ ศธ. ปรับแก้ไขแผนดังกล่าวแล้ว ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้สพฐ. ได้ทบทวนและปรับแก้ไข (ร่าง) แผนฯ ฉบับที่4 (พ.ศ. 2566-2570) ตามความเห็นของสภาพัฒนาฯ เรียบร้อยแล้ว 3. คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบ(ร่าง) แผนฯ ฉบับที่4 (พ.ศ. 2566-2570) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ซึ่ง (ร่าง) แผนฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566-2570) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 3.1วิสัยทัศน์ และพันธกิจ (1) วิสัยทัศน์ “คนพิการทุกคนได้รับการศึกษา พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและปลอดภัยในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่” (2) พันธกิจ (2.1) ส่งเสริมคนพิการทุกคนให้ได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลายและมีคุณภาพในทุกระดับทุกระบบ (2.2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยภาคบังคับ มีทักษะสมรรถนะในการประกอบอาชีพ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ (2.3) ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนให้จัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างมีวิสัยทัศน์และคุณภาพ (2.4) ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน 3.2ยุทธศาสตร์6 ยุทธศาสตร์สรุปได้ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่1: จัดการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การศึกษาให้แก่คนพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ และจัดบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกระดับทุกระบบให้แก่คนพิการโดยการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป้าหมายคือ คนพิการทุกคนมีความพร้อมเข้ารับการศึกษาและได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกระดับทุกระบบ ยุทธศาสตร์ที่2: ส่งเสริมให้คนพิการเข้าเรียนรวมในสถานศึกษาทั่วไปอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และปลอดภัยเป้าหมายคือ คนพิการได้เข้าเรียนรวมในสถานที่ทั่วไปเพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์ที่3: ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสังกัดทุกระบบมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการสอนคนพิการเป้าหมายคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในทุกสังกัดทุกระบบการศึกษามีความรู้ความเข้าใจและทักษะการสอนคนพิการ ยุทธศาสตร์ที่4: ส่งเสริมให้คนพิการสำเร็จการศึกษาภาคบังคับเข้าสู่การศึกษาระดับที่สูงขึ้นได้ประกอบอาชีพตามความสนใจและเป้าหมายในชีวิตเป้าหมายคือ คนพิการสำเร็จการศึกษาภาคบังคับเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเพิ่มขึ้นและได้ประกอบอาชีพตามความสนใจและเป้าหมายในชีวิต ยุทธศาสตร์ที่5: เตรียมความพร้อมคนพิการให้เข้าสู่โลกการทำงาน การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการใช้ชีวิตอย่างอิสระ มั่นใจ และปลอดภัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่เป้าหมายคือ คนพิการมีความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้ชีวิตอย่างอิสระ มั่นใจ ปลอดภัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ยุทธศาสตร์ที่6: ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปรับรูปแบบการทำงาน สร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานและบูรณาการความร่วมมือเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้มีประสิทธิภาพเป้าหมายคือ หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน 4.การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ (1)แนวทางขับเคลื่อนแผนฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัติ 1)...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2568 ชื่นชมนักเรียนที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นจนสามารถได้รับรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในเวทีระดับนานาชาติ มั่นใจอาคารเรียนของโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศเตรียมพร้อมสถานที่สำหรับสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ในวันที่ 5 และ 6 เม.ย. 2568 ด้วยความปลอดภัย 100% เร่งขับเคลื่อนขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” เผยผลการอนุมัติคำร้องขอย้ายข้าราชการครูฯ ผ่านระบบ TRS รวมทุกส่วนราชการ 2,912 ราย เน้นย้ำต้องมีกระบวนการวางแผน การจัดการ และมาตรการรักษาความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจน ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราจะสามารถก้าวผ่านไปได้ด้วยดี เพียงขอให้เรา “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” MOE ONE TEAM 2 เมษายน 2568 / พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 10/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และผ่านระบบ e-Meeting ภายหลังการประชุม รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. และนายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. แถลงข่าว ณ ห้องแถลงข่าว ก่อนเริ่มการประชุมฯ รมว.ศธ.กล่าวชื่นชมน้อง ๆ นักเรียนที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นทำให้มีผลการเรียนที่ดี จนสามารถได้รับรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเวทีระดับนานาชาติ ถือเป็นการแสดงออกถึงความสามารถ จินตนาการ จนสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่า ในกิจกรรมประกวดวาดภาพระบายสี Toyota รถยนต์ในฝัน Toyota Dream Car Art Content ณ ประเทศญี่ปุ่น มีผลงานของเด็กและเยาวชนจากทุกภูมิภาคทั่วโลก กว่า 90 ประเทศ จำนวน 712,852 ผลงาน ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ ด.ญ.วริศรา สัมฤทธิ์ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลวังสามหมอ สพป.อุดรธานีเขต 2 ได้รับรางวัลชนะเลิศ Grand Price จากผลงาน “Lunch Car for children” รุ่นอายุ 8 – 11 ปี รวมทั้งสมาคมเรียงแก้วและกิจกรรมนันทนาการ ได้นำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติรายการ WSSA 2024 ASEAN Open Sport Stacking Championships ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับรางวัล 2 รางวัลได้แก่ ด.ญ.ฐิตาภัทร์ กิจดี โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ได้รับรางวัล All-Around ชนะเลิศอันดับที่ 1 และ ด.ญ.พิชธิดา สมศรี โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันประเภทคู่ รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี จากนั้นได้เริ่มการประชุม โดย รมว.ศธ.กล่าวว่า ขอขอบคุณชาวกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ร่วมมือร่วมใจในการจัดงานจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 133 ปี เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ถือเป็นการร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วประเทศเป็นปีแรก และการรับบริจาคโลหิตภายใต้โครงการ “ไทยจีนเลือดเดียวกัน” จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดขึ้นทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีปริมาณเลือดที่รับบริจาค 370,300 ซีซี ซึ่งกิจกรรมจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่เป้าหมาย 5 ล้านซีซี ภายในสิ้นปีนี้ สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ การสำรวจความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จนก่อให้เกิดเหตุตึกถล่มในกรุงเทพมหานครฯ กระทรวงศึกษาธิการขอแสดงความเสียใจและส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้สูญเสีย และได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ผ่าน Dashboard ของ ศธ....
1 เมษายน 2568 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และนายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การต้อนรับ นายโกสินทร์ สืบประสิทธิ์วงศ์ นายกสมาคมวงโยธวาทิตแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าพบอย่างเป็นทางการเพื่อรายงานผลการประกวดวงโยธวาทิตโลก ชิงถ้วยพระราชทานฯ แห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 โดยมีคณะผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้ฝึกสอน และนักเรียนผู้เข้าแข่งขันเข้าพบ ณ ห้องราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ. กล่าวว่าขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียนทุกคนที่ให้การสนับสนุนผู้เรียนทุกกระบวนการทั้งด้านกิจกรรมและวิชาการ เชื่อว่าดนตรีเป็นสิ่งที่ทำให้การเรียนดีขึ้นได้เพราะคนที่เล่นดนตรีได้ต้องมีสมาธิ เป็นมิติหนึ่งที่สามารถมีความสุขกับกิจกรรมพร้อมประยุกต์ใช้กับการเรียนได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากช่วยเรื่องการศึกษาแล้วยังช่วยเรื่องการทำงานเป็นทีมให้เกิดความรักความสามัคคีดูแลซึ่งกันและกัน สิ่งที่อยากเน้นย้ำเพิ่มเติมคือเรื่องการศึกษาเท่าเทียมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และขอฝากเรื่องการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกัน หากโรงเรียนไหนที่มีความพร้อมสามารถแบ่งปันอุปกรณ์ดนตรีให้กับโรงเรียนอื่นได้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนที่ขนาดเล็กกว่ามาร่วมเรียนรู้กับครูดนตรีของเราที่มีความสามารถ ทำกิจกรรมร่วมกันจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจ เปิดโลกกว้างให้พี่สอนน้องจะได้จุดประกายในการแสวงหาการเรียนรู้ได้มากกว่าเดิม ขอให้เก็บประสบการณ์ที่ได้รับไปต่อยอดเรียนรู้สอดคล้องนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”บริหารเวลาให้ถูกต้องตามแนวทาง“ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” “การครองแชมป์เป็นเรื่องยาก แต่การครองแชมป์ติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากกว่า ขอให้มีความตั้งใจและรักษามาตรฐานความสามารถพิเศษเช่นนี้ไว้ และคว้าแชมป์มาให้ภาคภูมิใจในการประกวดครั้งต่อไป” รมว.ศธ. กล่าว นอกจากนี้ รมว.ศธ.และคณะผู้บริหารได้ร่วมรับชมการแสดงความสามารถจากวงโยธวาทิตโรงเรียนบุญวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ที่ได้รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดประเภท Marching Field Show รุ่น World Class โดยได้ให้เกียรติติดป้ายทีมชนะเลิศรางวัลใหญ่บนแท่นเกียรติยศ“THAILAND WORLD MUSIC CHAPPIONSHIPS”ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจกับทีมที่ได้รางวัล สำหรับการจัดประกวดวงโยธวาทิตโลก ชิงถ้วยพระราชทานฯ แห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 (Thailand World Music Championships 2024) ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 18 – 21 ธันวาคม 2567 ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย ประเภท Marching Field Show ประเภท Marching Music Battle ประเภท Marching Street Parade ประเภท Indoor Marching Arts ประเภท Modern Concert Ban ประเภท Modern Symphony Orchestra และประเภท Thailand World Performance Festiva โดยมีวงโยธวาทิตเข้าร่วมทั้งหมด 73 ทีม จาก 7 ประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศโปแลนด์ ประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการประกวดวงโยธวาทิตและช่วยเสริมสร้างพัฒนาวงโยธวาทิตให้กับเยาวชนต่อไป พบพร ผดุงพล / ข่าว ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 133 ปี วันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” ย้ำเป็นวันที่ทุกคนมีโอกาสร่วมกันระลึกถึงคุณค่าของการศึกษา ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและชาติบ้านเมืองมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการศึกษาร่วมกับ ศธ. เป็นตัวอย่างการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” การจัดงานในปีนี้เริ่มต้นเวลา 07.09 น.โดยพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นายพิษณุ พลธี ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ. ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการ กอศ. นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ สกศ. ตลอดจนครูอาวุโส ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากร ศธ. ร่วมประกอบพิธีบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งทำพิธีตักบาตรพระสงฆ์และสามเณรจำนวน 134 รูป ณ บริเวณสนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ จากนั้น รมว.ศธ. และคณะ ได้ประกอบพิธีสักการะพระพุทธรูปประจำกระทรวงศึกษาธิการ “พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรีสัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์” รวมทั้งพระภูมิหรือพ่อปู่ชัยมงคล และพระพุทธรูปประจำสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมสักการะศาลปู่เจียม และประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ในการนี้ รมว.ศธ. ได้มอบเข็มกระทรวงศึกษาธิการ แก่ผู้บริหาร ศธ. ที่ขับเคลื่อนงานตามนโยบายฯ ได้อย่างดีเยี่ยม ณ ห้องดำรงราชานุภาพ อีกด้วย ภาพเพิ่มเติมพิธีเช้า :https://www.facebook.com/share/p/1A5vN4kwjC/ เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมคุรุสภา– รมว.ศธ. เป็นประธานในพิธีมอบเข็ม “เสมาคุณูปการ” และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ ศธ. ประจำปี 2568 จำนวน 120 ราย พร้อมทั้งมอบรางวัลการประกวดบทความ “ความภาคภูมิใจในการเป็นบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้บุคลากรทั่วประเทศมีส่วนร่วมกับการจัดงาน ผ่านระบบ Zoom meeting และ Facebook Live : ศธ.360 องศา พร้อมกันทั่วประเทศ ภาพเพิ่มเติมที่หอประชุมคุรุสภา :https://www.facebook.com/share/p/1Dc2ANXkcC/ รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นมิติใหม่ของชาวกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วประเทศเป็นปีแรก แสดงให้เห็นถึงการเป็น MOE ONE TEAM ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 133 ปี วันที่ 1 เมษายน 2568 นับเป็นวันสำคัญที่ทุกคนได้ร่วมระลึกถึงคุณค่าของการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและประเทศชาติ ให้เกิดการเติบโต เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ด้วยการพัฒนาความรู้และความสามารถของประชาชน เป็นปีที่ 2 ของ รมว.ศธ. ที่ได้ร่วมงานอันทรงเกียรตินี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน พร้อมทั้งมีการส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการพัฒนาความคิดวิเคราะห์และเหตุผล รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมทักษะที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้เด็กไทยสามารถออกแบบอนาคตได้ด้วยตนเองและเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมและประเทศชาติ นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอบคุณทุกคนทั้งจากส่วนราชการ ภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมมือกันร่วมใจในการดำเนินงานภายใต้นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งในการทำงานนั้น ได้มีการมุ่งเน้นใน 2 มิติ คือ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ” และ “การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” สิ่งต่าง ๆ นอกจากการทำงานแล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการศึกษา และในวันนี้ได้เชิญบุคลากรและผู้ใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษามารับมอบรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ในก้าวต่อไปถือเป็นความท้าทายของทุกคน การศึกษาไม่ใช่เรื่องของศธ. เพียงหน่วยงานเดียว แต่การศึกษาคือเรื่องของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันดำเนินการเป็นพลังขับเคลื่อนและพลังสนับสนุน ในการจับมือกันเดินหน้าไปด้วยกัน ทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พร้อมรวมพลังกันทำให้เยาวชนมีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” รู้ในสิ่งที่ควรรู้ คิดอย่างมีเหตุมีผล และลงมือทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สอดรับกับแนวทางการทำงาน “ทำดี ทำได้ ทำทันที” ซึ่งทุกท่านได้ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ การติดตามเด็กนอกระบบ และนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญ หวังว่าในปีนี้และปีถัดไป ทุกคนจะยังคงร่วมมือกันในการดูแลการศึกษาของเด็กไทยให้มีความ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” และร่วมมือกัน “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” ลงมือทำอย่างรวดเร็วและเร่งด่วน เพราะการศึกษารอไม่ได้ และการศึกษาในปีหน้าและปีต่อ ๆ ต้องดีขึ้น ในกรณีเหตุการณ์ตึกถล่ม กระทรวงศึกษาธิการขอแสดงความเสียใจและส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้สูญเสีย สำหรับการจัดการเรียนการสอนและการสอบเข้า ชั้น ม.1 และ...
ครบรอบ 133 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ 1 เมษายน นับเป็นวันสำคัญของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ที่ได้รับผิดชอบภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างคน เพื่อพัฒนาประเทศ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุนมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นจึงเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกำลังและความสามารถ ส่งเสริมการเกิดและเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐาน เติบโตอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมการปลดล็อคศักยภาพทั้งทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน เพื่อตอบโจทย์ศักยภาพของผู้เรียน ลดภาระ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงเพื่อสร้างรายได้ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้อมส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคต รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต “การศึกษา”ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า กระทรวงศึกษาธิการจึงมุ่งมั่นใช้การศึกษาเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดำเนินงาน พร้อมที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สานต่อนโยบายเดิม และเพิ่มการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการเพิ่มเติมนโยบายตามแนวทางของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มีความมุ่งมั่น สานต่อนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้หลักการ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ใช้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้าง “การศึกษาเท่าเทียม” ผ่านเครือข่ายการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน ในทุกช่วงวัย ให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อม สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกํากับ ศธ. นําไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองนโยบาย“เรียนดี มีความสุข”เพื่อเป้าหมายในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ภายใต้ 2 นโยบายหลัก พร้อมยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษาในทุกมิติ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา นโยบายการลดภาระครูด้วยการปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (DPA) เพื่อลดขั้นตอน ทำให้การประเมินมีความสะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ ปิดช่องทางการทุจริต และลอกเลียนแบบผลงานทางวิชาการ ด้วยโปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์” สำหรับการโยกย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่นนั้น ยึดหลักการสำคัญคือ ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม จึงนำระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (TMS) ระบบย้ายข้าราชการครู (TRS) และระบบบริหารอัตรากำลัง (SCS) เชื่อมโยงกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียน เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังมีความถูกต้อง แม่นยำ เหมาะสมกับภาระงานตามสภาพบริบทของพื้นที่ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินงานโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือ การลดดอกเบี้ยเงินกู้ ยกระดับการหักเงินเดือนและควบคุมยอดหนี้ ลดจำนวนครูกลุ่มเป็นหนี้ระดับวิกฤต จัดสรรวงเงินให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้สิน ให้ความรู้และทักษะการบริหารจัดการด้านการเงิน การออมควบคู่กับการสร้างวินัยในการบริหารจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเดินเครื่องเต็มกำลังแก้ปัญหา เติมความสุข สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับครู และนักเรียน ด้วยการยกเลิก “ครูอยู่เวร” เพื่อความปลอดภัยของครู รวมทั้งจ้างนักการภารโรงในโรงเรียนที่ขาดแคลนเพื่อช่วยลดภาระงานครู ทั้งยังช่วยเกิดการจ้างงานในชุมชน รวมถึงการปรับลดงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ให้ครูได้มีเวลาในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น การเปิดโอกาสให้พนักงานราชการ ลูกจ้าง ครูสอนศาสนาอิสลาม ครูอัตราจ้าง มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นข้าราชการครู เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ความมั่นคงในชีวิต ได้ครูที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการสอน ตรงความต้องการสถานศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ด้วยการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรีมีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ นำสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการศึกษาของชาติโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียนและครูผู้สอนให้ก้าวทันยุคดิจิทัล เกิดการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด พร้อมทั้งสนับสนุนให้มี 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ให้มีความพร้อมเชิงกายภาพ มีโครงสร้างพื้นฐาน ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ สื่อที่พร้อมใช้ เพียงพอ ทันสมัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ผู้บริหาร โรงเรียนคุณภาพ สร้างเครือข่ายการศึกษาในพื้นที่ สนับสนุนค่าพาหนะในการเดินทางไปเรียนรวมให้นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย และมีรถโรงเรียนรับ – ส่ง เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง สำหรับการส่งเสริมระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต มุ่งสร้างความเข้มแข็งของระบบแนะแนวนักเรียน ดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อให้ค้นพบตนเอง เสริมสร้างทักษะชีวิต ป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต พฤติกรรมเสี่ยงสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมีความสุข จัดทำหลักสูตรและพัฒนาครูแนะแนวแกนนำ พร้อมออกมาตรการป้องกันและเสริมสร้างความรอบรู้ อันตรายจากบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติด ด้วยการขับเคลื่อนนโยบาย “3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม” ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสภาวะวิกฤตให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ด้วยการนำหน่วยกิตที่สะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ในระหว่างที่กำลังศึกษา เทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย...